วิธีการและขั้นตอนการปลูกลำไย ตอนที่ 1

เทคนิคขั้นตอนและวิธีปลูกลำไยให้ได้ผลผลิตดีคุณภาพสูง
ตอน  1  2 

การปลูกลำไยในประเทศไทย

พื้นที่ "ปลูกลำไย" ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสำหรับการปลูกลำไยเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน สามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกรได้อย่างดียิ่ง และด้านเทคโนโลยีการปลูกและผลิตเข้าเสริมและพัฒนาไปสู่การผลิตอย่างจริงจัง จึงได้มีการขยายผลการส่งเสริมการปลูกและผลิตไปสู่พื้นที่ในจังหวัดอื่นๆด้วย รวม 36 จังหวัดของประเทศไทย พื้นที่รวม 423,618 ไร่และมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่มากขึ้น ซ่ึ่งลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่จำหน่ายในท้องตลาดในไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศโดยบรรจุลง ตะกร้าลำไย หรือกล่องส่งออกทางท่าเรือและรถบรรทุกเป็นจำนวนมาก
ปลูกลำไยจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
ผลผลิตลำไยบรรจุในตะกร้าเพื่อจำหน่ายและส่งออก

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกลำไย

ดิน ลำไยสามารถขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แม้กระทั่งดินลูกรังแต่ดินที่ลำไยชอบมาก คือดินร่วนปนทราย และดินตะกอน ซิ่งเกิดจากตะกอนกรวด หิน ดิน ทราย อินทรีย์วัตถุที่น้ำพัดพามาเกิดการทับถถมของอินทรีย์วัตถุ ซึงจะสังเกตได้จากต้นลำไยที่ปลูกตามทีราบลุ่มแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เจริญงอกงามและให้ลลิตลำไยได้ดี ดินทีปลูกลำไยควรมีหน้าดินลึก การระบายน้ำดีสำหรับค่าของความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6
อุณหภูมิ โดยทั่วไปลำไยต้องการอากาศค่อนข้างเย็น  อุณหภูมิที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 4-30 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิต่ำ (10-20 องศาเซลเซียส) ในฤดูหนาว ช่วงหนึ่งคือประมาณเดือน พฤศจิกายนจนถึงมกราคมเพื่อการออกดอก ซึ่งจะสังเกตว่าถ้าปีไหนอากาศหนาวเย็นนานๆ โดยไม่มีอากาศอบอุ่นเข้ามาแทรกลำไยจะมีการออกดอกติดผลดี
น้ำและความชี้น น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นลำไยในแหล่งปลูกลำไย ควรมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1,250 มิลลิเมตรต่อปี และควรมีการกระจายตัวของฝนดีประมาณ 100-150 วันต่อปี แต่อย่างไรก็ตามใบบางช่วงลำไยต้องการน้ำน้อย คือในช่วงก่อนออกดอกแต่ในช่วงออกดอกติดผลลำไยต้องการน้ำมาก
แสง แหล่งปลูกลำไยต้องโล่งแจ้ง มีแสงแดดส่องตลอดเวลา

การเลือกพื้นที่ปลูกลำไย

1. การเลือกพื้นที่ ลำไยเป็นพืชที่เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แม้กระทั้งดินลูกรัง แต่ดินปลูกที่ให้ลำไยมีการเจริญเติบโตได้ดี คือดินร่วนปนทรายและดินตะกอน ซึ่งเกิดจากตะกอนดินกรวด หิน ดิน ทราย อินทรีวัตถุที่น้ำพัดมาเกิดการทับถมของอินทรียวัตถุ สังเกตได้จากต้นลำไยที่ปลูกตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิง น้ำใต้ดินสูงในเขตจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตลำไยได้ดีดินปลูกลำไยควรมีค่าความเป็นกรดด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 5.0-7.0 มีหน้าดินลึกระบายน้ำดี ดังนั้นก่อนทำการปลูกลำไยควรศึกษาคุณสมบัติของดิน เช่น โครงสร้างของดิน เนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหารของลำไยอย่างมีประสิทธิภาพ
2. แหล่งน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำไย การผลิตลำไยเพื่อให้ได้คุณภาพต้องมีน้ำในปริมาณเพียงพอตลอดตามฤดูกาล นอกจากนี้ควรทำการศึกษาคุณสมบัติของน้ำและวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการปลูกลำไย
3. สภาพภูมิอากาศ ปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลำไยได้แก่
3.1 อุณหภูมิ โดยทั่วไปลำไยต้องการอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 4-30 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิต่ำ 10-22 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน-มกราคม เพื่อสร้างตาดอก ซึ่งในปีที่มีอากาศเย็นระยะเวลานานโดยไม่มีอากาศอุ่นแทรก ลำไยจะออกดอกติดผลได้ดี แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำไม่พอ ต้นลำไยจะออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอก
3.2 แสง การเจริญเติบโตของลำไยจำเป็นต้องได้รับแสงอย่างเพียงพอ ดังนั้นการปลูกลำไยจึงควรปลูกในที่โล่ง ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณแสงน้อยอาจเกิดจากการบังแสงของเมฆ หรือเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน มักทำให้ต้นลำไยชะงักการเจริญเติบโต ส่วนในสภาพที่ความเข้มแสงสูงมักเกิดปัญหาทำให้ผิวลำไยเป็นสีน้ำตาลเข้มจำหน่ายได้ราคาตกต่ำ
3.3 ปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ แหล่งปลูกลำไยควรมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วงประมาณ 100-200 มิลลิเมตรต่อปี และควรมีการกระจายของฝนประมาณ 100-150 วันต่อปีในแหล่งปลูกลำไยที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรจัดหาแหล่งน้ำและระบบชลประทานให้เพียงพอและเหมาะสม
3.4 ระดับความสูงของพื้นที่ ลำไย สามารถปลูกได้ดีในที่ราบลุ่มจนถึงพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร
4. การตลาด ก่อนการเริ่มต้นการสร้างสวนลำไยผู้ดำเนินการต้องมั่นใจว่าในพื้นที่นั้นมีตลาดรองรับผลผลิตทั้งผลไม้แปรรูปและผลสด พื้นที่ปลูกลำไยไม่ควรอยู่ห่างจากจุดรับซื้อมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสูงทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
5. การคมนาคมขนส่ง การเลือกสร้างสวนลำไยในพื้นที่มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการจำหน่ายผลผลิต และอุปกรณ์ในการบรรจุจัดเก็บลำไย เช่น ตะกร้าหูเหล็ก และ ตะกร้าลำไย หรืออาจใช้เข่งพลาสติก นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางยังช่วยให้การขนส่งผลผลิตไปจำหน่ายยังแหล่งรับซื้อทำได้อย่างรวดเร็วมีการสูญเสียของผลผลิตน้อย
6. แรงงาน การปฏิบัติงานภายในสวนลำไยจำเป็นต้องมีแรงงานทั้งแรงงานประจำและแรงงานช่วยคราวต้องทำงานเร่งด่วนในบางช่วง เช่น เก็บเกี่ยวผลผลิต บรรจุลำไยลงตะกร้าผลไม้ การตัดกิ่ง เป็นต้น แหล่งปลูกลำไยที่มีแรงงานที่เพียงพอ และมีความชำนาญจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก นอกจากนี้ควรมีการฝึกฝนแรงงานให้มีความรู้และทักษะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเจ้าของสวนลำไย
วิธีการเลือกพื้นที่ปลูกลำไย
เลือกพื้นที่ปลูกลำไย

การเลือกพันธุ์ลำไย

จากคำกล่าวที่ว่า "การเลือกไม้ผลพันธุ์ดีมีชัยไปเกือบครึ่ง" การสร้างสวนลำไยเพื่อให้ต้นลำไยที่ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ควรเลือกซื้อต้นลำไยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ มีการผลิตจากต้นพันธุ์ที่มีพ่อแม่สมบูรณ์ แข็งแรงสามารถตั้งตัวได้เร็วที่สำคัญควรได้จากต้นพันธุ์ที่มีประวัติการออกดอกติดผลสม่ำเสมอ ผลมีขนาดใหญ่ การคัดเลือกลำไยควรคำนึงถึงระบบการที่แข็งแรง เช่น การปลูกต้นลำไยกิ่งเสียบหรือการเสริมรากกับต้นกิ่งตอนหลังปลูก
พันธุ์ลำไย
เลือกพันธุ์ลำไยที่ดีจะได้ลำไยที่มีคุณภาพและสมบูรณ์
การเลือกพันธุ์ลำไย

การเตรียมพื้นที่ปลูกลำไย

1. การเตรียมพื้นที่ปลูกลำไยในที่ลุ่ม

พื้นที่ลุ่มส่วนมากเปลี่ยนจากพื้นที่นาเป็นสวนลำไย ลักษณะพื้นที่นั้นมักมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนสภาพดินเป็นดินเหนียว มีระดับน้ำใต้ดินสูง จึงต้องขุดร่องแล้วดินที่ขุดขึ้นมาถมให้เป็นแปลงสูงพอให้พ้นน้ำท่วมขัง แปลงปลูกควรมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ร่องน้ำระหว่างแปลงกว้างประมาณ 1-2 เมตร ลึก 0.5-1.5 เมตร ถ้าต้องการดินขึ้นถมแปลงมากๆ ก็ขุดให้ลึก หลังจากขุดเสร็จควรปล่อยดินยุบตัวสักระยะหนึ่งจึงทำการวางระยะปลูก

2. การเตรียมพื้นที่ปลูกในที่ดอน

พื้นที่ดอนจะเป็นพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น พื้นที่ป่าเปิดใหม่หรือพื้นที่ปลูกพืชไร่ การเตรียมพื้นที่เพื่อทำสวนลำไยต้องพิจารณาถึงปัจจัยเรื่องการให้น้ำแก่ต้นลำไย ควรวางแผนและจัดเตรียมหาแหล่งน้ำไว้ให้พร้อมสำหรับอนาคต พร้อมทั้งปลูกพืชบังลม เนื่องจากพื้นที่ดอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เชิงลมมักจะพัดแรงจัดถ้าไม่มีการป้องกัน อาจทำให้ต้นลำไยเกินการโค่นล้มเสียหาย นอกจากนี้ในช่วงหน้าแล้งควรทำแนวกันไฟไว้รอบๆสวน

3. ระยะปลูก

ระยะปลูกของลำไยมีข้อพิจารณา ดังนี้
3.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปกติดินดีมีความอุดมสมบูรณ์สูงต้นลำไยย่อมจะมีขนาดลำต้นและทรงต้น ตลอดจนการแผ่กระจายขอกรากกว้างกว้าการปลูกในดินไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ถ้าเป็นที่ลุ่มระดับน้ำใต้ดินสูง การระบายน้ำไม่ค่อยดีควรปลูกระยะชิด เพื่อให้ได้จำนวนต้นต่อพื้นที่สูง เนื่องจากลำไยที่ปลูกในสภาพเช่นนี้มักอายุไม่ยืน อาจเก็บผลได้ เพียง 5-10 ปี
3.2 ขนาดของพุ่ม ลำไยมีนิสัยการออกดอกตรงปลายกิ่ง เมื่อพุ่มชนกัน บริเวณนั้นจะไม่ออกดอก และจะเจริญในด้านความสูงเนื่องจากแก่งแย่งแสง ทำให้ต้นสูงไม่สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต
3.3 การจัดการ ในกรณีที่ต้องการปลูกระยะชิดต้องมีการจัดการที่ดีเช่น การตัดกิ่งเพื่อควบคุมทรงต้น หรือตัดต้นเว้นต้น เมื่อทรงพุ่มชนกัน ระยะปลูกที่เหมาะสมของลำไยปกติจะอยู่ระหว่าง 8-12 x 8-12 เมตร แต่ต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้มากควรปลูกระยะชิด ซึ่งจะได้จำนวนต้นต่อพื้นที่สูง อาจใช้ระยะ 4x4 เมตร 5x5 เมตร 6x6 เมตร ลำไยจะเริ่มออกผลในปีที่ 2-3 การปลูกระยะชิดให้ผลผลิตต่อไร่สูงในระยะแรกและเมื่อทรงพุ่มชนกันต้องตัดต้นเว้นต้น จะได้ระยะปลูกเท่ากับ 8x8 เมตร 10x10 เมตร 12x12 เมตรตามลำดับ

4. การเตรียมหลุมปลูก

ควรดูสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก ดินสมบูรณ์การเตรียมหลุมไม่ต้องลึก (หลุมเล็ก) ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ควรเตรียมหลุมขนาดใหญ่ ถ้าพื้นที่เป็นที่ดินควรขุดหลุมให้กว้างและลึก แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มอาจเตรียมหลุมขนาดเล็กหรืออาจเอาดินจากที่อื่นมากองให้เป็นโคกให้มีฐานกว้างประมาณ 1.5 เมตร สูงพ้นระดับน้ำสูงสุดขึ้นไปอีก 1 เมตร โดยทั่วไปขนาดของหลุม กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 0.3 x 03 x 0.3 เมตร ถึง 1.0 x 1.0 x1.0 เมตร เวลาขุดหลุมควรจะแยกดินที่ขุดขึ้นมาและใส่ร็อคฟอสเฟต หรือกระดุกป่นอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี จากนั้นนำดินชั้นบนใส่ลงก้นหลุมและดินชั้นล่างขึ้นไว้ข้างบน

5. การเลือกพันธุ์ปลูก

พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ พันธุ์อีดอ รองลงมาได้แก่ พันธุ์สีชมพู แห้วและเบี้ยวเชียว การเลือกพันธุ์ที่จะนำไปปลูกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องคัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ออกดอกติดผลสม่ำเสมอและปราศจากโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพุ่มไม้กว่า ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอเชื้อไปกับกิ่งพันธุ์

6. ฤดูปลูกลำไย

สามารถปลูกได้ตลอดปีแต่ในช่วงที่เหมาะสมคือ ปลายฤดูฝน (กันยายน-ตุลาคม) ซึ่งมีความชื้่นในดินและอากาศพอเหมาะ ลำไยจะเจริญเติบโตได้ดีและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน แต่จะต้องให้น้ำบ้าง เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนมักนิยมปลูกลำไยในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือน กรกฎาคมเป็นต้นไปเนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำขังบริเวณหลุมปลูกจึงต้องหมั่นคอยดูแลเมื่อมีน้ำขังต้องระบายออกจากหลุม

7. วิธีปลูกลำไย

ส่วนใหญ่ปลูกด้วยกิ่งตอนซึ่งจะชำในชะลอมไม้ไผ่สาน ทางภาพเหนือเรียกว่า "เป๊าะ" การปลูกจะขุดตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ลุกประมาณ 1 ช่วงจอบ ใส่ฟูราดานรองก้นหลุมประมาณครึ่งช้อนแกงกันปลวกและแมลงในดิน แล้ววางกิ่งพันธุ์ทั้งเป๊าะ กลบดินให้แน่นปักหลักกันลมโยก ในกรณีที่ชำกิ่งตอนลงถุงพลาสติกดำหรือกระถางพลาสติกดำ จะต้องเอาถุงดำออกก่อนแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ลงปลูก
วิธีการเตรียมพื้นที่ปลูกลำไย
การเตรียมพื้นที่ปลูกลำไย

การวางผังสร้างสวนลำไย

การวางผังปลูกลำไยที่ดีย่อมส่งผลให้การจัดการสวนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ทันสมัยมาปรับปรุงใช้ในการผลิตเพื่อให้ผลผลิตของลำไยมีคุณภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ ข้อควรพิจารณาในการวางผังสวนลำไยมีดังนี้
ขนาดพื้นที่ การสร้างสวนลำไยเพื่อเป็นการค้ามักใช้พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ควรมีการแบ่งพื้นที่ปลูกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงแต่ละแปลงควรมีถนนกั้นเพื่อเกิดความสะดวกต่อการจัดการด้านต่างๆ เข่น การให้น้ำและธาตุอาหาร การควบคุมป้องกันศตรูลำไยหรือป้องกันไฟป่าในช่วงหน้าแล้ง เป็นต้น
ระยะปลูก การกำหนดระยะปลูกของลำไยเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการปลูกควรมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียของระยะปลูกต่างๆ ให้ละเอียดตลอดจนวิธีการจัดการหลังทำการปลูกเช่น การจัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม การใช้สารกระตุ้นการออกดอก เป็นต้น
ส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงานและสภาพภูมิทัศน์ภายในสวนให้มีความสวยงาม การสร้างสวนลำไยควรมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น มีแหล่งน้ำที่พอเพียง แนวระบายน้ำและป้องกันน้ำขัง ถนนภายในสวน โรงเรือน โรงคัดบรรจุผลผลิตลงตะกร้าลำไย ควรอยู่พื้นที่สวน เพื่อสะดวกต่อการจัดการเป็นต้น
วิธีการการวางผังสร้างสวนลำไย
การวางผังลำไย

รูปแบบการปลูกลำไย

รูปแบบการปลูกลำไยที่นิยม มี 3 แบบ คือ

1. การปลูกลำไยแบบระยะห่าง

เป็นวิธีที่นิยมมากตั้งแต่ในอดีตและปัจจุบัน การปลูกลำไยต้องการให้ต้นลำไยมีการเจริญเติบโตขยายขนาดของทรงพุ่มเต็มที่ รูปแบบการปลูกมีทั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัส และแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยกำหนดให้ระยะห่างระหว่างแถวและระยะห่างระหว่างต้นเกิน 8 เมตร เช่น 8x8 10x10 12x12 8x10 และ 10x12 เมตร ต้นลำไยมักมีทรงพุ่มขนาดสูงใหญ่ ปริมาณผลผลิตต่อต้นสูงแต่จำนวนต้นต่อไร่น้อยมักประสบปัญหาการจัดการและต้นลำไยโค่นล้มง่ายโดยเฉพาะเมื่อเกิดพายุลมแรง

2. การปลูกลำไยแบบระยะชิด

เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่การปลูกระยะชิดต้องมีการตัดแต่งกิ่งเอควบคุมทรงพุ่มและการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต กระตุ้นให้มีการออกดอก การปลูกลำไยระยะชิดเป็นรูปแบบการปลูกที่ได้จำนวนต้นต่อไร่สูง ในประเทศไทยมีการสร้างสวนลำไยระยะชิดยังไม่แพร่หลาย อาจเนื่องจากมีบทเรียนจาการปลูกระยะชิด ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอดีตการควบคุมทรงพุ่มทำได้ยากเพราะต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่งมักออกดอกปีเว้นปี อย่างไรก็ตามภายหลังมีการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรตสามารถกระตุ้นการออกดอกของลำไยได้ แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกลำไยระยะชิดจึงกลับมาอีกครั้ง ซึ่งรูปแบบการปลูกลำไยระยะชิดมีหลายๆแบบ ดังนี้
- การปลูกระยะชิดแบบแถวเดี่ยว เป็นรูปแบบการปลูกคล้ายระบบการปลูกระยะห่างแต่มีระยะปลูก 3x6 4x6 เมตร ซึ่งสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาปฏิบัติงานในสวนได้สะดวกกว่าแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
- การปลูกระยะชิดแบบแถวคู่ เป็นระบบปลูกที่กำหนดให้แถวอยู่ชิดกันหนึ่งคู่สลับกับแถวห่างเพื่อการปฏิบัตงานโดยเครื่องจักร เป็นระบบที่เพิ่มจำนวนต้นต่อไร่มากขึ้นและมีพื้นที่การให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่ในลักษณะสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนชื้นอาจทำให้มีการระบาดของโรคและแมลงศตรูพืชลำไยมาก
- การปลูกลำไยระยะชิดแบบกลุ่ม เป็นระบบการปลูกลำไยรวมกันให้เกิดเป็นกลุ่มโดยอาศัยเทคนิคการตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มพื้นที่่ของการให้ผลผลิตลำไย

3. การปลูกลำไยแบบระบบคอนทัวร์หรือระบบแนวระดับ

เป็นระบบการปลูกลำไยที่ช่วยป้องกันและลดอัตราการชะล้าง หรือการพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ปกติระบบการปลูกนี้จะใช้เมื่อพื้นที่ปลูกมีความลาดชันเกิน 3 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงในทุกระยะทาง 100 เมตร จะมีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง 3 เมตรขึ้นไปต้องทำการปลูกตามแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ปลูกต้องมีการทำระดับหรือขั้นบันไดตามระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ซึ่งการปลูกแบบนี้มีความยุ่งยากต่อการปฏิบัติงานในสวนมากกว่าวิธีอื่นๆ

ฤดูปลูกลำไย

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกลำไย คือช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน จะได้น้ำช่วงแรกเพื่อให้ลำไยตั้งตัวได้ในระยะแรก 3-4 เดือน ก่อนเข้าสู่ช่วงฝนตกหนัก (สิงหาคม-กันยายน) และฝนจะทิ้งช่วงในเดือน ตุลาคม-มกราคม และเข้าสู่ฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-เมษายน) ซึ่งจะต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ในรยะปีที่ 1-2 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ลำไยตั้งตัวและจะรอดได้จำเป็นต้องไม่ให้ขาดน้ำในฤดูแล้ง และไม่ให้น้ำท่วมขังในฤดูฝนด้วย
ตอน  1  2 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147