มาตรฐานสินค้าเกษตรทุเรียน
การกำหนดมาตรฐานสินค้าการเกษตรของทุเรียนจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณภาพขั้นต่ำของทุเรียนเอาไว้ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดมาตรฐานทุเรียนไว้ดังนี้
1. ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของทุเรียน
1.1 ผลทุเรียนทุกชั้นคุณภาพต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละชั้นคุณภาพและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้
• เป็นทุเรียนทั้งผลที่มีขั้วผล
• ตรงตามพันธุ์
• สด
• สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้
• ไม่มีรอยแตกที่เปลือก
• ไม่มีแมลงศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อลักษณะภาพในของผลทุเรียน
• ไม่มีร่องรอยความเสียหายเนื่องจากแมลงศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของเนื้อทุเรียน
• ไม่มีความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ และ/หรือ อุณหภูมิสูง
• ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม และ/หรือ รสชาติที่ผิดปกติ
• เมื่อผลทุเรียนสุก ไม่มีความผิดปกติของเนื้อ ได้แก่ แกน เต่าเผา ไส้ซึม ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันต้องไม่เกิน 5% ของส่วนที่บริโภคได้
1.2 ผลทุเรียนต้องแก่ได้ที่ขึ้นกันพันธุ์ ฤดูกาล และแหล่งที่ปลูก มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวการบรรจุและการขนส่งอย่างระมัดระวัง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง
2. การแบ่งชั้นคุณภาพของทุเรียน
ผลทุเรียนตามมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังนี้
2.1 ชั้นพิเศษ (Extra Class)
ผลทุเรียนในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพที่ดีที่สุด มีลักษณะสมบูรณ์ ต้องมีจำนวนพูสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 4 พู ไม่มีความผิดปกติด้านรูปทรงและไม่มีตำหนิ ในกรณีที่มีความผิดปกติหรือตำหนิต้องมองเห็นไม่ชัดเจน และไม่มีผลกระทบต่อลักษณะภายนอก คุณภาพเนื้อทุเรียน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษาและการจัดเรียนเสนอในภาชนะบรรจุ
2.2 ชั้นหนึ่ง (Class 1)
ผลทุเรียนในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี อาจมีความผิดปกติหรือตำนิได้เล็กน้อย ดังต่อไปนี้
• ความผลิปกติเล็กน้อยด้านรูปทรง โดยจำนวนพูสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 3 พู และพูไม่สมบูรณ์อีก 2 พู และไม่ทำให้รูปทรงผลทุเรียนเสียไป
• ตำหนิเล็กน้อยเกิดจากกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวหรือการขนส่ง เช่น รอบแผลเป็นตื้นๆ และหนามหักหรือช้า โดยขนาดของตำหนิโดยรวมต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ผิวของผลทุเรียน
ความผิดปกติหรือตำหนิจะต้องไม่มีผลกระทบต่อลักษณะภายนอก คุณภาพของเนื้อทุเรียน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการจัดเรียงเสนอในภาชนะบรรจุ
2.3 ขั้นสอง (Class 2)
ผลทุเรียนในชั้นนี้รวมผลทุเรียนที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้นที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพตามข้อกำหนดขั้นต่ำที่กำหนดในข้อ 1 ผลทุเรียนในชั้นนี้มีความผิดปกติหรือตำหนิได้ดังต่อไปนี้
• ความผิดปกติด้านรูปทรง โดยจำนวนพูสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 2 พู และพูไม่สมบูรณ์อีก 2 พู และไม่ทำให้รูปทรงทุเรียนเสียไป
• ตำหนิเล็กน้อยซึ่งเกิดจากกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวหรือการขนส่ง เช่น รอยแผลเป็นตื้นๆ และหนามหักหรือช้า โดยขนาดของตำหนิโดยรวมต้องไม่เกิน 10% ของพื้นผิวของผลทุเรียนความผิดปกติหรือตำหนิจะต้องไม่กระทบต่อลักษณะภายนอกคุณภาพของเนื้อทุเรียนคุณภาพระหว่างการเก็บเกี่ยว และการจัดเรียงเสนอในภาชนะบรรจุ
3. มาตรฐานขนาดทุเรียน
3.1 ผลทุเรียนที่เป็นพันธุ์ทางการค้าทั่วไปต้องมีน้ำหนักต่อผล ดังนี้
3.1.1 พันธุ์ชะนี น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 4.5 กิโลกรัม
3.1.2 พันธุ์หนมอนทอง น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 6 กิโลกรัม
3.1.3 พันธุ์ก้านยาว น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 4 กิโลกรัม
3.1.4 พันธุ์กระดุมทอง น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.3 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 4 กิโลกรัม
3.1.5 พันธุ์นวลทองจันทร์ น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 4.5 กิโลกรัม
3.1.6 พันธุ์พวงมณี น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม
3.1.7 พันธุ์ทุเรียนอื่นๆ ที่เป็นพันธุ์ทางการค้า ไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัม
3.2 การกำหนดรหัสขนาดของทุเรียนพิจารณาจากน้ำหนักต่อผล ดังตาราง
ตารางขนาดผลทุเรียน
4. เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของทุเรียน
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพและขนาดที่ยอมให้มีได้แต่ละภาชนะบรรจุ/รุ่นที่ส่งมอบสำหรับผลทุเรียนที่ไม่เป็นไปตามคุณภาพและขนาดที่ระบุไว้ มีดังนี้
4.1 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ
4.1.1 ชั้นพิเศษ (Extra Class)
ความคลาดเคลื่อนยอมให้มีได้ไม่เกิน 10% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของทุเรียนที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2) แต่เป็นไปตามคุณภาพชั้นที่หนึ่ง (ข้อ 2.2) หรือ คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของคุณภาพชั้นที่หนึ่ง (ข้อ 4.1.2) ทั้งนี้ไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนของจำนวนพู
4.1.2 ชั้นหนึ่ง (Class1)
ความคลาดเคลื่อนยอมให้มีได้ไม่เกิน 10% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของผลทุเรียนที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นที่หนึ่ง (ข้อ 2.2) แต่เป็นไปตามคุณภาพชั้นที่สอง (ข้อ 2.3) หรือ คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของคุณภาพชั้นสอง (ข้อ 4.1.3) ทั้งนี้ไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนของจำนวนพู
4.1.3 ชั้นสอง (Class 2)
ความคลาดเคลื่อนยอมให้มีได้ไม่เกิน 10% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของทุเรียนที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดชั้นสอง (ข้อ 2.3) หรือไม่ได้ตามข้อกำหนดขั้นต่ำ (ข้อ 1) แต่ต้องไม่มีผลเน่าเสียหรือมีลักษณะอื่นที่ไม่เหมาะสมต่อการบริโภค
4.2 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนขนาด
ผลทุเรียนทุกรหัสขนาด มีผลทุเรียนที่ขนาดใหญ่หรือเล็กกว่าถัดไปหนึ่งขั้นปนมาได้ไม่เกิน 25% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของผลทุเรียน
5. การบรรจุทุเรียน
5.1 ภาชนะบรรจุทุเรียน
ภาชนะบรรจุต้องมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ไม่มีกลิ่นและสิ่งแปลกปลอม สามารถป้องกันความเสียหายที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียนได้ วัสดุที่ใช้ภายในภาชนะบรรจุต้องสะอาด และมีคุณภาพมีการใช้วัสดุโดยเฉพาะกระดาษหรือตราประทับที่มีข้อมูลทางการค้าต้องใช้หมึกพิมพ์หรือกาวที่ไม่เป็นพิษ
5.2 ความสม่ำเสมอ
ผลทุเรียนที่บรรจุในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องมีการจัดเรียงสม่ำเสมอทั้งในเรื่องของพันธุ์ คุณภาพและขนาด กรณีที่มองเห็นผลทุเรียนจากภายนอกภาชนะบรรจุผลทุเรียนส่วนที่มองเห็นต้องเป็นตัวแทนของผลิตผลทั้งหมด
6. ฉลากและเครื่องหมายการค้า
6.1 ผลิตผลทุเรียนที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค
ผลิตผลที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคต้องมีความแสดงรายละเอียดที่ภาชนะบรรจุสิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด ป้ายสินค้าหรือบนผลิตผล โดยต้องมองเห็นง่าย ชัดเจน ไม่เป็นเท็จ หรือ หลอกลวง ดังต่อไปนี้
• ชื้อผลิตผล ให้ระบุข้อความว่า "ทุเรียน" และ "ชื่อพันธุ์ทุเรียน"
• น้ำหนักสุทธิ
• ขั้นคุณภาพ
• รหัสขนาด และ/หรือขนาด
• ข้อมูลผู้ผลิต และ/หรือผู้นำเข้า และ/หรือผู้แทนจำหน่าย
• ให้ระบุชื่อและที่อยู่ของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย ทั้งนี้อาจแสดงชื่อและที่อยู่สำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือแบ่งบรรจุก็ได้ กรณีนำเข้า ให้ระบุชื่อที่อยู่ของผู้นำเข้า
• ข้อมูลแหล่งผลิต
• ให้ระบุประเทศผู้ผลิต ยกเว้นกรณีที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
• วันที่ผลิต และ/หรือ บรรจุ
• ภาษา
***กรณีผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้***
***กรณีที่ผลิตส่งออกให้แสดงข้อความเป็นภาษาต่างประเทศได้***
6.2 ผลิตผลทุเรียนที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค
ต้องมีข้อความระบุในเอกสารกำกับสินค้า ฉลาก หรือแสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุ โดยข้อความต้องมองเห็นได้ง่าย ชัดเจน ไม่หลุดลอก ไม่เป็นเท็จหรือหลอกลวง ดังนี้
• ชื้อผลิตผล ให้ระบุข้อความว่า "ทุเรียน" และ "ชื่อพันธุ์ทุเรียน"
• น้ำหนักสุทธิ
• ขั้นคุณภาพ
• รหัสขนาด และ/หรือขนาด
• ข้อมูลผู้ผลิต และ/หรือผู้นำเข้า และ/หรือผู้แทนจำหน่าย
• ให้ระบุชื่อและที่อยู่ของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย ทั้งนี้อาจแสดงชื่อและที่อยู่สำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือแบ่งบรรจุก็ได้ กรณีนำเข้า ให้ระบุชื่อที่อยู่ของผู้นำเข้า
• ข้อมูลแหล่งผลิต
• ให้ระบุประเทศผู้ผลิต ยกเว้นกรณีที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
• วันที่ผลิต และ/หรือ บรรจุ
• ภาษา
6.3 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าการเกษตร
การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าการเกษตร ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับสินค้าการเกษตร พ.ศ. 2553 และประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห้งชาติที่เกี่ยวข้อง