กระบวนขึ้นรูปแบบเทอร์โมฟอร์มมิ่ง (Thermoforming Molding Process)

1 พื้นฐานกระบวนการขึ้นรูปแบบเทอร์โมฟอร์มมิ่ง (Thermoforming Molding)

กระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งจะเป็นกระบวนการที่รวมถึงเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการขึ้นรูปแผ่นพลาสติก (sheet-forming) เช่น การขึ้นรูปด้วยสุญญากาศ (vacuum forming) ด้วยความดัน (pressure forming) และด้วยแม่พิมพ์ประกบ (matched mold forming) ซึ่งเทคนิคต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะต้องใช้แผ่นเทอร์โมพลาสติกซึ่งจะถูกยึด (clamp) และถูกให้ความร้อนเพื่อทำให้เกิดรูปร่างบนแม่พิมพ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการนี้โดยทั่วไปมักจะต้องมีขั้นตอนตัดหรือขลิบตกแต่งผลิตภัณฑ์ก่อนการนำไปใช้งาน นอกจากนั้นยังอาจต้องมีขั้นตอนการทาสี พิมพ์สีหรือการทากาว
กระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งจะให้การคงรูปที่เร็วและสม่ำเสมอ รวมทั้งราคาแม่พิมพ์ที่ต่ำทำให้การะบวนการนี้เป็นกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ โดยที่ของเสียที่เกิดจากการตัดขอบและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือข้อกำหนดก็สามารถนำกลับไปหลอมเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้
กล่องพลาสติกบรรจุอาหารที่ได้จากกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์กล่องพลาสติกบรรจุอาหารที่ได้จากกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
ถาดเพาะกล้าที่ได้จากกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
รูปที่ 2 ผลิตภัณฑ์ถาดเพาะกล้าที่ได้จากกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
ส่วนประกอบที่สำคัญพื้นฐานของการบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งได้แก่
1. แผ่นเทอร์โมพลาสติก
2. กระบวนการยึด (clamping mechanism)
3. ระบบให้ความร้อน
4. แม่พิมพ์
5. แรงที่ใช้ในการทำให้พลาสติกคงรูป (forming force)
6. เครื่องมือตัดขอบ (trim apparatus)

2 ประวัติของอุตสาหกรรมเทอร์โมฟอร์มมิ่ง

จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งนี้เริ่มพร้อมๆ กับการพัฒนาเทอร์โมพลาสติกซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในช่วงทศวรรษ 1950 กระบวนการนี้เป็นที่นิยมในการเปลี่ยนเทอร์โมพลาสติกเรซิ่นเป็นแผ่นฟิล์ม วิวัฒนาการของการบวนการแสดงในรูปที่ 3
ประวัติวิวัฒนาการของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
รูปที่ 3 วิวัฒนาการของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง เพิ่มขึ้นอย่างมากแสดงในรูปที่ 4
การเติบโตของอุตสาหกรรมที่ขึ้นรูปโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งทั่วโลกเปรียบเทียบ ปี ค.ส.2004 กับ 2009
รูปที่ 4 การเติบโตของอุตสาหกรรมที่ขึ้นรูปโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งทั่วโลกเปรียบเทียบ ปี ค.ส.2004 กับ 2009

3 ส่วนประกอบของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง

3.1 แผ่นเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic sheets)

เทอร์โมพลาสติกจะประกอบไปด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรงภายในสายโซ่โมเลกุลที่ยาวและนอกจากนั้นยังมีพันธะระหว่างโมเลกุลที่พันกันดังแสดงในรูปที่ 5
ความยาวของสายโซ่โมเลกุลและการพันกันในแผ่นเทอร์โมพลาสติก
รูปที่ 5 ความยาวของสายโซ่โมเลกุลและการพันกัน : (1) เรซินที่มีสายโซ่โมเลกุลยาว (น้ำหนักโมเลกุลสูง) (2) เรซิ่นที่มีสายโซ่โมเลกุลสั้น (น้ำหนักโมเลกุลต่ำ) (3) เรซินที่มีทั้งสายโมเลกุลสั้นและยาว
ความยาวของสายโซ่และปริมาณการพันกันนี้เป็นปัจจัยกำหนดความแข็งแรงและความยึดหยุ่นของเทอร์โมพลาสติกที่ผลิตได้ ความยาวของสายโซ่โมเลกุลและปริมาณการพันกันนี้เองเป็นกุญแจสำคัญในการะบวนการขึ้นรูปโดยวิธีเทอร์โมฟอร์มมิ่ง ซึ่งขึ้นกับเทคนิคที่เลือกใช้ในการผลิต เราสามารถเลือกใช้วัสดุที่มีปริมาณของการแตกแขนงด้านข้างของสายโซ่โมเลกุลต่างๆ (side branching) ความยาวสายโซ่ต่างๆ (ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดน้ำหนักโมเลกุล) และอัตราส่วนต่างๆของพอลิเมอร์ผสมถ้าความยาวของสายโซ่โมเลกุลยิ่งมากน้ำหนักโมเลกุลก็จะยิ่งสูง ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีความแข็งหรือความเหนียวที่มากขึ้น แต่ถ้าสายโซ่โมเลกุลสั้นหรือน้ำหนักโมเลกุลต่ำก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่เปราะและแตกง่าย
โดยทั่วไป พอลิเมอร์บริสุทธิ์ (Virgin polymers) จะมีน้ำหนักโมเลกุลสูง แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันที่ต่างกันก็จะให้คุณภาพของวัสดุออกมาต่างกัน
ในระหว่างกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชัน อาจมีมอนอเมอร์บางตัวที่ไม่เข้าไปเกาะติดกับสายโซ่พอลิเมอร์เราเรียกว่า มอนอเมอร์อิสระ (Free monomers) ซึ่งมอนอเมอร์อิสระนี้อาจจะถูกจับอยู่ระหว่างสายโซ่พอลิเมอร์ที่พันกันอยู่ ดังแสดงในรูปที่ 6
(1) มอนอเมอร์อิสระ (2) พอลิเมอร์ (3) พอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์อิสระ
รูปที่ 6 ภาพแสดง (1) มอนอเมอร์อิสระ (2) พอลิเมอร์ (3) พอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์อิสระ
ในระหว่างการขึ้นรูป มอนอเมอร์อิสระนี้ก็ไม่สามารถออกไปได้ทั้งหมดซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากกลิ่นของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่จะมีกลิ่นที่เรียกว่ากลิ่นพลาสติกอย่างรุนแรง ("Plastic- like" odor) โดยจะแสดงได้ชัดในเทอร์โมพลาสติกที่สังเคราะห์จากสไตรีน
ปริมาณมอนอเมอร์อิสระนี้จะถูกควบคุมโดยผู้ผลิตเรซิ่น และมาตรฐานขั้นต่ำจะถูกกำหนดโดยองค์การอาหารและยา ซึ่งองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา จะกำหนดว่าพอลิเมอร์ที่เป็นพวกพอลิสไตรีน ควรมีประมาณสไตรีนมอนอเมอร์ที่หลงเหลืออยู่ไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ้นต์ต่อน้ำหนัก ซึ่งค่านี้มักจะสูงกว่าที่กำหนดโดยผู้บริโภคในวงการบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยค่ามอนอเมอร์อิสระขั้นต่ำ (Low free monomer) ควรอยู่ไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักและถ้าค่ามอนอเมอร์อิสระขั้นต่ำมาก (Super-low green monomer) ก็ควรจะมีปริมาณมอนอเมอร์อิสระไม่เกิน 0.05 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนัก
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่บรรจุอาหารที่มีไขมันสัตว์อยู่ในปริมาณสูง เข่น เนยจะมีโอกาสที่จะละลายหรือจับกับมอนอเมอร์อิสระหรือโมเลกุลของยางสังเคราะห์ ผลจากปฏิกิริยานี้คือ อาหารนั้นจะมีรสหรือกลิ่นพลาสติกติดไปในกระบวนการขึ้นรูปเทอร์โมฟอร์มมิ่ง ในวงจรการให้ความร้อนจะทำให้อนุมูลอิสระสามารถระเหยออกมา ดังนั้น เครื่องมือในการขึ้นรูปจึงมักมีตัวระบายอากาศเพื่อขจัดกลิ่นที่มาจากพลาสติก
เทอร์โมพลาสติกที่เลือกใช้ในกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งจะเป็นเรซินที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงที่มีการพันกันระหว่างโมเลกุล (Intermolecular entanglements) ที่ดี
เนื่องจากกระบวนการขึ้นรูปเทอร์โมฟอร์มมิ่งนี้ต้องใช้แผ่นพลาสติกที่ขึ้นรูปมาก่อน (Preformed plastic sheet) ยึดและจับไว้เฉพาะที่ขอบ ดังนั้นการยึดออกของวัสดุและการกระจายของเนื้อวัสดุ จึงขึ้นกับโครงสร้างของมันในตอนเริ่มต้น แผ่นเทรอร์โมพลาสติกควรมีน้ำหนักโมเลกุลที่สูง (สายโซ่โมเลกุลยาว) เพื่อให้การดึงยืดออกทำได้โดยไม่เกิดการฉีกขาดก่อนและนอกจากนั้นการมีสายโซ่โมเลกุลยาวจะมีการพันกันระหว่างโมเลกุลที่แข็งแรงที่สุดด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าสายโซ่โมเลกุลสั้น ลักษณะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลก็จะมีผลกระทบกับคุณภาพของแผ่นพลาสติกหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้
การผสมระหว่างพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงและต่ำก็สามารถทำได้เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างสายโซ่โมเลกุลหรือเพื่อให้สามารถใช้เรซิ่นที่มีคุณภาพต่ำกว่าเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง โดยอัตราการผสมต้องเหมาะสมเพื่อให้ได้ความสม่ำเสมอของการผลิตในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าวัสดุได้มาจากแหล่งต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกันก็อาจให้ผลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อให้ผลที่เหมือนกัน วัสดุควรจะมีแหล่งที่มาแหล่งเดียวกัน
ปัจจัยอีกประการที่มักจะถูกละเลยในกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งคือการเกิดการเสื่อมสภาพ และการแตกหัก (Scission) ของโมเลกุลที่เกิดขึ้น โดยการที่โมเลกุลจะถูกเฉือนระหว่างการตัดเม็ดพลาสติกหรือในระหว่างกระบวนการอัดรีดหรือระหว่างกระบวนการรีไซเคิล (recycling process) ซึ่งการเกิดการเสื่อมสภาพนี้โดยทั่วไปมักจะไม่มากนักขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตทั่วไปมักจะใช้การผสมเศษวัสดุเข้าไปในปริมาณที่จำกัด
กระบวนการสลายและแตกหักของโมเลกุลนี้เป็นกระบวนการสะสม พอลิเมอร์ที่ถูกนำมารีไซเคิลซ้ำไปซ้ำมาจะมีอายุการใช้งานที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้อีกต่อไปและจะต้องถูกกำจัดทิ้ง
ผลิตภัณฑ์และชนิดของพอลิเมอร์ที่ขึ้นรูปโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่นแสดงดังรูปที่ 7 และปริมาณของพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่ใช้ไปในกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งแสดงดังรูปที่ 8
ผลิตภัณฑ์พลาสติกและชนิดของพอลิเมอร์ที่ขึ้นรูปด้วยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์พลาสติกและชนิดของพอลิเมอร์ที่ขึ้นรูปด้วยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
ปริมาณของพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่ใช้ในกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
รูปที่ 8 ปริมาณของพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่ใช้ในกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบัน วัสดุที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในกระบวนการขึ้นรูปด้วยเทอร์โมฟอร์มมิ่งคือ พลาสติกชีวภาพ (bioplastic) เช่น PLA PHA และ พอลิเมอร์ผสมที่มีองค์ประกอบของแป้ง
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
รูปที่ 9 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพโดยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง

3.2 กระบวนการเตรียมแผ่นพลาสติก

กระบวนการพื้นฐานโดยทั่วไปที่ใช้ในการเตรียมแผ่นพลาสติกมี 3 วิธีการได้แก่ การม้วนรีด (calendeering) การหล่อรีด (casting) และ การอัดรีด (extruding) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของการให้ความร้อนเพื่อทำให้พลาสติกอ่อนตัวและหลอม และเมื่อแผ่นพลาสติกก่อตัวเป็นรูปร่างก็จะต้องนำความร้อนนั้นออกเพื่อให้เทอร์โมพลาสติกแข็งตัวอยู่ในรูปร่างขั้นสุดท้ายของการผลิตแต่ละครั้ง

4 วิธีขึ้นรูปพลาสติกแบบเทอร์โมฟอร์มมิ่งแบบต่างๆ

เราสามารถแบ่งวิธีของกระบวนการเทอร์มอฟอร์มมิ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ดังแสดงในรูปที่ 10
A. Matched mold forming โดยการใช้แม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมียที่เข้าคู่กัน
B. Slip forming โดยการใช้เฉพาะแม่พิมพ์ตัวผู้
C. Air forming หรือ pressure forming โดยการใช้ความดันอากาศในการทำให้แผ่นพลาสติกประกบติดแม่พิมพ์
D. Vacuum forming โดยการใช้การดูดอากาศหรือการทำให้แม่พิมพ์เป็นสุญญากาศ
Matched mold forming โดยการใช้แม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมียที่เข้าคู่กัน
A. Matched Mold Forming
Slip forming โดยการใช้เฉพาะแม่พิมพ์ตัวผู้
B. Slip Forming
Air forming หรือ pressure forming โดยการใช้ความดันอากาศในการทำให้แผ่นพลาสติกประกบติดแม่พิมพ์
C. Air Blowing
Vacuum forming โดยการใช้การดูดอากาศหรือการทำให้แม่พิมพ์เป็นสุญญากาศ
D. Vacuum Forming
รูปที่ 10 วิธีของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่ง

4.1 Vacuum Forming

การขึ้นรูปแบบสุญญากาศ (Vacuum Forming
) เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยใช้พื้นฐานของการลดลงของความดันที่ด้านหนึ่งเพื่อให้ความดันบรรยากาศผลักแผ่นพลาสติกไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่

• Straight vacuum forming

เป็นวิธีเทอร์โมฟอร์มมิ่งที่ง่ายที่สุด ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกับแม่พิมพ์ตัวผู้หรือตัวเมีย และในการจับยึดแผ่นพลาสติกก็สามารถใช้ได้ทั้งกรอบยึดเดี่ยวหรือคู่ (Single/double clamping frame) ขั้นตอนการขึ้นรูป แสดงได้ดังรูปที่ 11 โดยจะเริ่มจากการยึดแผ่นพลาสติกด้วยกรอบยึด และให้ความร้อนจนแผ่นพลาสติกอ่อนตัว จากนั่นจึงใช้เครื่องดูดสุญญากาศดึงให้แผ่นพลาสติกที่อ่อนตัวลงยึดตัวประกบแม่พิมพ์ หลังจากนั้นจึงถอดผลิตภัณฑ์ออก
การใช้แม่พิมพ์ตัวเมียจะให้ความหนาที่บริเวณขอบได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นแม่พิมพ์ตัวผู้จะให้ฐานที่มั่นคงกว่า
ข้อเสียของการใช้วิธีนี้ คือจะได้ชิ้นงานที่มีความหนาไม่สม่ำเสมอ คือมีส่วนก้นหนาและมีส่วนมุมบาง
วิธีและขั้นตอนขึ้นรูปพลาสติกด้วยการ Straight Vacuum Forming
รูปที่ 11 วิธีการขึ้นรูปด้วยการ Straight Vacuum Forming

• Vacuum Drape forming

ใช้สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกที่มีความลึกขั้นตอนการขึ้นรูปแสดงในรูปที่ 12 โดยจะเริ่มจากการให้ความร้อนแก่พลาสติก จากนั้นจะเคลื่อนแม่พิมพ์ให้ดันพลาสติกให้ยืดตัวออกก่อน (Prestretching) แล้วจึงใช้เครื่องดูดสุญญากาศทำให้แผ่นพลาสติกประกบติดกับแม่พิมพ์ ขั้นตอนสุดท้ายจึงถอดชิ้นงานโดยใช้ลมเป่าสวนทาง
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming ขั้นตอนที่ 1
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming ขั้นตอนที่ 2
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming ขั้นตอนที่ 3
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming ขั้นตอนที่ 4
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming ขั้นตอนที่ 5
รูปที่ 12 วิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Drape Forming
ข้อเสียของการใช้วิธีการ Vacuum Drape Forming คือ การที่แผ่นพลาสติกที่ร้อนสัมผัสกับแม่พิมพ์ที่เย็น ทำให้อุณหภูมิลดลงซึ่งจะทำพื้นที่ในการจะทำให้ยืดตัวออกได้ลดลง ซึ่งสามารถปรับปรุงโดยการใช้วิธีการ Vacuum Air-slip เพื่อป้องกันการเย็นตัวของแผ่นพลาสติก ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

• Vacuum Air-Slip Forming

ใช้สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกที่มีความลึกขั้นตอนการขึ้นรูปแสดงในรูปที่ 13 โดยจะเริ่มจากการให้ความร้อนแก่พลาสติก จากนั้นจะเคลื่อนแม่พิมพ์ให้ดันพลาสติกให้ยืดตัวออกก่อน (Prestretching) แล้วจึงใช้เครื่องดูดสุญญากาศทำให้แผ่นพลาสติกประกบติดกับแม่พิมพ์ ขั้นตอนสุดท้ายจึงถอดชิ้นงานโดยใช้ลมเป่าสวนทาง
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming ขั้นตอนที่ 1
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming ขั้นตอนที่ 2
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming ขั้นตอนที่ 3
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming ขั้นตอนที่ 4
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming ขั้นตอนที่ 5
รูปที่ 13 วิธีขึ้นรูปด้วยการ Vacuum Air-Slip Forming

• Plug-Assist Vacuum Forming

จะเป็นวิธีในการใช้ปลั๊ก (Plug) ดันช่วยก่อนใช้การดูดสุญญากาศ (Vacuum) เพื่อช่วยในกรณีที่ต้องการให้ผนังผลิตภัณฑ์พลาสติกบาง
ขั้นตอนจะเริ่มโดยการจับยืดแผ่นพลาสติกและให้ความร้อน จากนั้นจะให้ปลั๊กเคลื่อนที่ลงมาเพื่ออัดแผ่นพลาสติกให้ยืดตัวออก ปลั๊กจะหยุดเคลื่อนที่เมื่อดันแผ่นพลาสติกให้ยืดตัวออกจนเข้าใกล้แม่พิมพ์ แล้วจึงใช้เครื่องดูดสุญญากาศให้แผ่นพลาสติกประกบติดกับแม่พิมพ์ ขั้นสุดท้ายจึงใช้ลมเป่าให้ชิ้นงานหลุดออกมา ดังแสดงในรูปที่ 14
ปลั๊กที่ใช้อาจเป็นโลหะหรือพลาสติกก็ได้ และต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความเร็วของปลั๊ก เพราะปลั๊กมีอุณหภูมิสูงเกินไป แผ่นพลาสติกก็อาจจะขาดและเหนียวติดที่ปลั๊ก หรือก้นจะบางไป ถ้าอุณหภูมิต่ำไปก็จะทำให้ส่วนก้นหนาได้
สำหรับความเร็วของปลั๊กนั้น ถ้าสูงก็จะได้อัตราการผลิตสูง แต่ก็ต้องระวังว่ามีการไล่อากาศระหว่างผิวของแม่พิมพ์กับแผ่นพลาสติกออกอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming ขั้นตอนที่ 1
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming ขั้นตอนที่ 2
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming ขั้นตอนที่ 3
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming ขั้นตอนที่ 4
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming ขั้นตอนที่ 5
รูปที่ 13 วิธีขึ้นรูปด้วยการ Plug-Assist Vacuum Forming

• Air-Cushioning Vacuum Operation

วิธีนี้จะรวมเอาลักษณะของ Plug-Assist Vacuum Forming กับ Vacuum Air-Slip Forming มาใช้ร่วมกัน ดังรูป 14
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation ขั้นตอนที่ 1
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation ขั้นตอนที่ 2
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation ขั้นตอนที่ 3
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation ขั้นตอนที่ 4
ภาพแสดงวิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation ขั้นตอนที่ 5
รูปที่ 13 วิธีขึ้นรูปด้วยการ Air-Cushioning Vacuum Operation

4.2 Pressure Forming

การขึ้นรูปแบบแรงดันอากาศ (Pressure Forming
) วิธีนี้คือ จะให้ความดันอากาศที่ด้านบนของแผ่นพลาสติกเพื่อผลักให้แผ่นพลาสติกประกบติดแม่พิมพ์โดยจะมีรูระบายอากาศ (Vent holes) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการจับอากาศระหว่างแผ่นพลาสติกและแม่พิมพ์
ความดันอากาศที่ใช้จะประมาณ 14.5-300 p.s.i. และจะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อป้องกันแผ่นพลาสติกจากการเย็นตัวหรือการห้อยย้อยลงมา
ประโยชน์ของวิธี Pressure forming ได้แก่
1. วงจรผลิตจะเร็วกว่าใน Vacuum Forming ธรรมดา
2. เนื่องจากความดันที่ใช้ในการผลักแผ่นพลาสติกสูงกว่า ดังนั้นแผ่นพลาสติกจะสามารถถูกขึ้นรูปที่อุณหภูมิต่ำกว่าและให้ผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมขนาดและรายละเอียดที่ดีกว่า

5. Blister Pack และ Skin Pack

เป็นวิธีการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั้ง blister pack และ skin pack ผลิตภัณฑ์จะถูกวางอยู่ระหว่างแผ่นพลาสติกหรือฟิล์ม และชิ้นส่วนของกระดาษแข็ง (Cardboard) ที่เป็นตัวสินค้า

5.1 ขั้นตอนของ Blister Pack

บลิสเตอร์แพค Blister pack คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่ทำลักษณะเป็นกล่องพลาสติกขึ้นรูป ตามรูปทรงของสินค้า มีความใส ทำให้เห็นสินค้าด้านใน โดย บรรจุภัณฑ์พลาสติกจะประกบเข้ากับกระดาษพิมพ์ลายอีกทีนึง วิธีทำคือ
1. ทำการขึ้นรูปแผ่นพลาสติกบางที่ค่อนข้างแข็งและใสโดยวิธีเทอร์โมฟอร์มมิ่งให้เป็นรูปร่างที่เรียกว่า "blister" โดยปกติ จะใช้การขึ้นรูปแบบ Straight vacuum forming หรือ drape forming โดยความลึกของ cavity จะเพียงพอต่อการเอื้อให้สินค้ามีการเคลื่อนที่ได้บ้างเล็กน้อย
2. สินค้าจะถูกใส่ลงไปใน cavity ในขณะแผ่นพลาสติกยังคงมีการจัดเรียงตัวอยู่ หลังจากนั้น ก็จะประกบด้วยกระดาษแข็ง ทากาว และอัดเข้าด้วยกัน
ลักษณะที่สามารถเห็นได้ชัดในวิธีการแบบ Blister pack คือ การมีรายละเอียดใน cavity ที่ดีกว่าในส่วนที่ผลิตภัณฑ์วางอยู่ แต่ราคาจะแพงกว่า skin pack
วิธีและขั้นตอนทำผลิตภัณฑ์ที่บรรจุโดยวิธี บลิสเตอร์แพค Blister pack
รูปที่ 14 ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุโดยวิธี บลิสเตอร์แพค Blister pack

5.2 ขั้นตอนของ Skin Pack

สกินแพค Skin pack คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำลักษณะเป็นกล่องพลาสติกขึ้นรูป พลาสติกจะไม่แข็งและไม่มีการเกิด Cavity เป็นรูปร่าง โดยพลาสติกจะโค้งงอได้และจะทำการขึ้นรูปเพื่อให้สิค้าถูกจับอยู่โดยฟิล์มบนกระดาษแข็ง วิธีทำคือ
1. ใช้กระดาษแข็งที่พิมพ์และเจาะรูเล็กๆ มากๆ จากนั้นจะมีการทากาวไปด้านบนของพื้นผิวที่มีการพิมพ์
2. แผ่นพลาสติกที่ถูกให้ความร้อนจะถูกวางบนกระดาษแข็งและจะดูดอากาศออกทางด้านใต้กระดาษแข็งเพื่อให้แผ่นพลาสติกใสถูกดูดลงไปประกบกระดาษแข็ง
วิธีการ skin pack จะดึงแผ่นพลาสติกลงไปบนผลิตภัณฑ์โดยตรง ดังนั้น จะไม่เกิดรอยเหี่่ยวย่นขึ้นหรือเกิดน้อยมาก และสินค้าจะไม่มีการเคลื่อนที่ วิธี skin pack จะมีราคาถูกกว่า Blister pack
วิธีและขั้นตอนทำผลิตภัณฑ์ที่บรรจุโดยวิธี สกินแพค Skin pack
รูปที่ 15 ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุโดยวิธี สกินแพค Skin pack

6. การควบคุมกระบวนการขึ้นรูป

การควบคุมกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งทำได้โดยทำให้พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้เป็นมาตรฐาน ซึ่งได้แก่
1. สมบัติของแผ่นพลาสติก
สมบัติที่สำคัญที่สุดต้องควบคุมและทำให้เป็นมาตรฐานคือความหนา ซึงควรจะมีความแปรปรวนน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
2. สภาวะการให้ความร้อน
การให้ความร้อนแก่แผ่นพลาสติกมักจะให้น้อยที่สุด เพื่อทำให้วงจรการผลิตสั้น ถ้าเกิดมีความแปรปรวนของความหนามาก ก็อาจให้ความร้อนเพิ่มอุณหภูมิที่สม่ำเสมอ
พารามิเตอร์ที่ต้องควบคุมในแผ่นพลาสติกแต่ละแผ่นอีกประการคือ ค่าดัชนีการไหล
ถ้าแผ่นพลาสติกแผ่นหนึ่งมีค่าดัชนีการไหลน้อยกว่าอีกแผ่นหนึ่ง ปริมาณความร้อนที่จะให้ไปเพื่อให้ได้สมบัติที่เหมือนกันของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาของแผ่นพลาสติกที่มีค่าดัชนีการไหลน้อยกว่าจะมากกว่า เนื่องจากมีความยาวของโซ่โมเลกุลมากกว่า
3. พารามิเตอร์สำคัญระหว่างการขึ้นรูป ได้แก่
3.1 ความเร็วของปั๊มสุญญากาศ คือจะต้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขนาดของรูระบายอากาศในแม่พิมพ์ควรมีขนาดใหญ่พอที่การดูดอากาศจะไม่ถูกขัดขวาง
3.2 อุณหภูมิของแม่พิมพ์ โดยปกติจะอยู่ที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิอื่นๆ ที่ต่ำกว่าอุณหภูมิแข็งตัวของพลาสติก เมื่ออุณหภูมิแม่พิมพ์สูงขึ้น วงจรการผลิตก็จะยาวขึ้นและการหดตัวก็จะมากขึ้นในบางครั้งถ้าใช้แม่พิมพ์ไปนานๆ อาจมีความร้อนสะสม ดังนั้น แม่พิมพ์จะต้องมีระบบการหล่อเย็นที่ดี เช่น การใช้พัดลมจากภายนอกหรือมีท่อหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์
3.3 ขนาดของปลั๊กที่ใช้ใน plug-assist โดยปกติ ขนาดของปลั๊กไม่ควรเกิน 70-85 เปอร์เซ็นต์ ของ cavity และ รูปร่างของปลั๊กควรจะเป็นคล้ายรูปร่างสะท้อนจากกระจกของรูปร่างของ cavity
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147