แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของทุเรียนที่ชาวสวนต้องรู้

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (durian seed borer)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Mudaria luteileprosa Holloway

ลักษณะการทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญ และทำความเสียหายต่อผลผลิตมากในเขตภาคตะวันออก สันนิษฐานว่าหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนินอยู่ในประเทศมาเลเซีย แล้วระบาดมาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกษตรกรนำเมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีขนาดโตมาจากภาคใต้เพื่อใช้เป็นต้นตอ เมื่อปลูกจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว และมีความทนทานต่อโรคสูง การนำเมล็ดพันธุ์จากทางใต้มายังภาคตะวันออก เป็นสาเหตุทำให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า "หนอนใต้" หรือ "หนอนมาเลย์" หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้หนอนที่เจาะเข้าในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมา และทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าระยะดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นดินแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายใน หรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า "หนอนรู"

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

ตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน สามารถวางไข่ได้ 100-200 ฟองต่อตัว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนขณะที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยาก เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก และเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะหนอน ทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว หนอนเจริญเติบโตอยู่ภายในผลทุเรียน กัดกินเมล็ดเป็นอาหารประมาณ 30-40 วัน โดยคาดคะเนเวลาที่จับแม่ผีเสื้อตัวแรกได้ และเวลาที่พบหนอนที่โตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ซึ่งห่างกันประมาณ 48 วัน จึงคาดว่าระยะตั้งแต่ผีเสื้อออกจากดักแด้ผสมพันธุ์วางไข่ และไข่จะฟักเป็นตัวหนอนจะกินเวลาประมาณ 10 วัน ดังนั้นระยะหนอนประมาณ 38 วัน การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ดกัดกิน และถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมาและเข้าระยะดักแด้ในดิน ระยะก่อนเข้าดักแด้ 8-10 วัน ระยะดักแด้ 1-9 เดือน ผีเสื้อตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ภายในหนึ่งเดือนอาจจำทำลายทุเรียนรุ่นหลังในปีเดียวกันได้ หรืออาจจะออกจากดักแด้ในปีถัดไป โดยมีฝนในช่วงต้นปีเป็นตัวกระตุ้นให้ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ ผีเสื้อตัวเต็มวัยทีจับได้จากกับดักแสงไฟจะมีชีวิตเพียง 7-10 วันเท่านั้น

พืชอาหารหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

พบว่าหนอนชนิดนี้มีพืชอาศัยอย่างเดียวคือ ทุเรียน

ศัตรูธรรมชาติของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

ยังสำรวจไม่พบ

การป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้าในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็นควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85 WO 85% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้
2.การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น 40 x 75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำ สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสาร chlorpyrifos (Pyrennex 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่ำน้ำ 20 ลิตร
3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลง cypermethrin/phosalone (Pazon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40 x 75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพื่อระบายน้ำ เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้ง และพ่นสารกำจัดแมลงเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด
4. การใช้กับดักแสงไฟ black light เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงจากที่เกษตรนิยมปฏิบัติอยู่ที่พ่นตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก
5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลงศัตรูพืช เมื่อพบว่าตัวเต็มไวเริ่มระบาดให้ใช้สาร carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) deltamethrin (Decis 3 3% EC) lambdacyhalothrin (Karate Zeon 2.5 CS 2.5% CS), betacyfluthrin (Folitec 025 EC 2.5% EC), และ cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 50 กรัม 15, 20, 20 และ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์
ลักษณะฝีเสื้อหนอนเจาะทุเรียน
ฝีเสื้อหนอนเจาะทุเรียน
แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆในผลทุเรียน
แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ
วิธีกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
หนอนใช้ดินหุ้มตัวเพื่อเข้าระยะดักแด้
หนอนใช้ดินหุ้มตัวเพื่อเข้าระยะดักแด้
ลักษณะความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
ความเสียหายที่เกิดจากหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน กัดกินในเมล็ด
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน กัดกินในเมล็ด
ลักษณะรูเจาะออกของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
รูเจาะออกของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
การห่อผลเพื่อป้องกันหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
การห่อผลเพื่อป้องกันหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllids)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Allocaridara malayensis (Crawford)

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนแพร่ระบาดทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมากในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วไป ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตเมื่อระบาดมากๆ ทำให้ใบหงิกงอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก และยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา ระยะตัวอ่อนทำความเสียหายมากที่สุดนอกจากนี้ยังมีรายงานว่าแมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

ตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนวางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีไข่ประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คล้ายๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีอายุยาวถึง 6 เดือน โดยปกติตัวเต็มวัยจะไม่ค่อยบินนอกจากถูกรบกวนแมลงชนิดนี้มีการระบาดในท้องที่ปลูกทุเรียนทั่วไป และระบาดในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน

พืชอาหารเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

ทุเรียน

ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

แมลงศตรูพืชธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้มีหลายชนิดทั้งแมลงห้ำ ได้แก่ ด้วงเต่าลาย 3 ชนิด ในวงศ์ Coccinellidae คือ Menochilus sexmaculatus (Fabricius), Micrapis discolor (Fabricius) และ Coccinella transveralis Fabricius และ แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp., Ankylopteryx octopuctata และ Hemerobius sp. สำหรับแมลงเบียน พบแตนเบียนตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ในวงศ์ Encyrtidae และพบปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในสวนที่ใช้สารเคมีน้อย

การป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

1. เพลี้ยไก่แจ้จะทำลายเฉพาะใบอ่อนทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ และโดยปกติทุเรียนแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันแม้แต่ทุเรียนในสวนเดียวกัน ชาวสวนทุเรียนควรจะพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อทุเรียนส่วนใหญ่แตกใบอ่อนสำหรับต้นที่แตกใบอ่อนไม่พร้อมต้นอื่นควรพ่นเฉพาะต้น วิธีนี้ช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลง และเปิดโอกาสให้ศัตรูธรรมชาติได้มีบทบาทในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ และยังเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้อีกด้วย
2. ใช้วิธีบังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมๆกัน ซึ่งอาจกระตุ้นด้วยการพ่นยูเรีย (46-0-0) อัตรา กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ จะช่วยการใช้สารเคมีลงได้มาก โดยปกติทุเรียนต้องการใบอ่อนที่สมบูรณ์ 2-3 ชุดต่อปี เพื่อให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะให้ผล
3. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเพลี้ยไก่แจ้ระบาดมาก คือ lambdacyhalothrin (Karate 5% EC) อัตรา 10 กรัม หรือ cypermethrin/phosaline (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ในช่วงแตกใบอ่อน
วิธีจัดการและกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนทุเรียน
ลักษณะตัวเต็มวัยเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
ตัวเต็มวัยเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบทุเรียน
ลักษณะไข่เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
ไข่เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงใบทุเรียนหงิกงอ
เพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงใบทุเรียนหงิกงอ
แตนเบียนตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ที่พบในธรรมชาติ
แตนเบียนตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ที่พบในธรรมชาติ

หนอนเจาะผลทุเรียน (fruit borer)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Conogethes punctiferalis Guenee

ลักษณะการทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน

หนอนเจาะผลเป็นศตรูทุเรียนที่สำคัญพบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศ หนอนเจาะผลจะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็ก อายุประมาณ 2 เดือน ไปจนถึงผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว ทำให้ผลทุเรียนเป็นแผล อาจทำให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ที่บริเวณเปลือกของผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติหนอนเจาะผลทุเรียน

ตัวเต็มวัยของหนอนเจาะผลเป็นผีเสื้อขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2.3 เซนติเมตร ปีกทั้งคู่มีสีเหลืองถึงส้ม มีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วปีก วางไข่ไว้บนเปลือกทุเรียน ระยะไข่ 4 วันหนอนวัยแรกมีสีขาว หัวสีน้ำตาล แทะกินผิวทุเรียนก่อน เมื่อโตขึ้นจึงเจาะกินเข้าไปในเปลือกทุเรียนตัวหนอนวัยต่อมามีลักษณะสีน้ำตาลอ่อน และมีจุดสีน้ำตาลเข้มประอยู่บริเวณหลังตลอดลำตัว และมีหัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนเจริญเติบโตเต็มที่ขนาดยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร จะเข้าดักแด้อยู่ระหว่างหนามของผลทุเรียนโดยมีใยและมูลของหนอนหุ้มตัว เมื่อเลี้ยงด้วยผลละหุ่ง ระยะหนอน 12-13 วัน ระยะดักแด้ 7-9 วัน ระยะตัวเต็มวัยเพสผู้ 10-18 วัน และเพศเมืย 14-18 วัน

พืชอาหารหนอนเจาะผลทุเรียน

แมลงชนิดนี้พบทั่วไปตลอดทั้งปี เนื่องจากมีพืชอาศัยกว้าง นอกจากทุเรียนแล้วมีรายงานว่า หนอนชนิดนี้ทำลายผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ลำไย มะหวด เงาะ ลิ้นจี่ ทับทิม หม่อน และโกโก้

ศัตรูธรรมชาติของหนอนเจาะผลทุเรียน

แตนเบียน Apanteles sp.

การป้องกันกำจัดหนอนเจาะผลทุเรียน

1. หมั่นตรวจดูตามผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
2. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้ หรือกาบมะพร้าวขั้นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่ หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
3. การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือ ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นเจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลทุเรียนตั้งแต่มีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจะช่วยลดความเสียหายได้
4. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ lambdacyhalothrin (Karate 5% EC) อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือพ่น carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล
ฝีเสื้อหนอนเจาะผลทุเรียน
ฝีเสื้อหนอนเจาะผลทุเรียน
หนอนเจาะผลกัดทำลายบริเวณเปลือกทุเรียน
หนอนเจาะผลกัดทำลายบริเวณเปลือกทุเรียน
หนอนเจาะผลทำรังบริเวณเปลือกทุเรียน
หนอนเจาะผลทำรังบริเวณเปลือกทุเรียน
หนอนเจาะผลกัดกินบริเวณเปลือกไม่ถึงเนื้อทุเรียน
หนอนเจาะผลกัดกินบริเวณเปลือกไม่ถึงเนื้อทุเรียน
การตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้ติดกันลดการทำลายของหนอนเจาะผล
การตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้ติดกันลดการทำลายของหนอนเจาะผล
ใช้ไม้คั่นระหว่างผลทุเรียนลดการทำลายของหนอนเจาะผล
ใช้ไม้คั่นระหว่างผลทุเรียนลดการทำลายของหนอนเจาะผล

เพลี้ยแป้งในทุเรียน (mealybugs)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Planococcus minor (Maskell), Planococcus lilacinus (Cockerell), Pseudococcus crytus Hampel

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้งในทุเรียน

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศตรูที่สำคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแหล่งปลูกทั่วไป ดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดแกงและมดดำช่วยคาบพาไปตามส่วนต่างๆ ของพืชส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honeydew) ออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ถ้าเพลี้ยแห้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่จะมีความเสียหายต่อเนื้อทุเรียน และทำให้คุณภาพของผลทุเรียนเสียไป ราคาต่ำ และเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติเพลี้ยแป้งในทุเรียน

เพลี้ยแห้งเพศเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อน หรือชมพูลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัวอยู่ ไข่เป็นกลุ่ม จำนวนไข่แต่ละกลุ่ม 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถึงใต้ท้องเพศเมีย ระยะไข่ ประมาณ 6-10 วัน ส่วนเพศเมียเมื่อหยุดไข่ก็จะตายไป ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีเหลืองอ่อน ไม่มีผงสีขาว ตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่เพื่อหาที่ๆ เหมาะสมเพื่ออยู่อาศัย เพศเมียมีการลอกคราบ 3 ครั้ง เพลี้ยแห้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ในระยะเวลา 1 ปี ในระยะที่พืชอาหารไม่เหมาะสม เพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น หญ้าแห้วหมู โดยมีมดที่อาศัยกินสิ่งที่ขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นตัวพาไปอาศัยตามส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียน
เพลี้ยแป้งจะระบาดทำความเสียหายแก่ผลทุเรียนตั้งแต่ระยะที่ทุเรียนเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว หรือ กลางเดือนกรกฎาคมสำหรับทุเรียนรุ่นหลัง

พืชอาหารเพลี้ยแป้งในทุเรียน

ทุเรียน มังคุด สับปะรด และ เงาะ

ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งในทุเรียน

พบด้วงเต่าในวงศ์ Coccinellidae เป็นแมลงห้ำ 3 ชนิด คือ Cryptolaemus montrouzieri, Scymnus sp. และ Nephus sp.

การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในทุเรียน

1. หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้งเสีย
2. เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้แปลงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดออก หรือ การใช้น้ำผสม white oil อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยในการกำจัดเพลี้ยแป้ง
3. เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ฝ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83 83% EC) อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ตามกิ่งสามารถป้องกันไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่างๆ ของทุเรียน และต้องชุบสารฆ่าแมลงซ้ำทุกๆ 10 วัน หรือการพ่นสารฆ่าแมลงไปที่โคนต้น จะช่วยป้องกันมดและลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้อย่างมาก
4. สารฆ่าแมลงที่ได้ผลในการควบคุมเพลี้ยแป้ง คือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย
ลักาณะเพลี้ยแป้งในทุเรียน
เพลี้ยแป้งในทุเรียน
เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อนทุเรียนทำให้แคระแกร็น
เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อนทุเรียนทำให้แคระแกร็น
มดแดงกินมูลหวานเพลี้ยแป้งและพาไปยังส่วนต่างๆของทุเรียน
มดแดงกินมูลหวานเพลี้ยแป้งและพาไปยังส่วนต่างๆของทุเรียน
เพลี้ยแป้งขับถ่ายมูลหว่านทำให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ
เพลี้ยแป้งขับถ่ายมูลหว่านทำให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ

เพลี้ยไฟในทุเรียน (thrips)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Scirtothrips dorsalis hood

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟในทุเรียน

ในทุเรียนพบเพลี้ยไฟหลายชนิดที่ทำลายในระยะพัฒนาการต่างๆ แต่ที่พบมากที่สุดและสำคัญที่สุดคือเพลี้ยไฟพริก (Scirtothrips dorsalis hood) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชมีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ และไหม้ การทำลายในช่วงดอกทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แคระแกร็น และร่วงได้ และในช่วงผลอ่อนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผล และเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น
เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้งระหว่างเดือน ธันวาคม-พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะที่ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพลี้ยไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มาก

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติเพลี้ยไฟในทุเรียน

เพลี้ยไฟมีลำตัวสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ขอบปีกมีเส้นขนเป็นแผง เคลื่อนไหวได้รวดเร็วเพศเมียมีความยาว 1.05 มิลลิเมตร กว้าง 0.19 มิลลิเมตร บริเวณส่วนปลายของปล้องท้องมีอวัยวะวางไข่เห็นได้ชัดเจน เพศผู้มีความยาว 0.71 มิลลิเมตร กว้าง 0.14 มิลลิเมตร มักอยู่กันเป็นกลุ่ม ไข่มีขนาดเล็กลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วสีขาว ขนาด 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 0.10 มิลลิเมตร ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อพืชบริเวณใกล้เส้นกลางใบ ตัวเมียวางไข่วันละ 2-3 ฟองระยะไข่ประมาณ 6-9 วัน ตัวอ่อนที่เพิ่งฟักใหม่มีสีเหลืองอ่อนขนาดยาว 0.29 มิลลิเมตร กว้าง 0.09 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง และส่วนท้องเรียวแหลมไปทางส่วนปลาย ตัวอ่อนที่สองมีสีเหลืองส้มขนาดยาว 0.59 มิลลิเมตร กว้าง 0.18 มิลลิเมตร โดยมีระยะตัวอ่อนวัยแรกและวัยที่สองเฉลี่ย 4.3-5.7 วัน ในระยะก่อนเข้าดักแด้จะมีตุ่มปีกสั้นๆ ที่บริเวณส่วนอก และหนวดชี้ไปทางด้านหน้าลำตัว ลำตัวยาว 0.59 มิลลิเมตร กว้าง 0.24 มิลลิเมตร ในระยะดักแด้ ปีกมีการพัฒนายาวขึ้นจนเกือบเท่าความยาวของส่วนท้อง ลำตัวยาว 0.63 มิลลิเมตร กว้าง 0.26 มิลลิเมตร รวมระยะก่อนเข้าดักแด้ และระยะดักแด้ ใช้เวลาเฉลี่ย 2.9-4.1 วัน และสัดส่วนของเพศเมียต่อเพศผู้เท่ากับ 4 : 1 สรุปได้ว่า (เมื่อเลี้ยงบนใบอ่อนมังคุด) ระยะตัวอ่อน 6-7 วัน จึงเตรียมเข้าดักแด้ 1-2 วัน และตัวเต็มวัยมีชีวิตนานประมาณ 22 วัน ตัวเมียแต่ละตัวว่างไข่เฉลี่ย 60 ฟอง

พืชอาหารเพลี้ยไฟในทุเรียน

เพลี้ยไฟพริกระบาดทำลายไม้ผลได้หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ มะม่วง ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ลิ้นจี่

ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟในทุเรียน

ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ เช่น แมงมุมชนิดต่างๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และ เพลี้ยไฟตัวห้ำ

การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในทุเรียน

1. หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง
2. เมื่อเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ย ได้แก่ imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) หรือ fipronil (Assend 5% SC) หรือ carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 10, 10 และ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ และไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
ลักษณะตัวเต็มวัยเพลี้ยไฟในทุเรียน
ตัวเต็มวัยเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ทุเรียนแคระแกร็น ใบโค้ง หงิกงอ
เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ทุเรียนแคระแกร็น ใบโค้ง หงิกงอ
วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟทุเรียน
เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผลทุเรียนแคระแกร็น
เพลี้่ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อนทุเรียนทำให้ปลายหนามแห้ง
เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อนทุเรียนทำให้ปลายหนามแห้ง

มอดเจาะลำต้นทุเรียน (shot hole borer)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Xyleborus fornicatus (Eichoff)

ลักษณะการทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน

หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลาย สังเกตได้ง่ายคือมีรูพรุนตามโคนต้น และที่ปากรูมีมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไป มอดเจาะเข้าไปกินในลำต้น หรือ กิ่งลึกตั้งแต่ 2-3 เซนติเมตรขึ้นไป หากเป็นทุเรียนต้นเล็กทำให้ต้นตายได้ สำหรับทุเรียนต้นใหญ่ ถ้าถูกทำลายน้อยจะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อราโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลาย และทำให้ทุเรียนตายได้ โดยทั่้วไปมักพบมอดเจาะลำต้นทุเรียนละบาดร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่า ใบบางครั้งจึงสามารถใช้ร่องรอยการทำลายของมอดในการหาแผลเน่าที่อยู่ภายใต้เปลือกได้

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติมอดเจาะลำต้นทุเรียน

ตัวเต็มวัยของมอดเจาะลำต้นทุเรียนขนาดลำตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำมันปนน้ำตาลรูปร่างทรงกระบอก หัวและท้ายตัดตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปที่ลำต้น หรือกิ่งทำให้เป็นรูพรุน หลังจากผสมพันธุ์ตัวเมียวางไข่ในรูที่เจาะ เมื่อฟักเป็นตัวหนอนกัดกินชอนไชภายในกิ่ง และลำต้นทุเรียน เข้าดักแด้อยู่ภายในรูที่มอดอาศัยนั่นเอง และเจริญเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไปอีก สำหรับด้วงชนิดนี้พบเพศเมียมากกว่าเพศผู้ถึง 10 เท่า เมื่อผสมพันธุ์แล้วเพศเมียจะบินไปยังต้นอื่น แต่เพศผู้ไม่บิน วงจรชีวิตประมาณ 30-35 วัน และเพศเมียตัวหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ 30-50 ตัว
แมลงชนิดนี้มีรายงานว่าพบในมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปาปัวนิวกินีสำหรับประเทศไทยพบระบาดตลอดปี ในบริเวณที่ปลูกทุเรียน โดยเฉพาะที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และ ตราด เกือบทุกส่วนจะพบมอดชนิดนี้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2538 มีการระบาดของมอดเจาะลำต้นมากเนื่องจากมีการระบาดของโรคเน่าโคนเน่าอย่างรุนแรงในภาคตะวันออก เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนมากและตกชุกตลอดปี

พืชอาหารมอดเจาะลำต้นทุเรียน

ทุเรียน พืชตระกูลส้ม ชา และ โกโก้

ศัตรูธรรมชาติของมอดเจาะลำต้นทุเรียน

ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ เช่น แมงมุมชนิดต่างๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และ เพลี้ยไฟตัวห้ำ

การป้องกันกำจัดมอดเจาะลำต้นทุเรียน

1. หมั่นตรวจดูตามลำต้นทุเรียน ถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลาย ควรตัดและเผาไฟทิ้งเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้มอดขยายปริมาณ และทำลายออกไปยังต้นอื่นๆ
2. สำหรับส่วนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้ เช่น ส่วนของลำต้น หรือ กิ่งที่ใหญ่ อาจจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงพ่นบนลำต้น หรือ กิ่งที่มีรูมอดเจาะ
ลักาณะตัวเต็มวัยมอดเจาะลำต้น
ตัวเต็มวัยมอดเจาะลำต้น
มอดวางไข่เป็นกลุ่มในรูที่เจาะ
มอดวางไข่เป็นกลุ่มในรูที่เจาะ
มอดเข้าทำลายบริเวณแผลโรครากเน่าโคนเน่า
มอดเข้าทำลายบริเวณแผลโรครากเน่าโคนเน่า
รอยทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน
รอยทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน

หนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (shot hole borer)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Batocera rufomaculata (De Geer)

ลักษณะการทำลายของหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

หนอนด้วงหนวนยาวที่ทำลายทุเรียนในประเทศไทยมีหลายชนิด ที่พบมากคือ ด้วงบ่าหนามจุด นูนดำ (Batocera rufomaculata De Geer) การระบาดของแมลงศตรูพืชชนิดนี้ เกิดขึ้นในลักษณะค่อยๆ สะสมความรุนแรงแบบภัยมืด โดยชาวสวนไม่ทราบว่ามีการระบาดของศัตรูพืช เนื่องจากเป็นแมลงกลางคืนพฤติกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืน ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นในทุเรีนเริ่มระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออกในปี พ.ศ. 2546 ต่อมาพบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนที่อื่นๆ ทั่วประเทศ และส่วนใหญ่พบทำลายพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่โดยฝังไว้ใต้เปลือกตามลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ สามารถวางไข่ได้มากถึง 15 ฟองต่อคืน ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาวระยะต่างๆ ในต้นทุเรียนสูงถึง 40-50 ตัวต่อต้น หนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านในไม่มีทิศทางหรืออาจกัดควั่้นเปลือกรอบต้น การทำลายที่เกิดจากหนอนมีขนาดเล็กไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก แต่เมื่อหนอนโตขึ้นจะพบขุยไม้ละเอียด ซึ่งเป็นมูลของหนอนตามแนวรอยทำลาย หรือตรงบริเวณที่หนอนทำลายกัดกินอยู่ ภายในจะเห็นมีน้ำเป็นสีน้ำตาลแดงไหลเยิ้มอยู่ในระยะต่อมาจึงจะพบมูลหนอนออกมากองเป็นจุกอยู่ข้างนอกเปลือก เมื่อใช้มีดปลายแหลมแกะเปลือกไม้ จะพบหนอนอยู่ภายใน เกษตรกรจะสังเกตพบรอยทำลายต่อเมื่อหนอนตัวโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นทุเรียนเริ่มทรุดโทรมใบเหลืองร่วง และยืนต้นตายได้ หนอนแต่ละตัวสามารถกัดกินเปลือกไม้ได้เป็นทางยาวมากกว่า 1 เมตร เนื่องจากตัวเต็มวัยมีอายุขัยยาวนาน ทำให้ช่วงเวลาการวางไข่จึงมีระยะเวลายาวนานด้วย จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

ตัวเต็มวัยของหนอนด้วงหนวดยาวจะมีขนาดยาว 49-56 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ด้านบนปีกมีจุสีเหลืองหรือสีส้มประปราย ที่ส่วนอกมีหนามแหลมยื่นออกทางด้านข้างทั้งสองด้าน ใต้ปีกมีแถบสีขาวครีมยาวตลอด ด้านข้างจากส่วนอกถึงส่วนท้องมีฟันเป็นแบบเขี้ยวขนาดใหญ่ ยาวประมาร 5 มิลลิเมตร ตัวผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว ส่วนตัวเมียมีหนวดสั้นยาวประมาณเท่ากับลำตัวมีอายุขัยประมาณ 4-6 เดือน ตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์และพร้อมว่างไข่จะออกจากที่หลบซ่อน เพื่อวางไข่บนต้นทุเรียนในช่วงเวลากลางคืน โดยเดินสำรวจเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมและใช้เขี้ยวกัดเปลือกไม้เป็นแผลลึกประมาณ 5 มิลลิเมตร แล้ววางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ฝังไว้ในรอยแผล เมื่อวางไข่เสร็จจะกลบรอยแผลด้วยขุยไม้หรือเปลือกไม้ ไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสารขนาด 2 x 6 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น ตัวเมียวางไข่เป็นรุ่นๆ แต่ละรุ่นมีไข่เฉลี่ยประมาณ 30 ฟอง ตลอดอายุขัยวางไข่ได้เฉลี่ยประมาณ 200 ฟอง ไข่จะฟักภายใน 14 วัน หนอนมีเขี้ยวขนาดใหญ่ และแข็งแรงสีน้ำตาลเข้มลำตัวสีขาวขุ่นและค่อนข้างใส หลังจากไข่จะกัดกินไชชอนอยู่ใต้เปลือกไม้ หนอนโตเต็มที่มีขนาดยาว 8-10 เซนติเมตร และจะเจาะเข้าเนื้อไม้กลางกิ่ง หรือลำต้นเมื่อถึงระยะเข้าดักแด้ ระยะหนอนมีอายุยาวนานถึง 384 วัน หนอนที่โตเต็มที่จะเจาะเข้าสู่กลางกิ่งหรือลำต้นทุเรียนเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งมีระยะประมาณ 1 เดือน เมื่อฟักจากดักแด้แล้วตัวเต็มวัยจะพักตัวอยู่ระยะหนึ่งจนแข็งแรง จึงเจาะออกสู่ภายนอกเป็นลักษณะรูกลมๆ

พืชอาหารหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

ด้วยหนวดยาวเป็นแมลงศตรูป่าไม้ มีพืชอาศัยกว้าง และเป็นศตรูพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ทุเรียน ขนุน มะม่วง นุ่น

ศัตรูธรรมชาติของหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

ในต่างประเทศมีรายงานว่าแตนเบียน Callimomoides ovivorus และ Avetianella batocerae เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของด้วยหนอวดยาว Batocera rufomaculata นอกจากนี้มีนกหลายชนิด เช่น นกหัวขวาน นกกระปูด เป็นศัตรูธรรมชาติของหนอนและด้วง

การป้องกันกำจัดหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตแล้วนำมาเผา และควรมีการดูแลรักษาต้นทุเรียนให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ
2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้ไฟส่องจับตัวเต็มวัยตามต้นทุเรียนในช่วงเวลา 20.00 น. ถึงช่วงเช้ามืด หรือใช้ตาข่ายดักปลาตาถี่พันรอบต้นหลายๆ ทบ เพื่อดักตัวด้วง
3. หมั่นตรวจสวนทุเรียนเป็นประจำ โดยสังเกตรอยแผลซึ่งเป็นแผลเล็กๆ และส่วนที่ตัวเต็มวัยทำขึ้น เพื่อวางไข่ถ้าพลให้ทำลายไข่ทิ้ง หรือถ้าพบขุย และการทำลายที่เปลือกไม้ให้ใช้มีดแกะ และจับตัวหนอนทำลาย
4. ถ้าระบาดไม่รุนแรง และหนอนเจาะเข้าเนื้อไม้แล้ว ให้ใช้มีดแกะหารู ฉีดสารกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้าไปในรูแล้วใช้ดินเหนียวอุด
5. แหล่งที่มีการระบาดรุนแรงของด้วยหนวดยาว ควรป้องกันการเช้าทำลายโดยพ้นสารฆ่าแมลงศัตรูพืช thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247 ZC 14.1%/10.6% ZC) อัตรา 40 มิลลิลิตร หรือ clothianidin (Dantosu 16% SG) อัตรา 20 กรัม หรือ Imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ acetamiprid (Molan 20% SP) อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่้วบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่
ด้วงหนวดยาววางไข่ฟองเดี่ยวฝังอยู่ใต้เปลืกไม้
ด้วงหนวดยาววางไข่ฟองเดี่ยวฝังอยู่ใต้เปลืกไม้
หนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร
หนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ด้วงหนวดยาวเข้าดักแด้ที่ใจกลางกิ่งหรือลำต้นทุเรียน
เข้าดักแด้ที่ใจกลางกิ่งหรือลำต้นทุเรียน
ด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยเจาะลำต้นทุเรียน
ด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยเจาะลำต้นทุเรียน
ด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ตอนกลางคืน
ด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ตอนกลางคืน
หนอนกัดกินส่วนที่ท่อน้ำท่ออาหารใต้เปลือกไม้
หนอนกัดกินส่วนที่ท่อน้ำท่ออาหารใต้เปลือกไม้
ต้นทุเรียนยืนต้นตายจากการทำลายของด้วงหนวดยาว
ต้นทุเรียนยืนต้นตายจากการทำลายของด้วงหนวดยาว
ใช้ตาข่ายพันต้นเพื่อดักจับตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว
ใช้ตาข่ายพันต้นเพื่อดักจับตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147