4. กระบวนการเตรียมการเพาะกล้า
4.1 เตรียมวัสดุเพาะบรรจุลงในถาดเพาะกล้า
วัสดุเพาะที่ผ่านการคัดเลือกจนได้คุณภาพและมาตรฐานที่ดีแล้วก็จะนำมาบรรจุลงในถาดเพาะกล้า โดยสังเกตใบอุปกรณ์ในการปาดจะมีอยู่สองล่อง ล่องหนึ่งจะเป็นล่องที่ขึ้นต้นด้วยเลข7 อีกล่องหนึ่งจะเป็นล่องที่มีเลข10 เลข7จะใช้ในการเพาะกล้าที่มีอายุเกิน 20วัน ส่วนล่อง 10ใช้เพาะกล้าที่มีอายุน้อยกว่า 20วัน เมื่อบรรจุดินแล้วก็เลือกล่องที่เหมาะสม และทำการปาดหลังจากบรรจุเสร็จก็นำถาดเพาะกล้าขึ้นมาวางบนชุดรางหว่าน และขั้นตอนต่อไปต้องลดน้ำให้ชุ่มด้วยฟักบัวที่รูถี่เพื่อจะทำให้สายน้ำไม่ไปกระทบวัสดุเพาะทำให้ไม่เกิดล่องลอย อัตราของน้ำที่ลดลงบนถาดเพาะกล้าที่เหมาะสมคือ 1-1.5ลิตรต่อถาด (ถ้าให้น้ำน้อยเกินไปจะทำให้วัสดุเพาะมีความชื้นน้อยต้นกล้าอาจมีรากยาวหรืออาจแห้งตายได้ ถ้าให้น้ำเยอะไปวัสดุเพาะกล้าชื้นมากเกินไปทำให้เมล็ดพันธุ์เน่าเสียหายได้) การป้องกันเชื้อราหรือแบคทีเรียที่จะเป็นอันตรายต่อต้นกล้าก็สามารถใส่น้ำยาป้องกันเชื้อราลงไปในน้ำซ้ำอีกครั้งก่อนทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว
4.2 การโรยเมล็ด
นำพันธุ์ข้าวมาเช็คว่ามีความชื้นเท่าไหร่ที่เหมาะสมมาบรรจุในเครื่องโรยเมล็ด โดยใช้มือกำข้าวแล้วบีบเบาๆแล้วแบมือถ้าเมล็ดข้าวติดมือน้อยแสดงว่ามีความชื้นที่เหมาะสมแล้วแต่ถ้ากำมาแล้วมีเมล็ดติดอยู่ที่มือมากๆแสดงว่าความชื้นสูงทำการนำเมล็ดข้าวตากแดกเพื่อลดความชื้น เมื่อได้ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการนำมาเพาะกล้าแล้วก็จะมาหาอัตราโรยเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับอายุของต้นกล้า มาดูที่เครื่องโรยเมล็ด จะสามารถปรับการลงมากลงน้อยของเมล็ดพันธุ์ได้ อัตราการโรยเมล็ดพันธุ์กล้าข้าวหลังการเจริญเติบโตเกิน 25วัน ใช้ 120-150กรัม/ถาดเพาะเมล็ด ถ้าอายุกล้าไม่เกิน 25วัน ใช้ 150-180กรับ/ถาดเพาะเมล็ด และสุดท้ายถ้าอายุต้นกล้าไม่เกิน 20วัน ใช้ 180-220กรับ/ถาดเพาะเมล็ด หลังจากที่เราได้อัตราการโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับอายุกล้าแล้ว เราก็จะทำการเดินเครื่องเพาะกล้าจังหวะการเดินต้องสัมพันธ์กับการโรยนั่นคือต้องเดินให้สม่ำเสมอต้องไม่มีการหยุดเดิน ต้องเดินด้วยจังหวะเดียวกันตลอด ถ้าโรยไปแล้วหนึ่งรอบปริมาณยังไม่ถึงอัตราที่ต้องการเราก็ทำการกลับชุดเครื่องโรยแล้วเดินย้อนกลับในจังหวะเดิมก็จะได้อัตราการโรยที่เหมาะสำหรับการเพาะกล้าตามอายุนั้นๆ
4.3 โรยวัสดุปิดหน้า
สำหรับการโรยวัสดุปิดหน้าสามารถโรยได้โดยใช้วัสดุเพาะเดิมที่เป็นแบบแห้งหรือแบบชื้นก็ได้ ถ้าเป็นแบบแห้งเราสามารถนำมาใส่เครื่องโรยเมล็ดได้ แต่ถ้าเป็นแกลบชื้นหรือวัสดุเพาะที่มีความชื้นสูงเราสามารถประยุกต์ใช้กับตะกล้าพลาสติกที่มีรูไม่เกิน 6มิลลิเมตร เช่น ตะกร้าผลไม้ ตะกร้าลำไย ตะกร้ามังคุด นำวัสดุเพาะใส่เข้าไปในตระกร้าพลาสติกและทำการเขย่าปิดหน้าด้วยความหนาของวัสดุปิดหน้าเมล็ดพันธุ์ หนา 3-5มิลลิเมตร
4.4 ทำการบ่มเพื่อทำให้เกิดการงอก
นำถาดเพาะกล้าที่ทำการปิดหน้าเรียบร้อยแล้วนำมาซ้อนกันเพื่อทำการบ่มเพื่อทำให้เกิดการงอก จำนวนชั้นจะทำการวาง 20ชั้น ชั้นล่างควรมีขอนไม้หรือใช้พาเลทไม้หรือพาเลทพลาสติก เพื่อทำให้เกิดการระบายอากาศที่ดี และที่สำคัญเราควรมีถาดเพาะกล้า ถาดที่ 21 คือถาดเปล่าที่บรรจุวัสดุเพาะอย่างเดียวและรดน้ำให้ชุ่มนำมาปิดเอาไว้เพื่อรักษาความชื้นทำให้เกิดการงอกที่สมบูรณ์หลังจากนั้นแล้วก็ทำการนำผ้าใบพลาสติกมาปิดคลุมเพื่อป้องกันแสงแดดเราควรบ่มไว้ในที่ร่ม (ทุกท่านที่ทำนาปรังในช่วงฤดูหนาวมักจะมีปัญหาในเรื่องของเมล็ดข้าวไม่งอก ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 35องศาเซลเซียส ข้าวถึงงอกได้ดีแนะนำให้ใช้หม้อหุงข้าวหรืออุปกรณ์อะไรก็ได้มาสร้างไอน้ำและนำไปวางในถาดที่เราต้องการบ่มแล้วก็นำผ้าใบพลาสติกมาคลุมปิดเพื่อสร้างอุณหภูมิให้เหมาะสม) สำหรับระยะเวลาในการบ่มเพื่อให้เกิดการงอกของข้าวที่สมบูรณ์ 100% คือ บ่มทิ้งไว้ในที่ร่ม 2คืน หลังจากการบ่มครบ 2คืนแล้ว ก็จะเกิดการงอกของต้นกล้าออกมา จะเห็นหน่อแทงออกมาเป็นหน่อสีขาวๆจะมีทั้งตั้งตรงและพับงอไปมา ตรงนี้เป็นเรื่องปรกติถ้านำไปอนุบาลในแปลงเพาะกล้าต่อไปหน่อของต้นกล้าก็จะตั้งตรงขึ้นมา