โรคและแมลงศัตรูพริก อาการและการป้องกัน

โรคต่างๆที่มักเกิดขึ้นในการปลูกพริก

1. โรคกุ้งแห้ง

โรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรคโนส (Anthracnose)
สาเหตุ คือ เชื้อรา Colletotrichum spp.
โรคกุ้งแห้งในพริกจากเชื้อรา Colletotrichum spp.

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคกุ้งแห้งในพริก

ผลพริกที่เป็นโรคนี้ ผิวผลยุบตัวลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ำน้ำ เมื่อผลขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็นวงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือกสีส้มปนดำ

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคกุ้งแห้ง คือ สภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส และฝนตกพรำๆ เชื้อรานี้สามารถปลิวตามลม และตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสมเชื้อจะเจริญแพรกระจายอย่างรวดเร็ว
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคกุ้งแห้งในพริก

วิธีป้องกันกำจัดโรคกุ้งแห้งในพริก

1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค
2. บำรุงต้นให้แข็งแรงหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะจะทำให้สปอร์แพร่กระจายได้ดีและไม่ครรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทำให้ผลอวบน้ำ อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
3. เก็บผลเป็นโรคออกจากแปลงปลูก นำไปเผาทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกันแน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น Azoxystrobin, Mancozeb

2. โรคเน่าเปียก

โรคเน่าเปียก (Wet rot)
สาเหตุ คือ เชื้อรา Choanephara spp.
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคเน่าเปียกในพริก

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคเน่าเปียกในพริก

เกิดได้ทุกส่วนของต้นพริก แต่ส่วนมากเกิดบนยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และผลอ่อน ส่วนของพืชที่เชื้อเข้าทำลาย มีลักษณะอาการเน่าเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้าสภาพอากาศมีความชื้นสูง จะเห็นเส้นใยราสีขาว มีสปอร์สีดำตรงส่วนปลายเส้นใยเห็นได้ชัด

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคเน่าเปื่อย
ฝนพรำๆ สลับแดด น้ำค้างลงจัด

วิธีป้องกันกำจัดโรคเน่าเปียกในพริก

1. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงเพื่อลดความชื้นในแปลงและสะดวกต่อการพ่นสาร
2. งดเข้าแปลงพริกภายหลังฝนตก เพื่อป้องกันการกระจายของสปอร์
3. ตัดส่วนที่เป็นโรคใส่ถุงพลาสติก นำออกจากแปลง

2. โรคเหี่ยวเขียว

โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial with)
สาเหตุ คือ เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum)
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคเหี่ยวเขียวในพริก
ลักษณะพันธุ์พริกขี้ฟ้า

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคเหี่ยวเขียวในพริก

ต้นพริกเหี่ยวเฉียบพลัน โดยต้นพริกและใบยังมีชีวิตอยู่ เมื่อตัดโคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อลำเลียงอาหารช้ำมีสีน้ำตาลเมื่อตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ในน้ำ จะเห็นน้ำยาสีขาวขุ่นไหลจากบริเวณท่อลำเลียง

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคเหี่ยวเขียว
ดินระบายน้ำไม่ดีอุณหภูมิสูง น้ำที่ใช้ไหลผ่านมาจากแปลงที่เป็นโรค

วิธีป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียวในพริก

1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่มีประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียวมาก่อน
2. หมั่นตรวจแปลงปลูก ถ้าพบต้นเป็นโรค ให้นำออกจากแปลงเผาไฟทันที
3. การให้น้ำตามร่องควรแบ่งแปลงเป็นช่วงๆ และกักน้ำเฉพาะร่องนั้นๆ เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อแบคทีเรียไปทั่วทั้งแปลง
4. ปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยงการปลูกพืชช้ำในที่เดินติดต่อกัน

4. โรคใบด่าง

โรคใบด่าง (Cucumber mosaic virus, CMV) สาเหตุ คือ ไวรัสใบด่างแตง
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคใบด่างในพริก

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคใบด่างในพริก

ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิดเบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแกรน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิดเบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่สม่ำเสมอ

พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูดน้ำและอาหารจากพืชและปล่อยเชื้อเข้าสู่ต้นพืชอย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกันกำจัดโรคใบด่างในพริก

1. พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในระยะต้นกล้า โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุมแปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตาต่อนิ้ว
2. กำจัดวัชพืชในแปลง และรอบๆแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน
3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นเป็นโรคระยะแรก ต้องกำจัดออกจากแปลงทันที เพราะต้นเป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป

5. โรคใบด่างประ

โรคใบด่างประ (Chili veinal mottle virus, ChiVMV) สาเหตุ คือ ไวรัส Chili veinal mottle virus
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคใบด่างประในพริก

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคใบด่างประในพริก

ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิดเบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแกรน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิดเบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่สม่ำเสมอ

พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูดน้ำและอาหารจากพืชและปล่อยเชื้อเข้าสู่ต้นพืชอย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกันกำจัดโรคใบด่างในพริก

1. เพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลงจนกระทั่งถึงเวลาย้ายปลูกลงแปลง
2. กำจัดวัชพืชในแปลง และรอบๆ แปลงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน
3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ต้องกำจัดออกแปลงทันที

6. โรคใบจุดตากบ

โรคใบจุดตากบ (Frog eye leaf spot) สาเหตุ คือ เชื้อรา Cercospora spp.
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคใบจุดตากบในพริก

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคใบจุดกบในพริก

อาการโรคบนใบ ลักษณะเป็นแผลกลม ขอบสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบเมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อถึงกันทำให้ใบไหม้แห้งกรอบ และร่วง แผลบนก้านผลลักษณะยาวรีหรือยาวกลม ขอบแผลสีเข้มเนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรคใบจุดกบ อากาศร้อนอบอ้าวและความชื้นสูง

วิธีป้องกันกำจัดโรคใบด่างในพริก

1. หมั่นสำรวจแปลงปลูกพริกเมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อยให้ใช้สารเคมี Mancozeb พ่นป้องกันทันที
2. หลีกเลี่ยงการขังน้ำระหว่างร่องปลูกเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน เนื่องจากทำให้ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้นซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี
3. ทำความสะอาดแปลงปลูกเพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่ร่วงตามพื้น

7. โรครากเน่าโคนเน่า

โรครากเน่าโครนเน่า (Collar and root rot) สาเหตุ คือ เชื้อรา Phytophthora spp. และ Pythium spp.
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรคเน่าโคนเน่าในพริก

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพริก

ถ้าเกิดกับต้นกล้าพริก จะเกิดอาการเน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตายในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดำปนน้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลามไปยอด ปลายรากมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุดง่ายเมื่อจับดึง ท่อน้ำท่ออาหารมีสีน้ำตาล

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า อากาศร้อน มีฝนตก ดินระบายน้ำไม่ดี น้ำขังระหว่างร่องแปลงปลูก

วิธีป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในพริก

1. หลีกเลี่ยงการรดน้ำแปลงกล้าหรือถาดเพาะกล้าในตอนเย็น
2.เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ (ควรทำความสะอาดถาดเพาะเมล็ดกล้าให้สะอาด)
3. กำจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลงปลูกและทำลายโดยการนำไปเผา
4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับพืชชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ
5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เทลงอ่างเปลผสมปูน 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม โรยโคนต้น

8. โรครากเน่าโคนเน่า

โรครากเน่าโครนเน่า (Collar and root rot) สาเหตุจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
ลักษณะและการป้องกันรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในพริกที่เกิดจากเชื้อรา

อาการและสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพริก

ต้นพริกเหี่ยวใบตก บริเวณโคนต้นมีเส้นใยสีขาว อาจพบสปอร์เชื้อราเป็นเม็ดสีดำคล้ายเมล็ดผักกาด

สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า อากาศร้อนชื้น ฝนตก

วิธีป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในพริก

1. หลีกเลี่ยงการใช้ฟางข้าคลุมแปลงปลูกเนื่องจากฟางมักมีเชื้อราติดมาด้วย
2. หลีกเลี่ยงการให้น้ำท่วมผิวหน้าแปลง
3. ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาพ่นหรือราดโคนต้น
4. ใช้ปูนขาวเล็กน้อยโรยรอบๆชิดโคนต้นก่อนเกิดโรค

สรุปวิธีการป้องกันโรคในพริกไม่ให้ระบาดรุนแรง

1. ไถพรวนดินตากแดดอย่างน้อย 14 วัน ก่อนปลูกพริก
2. จัดแนวของแถวปลูกพริกไม่ให้ขวางทิศทางลม
3. เก็บเศษซากพืชทั้งใบและผลที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกพริกบ่อยๆ เพื่อไม่ให้มีแหล่งเชื้อโรคแพร่กระจายในแปลงปลูก นำออกมาเผานอกแปลง
4. ถ้าพบต้นพริกที่แสดงอาการใบหงิกเหลือประเขียว ใบผิดรูปร่าง แกรน ให้ถอนทิ้งทันที นำออกมาเผาไฟ เพราะต้นพริกที่แกรนและใบหงิกตั้งแต่นพริกเล็กๆ จะไม่ให้ผลผลิตแต่เป็นแหล่งเชื้อไวรัสแพร่กระจายไปสู้ต้นอื่นๆ
5. ใช้ไตรโคเดอร์มาพ่นที่ลำต้นพริก ใบบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคทางใบ หรือ ราดโคนต้น หรือผสมไตรโคเดอร์มากับปุ๋ยหมักโรยโคนต้น เพื่อป้องกันโรคทางดิน
6. พ้นด้วย Ca และ B ในช่วงออกดอกติดผลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้พืชมีเซลล์ที่แข็งแรงจะช่วยให้พืชต้านทานโรคได้ดีขึ้น

แมลงศัตรูพืชของพริกที่สำคัญ

เพลี้ยไฟ

ลักษณะตัวอ่อนเพลี้ยไฟ

ลักษณะอาการ

อาการเพลี้ยไฟใบก้านรอยด้านสีดำ
วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ

วิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

1. สำรวจเพลี้ยไฟ ถ้าพบ 5ตัว ขึ้นไปต่อส่วนพืชนั้นๆ ขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ อย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำเพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
2. พบปริมาณน้อยให้เด็ดยอด หรือส่วนที่พบเพลี้ยไฟทำลาย
3. ใช้สารสกัดสมุนไพร สารสกัดจากเมล็ดสะเดา
4. ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ
คาร์บาริล (เซฟวัน85), คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์), อิมิดาโคลพริด (คอนฟิดอร์), อะบาเม็กติน (โปรเคลม), ฟิโปรนิล (แอสเซ็นต์)

ไรขาวพริก

ไข่ตัวอ่อนไรขาวพริก

ลักษณะอาการ

อาการไรขาวพริกบริเวณยอดหงิกเป็นฝอยสีน้ำตาลแดง

การป้องกันกำจัดไรขาวพริก

1. พื้นที่ปลูกพริกเป็นผักสวนครัว การเด็ดยอดที่หงิกทำลาย จะช่วยลดการระบาทของไรขาวได้
2. หมั่นตรวจดูไรขาวพริกโดยใช้แว่นขยาย พบบนใบอ่อน 5-10 ตัวขึ้นไป/ยอด ให้ฉีดพ่อนสารฆ่าแมลง ไม่ควรรอให้พริกใบหงิกแล้วจึงพ่น
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ
กำมะถัน, อามีทราซ, โพพาร์ไกต์, อะบาเม็กติน
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147