วิธีขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะกล้าสำหรับรถดำนา

ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะกล้าสำหรับรถดำนา
สารบัญ

สำหรับการเพาะกล้าในถาดเพาะกล้าให้เหมาะสมสำหรับรถดำนา บทความนี้จะให้ความรู้ในการทำต้นกล้าที่ดีและมีคุณภาพ

1. วัสดุเพาะกล้า และขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะกล้า

สิ่งแรกที่เราจะมาเรียนรู้นั่นคือวัสดุเพาะกล้าที่จะบรรจุในถาดเพาะกล้า วัสดุเพาะกล้าที่ดีมีคุณภาพที่เหมาะสมการนำไปเพาะกล้าสำหรับถาดเพาะกล้าข้าวก็จะมีอยู่2ชนิด
- ดินซึ่งเป็นดินร่วนเหมาะสำกับทุกสภาพแปลงนา
- แกลบเผาซึ่งวัสดุนี้จะเหมาะสำหรับแปลงนาที่เป็นดินเหนียว

1.1 ขั้นตอนการเตรียมดิน

สำหรับคุณสมบัติดินที่ดีที่จะนำไปเพาะกล้าจะเป็นเนื้อดินร่วนแหล่งที่มาของดินจะมาจากเชิงชายภูเขาหรือดินในแปลงนาจะหลีกเลี่ยงดินในแปลงผักเพราะว่าจะเสี่ยงต่อเชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อต้นกล้า พอหลังจากนั้นได้ดินแล้วเราจะนำดินมาตากให้แห้งเพื่อลดค่าความชื้นและเป็นการฆ่าเชื้อโรคไปในตัวหลังจากนั้นก็นำดินมาทำการบทย่อย
หลังจากการบทย่อยก็นำมาคัดร่อนด้วยตะแกรงผ่านรูขนาด 4-6มิลลิเมตร เพื่อคัดแยกสิ่งเจือปนต่างๆที่จะเป็นอันตรายต่อหัวซ่อมปักดำหลังจากนั้นนำดินมาวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมที่จะนำไปเพาะกล้านั่นก็คือ 4.5-5พีเอช ความชื้นของดินที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 10-15% ทดลองง่ายๆคือกำดินขึ้นมาและแบมือเนื้อดินจะต้องไม่ติดมือและถ้าดินที่จะนำมาเพาะเป็นดินที่ขาดสารอาหารเราก็จะสามารถผสมปุ๋ยเข้าไปช่วยและที่สำคัญเมื่อดินได้ความชื้นที่เหมาะสมแล้วเราจะต้องเก็บดินนั้นไว้ในที่ล่มเพื่อให้พร้อมนำไปเป็นวัสดุเพาะกล้าต่อไป
ขั้นตอนการเตรียมดินที่จะนำไปเพาะกล้าข้าว

1.2 ขั้นตอนการเตรียมแกลบเผา

สำหรับแกลบเผาที่ดีจะต้องมาจากแหล่งการผลิต นั่นก็คือโรงงานสีและก็โรงงานไฟฟ้าชีวะมวลมีค่าความชื้นอยู่ที่ประมาณ 10-15% และที่สำคัญจะต้องไม่มีคราบน้ำมันมาปนเปื้อน สำหรับวิธีการตรวจสอบแกลบที่ดีและมีคุณภาพ จะมี 3ขั้นตอน
ขั้นตอนที่1 นำถ้วยพลาสติกใสและเทน้ำลงถ้วยและนำแกลบเผาใส่ลงไปถ้าแกลบเผาที่ดีจะต้องจมลงและถ้าแกลบที่เป็นฝุ่นแป้งไม่เหมาะนำมาเป็นวัสดุเพาะจะลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ ถ้าผลออกมาเป็นครึ่งๆไม่แนะนำให้นำมาเป็นวัสดุเพาะกล้า
ขั้นตอนที่2 เมื่อผ่านคุณสมบัติเนื้อวัสดุแล้วเราก็ใช้ไม้ทำการคนลงไปในถ้วยเพื่อตรวจเช็คค่าน้ำมันถ้าพบคราบน้ำมันอย่านำแกลบเผานั้นมาเป็นวัสดุเพาะกล้า
ขั้นตอนที่3 นำแกลบเผามาส่วนหนึ่งทำการบรรจุลงใน ถาดเพาะกล้า และทำการลดน้ำยังไม่ต้องโรยเมล็ดทำทั้งหมดประมาณ20ถาด และนำมาเรียงซ้อนกันเอาไว้แล้วปิดคุมด้วยผ้าใบพลาสติกเป็นเวลา 2คืน เมื่อครบกำหนดเราก็ทำการเปิดผ้าคลุมออกมาและตรวจเช็ค สังเกตถ้าทั้ง 20ถาดไม่พบเชื้อราเลยนั่นคือแกลบที่ดีและมีคุณสมบัติที่จะนำมาเป็นวัสดุเพาะกล้าแต่ถ้าตรวจพบเชื้อราเป็นใยขาวๆขุยๆคล้ายใยแมงมุมนั่นคือพบเชื้อราอย่านำแกลบเผานั้นมาเพาะ แต่ถ้ามีความจำเป็นจะต้องใช้แกลบเผาที่มีเชื้อราก็แนะนำว่าต้องใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อรามาช่วย
ขั้นตอนการตรวจดูแกลบเผาที่ดีมีคุณภาพในการเพาะกล้าข้าว

2. ถาดเพาะกล้า และ ชุดรางหว่าน

2.1 ขั้นตอนการเตรียมถาดเพาะกล้า

การเตรียมถาดเพาะกล้า สามารถหาซื้อได้จากโรงงานฉีดพลาสติกที่ผลิตถาดเพาะกล้า หรืออาจจะเป็นการหาถาดเพาะกลล้ามือสองหรืออาจจะมีถาดเพาะกล้าอยู่แล้วแต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงนั้นคือการทำความสะอาดเพื่อป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย หลังจากทำความสะอาดถาดเพาะกล้าแล้วเราต้องจัดเก็บไว้ในที่ล่มเพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของถาดเพาะกล้าให้คงทนและยาวนานโดยที่ถาดเพาะกล้าไม่เสียรูปทรงไปด้วย
ขั้นตอนการเตรียมถาดเพาะกล้าต้องทำความสะอาจก่อนนำไปเพาะ

2.2 ขั้นตอนการเตรียมชุดรางหว่าน

การเตรียมชุดรางหว่านสำหรับใช้ในการเพาะกล้าก็จะมีอยู่สองประเภทด้วยกัน
- ประเภทที่หนึ่งนั้นก็คือชุดรางหว่านที่วางกับพื้น
รางหว่านสำหรับวางถาดเพาะกล้าข้าว
- ประเภทที่สองคือชุดรางหว่างที่วางสูงจากพื้น
รางหว่านสำหรับวางถาดเพาะกล้าที่ยกขึ้นสูงจากพื้นดิน

3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต้นกล้า

ขั้นตอนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตกล้าสำหรับรถดำนาแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีต้องมาจากนาดำเพราะว่านาดำจะให้เมล็ดและเนื้อแป้งที่สมบูรณ์ เนื้อแป้งจะเป็นอาหารและหล่อเลี้ยงต้นกล้าให้เจริญเติมโตและก็แข็งแรง แหล่งในการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่จะมาเพาะต้นกล้ามาจากสองแหล่งนั้นก็คือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และ
แหล่งจำหน่ายที่ได้รับลองจากกรมการข้าวหรือศูนย์วิจัยข้าวนั่นเอง ขั้นตอนการคัดเมล็ดพันธุ์มี 3ขั้นตอน

3.1 ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์

วิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ในน้ำเปล่า แต่ถ้าให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีจริงๆก็คัดเมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือจะเป็นการคัดแบบความถ่วงจำเพาะ ซึ่งการทำน้ำเกลือคือใช้เกลือแกงในอัตราส่วนเกลือ 1.5-2.0กก.ต่อ น้ำ10ลิตร วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าความถ่วงจำเพาะเท่าไหร่จึงเหมาะสม โดยการนำไข่ดิบจะเป็นไข่เป็ดหรือไข่ไก่ก็ได้มาทำการลอยในน้ำเกลือที่เราผสมกับน้ำ ในถังปูนหรือถังน้ำพลาสติก ถ้าไข่ดิบลอยขึ้นมากลางระดับน้ำจะเหมาะสมกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว ถ้าเราจะคัดเมล็ดพันธุ์ที่เป็นข้าวจ้าวเราจะต้องผสมเกลือลงไปอีก โดยสังเกตไข่ให้ลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำโดยที่ผิวของไข่ลอยเหนือผิวน้ำเท่าเหรียญบาทนั่นคือความถ่วงจำเพาะที่เหมาะสมกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวเจ้า หลังจากได้ความถ่วงจำเพาะที่ เหมาะสมแล้วเราก็นำเมล็ดพันธุ์ข้าวเทลงในน้ำเกลือที่เราทำการผสมไว้แล้ว เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีต้องจมลงน้ำ และส่วนที่ลอยเหนือผิวน้ำนั่นคือเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ เราก็ตักเมล็ดพันธุ์ที่ลอยทิ้งไปเราจะใช้เมล็ดพันธุ์ที่จมมาทำการล้างน้ำเปล่า

3.2 ขั้นตอนการแช่เมล็ดพันธุ์

วิธีที่หนึ่ง คือการแช่ในระบบน้ำไหลเหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการป้องกันด้วยสารป้องกันเชื้อรามาก่อน
วิธีที่สอง คือแช่ในระบบน้ำนิ่งนำเมล็ดพันธุ์ไปแช่ในถังบรรจุ เช่น อ่างเปลผสมปูน และเราสามารถที่จะเติมสารกำจัดเชื้อราหรือแบคทีเรียลงไปด้วยเป็นการควบคุมโรค สำหรับสองวิธีนี้จะทำการแช่ทั้งหมด 24ชั่วโมง

3.3 ขั้นตอนการหุ้มหรือบ่มข้าว ที่ผ่านการแช่มาแล้ว

สำหรับการบ่มข้าวที่เหมาะสมสังเกตที่การแตกตุ่มตาของเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เกิน 1มิลลิเมตร หรือจะใช้เวลา 12-24ชั่วโมง ในการหุ้ม หรือบ่มข้าวให้ในการงอกที่สมบูรณ์ ต้องมั่นคอยพลิกกลับกองข้าวหรือกระสอบจากบนลงล่างจากล่างขึ้นบนบ่อยๆ เมล็ดข้าวจะงอกสม่ำเสมอกันทั่วทั้งกระสอบ (ทุกท่านที่ทำนาปรังในช่วงฤดูหนาวมักจะมีปัญหาในเรื่องของเมล็ดข้าวไม่งอก แนะนำให้บ่มหรือหุ้มเพื่อรักษาอุณหภูมิที่ 35องศาเซลเซียส ข้าวถึงงอกได้ดี)
ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว การบ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว

4. กระบวนการเตรียมการเพาะกล้า

4.1 เตรียมวัสดุเพาะบรรจุลงในถาดเพาะกล้า

วัสดุเพาะที่ผ่านการคัดเลือกจนได้คุณภาพและมาตรฐานที่ดีแล้วก็จะนำมาบรรจุลงในถาดเพาะกล้า โดยสังเกตใบอุปกรณ์ในการปาดจะมีอยู่สองล่อง ล่องหนึ่งจะเป็นล่องที่ขึ้นต้นด้วยเลข7 อีกล่องหนึ่งจะเป็นล่องที่มีเลข10 เลข7จะใช้ในการเพาะกล้าที่มีอายุเกิน 20วัน ส่วนล่อง 10ใช้เพาะกล้าที่มีอายุน้อยกว่า 20วัน เมื่อบรรจุดินแล้วก็เลือกล่องที่เหมาะสม และทำการปาดหลังจากบรรจุเสร็จก็นำถาดเพาะกล้าขึ้นมาวางบนชุดรางหว่าน และขั้นตอนต่อไปต้องลดน้ำให้ชุ่มด้วยฟักบัวที่รูถี่เพื่อจะทำให้สายน้ำไม่ไปกระทบวัสดุเพาะทำให้ไม่เกิดล่องลอย อัตราของน้ำที่ลดลงบนถาดเพาะกล้าที่เหมาะสมคือ 1-1.5ลิตรต่อถาด (ถ้าให้น้ำน้อยเกินไปจะทำให้วัสดุเพาะมีความชื้นน้อยต้นกล้าอาจมีรากยาวหรืออาจแห้งตายได้ ถ้าให้น้ำเยอะไปวัสดุเพาะกล้าชื้นมากเกินไปทำให้เมล็ดพันธุ์เน่าเสียหายได้) การป้องกันเชื้อราหรือแบคทีเรียที่จะเป็นอันตรายต่อต้นกล้าก็สามารถใส่น้ำยาป้องกันเชื้อราลงไปในน้ำซ้ำอีกครั้งก่อนทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว
วัสดุเพาะกล้าข้าวควรที่มีคุณภาพและมาตรฐานก่อนนำบรรจุลงถาดเพาะกล้า

4.2 การโรยเมล็ด

นำพันธุ์ข้าวมาเช็คว่ามีความชื้นเท่าไหร่ที่เหมาะสมมาบรรจุในเครื่องโรยเมล็ด โดยใช้มือกำข้าวแล้วบีบเบาๆแล้วแบมือถ้าเมล็ดข้าวติดมือน้อยแสดงว่ามีความชื้นที่เหมาะสมแล้วแต่ถ้ากำมาแล้วมีเมล็ดติดอยู่ที่มือมากๆแสดงว่าความชื้นสูงทำการนำเมล็ดข้าวตากแดกเพื่อลดความชื้น เมื่อได้ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการนำมาเพาะกล้าแล้วก็จะมาหาอัตราโรยเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับอายุของต้นกล้า มาดูที่เครื่องโรยเมล็ด จะสามารถปรับการลงมากลงน้อยของเมล็ดพันธุ์ได้ อัตราการโรยเมล็ดพันธุ์กล้าข้าวหลังการเจริญเติบโตเกิน 25วัน ใช้ 120-150กรัม/ถาดเพาะเมล็ด ถ้าอายุกล้าไม่เกิน 25วัน ใช้ 150-180กรับ/ถาดเพาะเมล็ด และสุดท้ายถ้าอายุต้นกล้าไม่เกิน 20วัน ใช้ 180-220กรับ/ถาดเพาะเมล็ด     หลังจากที่เราได้อัตราการโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับอายุกล้าแล้ว เราก็จะทำการเดินเครื่องเพาะกล้าจังหวะการเดินต้องสัมพันธ์กับการโรยนั่นคือต้องเดินให้สม่ำเสมอต้องไม่มีการหยุดเดิน ต้องเดินด้วยจังหวะเดียวกันตลอด ถ้าโรยไปแล้วหนึ่งรอบปริมาณยังไม่ถึงอัตราที่ต้องการเราก็ทำการกลับชุดเครื่องโรยแล้วเดินย้อนกลับในจังหวะเดิมก็จะได้อัตราการโรยที่เหมาะสำหรับการเพาะกล้าตามอายุนั้นๆ
ใช้การโรยเมล็ดกล้าโดยอุปกรณ์โรยเมล็ด

4.3 โรยวัสดุปิดหน้า

สำหรับการโรยวัสดุปิดหน้าสามารถโรยได้โดยใช้วัสดุเพาะเดิมที่เป็นแบบแห้งหรือแบบชื้นก็ได้ ถ้าเป็นแบบแห้งเราสามารถนำมาใส่เครื่องโรยเมล็ดได้ แต่ถ้าเป็นแกลบชื้นหรือวัสดุเพาะที่มีความชื้นสูงเราสามารถประยุกต์ใช้กับตะกล้าพลาสติกที่มีรูไม่เกิน 6มิลลิเมตร เช่น ตะกร้าผลไม้  ตะกร้าลำไย  ตะกร้ามังคุด นำวัสดุเพาะใส่เข้าไปในตระกร้าพลาสติกและทำการเขย่าปิดหน้าด้วยความหนาของวัสดุปิดหน้าเมล็ดพันธุ์ หนา 3-5มิลลิเมตร
โรยวัสดุปิดหน้าในถาดเพาะกล้า

4.4 ทำการบ่มเพื่อทำให้เกิดการงอก

นำถาดเพาะกล้าที่ทำการปิดหน้าเรียบร้อยแล้วนำมาซ้อนกันเพื่อทำการบ่มเพื่อทำให้เกิดการงอก จำนวนชั้นจะทำการวาง 20ชั้น ชั้นล่างควรมีขอนไม้หรือใช้พาเลทไม้หรือพาเลทพลาสติก เพื่อทำให้เกิดการระบายอากาศที่ดี และที่สำคัญเราควรมีถาดเพาะกล้า ถาดที่ 21 คือถาดเปล่าที่บรรจุวัสดุเพาะอย่างเดียวและรดน้ำให้ชุ่มนำมาปิดเอาไว้เพื่อรักษาความชื้นทำให้เกิดการงอกที่สมบูรณ์หลังจากนั้นแล้วก็ทำการนำผ้าใบพลาสติกมาปิดคลุมเพื่อป้องกันแสงแดดเราควรบ่มไว้ในที่ร่ม (ทุกท่านที่ทำนาปรังในช่วงฤดูหนาวมักจะมีปัญหาในเรื่องของเมล็ดข้าวไม่งอก ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 35องศาเซลเซียส ข้าวถึงงอกได้ดีแนะนำให้ใช้หม้อหุงข้าวหรืออุปกรณ์อะไรก็ได้มาสร้างไอน้ำและนำไปวางในถาดที่เราต้องการบ่มแล้วก็นำผ้าใบพลาสติกมาคลุมปิดเพื่อสร้างอุณหภูมิให้เหมาะสม)  สำหรับระยะเวลาในการบ่มเพื่อให้เกิดการงอกของข้าวที่สมบูรณ์ 100% คือ บ่มทิ้งไว้ในที่ร่ม 2คืน หลังจากการบ่มครบ 2คืนแล้ว ก็จะเกิดการงอกของต้นกล้าออกมา จะเห็นหน่อแทงออกมาเป็นหน่อสีขาวๆจะมีทั้งตั้งตรงและพับงอไปมา ตรงนี้เป็นเรื่องปรกติถ้านำไปอนุบาลในแปลงเพาะกล้าต่อไปหน่อของต้นกล้าก็จะตั้งตรงขึ้นมา
นำถาดเพาะที่ปิดหน้าเรียบร้อยแล้วมาบ่มเพื่อให้ต้นกล้างอก

5. เครื่องเพาะกล้าอัตโนมัติ

การใช้เครื่องมือไปสู่มืออาชีพในการเพาะกล้าเพื่อความรวดเร็วและตอบสนองต่อตลาดนาดำ ด้วยเครื่องเพาะกล้ากิ่งอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเลือกระดับความเร็วได้ 2ระดับ 500และ 800ถาดต่อชั่วโมงโดยสามารถทำงานได้ครบทั้ง 4ขั้นตอน นั้นก็คือ
1. การโรยวัสดุเพาะลงในถาดเพาะเมล็ดกล้า
2. การลดน้ำ
3. การโรเมล็ดพันธุ์กล้า
4. การโรยวัสดุปิดหน้า
การทำงานทั้ง 4ขั้นตอนจะให้ความละเอียด จึงได้กล้าที่ดีและรวดเร็วในการเพาะกล้า และยังใช้ปริมาณคนได้อย่างเหมาะสมในการผลิตกล้า (การใช้เครื่องเพาะกล้ากิ่งอัตโนมัติจะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องแบบมือเข็นประมาณ 80%โดยใช้แรงงานจำนวนเท่ากัน)
การใช้เครื่องมือในการเพาะกล้าเพื่อความรวดเร็วประหยัดเวลา

6. การเตรียมสถานที่อนุบาลกล้า

การเลือกทำเล เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง พื้นที่นั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำมีการระบายน้ำเข้าออกได้ดี พื้นที่จะต้องมีทางเข้าออกที่สะดวก พื้นที่ต้องอยู่ใกล้แหล่งปักดำ
แปลงดินหาสถานที่เหมาะสมและการเตรียมแปลงดินปรับพื้นที่แปลงให้เรียบได้ระนาบหลังจากนั้นตีดินให้ละเอียดและทำคันกั้นน้ำเพื่อสำหรับกักเก็บน้ำและทำทางระบายน้ำเข้าออกจากแปลง
สำหรับแปลงอนุบาลนั้นแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท
1. ประเภทแรกคือการเพาะกล้าเพื่อการปักดำแปลงของตัวเองโดยเราสามารถคำนวนจำนวนของกล้าที่ทำการเพาะได้จากที่นาที่เราจะทำการปักดำ เช่นมีที่นา 100ไร่ ต้องการดำนาวันละ 20ไร่ ใช้กล้า 50ถาดต่อไร่ ภายใน 1วัน เราต้องใช้กล้าในการปัดดำ 50ถาด x 20ไร่ = 1000ถาด ดังนั้นเราต้องเพาะกล้าทั้งหมด 5แปลง แปลงละ 1000ถาดต่อวัน เราก็จะได้กล้าที่จะปักดำในที่นาของตัวเอง 100ไร่ให้เสร็จภาพใน 5วัน
2. ประเภทที่สองคือการเพาะกล้าเพื่อรับจ้างปักดำให้ได้ทุกวัน เราจะต้องมีแปลงอนุบาลตามจำนวนของอายุกล้าที่เราจะใช้เพื่อการหมุนเวียนในการใช้งานได้ทุกวัน เช่นถ้าเราต้องการใช้กล้าที่มีอายุครบ 18วันปักดำ เราก็ต้องมีแปลงอนุบาลกล้าทั้งหมด 18แปลง โดยทำการเพาะวันละ 1แปลงเริ่มจากวันแรกไปเลื่อยๆจนครบ 18แปลงภายใน 18วัน เมื่อต้นกล้าที่เพาะก่อนวันแรกจะมีอายุครบ18วันเราก็พร้อมที่ใช้กล้านั้นไปใช้ปักดำได้แล้ว
และเราก็สามารถทำการเพาะกล้าใหม่ในแปลงที่1 ในวันที่19ต่อไป เพราะฉะนั้นเราก็จะมีกล้าใช้งานทุกวันในช่วงของการดำนา
แปลงคอนกรีต ถ้าสะดวกในเรื่องของเงินทุนการทำแปลงคอนกรีตก็จะสะดวกและง่ายขนาดแปลงก็จะเหมือนกับแปลงดินเพียงแต่ต้องทำทางระบายน้ำเข้าออกให้สะดวกและก็ทำคันกั้นน้ำไม่ต้องทำสูงมากทำสูงแค่เหนือระดับขอบถาดเพาะกล้า ประมาณ1-5เซนติเมตรตามความเหมาะสม
สถานที่ในการอนุบาลกล้าแผ่นสำหรับรถดำนา

7. การดูแลกล้าในแปลงอนุบาล

ขั้นตอนการอนุบาลกล้าหลังจากผ่านการบ่มเพื่อให้เกิดการงอกที่สมบูรณ์เป็นเวลา 2วันแล้วเข้าสู่วันที่3ในช่วงที่แสงแดดไม่จัดมากเราก็นำกล้าที่พร้อมนั้นลงทำการแผ่อนุบาลในแปลง สำหรับความพร้อมของแปลงที่เราจะทำการแผ่จะต้องประกอบไปด้วย ความราบเรียบแล้วก็ได้ระดับของแปลง มีน้ำในแปลงไม่เกินครึ่งหนึ่งของถาดเพาะกล้า เพื่อป้องกันหน่อกล้าสำลักน้ำหลังจากนั้นเราก็สามารถทำการแผ่ได้ขณะที่แผ่ถ้าเราสังเกตพบว่าเราเห็นหน่อยกวัสดุปิดหน้าให้ลอยตัวขึ้นมาเราก็เอาน้ำฉีดพ่นเพื่อทำการกดวัสดุปิดหน้าให้ยุบตัวลงไป หากพบรากของเมล็ดข้าวลอยขึ้นมาอยู่เหนือวัสดุปิดหน้าก็ให้นำวัสดุปิดหน้าโรยทับอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการเก็บความชุ่มชื้นของเมล็ดพันธุ์ หากพบเชื้อราหรือแบคทีเรียก็ใช้สารยับยั้งทำการฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่ง และถ้าเราแผ่กล้าในช่วงฤดูฝนหรือฤดูที่มีอากาศร้อนจัดก็แนะนำให้ใช้ตาข่ายพลางแสงที่มีความทึบแสงไม่ต่ำกว่า 70%ทำการปิดคลุมไว้เพื่อป้องกันเมล็ดข้าวกระจายจากสายฝนหรือป้องกันแสง หรือความร้อนที่จะทำอันตรายต่อต้นกล้าการคลุมก็จะปิดไว้ประมาณ 2-3วัน หลังจากนั้นเข้าสู่วัน4และวันที่5 เราจะต้องให้น้ำโดยการให้น้ำจะต้องท้วมขอบถาดเพาะกล้าเป็นเวลา 1ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ทำการลดละดับน้ำโดยการปล่อยน้ำออกจากแปลงเหลือน้ำไว้ครึ่งหนึ่งของขอบถาด หากตรวจพบเชื้อราที่เกิดเป็นวงหรือเป็นหลุมในถาดก็ทำการซ่อมแซมโดยการนำส่วนที่เป็นเชื้อราออกไปจากถาดเพาะกล้าและนำส่วนต้นกล้าที่ดีมาซ่อมแซม พอเข้าสู่วันที่6-8เราก็เพิ่มระดับน้ำในการเลี้ยงดูต้นกล้าโดยการเพิ่มปริมาณน้ำให้ท้วมขอบถาดเพาะกล้าเล็กน้อยเป็นเวลา 2วัน พอเข้าวันที่9-10เราต้องระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้งเพื่อเป็นการระบายอากาศในแปลงและก็เป็นการกระตุ้นให้รากของต้นกล้าให้เกิดการเจริญเติมโตแข็งแรง พอเข้าสู้วันที่11 ก่อนนำไปปักดำ 2วัน เราก็เพิ่มระดับน้ำให้สูงกว้าขอบถาดเพาะกล้าเพื่อให้กล้าเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และก่อนวันปักดำ 1วัน ตรวจดูความพร้อมของต้นกล้าความพร้อมและความเหมาะสมของต้นกล้าที่จะนำมาใช้กับรถดำนา ก็ต้องมีความยาวอยู่ระหว่าง 15-28 เซนติเมตร ถ้าความยาวเกิน 28เซนติเมตร ให้ทำการตัดปลายใบของต้นกล้าข้าวจะใช้กรรไกรหรือเครื่องตัดหญ้าสะพายหลังก็ได้หลังจากนั้นแล้วเราต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงให้แห้งก่อนการปักดำ 1วัน เพื่อเป็นการระบายน้ำออกจากแผ่นกล้าสามารถที่จะม้วนแผ่นกล้าให้สะดวกต่อการขนส่งและนำไปใช้งานโดยที่แผ่นกล้าไม่เสียรูปทรง
สถานที่ในการอนุบาลกล้าแผ่นสำหรับรถดำนา

8. การนำแผ่นกล้าข้าวไปใช้งาน

เมื่อถึงกำหนดวันปักดำเราก็จะมาทำการเคลื่อนย้ายแผ่นกล้าเพื่อนำไปใช้กับรถดำนาที่แปลงปักดำ วิธีการเคลื่อนย้ายกล้าจะมีอยู่ 2วิธีด้วยกัน

8.1 การม้วนกล้า

การม้วนกล้า เราจะทำการม้วนกล้า 3ม้วนต่อหนึ่งถาดเพาะกล้า เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการขนส่งและเรียงซ้อน ข้อควรระวังอย่าซ้อนสูงเกิน 4ชั้น เพราะจะทำให้ชั้นล่างถูกการกดทับจะทำให้กล้าเสียหายได้ ซึ่งวิธีนี้เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายกล้าในระยะทางใกล้ๆ

8.2 การเคลื่อนย้ายกล้าแบบไม่ต้องม้วน

เคลื่อนย้ายกล้าแบบไม่ต้องม้วน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้กล้าไม่ช้ำเหมาะกับการเคลื่อนย้ายกล้าในระยะทางไกลๆ
การเครื่อนย้ายทั้งสองวิธีเราต้องใช้ตาข่ายพรางแสงหรือผ้าใบพลาสติกคลุมเพื่อป้องกันลมและแสงแดดที่จะทำอันตรายต่อต้นกล้า เมื่อนำต้นกล้าข้าวไปถึงยังจุดปักดำเราก็นำกล้ามาวางไว้ตามจุดต่างๆของขอบแปลงที่จะทำปักดำเพื่อให้ทำให้รถดำนาทำงานได้สะดวกและต่อเนื่อง
การนำแผ่นกล้าข้าวไปใช้งานด้วยการม้วนหรือแบบไม่ม่วนเพื่อนำไปปักดำ
หลังจากเกษตรกรทุกท่านได้อ่านทุกขั้นตอนของการเพาะกล้าด้วยถาดเพาะกล้าและรถดำนา ก็จะทำให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์มีคุณภาพเหมาะสำหรับการนำไปปักดำ การที่ได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพนั้นก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตลดค่าใช้จ่ายได้พันธุ์ข้าวบริสุทธิ์
การเพาะกล้าข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตลดค่าใช้จ่ายและได้ข้าวที่ดีบริสุทธิ์

วิธีการเพาะกล้าข้าว การหว่าน อนุบาลกล้าข้าว ปักดำ

วิธีการหว่านเมล็ดข้าวในถาด
                                 
วิธีการอนุบาลกล้าข้าว
                                 
การปักดำกล้าข้าวด้วยรถดำนา
                                 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147