กระบวนการเป่าขึ้นรูป (Blow Molding) ตอนที่ 2

ตอน  1  2 

การฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding)

การฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding) และ การขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)

หลักพื้นฐานในการฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding)

Injection blow molding กลายเป็นกระบวนการขึ้นรูปที่สำคัญในระยะหลังจนกระทั่งถึงปัจจุบันด้วยเป็น "วิธีการขึ้นรูปขวดพลาสติก PET" ที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำ ขวดน้ำอัดลม สิ่งที่แตกต่างจาก เอกซ์ทรูดเป่าขึ้นรูป (Extrusion blow molding) ที่กล่าวมาในหน้าแรกคือ การใช้ preform ซึ่งขึ้นรูปโดยการฉีดขึ้นรูป (injection molding) แทนการใช้ parison ซึ่งได้จากการอัดรีดโดยตรง พรีฟอร์ม (preform) จะถูกขึ้นรูปในแม่พิมพ์ที่เย็นมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พอลิเมอร์สามารถตกผลึกได้ทันจึงทำให้พรีฟอร์ม (preform) มีสถานะเป็น amorphous และมีลักษณะใส หลังจากขึ้นรูป พรีฟอร์ม (preform) ด้วยกระบวนการฉีดแล้ว จึงนำพรีฟอร์ม (preform) ไปอบให้ความร้อนแล้วนำไปเข้าแม่พิมพ์เป่่าเป็นบรรจุภัณฑ์
วิธีและขั้นตอนพื้นฐานในการฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding)
รูปที่ 1 วิธีทำการงานของการฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding)

วิธีและขั้นตอนการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)

ในปัจจุบัน การฉีดเป่าขึ้นรูป (Injection blow molding) มีบทบาทสำคัญและจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding) ซึ่งจะเพิ่มกระบวนการยืด (stretch) พร้อมการเป่า
โดยทั่วไปจะใช้สารหล่อเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำเพื่อทำให้ preform เย็นลงอย่างรวดเร็ว (quench) ให้อยู่ในสถานะอสัณฐาน จากนั้น preform จะถูกให้ความร้อน (reheat) อีกครั้งให้เกิน Tg และจากนั้นจะถูกยืดและเป่า (stretch blow)
Stretch blowing จะทำโดยการผลัก blow pin เข้าไปเพื่อให้ preform ยืดลงไปพร้อมกับเป่าให้ได้การขยายตัวในแนวรัศมี (radial expansion) กระบวนการนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจัดเรียงตัว 2 ทิศทาง (biaxial orientation)
วิธีทำการงานของการเป่ายืด (Injection stretch blow molding)
รูปที่ 2 วิธีทำการงานของการเป่ายืด (Injection stretch blow molding)
ลักษณะการยืดพร้อมเป่าในงานพลาสติกเพื่อผลิตขวด pet
รูปที่ 3 ลักษณะการยืดพร้อมเป่าในกระบวนการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)
แสดงกระบวนการขึ้นรูปพลาสติกแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)
รูปที่ 4 แสดงกระบวนการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)

การผลิตขวดพลาสติก PET

วิธีการผลิตหลอดพรีฟอร์ preform ขวด PET

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า preform จะเตรียมได้จากกระบวนการฉีด สิ่งที่สำคัญในการฉีด preform คือควบคุมไม่ให้เกิดผลึกในระหว่างกระบวนการฉีด เพื่อให้ preform มีความใสเมื่อนำไปยืดและเป่า ขวดที่ได้จะยังคงมีความใส ถ้า preform เกิดผลึกในขั้นตอนการฉีด จะสามารถสังเกตเห็นความขุ่นของ preform โดยเฉพาะที่บริเวณก้นที่เป็นตำแหน่งของ gate ซึ่งนับเป็นจุดที่ร้อนที่สุดของ preform เพราะเป็นปากทางที่พอลิเมอร์หลอมฉีดเข้ามาในแม่พิมพ์ ภาพแสดงรูปแบบและขนาดต่างๆของ preform แสดงในรูปที่ 5
รูปแบบและขนาดต่างๆของ พรีฟอร์ม (preform)
รูปที่ 5 แสดงรูปแบบและขนาดต่างๆของ พรีฟอร์ม (preform)
ในการผลิต พรีฟอร์ม (preform) นิยมใช้แม่พิมพ์ที่มีจำนวน cavity มาก ซึ่งอาจสูงถึง 96 cavity เพื่อให้การฉีดครั้งหนึ่งได้ปริมาณการผลิตสูง ภาพแสดงแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต พรีฟอร์ม (preform) แสดงดังรูปที่ 6 ด้านซ้ายจะมีแกนยื่นออกมาที่เรียกว่า core pin เมื่อประกบ plate ทั้งซ้ายและขวาเนื้อที่ว่างที่เหลือคือบริเวณที่พอลิเมอร์หลอมจะถูกฉีดเข้ามาทำให้เกิดรูปร่างของ พรีฟอร์ม (preform)
รูปแม่พิมพ์ 72 cavity ที่ใช้ในการผลิตพรีฟอร์ม (preform)
รูปที่ 6 แสดงรูปแม่พิมพ์ 72 cavity ที่ใช้ในการผลิตพรีฟอร์ม (preform)
พอลิเมอร์ที่สำคัญที่ใช้กันมากที่สุดในการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (injection stretch blow molding) คือ พีอีที (PET) โดยใช้การผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม ซึ่งเข้ามาแทนที่ขวดที่ด้วยแก้วเนื่องจากขวดแก้วจะมีน้ำหนักมากและแตกง่าย
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ อิทธิพลของวิกฤติการณ์น้ำมันราคาแพงจะส่งผลต่อการผลิตแก้วและอะลูมิเนียม เนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุทั้งสองจะราคาแพงกว่าพลาสติกเนื่องจากในการผลิตแก้วจะต้องใช้อุณหภูมิสูงมาก พอลิเมอร์ที่นำมาใช้ในการทำขวดพลาสติก เช่น พีวีซี แซน (Styrene-Acrylonitride, SAN) และ พีอีที (PET) และนอกจากนั้นยังมีการใช้ พีวีซีสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการลดการแพร่ผ่านของอากาศ

ข้อจำกัดของขวดพลาสติกเพ็ท (PET) ใหม่

สิ่งที่ต้องการในขวดใหม่มาจากสิ่งที่บรรจุอยู่ในขวดเช่น โค้ก ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ สูงถึง 4 ต่อ 1 ของปริมาตรของเหลวที่บรรจุความดันที่บริเวณหัวอาจเกิน 5 atm ในอุณหภูมิสูง เข่น ภายในรถ สิ่งที่ต้องการหลักเพื่อที่สะให้สามารถรับความดันนี้ได้ ได้แก่
1. ต้องไม่สูญเสียก๊าซ
2. ไม่แตก
3. ไม่เปลี่ยนรูปร่าง
โดยการทดสอบที่ตรวจสอบหลังจากเก็บไว้ 120 วัน ที่ 23 องศาเซลเซียส ควรพบว่า
1. มีการสูญเสีย CO2 น้อยกว่า 15%
2. รสชาติไม่เปลี่ยน
3. ไม่มีการเปลี่ยนรูปร่าง
4. ปริมาณของเหลวในขวดไม่ลดลง
5. ขวดที่บรรจุน้ำอัดลมเต็มควรตกไม่แตกในระยะความสูง 2เมตร

เกณฑ์การผลิตขวดพลาสติกเพ็ท (PET)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ขวดผลิตได้โดยการเป่า พรีฟอร์ม (preform) ที่ได้มาจากการขึ้นรูปแบบฉีดหลังจากการให้ความอีกครั้งระหว่างการฉีด ความเร็วในการฉีดจะถูกจำกัดโดยการควบคุมความดันที่ใช้ในการฉีดเพื่อป้องกันการเกิดผลึก spherulite ในพอลิเมอร์โดยการเกิดผลึก spherulite ในพอลิเมอร์โดยการเกิดผลึกจากการเหนี่ยวนำจากแรงเฉือนซึ่งผลึก spherulite ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความขุ่นมัวขึ้นในขวดซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ
สิ่งสำคัญอีกประการ คือ การควบคุมอุณหภูมิพอลิเมอร์หลอมในเครื่องฉีดเพื่อทำให้แน่ใจได้ว่าบริเวณที่เป็นผลึก (Crystaline domain) ได้หลอมละลายหมดแล้ว แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงการเกิดอะซี-ตอลดีไฮด์ (acetaldehyde) จากกระบวนการเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิสูง นั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณ 250 องศาเซ็ลเซียส อะซีตอลดีไฮด์ไฮด์จะทำให้รสชาติของน้ำที่บรรจุอยู่ในขวดเสียไปที่ความเข้มข้นต่ำมากๆ
ความหนาของ พรีฟอร์ม (preform) จะจำกัดอยู่ที่ 4.2 mm. โดยอัตราการหล่อเย็นในเครื่องฉีด (cooling rate) และอัตราการให้ความร้อนอีกครั้ง (reheat rate) ก่อนการเป่า
จากนั้น พรีฟอร์ม (preform) จะถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้คงสถานะอสันฐาน กระบวนการให้ความร้อนอีกครั้งมักทำโดยการใช้เครื่องให้กำเนิดความร้อนอินฟาเรดที่อุณหภูมิเกิน Tg (ประมาณ 95 องศาเซ็ลเซียส และ stretch-blow ratio จะประมาณ 3.5x3.5 หรือประมาณ 10 เท่า โดยส่วนรวม ซึ่งจะให้ค่าความหนาของผนังเท่ากับ 0.4 mm.

ทำไมจึงต้องเลือกใช้ เพ็ท (PET) และเลือกการขึ้นรูปแบบเป่ายืด (Injection stretch blow molding)

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพอลิเมอร์ที่จะเลือกมาบรรจุน้ำอัดลมนั่นคือ ความสามารถในการรักษาความดันจากคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสิ่งนี้จะขึ้นกับความสามารถในการยอมให้เกิดก๊าซเข้าออก (gas permeability) ของพอลิเมอร์ ซึ่งพีอีที (PET) ถือได้ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมให้ก๊าซผ่านเข้าออก (impermeable) ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 Relative permeability to gases ของโพลิเมอร์ชนิดต่างๆ
พอลิเมอร์ (พลาสติก)
ค่าความซึมซาบสัมพัทธ์ (Relative permeability)
PET
1
PVC
2
HDPE
52
PP (orientated)
57
LDPE
114
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้งานพอลิเมอร์ที่เป็นผลึกทั้งหลายเช่น พีอีที (PET) จะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างของผลึก
พีอีที (PET) เป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิเมอร์ที่ปริมาณผลึกของมันสามารถควบคุมได้ด้วยกระบวนการตกผลึก คล้ายกับในพีวีซี (PVC) แต่ถ้าเป็น อะซีตอล หรือ ไหลอน ซึ่งตกผลึกรวดเร็วในเวลาเดียกันจะไม่สามารถนำมาขึ้นรูปโดยวิธีนี้ได้
ถ้าเราเริ่มต้นหลอมพีอีที (PET) ที่ช่วงอุณหภูมิ 250-280 องศาเซลเซียส และทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว เราจะได้ของแข็งสันฐาน ซึ่งมี Tg ประมาณ 80 องศาเซลเซียส และจะอ่อนตัวที่เหนืออุณหภูมินี้
ถ้าพอลิเมอร์หลอมนี้ ถูกทำให้เย็นตัวลงช้าๆ จะเกิดผลึก spherulite ขนาดใหญ่ ให้วัสดุ ซึ่งมีความแข็งและทึบแสงโดยมีจุดหลอมของผลึก (crystalline melting point) ที่ 265 องศาเซลเซียส
ถ้าของแข็งสัณฐานนี้ถูกให้ความร้อนอีกครั้งที่อุณหภูมิเกิน Tg (95-100 องศาเซลเซียส) และถูกยืดออกจะเกิดผลึกที่เกิดจากการเหนี่ยวนำจากแรงเฉือน (stress-induced crystal) ขึ้น ซึ่งผลึกเหล่านี้จะมีขนาดเล็กและผลิตภัณพ์ที่ได้ก็จะโปร่งใส วัตถุนี้จะมีความเหนียวแข็งกว่าสสารในรูปที่เป็นอสันฐาน
ถ้าชิ้นงานที่มีผลึกที่จัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบนี้ถูกให้ความร้อนต่อไปถึง 150 องศาเซลเซียส ปริมาณผลึกจะเพิ่มขึ้นและสมบัติทางกายภาพก็จะดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ความทนต่ออุณหภูมิก็จะดีขึ้นด้วยกระบวนการที่กล่าวมานี้เรียกว่า heat setting stage ซึ่งใช้ในการผลิตไฟเบอร์และฟิล์ม
ระยะต่างๆ ของการผลิตพีอีที (PET) แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลึกในพีอีที (PET)
ตารางที่แสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลึกในพีอีที (PET)
ขวดพลาสติกที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ Heat set จะมีความเสถียรที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส สำหรับ heat set film จะใช้สำหรับบรรจุอาหารพวก boil-in-the-bag ซึ่งจะเสถียรถึง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
สิ่งที่สำคัญที่เราต้องตระหนักไว้คือ พอลิเมอร์ที่ตกผลึก เช่น พีอีที (PET) และ พีพี (PP) เมื่อจะใช้ในกระบวนการเป่ายืด Stetch-blow จะต้องทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ของแข็งสันฐานก่อนที่จะนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิเกิน Tg เพื่อให้เกิดการตกผลึกโดยการเหนี่ยวนำจากแรงเฉือน แต่พวกพอลิเมอร์ที่ไม่สามารถตกผลึกได้ ก็อาจผลิตได้โดยกระบวนการเป่ายืด (stretch-blow) ซึ่งการจัดเรียงตัวในทิศทางเดียวของสายโซ่พอลิเมอร์ก็อาจมีส่วนช่วยปรับปรุงสมบัติได้ แต่พอลิเมอร์เหล่านี้ก็จะขึ้นรูปจากการทำให้พอลิเมอร์หลอมเย็น
ถ้าใช้วิธีการเดียวกันนี้กับพีอีที (PET) เช่น ทำให้เย็นลงไปถึง 160 องศาเซลเซียส ก็จะเกิด spherulitic nuclei ขึ้นระหว่างการหล่อเย็นและการพยายามทำการเป่ายืด (stretch-blow) ก็ไม่สามารถทำให้เกิดสมบัติที่ดีขึ้นได้ และขนาดของ spherulite ที่ใหญ่ก็ยังทำให้ผลิตภัณฑ์ทึบแสงอีกด้วย

พีอีที (PET) กับอนาคตของขวดบรรจุน้ำอัดลม

เนื่องจากความตื่นตัวในด้านการลดสภาวะโลกร้อนโดยการออกกฏหมายควบคุมการใช้ปริมาณพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ทำให้บริษัทผู้ผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลมที่ใช้พีอีที (PET) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ ที่ได้จากการสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นวัตถุดิบ เริ่มใช้พลาสติกที่ได้จากธรรมชาติ โดยบริษัท PepsiCO ประกาศจะใช้ขวดบรรจุน้ำอัดลมที่ผลิตจากพลาสติกที่ได้จากพืชธรรมชาติ 100% แทนที่ขวดที่ทำจาก พีอีที (PET) ซึ่งเริ่มการใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012
ขวดบรรจุภัณฑ์น้ำอัดลมที่ผลิตจากพืชที่ย่อยสลายได้ 100%
รูปที่ 5 ขวดบรรจุภัณฑ์น้ำอัดลมที่ผลิตจากพืช 100%
อนาคตของพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กำลังเป็นที่จับตามอง โดยปริมาณพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ใช้ในวงการบรรจุภัณก็อาจเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตอน  1  2 
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147