สัญลักษณ์พลาสติก ทั้งหมด 7 ประเภท ที่รีไซเคิลได้มีอะไรบ้าง? ที่เราใช้อยู่ทุกวัน

พลาสติกเป็นวัสดุที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมยานยนต์ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (Society of the Plastics Industry. SPI) ได้จำแนกพลาสติกแต่ละประเภทไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบประเภทของพลาสติกในผลิตภัณฑ์และง่ายต่อการแยกประเภทขยะพลาสติกก่อนทำการนำพลาสติกมารีไซเคิล ในรูปแบบของสัญลักษณ์พลาสติกตั้งแต่ตัวเลขตั้งแต่ 1-7 โดยมีลูกศรวนเป็นรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบดังแสดงในภาพ หรือที่เรียกย่อๆกันว่า SPI code ซึ่งมักจะประทับอยู่ด้านใต้ของผลิตภัณฑ์ อักษรภาษาอังกฤษด้านล่างบ่งบอกถึงชื่อของพลาสติกซึ่งบางครั้งไม่ได้ระบุลงบนผลิตภัณฑ์และมีเพียงสัญลักษณ์ตัวเลขเท่านั้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากพลาสติกรีไซเคิลสัญลักษณ์ที่พบคล้ายคลึงกันแต่มีอักษร "R" นำหน้าชื่อพลาสติกชนิดนั้นๆ เช่น RHDPE หรือ RPP เป็นต้น

สัญลักษณ์แสดงประเภทต่างๆ ของพลาสติก

สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 1 PET

พลาสติกประเภทที่ 1 PET

พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) อักษรย่อ PETE หรือ PET เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาต้นทุนต่ำ มักใช้ทำขวดน้ำดื่น ภาชนะบรรจุอาหาร นิยมนำไปรีไซเคิล
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 2 HDPE

พลาสติกประเภทที่ 2 HDPE

พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene) หรือที่รู้จักกันว่า HDPE มีความทนต่อการกัดกล่อนดีมักใช้ทำขวดแชมพู ขวดน้ำยาทำความสะอาด และถึงขยะ เป็นต้น พลาสติกชนิดนี้มีความปลอดภัยเนื่องจากยังไม่พบรายงานว่าตัวพลาสติกสามารถสลายตัวให้สารอันตรายได้เหมือนพลาสติกบางชนิด พลาสติก HDPE นี้โดยทั่วไปถูกนำไปรีไซเคิลทำเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทลังพลาสติก หรือ อ่างผสมปูน รั้วกั้นพลาสติก
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 3 PVC

พลาสติกประเภทที่ 3 PVC

พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride) หรือ PVC หรือบางครั้งแทนด้วยตัวอักษร V ซึ่งหมายถึงพลาสติกในกลุ่มไวนิล (Vinyl) นิยมนำไปทำเป็นท่อและแผ่นปูพื้น ซึ่งนักวิจัยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร เพราะมีองค์ประกอบของสารอันตรายชื่อ พทาเลต (Phthalate) โดยทั่วไปไม่นิยมนำพลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิล แต่พบอยู่บ้างในวัสดุที่นำมาปูพื้นและแผ่นพลาสติก ถังปูนพลาสติก ที่ใช้ในงานก่อสร้าง
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 4 LDPE

พลาสติกประเภทที่ 4 LDPE

พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene) LDPE เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นดี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก LDPE ได้แก่ ถุงบรรจุอาหาร พลาสติกห่อขนมปัง เป็นต้น ไม่นิยมนำพลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิลแต่สามารถพบได้บางผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านและครัวเรือน สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 5 PP

พลาสติกประเภทที่ 5 PP

โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ PP นิยมนำมาทำขวดนมเด็กแทน พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate, PC) เพื่อหลีกเลี่ยงสารกลุ่มบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A, BPA) ซึ่งเป็นสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตพลาสติกพอลิคาร์บอเนต สารชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มสารอันตรายที่ไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ เรียกว่า Endocrine Disrupting Compounds (EDCs) ทำให้การทำงานของระบบฮอร์โมนผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้โพลีโพรพิลีน ยังมีความทนทานและสามารถนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงมากนักได้โดยไม่มีสารอันตรายปลดปล่อยออกมา ไม่นิยมนำพลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิล แต่พบได้ในบางผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องอะไหล่  ถาดเพาะกล้า  กระถางต้นไม้ และ ตะกร้าผลไม้
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 6 PS

พลาสติกประเภทที่ 6 PS

พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือ PS หรือ Styrofoam ผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นได้บ่อยคือ กล่องโฟมใส่อาหาร ลังสำหรับบรรจุไข่ไก่ และภาชนะใช้แล้วทิ้ง พบว่าพลาสติกชนิดนี้มีการสลายตัวของสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งเป็นอันตรายออกมาได้โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับอาหารที่มีอุณหภูมิสูง การรีไซเคิลพลาสติก PS ต้องใช้พลังงานค่อนข้างมากจึงไม่เป็นที่ยอมรักและนิยมมากนัก
สัญลักษณ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ประเภทที่ 7 ชนิดอื่นๆ

พลาสติกประเภทที่ 7 ชนิดอื่นๆ

พลาสติกชนิดอื่นๆ ในกลุ่มนี้พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate, PC) ที่มีบิสฟีนอล เอ เป็นส่วนประกอบรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงพลาสติกชนิดอื่นๆ ได้แก่ พลาสติกชีวภาพ หรือ Bio-based Plastic เช่น Polylactic Acid (PLA), Polyamide Plastic, Acrylic Plastic, Styrene Acrylonitrile หรือ SAN, Polyester เป็นต้น
ผู้บริโภคควรศึกษาการสังเกตชนิดของพลาสติกและคุณสมบัติของพลาสติกเพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่นเมื่อผู้บริโภคต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเด็กควรหลีกเลี่ยงพลาสติกประเภทที่ 3,6 และ 7 ซึ่งสามารถสลายตัวให้สารอันตราย ได้แก่ สไตรีน และ บิสฟีนอล เอ ตามลำดับ และหลีกเลี่ยงการใช้งานภาชนะพลาสติกที่อุณหภูมิสูง เช่น การใช้งานในไมโครเวฟที่กำลังวัตต์สูงเป็นเวลานานหากจำเป็นต้องใช้ให้เปลี่ยนเป็นภาชนะอื่นๆ เช่น แก้ว หรือ เซลามิก นอกจากนี้หากฟิล์มที่นำมาห่ออาหารทำจาก พลาสติก PVC ก็ควรลอกฟิล์มส่วนที่สัมผัสกับอาหารออกก่อนการอุ่นอาหารทุกครั้ง
งานฉีดพลาสติก
ความรู้งานพลาสติก
  • พลาสติกคืออะไร
  • Back
    Next
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147