รวมคำถามการปลูกมังคุดที่ชาวสวนอยากรู้ก่อนลงมือปลูก ตอนที่ 1

รวมคำถามการปลูกมังคุดที่ชาวสวนอยากรู้ก่อนลงมือปลูก
ตอน  1  2 
มังคุด (mangosteen) เป็นผลไม้พื้นบ้านของเราที่ขายได้ราคาดี มีคลาดรับซื้อไม่จำกัด ทั้งตลาดในเมืองไทยและในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ชาวสวนจำนวนมากทั้งที่เคยปลูกไม้ผลอื่นๆอยู่แล้ว และผู้ที่จะเริ่มทำสวนใหม่ จึงสนใจที่จะปลูกมังคุด พูดง่ายๆ ก็คือ อย่าทำสวนมังคุด เพราะเห็นว่าราคาดี มีพ่อค้ารับซื้อมาก จึงน่าจะเป็นผลไม้ที่มีอนาคตดีกว่าผลไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด

พอเริ่มต้นจะทำสวนมังคุดชาวสวนที่ไม่เคยปลูกมังคุดหรือคนที่เคยทำสวนแต่อยากจะทำสวนมังคุดมีคำถามเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่คำว่าต้นมังคุดหน้าตาเป็นอย่างไร ไปจนถึงว่าเก็บขายอย่างไรเพื่อช่วยให้ชาวสวนรุ่นใหม่คุ้นเคยกับวิธีปลูกมังคุด และมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำสวนมังคุดอย่างพอเพียง จึงได้รวบรวมคำถามที่ท่านอยากได้คำตอบมาไว้ในบทความนี้

ต้นมังคุดมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

มังคุด เป็นต้นไม้พื้นบ้านที่พบทางภาคใต้ของเมืองไทยนี่้เอง ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หรือพม่า ก็พบว่ามีต้นมังคุดปลูกอยู่เหมือนกัน มังคุดเป็นต้นไม้ที่โตช้าแต่ว่ามีอายุยืนยาวเราจัดมังคุดไว้ประเภทของผลไม้ขนาดใหญ่ โดยต้นมังคุดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ลำต้นของมังคุดมักจะตั้งตรง และแตกกิ่งก้านอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งกิ่งจะมีลักษณะเป็นคู่ๆ สลับกันไป ทรงพุ่มเมื่อมองจากภายนอกจะมองดูคล้ายกับรูปกรวยคว่ำ มังคุดมีใบหนา ผิวในเรียบเป็นมัน ใบมีรูปร่างกลมยาว จากการสังเกตพบว่าต้นมังคุดมักไม่ค่อยแตกกิ่งภายในพุ่ม ทั้งนี้ก็เพราะว่าใบที่อยู่บริเวณด้านนอกจะบดบังแสงแดดไว้จนหมด มังคุดออกดอกเฉพาะที่บริเวณปลายกิ่งเท่านั้น โดยอาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นพวงก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีเพียงดอกเดียว และเมื่อออกดอกติดเป็นผล ก็จะได้ผลมังคุดที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่โคน มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบติดอยู่ ผลมังคุดมีเปลือกหนา เมื่อยังดิบอยู่ผิวเปลือกจะมีสีเขียวภายในมียางสีเหลืองเมื่อสุกเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงหรือม่วงดำ เนื้อมังคุดมีสีขาวแบ่งเป็นกลีบๆ เหมือนส้ม ซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 4-8 กลีบแต่ในจนวนนี้จะมีเมล็ดเพียง 1-3 กลีบเท่านั้น
ต้นมังคุดอายุ 5ปี จากการเพราะเมล็ด
ต้นมังคุดอายุ 5ปี จากการเพราะเมล็ด
ต้นมังคุดอายุ 10ปี จากการเพราะเมล็ด
ต้นมังคุดอายุ 10ปี จากการเพราะเมล็ด
ดอกมังคุดและการพัฒนาการของดอกมังคุด
ดอกมังคุดและการพัฒนาการของดอกมังคุด
ผลมังคุด
ผลมังคุด
ลักษณะการแตกกิ่งและใบของต้นมังคุด
ลักษณะการแตกกิ่งและใบของต้นมังคุด

เราสามารถปลูกมังคุดได้ทั่วไปทุกแห่งเลยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ในประเทศไทยนั้นมีแหล่งที่ชาวสวนปลูกมังคุดกันมากอยู่ 3 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ พื้นที่ในเขตภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคกลาง ในภาคตะวันออกก็ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ภาคใต้ก็ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ส่วนภาคกลางก็ได้แก่พื้นที่ในเขตกรุงเทพ และจังหวัดนนทบุรีสำหรับภาคอื่นๆ เช่นภาคเหนือ ก็มีปลูกบ้างเหมือนกันที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และเชียงใหม่ แต่ก็ยังมีไม่มากนัก ส่วนภาคอีสานเช่น จังหวัดนครพนม หนองคาย และพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำโขงก็กำลังทดลองปลูกอยู่เหมือนกัน เขตอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วก็มีการทดลองปลูกบ้างเหมือนกัน แต่มักไม่ค่อยได้ผลโดยต้นมังคุดที่ปลูกจะเกิดอาการแห้งตาย ก่อนที่จะให้ผลผลิต เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามังคุดเป็นพืชที่คายน้ำเก่ง ดังนั้นพื้นที่ปลูกจึงต้องเป็นที่มีความชื้นสูง หากไปปลูกในที่มีอากาศแห้งก็จะทำให้ใบมีการคายน้ำอย่างรวดเร็ว จนรากไม่สามารถดูดน้ำมาทดแทนได้ทัน ต้นมังคุดก็อยู่ไม่ได้ เพราะน้ำระเหยไปหมด เหมือนกับคนที่ตายเพราะโรคขาดน้ำ
สวนมังคุดในจังหวัดจันทบุรี
สวนมังคุดจังหวัดจันทบุรี
สวนมังคุดในจังหวัดชุมพร
สวนมังคุดจังหวัดชุมพร
จังหวัดที่มีการปลูกมังคุดมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช ระยอง และ จันทบุรี หากว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ได้มีสวนอยู่ในเขตจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกมังคุดดังรายชื่อข้างต้นแต่มีความสนใจที่จะทดลองปลูกมังคุดดูบ้าง ก็ขอแนะนำเมล็ดมังคุดที่ท่านรับประทานเนื้อแล้วไปทดลองเพาะดูหรือหากมีธุระผ่านไป ทางภาคใต้ที่เขามีต้นกล้ามังคุดว่างขายอยู่ จะลองซื้อมาปลูกข้างบ้านสักต้นสองต้นก็ได้ แล้วดูแลให้ดีตามวิธีปฏิบัติที่จะอธิบายไว้ในคำตอบข้อหลังๆ เมื่อผ่านไปสักปีต้นมังคุดยังแตกใบดีและไม่พบหรือใบแห้งน้อยมากอย่างนี้ก็พอจะลองปลูกเป็นสวนกันดูได้แต่ถ้าเพาะเมล็ดกล้าขึ้นมาแล้วใบแห้งตายซื้อต้นมาปลูกดูอาการใบแห้งตายและร่วงไปทีละใบสองใบจนหมดต้น แบบนี้ก็ไม่แนะนำให้ทดลองต่อเพราะจะเสียเงินเสียเวลาเปล่าๆ

ถ้าชาวสวนสนใจปลูกมังคุดกันมากๆ จะมีตลาดรับซื้อหรือไม่? แล้วราคาจะดีไหม?

ถ้าเกษตรกรจะปลูกพืชอะไรเพื่อขายละก็ต้องดูก่อนว่าคุ้มหรือไม่ แล้วกำไรจะดีไหม อีกทั้งในอนาคตเรายังสามารถขายผลผลิตได้ราคาดีเหมือนเดี๋ยวนี้หรือไม่ถ้าต้องพูดถึงความต้องการของตลาดต่อผลไม้ชนิดหนึ่ง ก็คงจะต้องดูที่คนซื้อก่อนว่าชอบรับประทานกันไหม แต่สำหรับมังคุดแล้วตลาดของผลไม้ชนิดนี้ยังไปได้อีกไกล ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยที่ตลาดภายในประเทศนั้น ราคาขายส่งที่ตลาดกรุงเทพ ของมังคุดเฉลี่ยต่อปีราคาประมาณกิโลกรัมละ 13 บาท และพ่อค้าก็ยินดีรับซื้อทั้งหมด นอกจากนี้ตลาดส่งออกก็ยังเป็นที่นิยมเข่นกัน โดยสามารถนำมังคุดบรรจุในตะกร้ามังคุดเพื่อส่งออกไปได้ทุกประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะว่าไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของกลิ่น หรือรสชาติเหมือนผลไม้ชนิดอื่นๆ และในขณะนี้มังคุดเป็นผลไม้อีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับการส่งเสริมให้ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วยสำหรับราคาขายในการส่งออกจะสูงกว่าตลาดภายในประเทศถึงประมาณ 2เท่าตัว เช่น ถ้าตลาดภายในกิโลกรัมละ 13 บาท ตลาดส่งออกจะได้ถึงกิโลกรัมละ 26 บาท เป็นต้น ซึ่งราคาขายในระดับนี้ก็พอที่จะทำให้ผู้ปลูกมีกำไรและอยู่ได้อย่างสบาย แต่ถ้าหากวิตกกันว่าถ้าปลูกกันมากๆแล้วตลาดขยายตัวไม่ทัน แล้วราคาจะตกเช่นเดียวกับฝรั่งหรือส้มนั้นก็ของตอบว่าเป็นไปได้ยากเพราะมังคุดเป็นพืชที่โตช้าและให้ผลช้า ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตมังคุดในตลาดจึงค่อนข้างจะสมดุลกับการขยายตัวของตลาดและอีกประการหนึ่งคู่แข่งก็มีไม่มาก เพราะบ้านเราก็ปลูกได้ดีเฉพาะในบางจังหวัดเท่านั้นส่วนในต่างประเทศก็ปลูกได้ดีไม่กี่ประเทศ และในขณะนี้ประเทศเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย หรือ อินโดนีเซีย ก็ยังมีการปลูกแบบดั้งเดิมกันอยู่ อีกทั้งการพัฒนาช้ากว่าเราคู่แข่งของเราจึงน้อย
ล้งสำหรับซื้อมังคุดตลาดรับซื้อมังคุด
ล้งสำหรับรับซื้อมังคุด

ในประเทศไทยมีการทำสวนมังคุดมากน้อยเพียงใด

ตัวอย่างผลการสำรวจของกรมส่งเสริมการเกษตรแสดงข้อมูลการปลูกมังคุด พื้นที่ปลูกนี้ รวมต้นที่ให้ผลและต้นที่ยังไม่ได้ไห้ผล
ปี พ.ศ.
พื้นที่ปลูก(ไร่)
เปลี่ยนแปลง
ผลผลิต(ตัน)
เปลี่ยนแปลง
2527
72179
-
61888
-
2528
77494
+7.36
68745
+11.08
2529
84423
+8.94
64562
-9.12
2530
93841
+0.04
65562
+4.24
2531
115644
+23.23
73349
+8.79
2532
138862
+16.72
90119
+22.86
2533
150983
+8.72
90623
+0.16
จะเห็นได้ว่ามังคุดมีพื้นที่ปลูกและผลผลิตยังไม่มากนัก เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของแหล่งปลูกหากจะเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นแล้วในปี พ.ศ 2530 พื้นที่ปลูกมังคุดจัดอยู่ในลำดับที่ 17 ในขณะที่ผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น มะม่วงมีพื้นที่ปลูก 377,956 ไร่ ทุเรียนมีพื้นที่ปลูก 529,413 ไร่ เงาะมีพื้นที่ปลูก 444,697 ไร่ ส้มเขียวหวานและส้มโอมีพื้นที่ปลูก 377,956 ไร่ เป็นต้น เช่นเดียวกัน กับในด้านปริมาณของการผลิตมีปริมาณของผลผลิต คือ ผลผลิตมะม่วงมีประมาณ 422,237,276 ต้น เงาะ 448,542,300 ต้น และส้มเขียวหวาน 554,668,660 ต้น เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลผลิตมีปริมาณมากกว่ามังคุดมากดังนั้นโอกาสที่ผลผลิตมังคุดจะล้นตลาดจึงมีน้อย เมื่อแยกผลกานสำรวจออกเป็นรายจังหวัดโดผเฉพาะปลูกตั้งแต่ 5 ไร่หรือ 80 ต้นขึ้นไป โดยการทำสำรวจในปี พ.ศ. 2530 จะได้ผลดังนี้
ข้อมูลสำรวจ
จันทบุรี
ระยอง
ชุมพร
นครศรีธรรมราช
รวม
พื้นที่ปลูก(ไร่)
406.3
489.5
2236.7
916.3
4048.8
จำนวนต้น (ต้น)
7617
10532
35051
19198
72398
จำนวนเกษตรการ (ราย)
54
55
267
88
464

ดินแบบไหนที่ปลูกมังคุดได้ดี และแบบไหนที่มังคุดไม่ชอบ

ดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูงและระบายน้ำได้ดี เป็นดินที่มังคุดเจริญเติบโตได้ดีมาก ซึ่งดินประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นกรดอ่อนๆ ถ้าเทียบระดับในทาวิชาการ ก็บอกได้ว่ามีค่า pH ประมาณ 5.5-6 หากเป็นที่ลุ่มแม่น้ำใต้ดินสูงก็ควรยกร่อนก่อนปลูกมังคุด (เช่น สวนเมืองนนท์) เพราะต้นมังคุดจะหยั่งรากยึดดินไว้ได้ ทำให้ต้นไม้โค่นล้มง่าย และอากาศในพื้นดินมีเพียงพอต่อการหายใจของราก ส่วนดินที่มังคุดไม่ชอบก็คือดินที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา เช่น ดินที่มีหน้าดินตื้น มีอินทรีย์วัตถุน้อยดินมีลักษณะเป็นกรดมาก (ดินเปรี้ยว) หรือดินที่เป็นด่างมาก (มีหินปูนในดินมาก) ดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี เมื่อฝนตกเพียงเล็กน้อยก็เกิดการขังแฉะหรือพอหยุดการให้น้ำก็จะแห้งและจับตัวเป็นก้อนแข็ง เหล่านี้เป็นต้น ดินพวกนี้นอกจากจะไม่อุ้มน้ำและระบายน้ำไม่ดีแล้วอากาศภายในดินก็ยังมีน้อยอีกด้วยทำให้รากมีการเจริญเติบโตช้าหรือไม่เจริญเลย แต่ถ้าหากว่าดินในสวนของท่านเป็นดินที่มีหน้าดินไม่ลึก และมีลักษณะเป็นกรดหรือด่างมากกว่าปกติเล็กน้อย ก็อาจแก้ไขได้โดยใช้วิธีการปรับปรุงดิน เช่น การเพิ่มอินทรีย์วัตถุ การใส่ปูนขาวหรือปูนมาลก์ และการเลือกปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมกับดินนั้นๆ ก็จะทำให้ปลูกมังคุดได้ผลดีเช่นกัน

มังคุดชอบอากาศแบบไหน

นอกจากเรื่องของดินแล้ว ทีนี้ก็มาเรื่องของลมฟ้าอากาศกันบ้างโดยธรรมชาติแล้วมังคุดชอบขึ้นในที่ที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง อากาศร้อนก็ประมาณภาคกลางหรือภาคใต้ของเรานี่แหละ มังคุดชอบอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสต้นมังคุดจะหยุดการเจริญเติบโตและถ้าต่ำกว่า 5 องซาเซลเซียส ก็อาจทิ้งใบและตายได้ ดังนั้นในเขตภาคเหนือหรือบนภูเขาที่มีอากาศเย็นจึงปลูกมังคุดไม่ได้ ส่วนเรื่องของฝน พื้นที่ที่ใช้ปลูกมังคุดควรมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอและมีฝนกระจายตลอดปี แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีฝนตกน้อยหรือตกเพียงแค่ 2-3 เดือน แต่ว่าน้ำในดินมีปริมาณมากและสามารถให้น้ำอย่างสะดวก ก็อาจปลูกมังคุดได้เหมือนกัน ในบริเวณที่ปลูกมังคุดควรปลูกไม้กันลมไว้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยกันลมและเพิ่มความชื้นให้แก่อากาศรอบบต้นมังคุด ซึ่งก็จะทำให้มังคุดมีการคายน้ำน้อยลง ไม้กันลมที่นิยมปลูกกันก็ได้แก่ ต้นทองหลางหรือต้นไผ่ก็ใช้ได้ดีการปลูกไม้กันลมและให้ความชื้นนี้ มีตัวอย่างให้เห็นกันทั่วไปในสวนมังคุดแถบจังหวัดนนทบุรี แต่ถ้าหากเป็นเขตที่มีความชื้นในอากาศต่ำ ฝนตกน้อย และมีน้ำไม่เพียงพอที่จะรดให้กับต้นมังคุดได้ตลอดปีแล้วละก็พื้นที่นั้นจะไม่สมควรปลูกมังคุดเป็นอย่างวยิ่ง

ต้องมีการให้น้ำมังคุดมากหรือไม่ และต้นมังคุดสามารถทนแล้งทนน้ำขังได้นานแค่ไหน

น้ำจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำสวนมังคุด หากในเขตที่จะปลูกมังคุดมีฝนตกอยู่เพียงช่วงสั้นๆ และฝนตกไม่กระจายตลอดทั้งปี จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำที่จะเพิ่มเติมแก่ต้นมังคุดอย่างเพียงพอ โดยธรรมชาติแล้วมังคุดเป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงก่อนการออกดอกประมาณ 1 เดือนเท่านั้นที่ชาวสวนจะให้น้ำน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการติดดอกดีขึ้น ธรรมชาติของมังคุดอีกอย่างหนึ่งก็คือมังคุดอาจจะทิ้งใบและตายได้ ดังนั้นท่านที่สนใจปลูกมังคุดจึงควรเลือกสถานที่ปลูกให้ดีหากพื้นที่ปลูกมีแนวโน้มที่จะขาดน้ำได้ง่ายเช่นเป็นที่ดอนหรือเป็นที่เนินที่มีความลาดเท ก็ควรจะให้น้ำมากขึ้นในฤดูแล้ง และควรคลุมผิวดินบริเวณใต้ทรงพุ่มด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งให้หนา เพื่อรดการระเหยน้ำจากผิวดิน แต่หากมีแนวโน้มที่น้ำจะท่วมขังได้ง่าย เข่น เป็นที่ลุ่มต่ำทำให้มีน้ำไหลไปรวมกันในบริเวณนั้นมาก ก็ควรขุดร่องระบายน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำให้ด้วย

ต้นมังคุดออกดอกให้ผลในฤดูใด และออกพร้อมกันทั่วประเทศเลยหรือไม?

มังคุดที่ปลูกอยู่ในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้น จะออกดอกและเก็บผลได้ในฤดูกาลที่ต่างกันโดยทั่วไปมังคุดที่ปลูกในภาคตะวันออกจะออกดอกและเก็บผลได้ก่อนมังคุดที่ปลูกในภาคใต้ประมาณ 1-2 เดือน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การออกดอกของมังคุดจะเริ่มก็ต่อเมื่อผ่านช่วงแล้งมาแล้วระยะหนึ่งซึงมักจะเป็นระยะหลังฤดูฝน หากปีใดที่ฤดูฝนล่าช้าออกไปมังคุดก็จะออกดอกล่าช้าไปด้วย
พื้นที่
ระยะเวลาออกดอก
ระยะเวลาผลสุก
ภาคตะวันออก
มกราคม - กุมภาพันธ์
พฤษภาคม - มีนาคม
ภาคใต้
มีนาคม - เมษายน
กรกฎาคม - สิงหาคม
สำหรับมังคุดที่ปลูกภาคเหนือและอีสานตอนบนนั้น มักจะมีระยะการออกดอกและเก็บผลก่อนภาคตะวันออกเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพราะว่าฝนนั้นจะหยุดตกก่อนภาคตะวันออก ซึ่งการออกดอกและให้ผลของมังคุดในระยะที่ต่างกันนี้ นับว่าส่งผลดีต่อสวนมังคุดเป็นอย่างมากเพราะจะไม่เกิดปัญหาการล้นตลาด ทำให้ราคาขายไม่ตกต่ำ และผู้บริโภคยังสามารถหาซื้อมังคุดมารับประทานได้หลายฤดูอีกด้วย

มังคุดมีพันธุ์อะไรบ้าง? แลจะหาต้นพันธุ์มังคุดมาปลูกได้อย่างไร?

ชาวสวนมังคุดมักจะพูดถึงมังคุดว่า มังคุดก็คือมังคุด เพราะยังไม่มีใครแยกได้ว่ามังคุดมีกี่พันธุ์ แม้ว่าจะนำเมล็ดมาเพาะต้นกล้าที่ได้มาก็ยังให้ผลเหมือนเดิมทุกประการ ต่างจากไม้ผลชนิดอื่นๆ เช่น ทุเรียน ขนุน ส้มโอ และอื่นๆ ซึ่งนำเมล็ดมาเพาะ ต้นใหม่ที่ได้มักจะกลายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนหรือทาบกิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้คงพันธุ์ที่ดีเอาไว้ แต่สำหรับมังคุดแล้วชาวสวนนิยมขยายพันธุ์โดวิธีการเพาะเมล็ดโดยใช้ถาดเพาะกล้า ซึ่งมังคุดที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันก็ได้จากการเพาะเมล็ดทั้งสิ้น แม้ว่าจะมีการพูดกันว่ามังคุดมีหลายพันธุ์ไม่ใช่มีแค่พันธุ์เดียว เช่น พันธุ์มังคุดพวง พันธุ์มังคุดลูกเล็ก พันธุ์เปลือกบาง และพันธุ์ปลายแหลม เป็นต้น แต่ก็ยังไม่มีนักวิชาการท่านใดมายืนยันในเรืองนี้ เพราะฉะนั้นในขณะนี้ให้ถือว่ามังคุดมีเพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น
กล้ามังคุดหลังจากการเพาะเมล็ด
กล้ามังคุดหลังจากการเพาะเมล็ด
เพาะกล้ามังคุดในถุงดำ
เพาะกล้ามังคุดในถุงดำ
สำหรับการเพาะเมล็ดมังคุด ชาวสวนมักเลือกเมล็ดที่มีขนาดใหญ่มาเพาะ ควรใช้เมล็ดที่สดและใหม่ ไม่แกะเม็ดจากผลทิ้งไว้ เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าไม่งอกเลย ก่อนเพาะควรล้างเนื้อออกจากเมล็ดเสียก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อรา ควรเพาะในที่ร่มซึ่งมีความชื้นสูงโดยจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมล็ดมังคุดจะงอกภายใน 3-4 สัปดาห์ ถ้าเป็นการเพาะไว้ในถาดเพาะกล้ารวมกัน เมื่อมังคุดมีใบจริงแล้ว 2 ใบ ควรแยกใส่ถุงเพาะชำหรือกระถางต้นไม้พลาสติกอย่างละละ 1ต้น หลังจากชำไว้ได้ 1 ปี ควรเปลี่ยนถุงเพาะและกระถางให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปีที่ 2 ก็เริ่มนำมาปลูกในแปลงได้ แต่หากยังไม่พร้อมที่จะปลูกก็อาจจะนำลงปลูกในปีต่อไป คือเมื่ออายุ 3 ปีก็ได้ แต่มักจะไม่เก็บไว้นานกว่านี้เพราะต้นจะใหญ่เกินทำให้ต้นตั้งตัวได้ช้า

แม้ว่าการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ดจะมีข้อดีทำได้ง่าย และได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์ที่ได้จะมีการจัดระบบรากที่ดีก็ตาม แต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือว่าต้องใช้เวลา 2 ถึง 3 ปี กว่าจะนำต้นพันธุ์ลงปลูกในแปลงได้ และระยะเวลาการออกดอกให้ผลก็ช้า คือ ประมาณ 6-8 ปี หลังจากการเพาะเมล็ด

ถ้าไม่ต้องการเพาะเมล็ดจะสามารถขยายพันธุ์มังคุดโดยวิธีอื่นได้หรือไม่?

เดิมมีชาวสวนพยายามตอนกิ่งมังคุด แต่เนื่องจากมังคุดเป็นพืชที่มียางมาก ทำให้การขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่งจึงไม่ประสบผลสำเร็จ แม้กระนั้นก็ยังไม่ละความพยายามที่จะขยายพันธุ์ที่ออกดอกอกผลเร็วขึ้น วิธีที่ใช้ได้ในขณะนี้้ก็คือวิธีทาบกิ่งและเสียบยอดซึ่งทั้ง 2วิธี จะใช้ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด โดยเลือกใช้ต้นตอที่มีอายุประมาณ 2 ปี วิธีการเสียบยอดที่ทำได้ผลนั้นเป็นการเสียบยอดแบบผ่ากลางโดยการตัดต้นตอให้สูงจากพื้นประมาณ 20-25 ซม. ตัดเหนือข้อใบ 1-2 ซม. แล้วผ่ากลางต้นลึกประมาณ 1-2 ซม. จากนั้นตัดกิ่งพันธุ์ให้มีใบติดอยู่ 4 ใบ ให้รอยตัดต่ออยู่ใต้ข้อของใบคู่ล่างประมาณ 1-2 ซม. นำมาตัดใบออกครึ่งใบของทุกใบ เพื่อลดการคายน้ำแล้ววาดกิ่งพันธุ์ด้านล่างให้เป็นรูปลิ่มเสียบบนรอยผ่าของต้นตอ พันด้วยพลาสติกป้องกันน้ำเข้า แล้วคลุมด้วยพลาสติกอีกครั้งหนึ่งเพื่อรักษาความชื้น ยอดพันธุ์จะติดกับต้นตอภายใน 5-6 สัปดาห์ สำหรับการทาบกิ่งจะใช้วิธีการทาบปากฉลาม เหมือนกับกรณีทาบไม้ทั่วไป พบว่าการทาบกิ่งนั้นให้ผลเร็วขึ้นแล้วยังทำให้ต้นมังคุดมีขนาดเล็กลงอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้วิธีขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งก็พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ได้เร็วกว่าวิธีอื่น และในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองนำไปปลูกเพื่อการศึกษาดูว่าจะดีกว่าวิธีขยายพันธุ์อื่นๆ หรือไม่
ขายพันธุ์มังคุดด้วยการเสียบยอด
ขายพันธุ์มังคุดด้วยการเสียบยอด

ถ้าต้องการหาซื้้อต้นพันธุ์มังคุดมาปลูกจะหาซื้อได้จากที่ไหน และมีราคาเท่าใด?

แหล่งขายต้นพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ คือ ที่จังหวัดจันทบุรีเส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภอขลุง ร้านขายต้นไม้พันธุ์บริเวณนี้เป็นร้านขนาดใหญ่และมีต้นพันธุ์มังคุดจำนวนมาก แต่หากต้องการซื้อต้นพันธุ์ไม้ไม่มากก็อาจหาซื้อได้จากร้านขยายพันธุ์ไม้ผลที่ตั้งอยู่รินถนนสุขุมวิทตั้งแต่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จนถึงเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด ส่วนท่านที่อยู่ภาคใต้ หากต้องการซื้อต้นพันธุ์มังคุดไม่มากนัก อาจจะหาซื้อได้จากร้านเพาะชำต้นไม้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือจังหวัดนครศรีธรรมราชก็ได้ แต่ราคาอาจจะแตกต่างจากภาคตะวันออกไปบ้าง

ต้นพันธุ์มังคุดที่มีขายได้จากการเพาะเมล็ดทั้งสิ้น โดยต้นพันธุ์ที่ขายมีทั้งต้นอายุ 2ปี และ 3ปี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นต้นพันธุ์ที่มีอายุ 2ปี ราคาขายประมาณต้นละ 35-45 บาท แล้วแต่ขนาดต้นหรือร้านที่ขายว่าจะตั้งราคาอย่างไร ในช่วงต้นฤดูฝนต้นมังคุดจะมีราคาแพง เพราะมีผู้ต้องการมากแต่ในช่วงปลายฝนราคาจะถูกลงเพราะความต้องการน้อยลงและผู้ขายไม่ต้องการเก็บไว้ข้ามปี
ร้านขายต้นพันธุ์มังคุด
ร้านขายต้นพันธุ์มังคุด

การซื้อต้นพันธุ์มังคุดจากร้านมาปลูกควรทำอย่างไร?

คำถามนี้กว่างไปหน่อย คิดว่าคงอยากให้ตอบตั้งแต่การเลือกซื้อการขนส่งต้นพันธุ์ไปจนถึงการเตรียมต้นพันธุ์ก่อนลงปลูก ก็ขอเริ่มตอบตั้งแต่การเลือกซื้อต้นพันธุ์เป็นอันดับแรก หากตกลงใจแน่นอนว่าจะปลูกมังคุดควรติดต่อสั่งจองต้นพันธุ์ไว้ล่วงหน้าเนิ่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีต้นพันธุ์มังคุดแน่นอน และจะมีโอกาสเลือกพันธุ์ที่แข็งแรง สมบูรณ์ เมื่อใกล้จะถึงกำหนดปลูกควรเดินทางไปรับต้นพันธุ์ล่วงหน้าสัก 1-2 เดือน เพื่อให้ต้นพันธุ์มีเวลาปรับตัวมากขึ้น การเลือกซื้อต้นพันธุ์มังคุดนั้น หากต้องการต้นพันธุ์ที่จะปลูกตั้งตัวดีและไม่รีบร้อนต้องการให้ออกผลเร็วก็ควรใช้ต้นพันธุ์อายุ 2ปี แต่หากต้องการให้ออกผลเร็วก็ควรใช้ต้นพันธุ์อายุ 3 ปี การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอกันอีกทั้งต้นที่มีความแข็งแรง ไม่มีโรค ใบไม่ฉีกขาด กิ่งไม่หัก ลำต้นตรงไม่โค้งงอ กิ่งและใบได้ขนาดสมส่วน ควรซื้อต้นพันธุ์ให้มากกว่าจำนวนที่ต้องการปลูก ประมาณร้อยละ 5 คือ ถ้าต้องการปลูก 100 ต้น ก็ควรซื้อสัก 105 ต้น เพื่อเอาไว้ปลูกซ่อมเมื่อต้นที่ปลูกไว้ตายลง หากมิได้ซื้อต้นพันธุ์สำรองไว้แต่ซื้อต้นพันธุ์มากปลูกซ่อมในปีต่อไป ต้นจะเติบโตไม่ทันกัน และให้ผลช้ากว่ากันอีกด้วย

เมื่อเลือกต้นพันธุ์ได้ตามที่ต้องการแล้ว ควรนำขึ้นรถบรรทุกอย่างระมัดระวัง ถ้าเป็นไปได้ควรงดให้น้ำก่อนสัก 1 วัน รถที่ใช้ขนส่งควรปิดด้วยผ้าใบให้มิดชิดทุกด้านไม่ควรวางต้นซ้อนทับกัน หากต้องการวางหลายชั้นควรใช้ไม้กระดานวางพาดในแต่ละชั้น และควรขนส่งในเวลากลางคืน เพราะอากาศเย็นไม่เกิดการอบไอแดดขณะขนส่ง เมื่อถึงสวนมังคุดควรจอดในที่ร่มเปิดผ้าใบโดยเร็วและนำต้นพันธุ์มังคุดลงจากรถอย่างระมัดระวังรดน้ำให้ชุ่ม ควรวางต้นพันธุ์ในที่กิ่งร่มกิ่งแดด ก่อนถึงเวลาปลูกสัก 7 วัน ควรให้น้ำในปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของการให้น้ำปกติ ทั้งนี้เพื่อให้ต้นพันธุ์มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น

ควรใช้ระยะปลูกมังคุดเท่าใด และควรวางแผนผังสวนอย่างไร?

มังคุด เป็นไม้ผลขนาดใหญ่ และมีอายุยืนยาว ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวิธีที่จะตัดแต่งให้ต้นมังคุดมีขนาดเล็กลงอย่างได้ผล ดังนั้นจึงควรใช้ระยะปลูกห่าง โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างระหว่างต้น 10-12 เมตร และระหว่างแถวก็ใช้ 10-12 เมตรเช่นเดียวกัน การใช้ระยะปลูกขนาดนี้จะทำให้มีพื้นที่ระหว่างต้นมังคุดอยู่มากในระยะ 6-8 ปีแรกหลังปลูก ดังนั้นอาจใช้พืชอื่นที่มีอายุไม่ยาวนักปลูกแซมลงไปเพื่อเพิ่มรายได้ก็ได้ พืชที่ปลูกอาจเป็นพวกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว และอื่น หรือพืชสวน เข่น พืชผัก กล้วย สับปะรด ส้ม เป็นต้น

การวางแผนผังมังคุดนั้น ก็เหมือนกับไม้ผลชนิดอื่นๆ โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ควรจะแบ่งเขตแปลงปลูกให้เหมาะสม กำหนดเส้นทางถนนภายในสวนและบริเวณที่จะใช้ปลูกให้เหมาะสม กำหนดเส้นทางถนนภายในสวนและบริเวณที่จะใช้ปลูกสร้างอาคาร รวมทั้งแหล่งเก็บน้ำกำหนดเส้นทางวางท่อชลประทานให้ทั่วถึงตลอดพื้นที่ หากบริเวณนั้นฝนตกชุกและเป็นที่ลุ่มควรขุดร่องระบายน้ำไว้ด้วย ถ้าเป็นเขตที่มีลมแรงควรปลูกไม้กันลมไว้บริเวณริมสวน และระหว่างแปลงปลูก สำหรับการคำนวณหาจำนวนต้นมังคุดที่จะปลูกได้ในพื้นที่สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรง่ายๆ ดังนี้

จำนวนต้นที่จะปลูกได้   =   พื้นที่สำหรับปลูกมังคุดทั้งหมด / (ระยะระหว่างต้น X ระยะห่างระหว่างแถว)

นั่นคือ เอาพื้นที่ทั้งหมดที่จะปลูกมังคุดได้ (ต้องตัดพื้นที่ที่เป็นถนน อาคาร สระน้ำ และอื่นๆ ออกเสียก่อน) เป็นตัวตั้ง สมมุติว่าเป็นที่ดินทั้งหมด 10 ไร่ เมื่อคิดเป็นตารางเมตร (1ไร่ = 1600 ตารางเมตร) จะเท่ากับ 10*1600 = 16000 ตารางเมตร หากใช้เป็นถนน ปลูกสร้างอาคาร และอื่นๆ 400 ตารางเมตร จะเหลือพื้นที่ปลูกเพียง 16000 - 400 = 15600 ตารางเมตร ถ้ากำหนดว่าจะปลูกด้วยระยะห่างระหว่างต้น 10 เมตร และระหว่างแถว 10 เมตร จะคำนวณต้นตามจำนวณสูตรได้ดังนี้

จำนวนต้นที่ปลูกได้   =   15600 / (10 x 10)   =   156 ต้น

ดังนั้น พื้นที่ 10 ไร่นี้ จะปลูกมังคุดได้ทั้งหมด 156 ต้น หากต้องการปลูกระยะชิดกว่านี้ เช่น 8*8 หรือ 6*8 เมตร ก็ย่อมทำได้แต่เมื่อพุ่มชนกันแล้ว จำเป็นต้องตัดต้นกลางออก มิฉะนั้นผลผลิตจะลดลงมาก

วิธีการปลูกมังคุดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?

ก่อนปลูกควรวัดพื้นที่ แบ่งแปลงปลูกและกำหนดหลุมปลูกให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นจึงควรนำต้นพันธุ์ที่ซื้อเตรียมไว้ลงปลูกเวลาปลูกนั้นอาจปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไปหรือช่วงกลางฤดูฝนคือประมาณเดือนกันยายน จนถึงออกพรรษาก็ได้และจะต้้องดูแลรดน้ำให้ดีในตอนที่ฝนทิ้งช่วง ถ้าหากจะปลูกมังคุดทดแทนผลไม้อื่น เช่นทุเรียนหรือเงาะ ซึ่งใช้ระยะเวลาปลูกเท่ากับมังคุดอยู่แล้วก็สามารถปลูกแซมกลางได้เลย โดยไม่ต้องวัดแปลงปลูกใหม่ หากเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีต้นไม้เบญจพรรณขึ้นรกรุงรังควรจะถางขุดไถพลิกดินเพื่อปรับพื้นที่และกำจัดวัชพืชเสียก่อน แล้วจึงปักไม้กำหนดหลุมปลูก การปรับพื้นที่นั้นต้นไม้เบญพรรณทั้งหลายอยู่ในแนวปลูกของไม้กันลมควรจะเว้นให้เป็นไม้กันลมไปในตัวซึ่งจะได้แนวไม้กันลมที่รวดเร็วกว่าการปลูกใหม่

เมื่อกำหนดหลุมปลูกได้แล้ว จึงขุดหลุมปลูก ซึ่งควรมีความกว้าง ความยาว และความลึกตั้งแต่ 50 ซม. ถึง 1เมตร ถ้าดินดีหน้าดินลึกก็ขุดหลุมเล็ก ถ้าดินไม่ดีต้องขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่จากนั้นนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ มาผสมกับดินที่ขุดไว้บนปากหลุม ในอัตราดิน 3 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน อาจผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ลงไปด้วยสัก 2-3 กำมือ และปุ๋ยร็อคฟอสเหตสัก 1 กำมือก็ได้ จากนั้นจึงนำต้นมังคุดออกจากถุงเพาะชำหรือกระถางพลาสติก ต้องระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือนหรือฉีกขาด ต้องนำต้นวางลงกลางหลุม เล็งแนวให้ตรงแถวแล้วกลบดินให้แน่นพอสมควรปักไม้ผูกยึดต้นกันลมโยกด้วย จากนั้นจึงคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษใบไม้แห้งแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังการปลูกควรทำร่มเงาให้มังคุดโดยการใช้ทางมะพร้าวหรือเข่งพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วเป็นที่บังร่ม เพราะในระยะแรกมังคุดต้องการร่มเงา หากไม่มีร่มเงาให้ต้นมังคุดอาจโตช้าเกิดอาการใบใหม้และตายบได้

หลังจากนำต้นมังคุดลงปลูกแล้ว ควรดูแลรักษาในระยะแรกอย่างไร?

หากจะให้ต้นมังคุดที่ปลูกรอดตายและเติบโตดี ควรจะต้องดูแลรักษาในระยะแรกให้ดี ระยะแรกในที่นี้หมายถึงระยะ 2 ปีแรก หลังจากปลูกโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการดูแลรักษามังคุดนั้น สิ่งจำเป็นอันดับแรกก็คือการให้น้ำโดยไม่ปล่อยให้พื้นดินโคนต้นแห้ง ควรให้น้ำเป็นระยะเพื่อให้พื้นดินโคนต้มชุ่มชื้นอยู่เสมออาจใช้วิธีคลุมต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษพืช เพื่อให้ดินแห้งช้าลงนอกจากนี้การกำจัดวัชพืช รวมทั้งการป้องกันการกำจัดโรคและแมลงก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันโดยวัชพืชนั้นอาจมีแรงงานและเครื่องจักรพอจะใช้วิธีตัดหรือถากก็ได้ ส่วนการฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้ตรวจดูก่อนว่ามีการระบาดหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องฉีด เรื่องต่อไปก็คือการเปลี่ยนหลักที่ผูกยึดโคนต้นและการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำร่มเงา (มักใช้ทางมะพร้าวเพราะทนทานดี) ซึ่งจะเปลี่ยนเมื่อผุพัง

สำหรับการให้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ มักจะใส่ปีละประมาณ 2 ครั้ง คือ ช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ปุ๋ยอินทรีย์มักจะใช้ปุ๋ยคอก 2-3 บุ้งกี๋ (หากเป็นมูลเป็ดมูลไก่ จะใช้น้อยกว่ามูลวัว) ส่วนปุ๋ยเคมีมักใช้สูตรเสมอเช่น 15-15-15 หว่านรอบโคนต้นบริเวณชายพุ่ม ซึ่งจะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของทรงพุ่มต้น (การใช้ปุ๋ยเคมีนั้น หากจะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ควรมีการตรวจสอบธาตุอาหารในดินก่อน แล้วจึงค่อยเลือกใช้ปุ๋ยที่มีสูตรเหมาะสมกับดินนั้น) มังคุดเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี หากได้รับปุ๋ยอย่างเพียงพอ ต้นจะโตเร็วและให้ผลผลิตเร็วแต่ไม่ควรเร่งให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปล่อยยึดยาวเก้งก้าง หลังจากพ้นปีที่ 2 ไปแล้ว มังคุดจะเริ่มตั้งตัวได้ ในระยะนี้จึงไม่ต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดเหมือนช่วงแรกๆ แต่การให้น้ำให้ปุ๋ยยังจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ

ควรปลูกไม้ร่มเงาและไม้กันลมในสวนมังคุดหรือไม่? ถ้าจำเป็นต้องมีควรเลือกใช้ต้นอะไรดี?

ไม้ให้ร่มเงาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมังคุด โดยเฉพาะในระยะ 3-4 ปีแรก ไม้ให้ร่มเงาที่ดีต้องโตเร็ว ร่มเงาไม่ทึบ ไม่แย่งอาหารจากมังคุดและควรจะมีอายุไม่ยาวนักหรือตัดทิ้งได้ง่ายหากขายผลหรือขายต้นได้ก็ยิ่งดี ไม้ให้ร่มเงาที่ใช้ในสวนยกร่องแถบนนทบุรีมักจะเป็นต้นทองหลาง ส่วนทางภาคตะวีนออกและภาคใต้นิยมใช้กล้วยปลูกแซมระหว่างต้นมังคุดหรือปลูกล้อมรอบต้นมังคุด ห่างจากต้นมังคุดประมาณ 1.5-2 เมตร เมื่อต้นมังคุดโตขึ้น จึงตัดต้นกล้วยที่อยู่ชิด เกินไปออกบ้าง ส่วนต้นทองหลางนั้นมักปลูกแซมไปบนหลังร่องเลย หากมีเวลาเตรียมการพอควรปลูกไม้ให้ร่มเงาไว้ก่อนสัก 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อให้มีร่มเงาพร้อมก่อนที่จะนำมังคุดลงปลูก หากปลูกมังคุดที่ระยะ 10*10 เมตร และแซมด้วยกล้วยระยะห่าง 2-2.5 เมตร จะปลูกกล้วยได้ถึงไร่ละ 240-380 ต้น ซึ่งจะทำรายได้ให้กับเจ้าของสวนในปีแรกๆได้เป็นอย่างดีและยังมีส่วนช่วยให้มังคุดเติบโตดีอีกด้วยสำหรับกล้วยที่ปลูกมักใช้กล้วยน้ำว้าเพราะทนทานต่อการโค่นล้มและให้ผลได้หลายรุ่น

สำหรับสวนที่อยู่ในเขตที่มีลมแรง และไม่มีแนวต้นไม้ล้อมรอบสวนควรจะปลูกไม้กันลมไว้บ้างเพื่อลดความเร็วลม ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ดอกและใบมังคุดร่วง ต้นไม้ที่นิยมใช้ปลูกเป็นแนวกันลมมีหลายชนิด เช่น สนไผ่ ทองหลาง หรือแม้แต่ต้นผลไม้หลายชนิด เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ก็ใช้เป็นไม้กันลมได้ โดยเมื่อวางแผนผังสวนแล้วควรปลูกไม้กันลมเป็นอันดับแรก ไม้กันลมและไม้ร่มเงานี้ นอกจากจะทำหน้าที่หลักดังกล่าวแล้ว ยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศรอบต้นมังคุดให้สูงขึ้นอีกด้วย
ตอน  1  2 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147