พลาสติกคืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้างที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิต

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลาสติก

พลาสติก (Plastic) คือคำที่ใช้กันทั่วไปเพื่ออธิบายวัสดุสังเคราะห์หรือกึ่งสังเคราะห์หลากหลายชนิดที่ใช้ในงานทั่วไปทุกที่ที่คุณมองจะพบพลาสติก เราใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อช่วยให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้นง่ายขึ้น เราสามารถพบพลาสติกในเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ บ้านที่เราอาศัยอยู่ และรถยนต์ของเล่นโทรทัศน์ที่เราดู บรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่เรากิน คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ล้วนมีพลาสติก

คุณสมบัติของพลาสติก

พลาสติก (Plastic) เป็นสารสังเคราะห์โพลีเมอร์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมา ประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน คลอรีน สารอินทรีย์ เป็นต้น มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้คล้ายยาง ลักษณะอ่อนตัวขณะทำการผลิตด้วยการใช้ความร้อน หรือแรงอัด และคงรูปเมื่อผ่านกรรมวิธีผลิต มีน้ำหนักโมเลกุลและจุดหลอมเหลวสูงตั้งแต่ 80-350 องศาเซลเซียส ในขนะอยู่ที่อุณภูมิต่ำจะแข็งและเปราะ มีความถ่วงจำเพาะต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้า ไม่นำความร้อน ทนแรงกระทบและมีความทนทางกลสูง ในปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก เช่นเครื่องใช้ประจำบ้าน สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องมือทางการแพทย์ บรรจุภัณฑ์
คำว่า "พลาสติก" มาจากภาษากรีก "plastikos" ซึ่งมีความหมายว่าเหมาะสมกับการขึ้นรูป สิ่งนี้หมายถึงการอ่อนตัวของวัสดุพลาสติกในระหว่างการผลิตในโรงงานพลาสติกซึ่งช่วยให้สามารถหล่อหรืออัดขึ้นรูปทรงได้หลากหาย เช่น ฟิล์ม เส้นใย แผ่น ท่อ หลอด ขวด ลังพลาสติก กล่องอะไหล่  ถาดเพาะกล้า  ตะกร้าผลไม้ ถัง กรอบ ev charger และอื่นๆอีกมากมายด้วยกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก
พลาสติกเป็นวัสดุที่มีความหลากหลายอย่างยิ่งและเหมาะแก่การใช้งานที่หลากหลายของคนทั่วไปและอุตสาหกรรม ความหนาแน่นที่ค่อนข้างต่ำของพลาสติกส่วนใหญ่ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีข้อดีคือจะมีน้ำหนักเบา พลาสติกมีความทนต่อความกัดกล่อนของสารต่างๆ จึงเหมาะใช้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง และพลาสติกบางชนิดมีความโปร่งใสซึ่งสามารถผลิตอุปกรณ์ที่มีความโปร่งใสได้ และพลาสติกสามารถขึ้นรูปที่มีความซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณสมบัติทางกายภาพของพลาสติกที่ระบุไม่ตรงตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ความสมดุลของคุณสมบัตินั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการเติมสารเสริมต่างเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ
โดยหลักการแล้วพลาสติกสามารถพัฒนาได้ด้วยคุณสมบัติการรวมกันเกือบทุกประเภทเพื่อรองรับการใช้งานที่คุณต้องการ จากคุณสมบัติที่ดีของพลาสติก นี้ทำให้พลาสติกมีการใช้งานอย่างแพร่หลายและมากขึ้นเลื่อยๆ

ประวัติพลาสติก

การค้นพบ "พลาสติก" เป็นเหตุการณ์โดยบังเอิญที่ อเล็กซานเดอร์ พาคเกอร์ (Alexander Parker) นักเคมีชาวอังกฤษได้ทดลองเทกรดลงบนฝ้าย แล้วเติมการะบูรได้เซลลูโลสไนเตรท (cellulose nitrate)
จอนห์ (John) และ อิสเสลลา ไฮเอทท์ (Isaiah Hyatt) ปรับปรุงให้มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ เซลลูลอยด์ (Celluloid)
นักเคมีชาวฝรั่งเศส ไฮเลียร์ ชาร์โดนเนทท์ (Hilaire Chardonnet) ได้ผลิตเรยอนซึ่งเป็นสังเคราะห์ชนิดแรกที่ทำจากเซลลูโลสในพืช
นักเคมีชาวเบลเยี่ยม ลีโอ เฮนริค เบคแลนด์ (Leo Hendrik Baekeland) ได้ค้นพบพลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) ในเวลาที่ใกล้กันนั้นมีผู้ค้นพลพลาสติกอีกหลายชนิดพลาสติกยังได้รับการพัฒนาค้นคว้าต่อไป ทั้งพลาสติกชนิดใหม่ๆ และการพัฒนาคุณภาพของพลาสติกชนิดเดิมให้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบันได้มีการนำพลาสติกมาใช้ในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย ไม่โดยทางตรงก็โดยทางอ้อม ในสินค้าอุปโภคบริโภคนานาชนิดในลักษณะของการห่อหุ้มบรรจุ หรือในลักษณะของชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จากการพัฒนาคุณสมบัติของพลาสติกทั้งด้านปริมาณและคุณภาพคาดว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกจะแทรกเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ
พลาสติกมีคุณสมบัติเป็นสารอินทรีย์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น

แหล่งวัตถุดิบในการผลิตพลาสติก

พลาสติกมีแหล่งกำเนิดจาก 5 แหล่งดังนี้
1. ผลิตผลทางการเกษตร
2. ผลิตผลทางการเกษตรและน้ำมัน
3. น้ำมันและถ่านหิน
4. น้ำมันและสินแร่
5 สินแร่ แหล่งใหญ่ของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตพลาสติกคือ น้ำมัน โดยคิดเป็นร้อยละ 90 ของวัตถุดิบทั้งหมด
กล่องบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยพลาสติก
กล่องบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติก
 ขวดพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยพลาสติก
ขวดพลาสติก
ลังอะไหล่พลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยพลาสติก
ลังอะไหล่พลาสติก
ตะกร้าบรรจุผลไม้สำหรับส่งออกพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยพลาสติก
ตะกร้าบรรจุผลไม้สำหรับส่งออกพลาสติก

ประเภทพลาสติกแบ่งตามคุณสมบัติสารเคมี แบ่งได้ 2 ประเภท

1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อได้รับความร้อนถึงจุดหนึ่งก็จะหลอมเหลว ซึ่งแต่ละชนิดใช้ความร้อนในการหลอมเหลวไม่เท่ากันแล้วแต่ชนิดของพลาสติกนั้นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างพลาสติกแต่ละชนิดต่างกัน คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเทอร์โมพลาสติก คือ สามารถนำกลับมาหลอมและผลิตเป็นเครื่องใช้ได้อีกเรียกว่า พลาสติกรีไซเคิล (Recycle Plastic) ซึ่งพลาสติกประเภทนี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ

1.1 พีอี (Polyethylene : PE)

เป็นพลาสติกที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปพลาสติกชนิดนี้จะยอมให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่จะยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ ทนความเป็นกรดได้ปานกลาง ทนความร้อนได้ไม่ดีมากนัก แต่จะทนความเย็นได้ดีมาก สามารถนำไปผลิตเป็นเครื่องใช้ได้หลายประเภท มีอยู่ด้วยกัน 2ชนิด คือ
• ชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene : LDPE ) เป็นพลาสติกที่ต้านทานสารเคมีได้ดี อ่อนนุ่ม เหนียว ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี ใช้ผลิตถึงพลาสติกใส่ของ ถุงซิป หลอดยาสีฟัน แปรงซักผ้า สายเคเบิล ของเล่นเด็ก สายน้ำเกลือ และของใช้ในบ้านต่างๆ
• ชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene : HDPE) เป็นพลาสติกที่ต้านทานสารเคมีได้ดี สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ ทนต่อแรงกระแทก มีความแข็ง คงรูป ใช้ผลิตขัน กระดุม หลอดกาแฟ แผงบรรจุยา ฝาขวดนม ตาข่าย อ่างผสมปูน ถังปูน
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอี (LDPE)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอี (LDPE)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอี (HDPE)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอี (HDPE)

1.2 พีวีซี (polyvinyl chloride : PVC)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติแข็ง เมื่อจะทำให้มีความนิ่มและยืดหยุ่นจะต้องเติมสารปรุงแต่ง (Plasticisers) เป็นพลาสติกที่สามารถทนต่อไขมัน กรด และแอลกอฮอล์ได้ดี สามารถป้องกันก๊าซและไขมันซึมผ่านได้ดี ทนต่อความร้อนสูงใกล้จุดน้ำเดือด แต่ไม่สามารถทนต่อแสงแดด คือ เมื่อถูกแสงแดดมากๆ จะทำให้เปราะและแตกได้เหมาะสำหรับทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดน้ำมันพืช น้ำส้มสายชู เครื่องสำอาง หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีวีซี (polyvinyl chloride : PVC)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีวีซี (polyvinyl chloride : PVC)

1.3 พีพี (Polypropylene : PP)

เป็นพลาสติกที่ยอมให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อยแต่จะยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ดี ทนความเป็นกรดได้ปานกลาง ทนความร้อนได้ดีแต่ไม่ทนต่อความเย็น จึงไม่เหมาะแก่การแช่เย็น เป็นพลาสติกที่มีผู้ใช้กันมากเช่นเดียวกับ พีอี เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก แต่ที่แตกต่างกัน คือ ความคงทนต่อไขมันได้ดีกว่า ทนความร้อนได้สูงกว่า ดังนั้นจึงนิยมใช้ผลิตถุงร้อน แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร บรรจุยา น้ำผลไม้ เครื่องสำอาง ชมพู ลังพลาสติก กล่องพลาสติก พาเลทพลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีพี (Polypropylene : PP)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีพี (Polypropylene : PP)

1.4 พีเอส (Polystyrene : PS)

เป็นพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งใส แต่เปราะ มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทนกรดและด่างได้ดี แต่ไม่สามารถรับแรงกระแทกได้มาก ถ้านำไปผสมสารบางชนิด จะทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้มากขึ้น แต่จะไม่โปร่งใส ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพีเอสส่วนใหญ่ คือ ชาม ของเด็กเล่น ฉนวนไฟฟ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีเอส (Polystyrene : PS)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีเอส (Polystyrene : PS)

1.5 อีพีเอส (Expandable Polystyrene : EPS)

เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีขั้นตอนการผลิตแยกมาจากพีเอส สามารถนำมาผลิตเป็นโฟม (Foam) เรียกว่า พีเอสโฟม (PS Foam) โฟมดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผลิตถ้วยไอครีม ถ้วยเครื่องดื่ม ถาด หรือ กระบะใส่อาหารสำเร็จรูปประเภทฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) ถังเก็บของสดหรือถังน้ำแข็งเนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษในการรักษาอุณหภูมิได้ดี เป้นพลาสติกที่มีสีขาวสะอาดสามารถใช้ในการหีบห่อของแตกง่าย มีน้ำหนักเบา
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกอีพีเอส (Expandable Polystyrene : EPS)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกอีพีเอส (Expandable Polystyrene : EPS)

1.6 พีอีที (Poly Ethylene Terephthalate : PET)

เป็นพลาสติกโพลิเอสเตอร์ชนิดหนึ่ง ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ปานกลางแต่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก ทนความเป็นกรดและความเย็นได้ดี นิยมใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันพืช เส้นใยทำเสื้อผ้า เชือก พรม ขวดน้ำดื่นโพลาลิสที่เป้นพลาสติก หรือขวดน้ำอัดลมพลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอีที (Poly Ethylene Terephthalate : PET)
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพลาสติกพีอีที (Poly Ethylene Terephthalate : PET)

1.7 โพลีเมธิล เมธาคีเลท (Polymethyl Methacrylate : PMPA)

โพลีเมธิล เมธาดิเลท หรือ อะคริลิค (Acrylic) มีลักษณะใสไม่มีสี สามารถให้แสงส่องผ่านได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ มีความแข็งแกร่งและทนทานต่อดินฟ้าอากาศ คงทนต่อความร้อนดีมากส่วนสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้าดีปานกลาง เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของ PMPA คือ ความโปร่งใส และนำไปย้อมสีได้ง่าย ใช้ผลิตภัณฑ์ หลังคาโปร่งแสงก๊อกน้ำ เครื่องสสุขภัณฑ์ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนแว่นตา เลนส์ ไฟเลี้ยวไฟท้ายกระจำรถยนต์ หน้าปัดเข็มไมล์

1.8 โพลีอะดิไลไนไตร์ (Polyacrylonitrile : PAN)

คุณมสมบัติที่โดดเด่นของเส้นใยนี้ทำให้เหมาะแก่การใช้งานเป็นชิ้นส่วนทางเทคนิคที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น การใช้เป็นวัสดุสำหรับร่มชูชีพหรืออุปกรณ์ป้องกันในอุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือการใช้เป็นเส้นเอ็นเทียม นอกจากนี้ยังอาจใช้ในอุตสาหกรรมการบินและยานยนต์ในการผลิตยางกันรอยหรืออื่น ๆ ที่จะช่วยลดน้ำหนักของรถยนต์ได้

1.9 พอลิเอไมด์หรือไนลอน (Polyamide or Nylon) : PA)

ลักษณะเมื่อเป็นฟิล์ม มีลักษณะโปร่งใส แต่เมื่อนำมาหล่อจะทึบแสงมีสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่เป็นอันตราย ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีสมบัติเด่นคือ แข็งแรงเหนียว ต้านทานแรงดึง และแรงฉีดขาดได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนและการเสียดสี ไม่เสียรูปง่ายเหมาะสำหรับงานรับแรงมากๆ ใช้ในผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของเครื่องจักร เช่น ทำเฟือง ทำล้อ ลูกกลิ้ง

1.10 เอส เอ เอ็น (Styrene Acrylonitrile : SAN)

พลาสติกชนิดใส ทนทานต่อความร้อน ทนต่อสารเคมี สามารถต้านทานไฟฟ้าได้ องค์ประกอบทางเคมีส่งผลให้มีความแข็งแรงสูงและมีความเหนียวกว่า Polystyren ทั่วไป แต่น้อยกว่า ABS จึงนิยมนำไปผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องสำอาง และเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีคุณภาพสูง

1.11 เอ บี เอส (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene : ABS)

มีสามบัติทนทานต่อแรงกระแทก มีพื้นผิวมันเงา จึงพบได้บ่อยในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เป็นส่วนประกอบของ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กล่องพักสายไฟ ของเล่น หมวกกันน็อค มีข้อดีคือ แข็งแรง ยืดหยุ่น ทนต่อสภาพอากาศ ทนต่อแรงบีบ จุดหลอมเหลวสูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย

1.12 โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC)

สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ประมาณ 120 องศาเซลเซียส(ABS ทนได้เพียง 105 องศาเซลเซียส) มีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อแรงและการกระแทกได้ดี มีความยืดหยุ่นปานกลาง(มากกว่าABSและPLA แต่ไม่เท่ากับNylon(PA) มีความใสกวาสพลาสติกอื่นๆ

2. เทอร์โมเซ็ทติ้งพลาสติก (Thermosetting Plastic)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และปฏิกิริยาทางเคมีได้ดี ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกชนิดนี้ ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่เขี่ยบุหรี่ หลังคารถกระบะ ไฟเบอร์กล๊าส พื้นรองเท้า เป็นต้น โดยเทอร์โมเซ็ทติ้งพลาสติก มีลักษณะต่างจากเทอร์โมพลาสติกคือ เมื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องใช้แล้ว ไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้อีก

ประเภทพลาสติกแบ่งตามลักษณะการใช้งาน

การแบ่งชนิดตามคุณสมบัติการใช้งานจะมีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยจัดประเภทตามการผลิตมี 3 ประเภท ถ้าหากเราจะเลือกใช้พลาสติกใดๆ แล้ว เราควรพิจารณาถึงเงื่อนไข 2 ประการคือ งานที่จะพัฒนานั้นมีการทำงานอย่างไร พลาสติกตัวไหนมีคุณสมบัติอย่างไร พลาสติกแต่ละตัวต่างก็มีจุดดีจุดเด่นต่างกันอย่างไร
• ประเภทที่ 1 พลาสติกพื้นฐาน
- พีวีซี (PVC) คุณสมบัติของพีวีซีเปลี่ยนแปลงได้โดยใส่สารเติมแต่งต่างๆ เช่น พลาสติก-ไซเซอร์ ทำให้พีวีซี (PVC) มีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้น สารเพิ่มความคงทนต่อแสงอุลต้าไวโอเลต ทำให้ทนทานต่อแสงแดดมากขึ้น อายุการใช้งานสูงขึ้น ไม่เหลืองง่าย ในขณะใช้งานหรือเก็บรักษาเพื่อยืดอายุของสินค้าออกไป
- โพลิสไตรีน (Polystyrene) คือ พลาสติกที่มีสไตรีน (Styrene) เป็นองค์ประกอบมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากการผลิตมีความบริสูทธิ์สูง และไม่มีสารอื่นเป็นตัวประกอบในการผลิตมากนัก อีกทั้งโดยธรรมชาติต้วมันเองก็ไม่มีพิษ
• ประเภทที่ 2 พลาสติกวิศวกรรม
เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าพลาสติกทั่วไป ในด้านคุณสมบัติทางกล ทางเคมี และทางไฟฟ้า แต่กระนั้นก็มีราคาแพงกว่าพลาสติกทั่วไป ซึ่งจะกล่าวถึงได้แก่
- โพลีเมธิล เมธาคีเลท (PMMA) หรือที่เรียกกันว่า อะคีริก (Acrylic) มีคุณสมบัติใสเหมือนกระจกจึงนำไปใช้ทำเป็นกระจกเทียม ไฟท้ายรถยนต์
- พลาสติกเซลลูโลส (Cellulose Plastics) เป็นพลาสติกที่มีที่มาต่างจากพลาสติกทั่วไปกล่าวคือ เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากธรรมชาติ คือ เยื่อไม้ต่างๆ แทนที่สารปิโตรเคมีคัล โดยที่พลาสติกเซลลูโสแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน แต่จะต่างกันที่ความเหนียวและความยืดหยุ่น
- โพลีเอสเทอร์ (Polyester) เป็นโพลิเมอร์ที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในงานเส้นใย ซึ่งใช้เป็นไฟเบอร์ ซึ่งจะรวมทั้งโพลีเอธิลีนเทอเรฟทาเลท (PET) ที่ใช้ในงานบรรจุภัณฑ์โครงสร้างของพลาสติกประเภทโพลีเอสเทอร์ มีความแข็งแรงจึงส่งผลให้มีคุณสมบัติเด่นทางกลและความร้อน ทนทานต่อปฏิกิริยาของแสง ความชื้น เป็นอย่างดี
• ประเภทที่ 3 พลาสติกสมรรถนะสูง
พลาสติกกลุ่มนี้มีสมรรถนะสูงเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไปหรือแม้กระทั่งวัสดุอื่น ไม่ว่าจะเป็นไม้ แก้ว หรือกระทั่งโลหะโดยมีคุณสมบัติเด่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในเวลาเดียวกันคือ มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระทบกระแทกสูงมาก เรียกได้ว่า สุดยอดของคุณสมบัติทางกล ทนทานต่อความร้อนสูงมาก อีกทั้งพลาสติกกลุ่มนี้หลายตัวมีคุณสมบัติไม่ติดไฟด้วยตัวเอง คุณสมบัติความในการตัดชิ้นงานพลาสติกประเภทนี้ จะให้ขนาดเท่ากันตลอดคุณสมบัตินี้มีความสำคัญมากต่องานวิศวกรรม เช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้พลาสติกกลุ่มนี้มีคุณสมบัติทนทานต่อสารเคมี ส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าสูงเยี่ยมทนทานต่อสภาวะแวดล้อม
โดยหลักของพลาสติกใสกลุ่มนี้จะถูกใช้งานกับงานประเภทที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูง เพราะการค้นคว้าวิจัยพลาสติกเหล่านี้ใช้ทุนมหาศาล ราคาขายก็สูงตามด้วย การใช้งานจึงเน้นให้คุ้มค่าของมันนั่นเอง

ประเภทของอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกในประเทศไทย

อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถแบ่งอุตสาหกรรมพลาสติกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก และ อุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยในแต่ละปีจะมีความต้องการเม็ดพลาสติกในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติซึ่งมีปริมาณก๊าซมากเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ในการผลิตเม็ดพลาสติกและใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอื่นๆ ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงได้มีการริเริ่มโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้น ตั้งแต่ปี 2524 โดยโครงการดังกล่าวตั้งอยู่ที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งสามารถรับก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ผ่านเส้นท่อก๊าซมายังบริเวณที่ตั้งโครงการได้โดยตรง ซึ่งสามารถรับก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ผ่านเส้นท่อก๊าซบริเวณที่ตั้งโครงการได้โดยตรง โดยโครงการนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ โครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 1 (NPC1) และโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 (NPC 2)
โครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 1 จะนำก๊าซธรรมชาติ 350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจากอ่าวไทยมาผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติและกระบวนการปิโตรเคมีขั้นต้นให้สารเอทิลีนและโพรพิลีน แล้วส่งต่อไปยังโรงงานเอกชล จำนวน 4 บริษัท (6โรงงาน) ผลิตเป็นเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ซึ่งเม็ดพลาสติกนี้ จะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป โดยได้ดำเนินการทางพาณิชย์แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าสารที่ใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกและเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
โครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 จะนำ Natural Gas Liquid ที่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง Naphtha จากการกลั่นน้ำมันดิบ มาผ่านกระบวนการปิโตรเคมีขั้นต้นได้สารเอทิลีนโพรพิลีน เบนซิน โทลูอีน และ ไซลีน แล้วส่งต่อไปยังโรงงานเม็ดพลาสติกซึ่งเม็ดพลาสติกนี้จะถูกจำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป
อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

1. อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก

โดยเม็ดพลาสติกที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยมีขั้นตอนในการผลิตของแต่ละชนิดพลาสติก ดังต่อไปนี้

1.1 การผลิตเม็ดพลาสติกพีอี (Polyethylene : PE)

ผลิตโดยนำสารเอทีลีนมาผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นและทำให้เป็นเม็ดจะได้เม็ดพีอี สำหรับสารเอทิลีนนี้ ส่วนหนึ่งได้มาจากอุตสาหกรรมปีโตรเคมีระยะที่ 1 ในประเทศไทยและอีกส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ

1.2 การผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซี (Polyvinylehloride : PVC)

ผลิตได้โดยการนำสารเอทีลีนมาทำปฏิกิริยากับคลอรีนเกิดเป็นไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM) จากนั้นนำ VCM มาผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นและทำให้เป็นเม็ดจะได้เม็ดพีวีซี ซึ่งสารเอทีลินได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 1 ในประเทศไทยและจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนคลอรีนส่วนใหญ่ผลิตได้ในประเทศไทย

1.3 การผลิตเม็ดพลาสติกพีพี (Polypropylene : PP)

ผลิตได้โดยการนำสารโพรพีลีนมาผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นและทำให้เป็นเม็ดจะได้เม็ดพีพี ซึ่งสารพีลีนส่วนหนึ่งได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 1 ในประเทศไทยและอีกส่วนหนึ่งมาจากนำเข้าจากต่างประเทศ

1.4 การผลิตเม็ดพลาสติกพีเอส (Polystyrene : PS)

ผลิตได้โดยการนำสไตรีนโมโนเมอร์มาผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นและทำให้เป็นเม็ดจะได้เม็ดพีเอส สำหรับสไตรีนโมโนเมอร์นั้นยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด

2. อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้น จะนำวัตถุดิบ คือ เม็ดพลาสติกมาแปรรูปโดยวิธีต่างๆ เช่น ทำเป็นแผ่นฟิล์ม เส้นใย แผ่นเทป ทำให้เป็นรูปแบบตามแบบพิมพ์โดยการฉีดขึ้นรูปหรือเป่าขึ้นรูปตามแบบโดยโรงงานพลาสติก ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ เช่น ถุงพลาสติกชนิดถุงร้อนและถุงเย็น อุปกรณ์ก่อนสร้างพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก ลังพลาสติก ของเล่น เครื่องใช้ในครัวเรือนและสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ เส้นใย หนังเทียม และอื่นอีกมากมาย อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนี้เริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยในระยะแรกต้องนำเข้าสารไฮโดรคาร์บอนและสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเม็ดพลาสติกและการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจากต่างประเทศ ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้มีการก่อตั้งโครงการอุตสาหกรรมปิโครเคมีขึ้นและโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 1 ได้เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2532 จึงทำให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าสารไฮโดรคาร์บอนและสารอื่นๆ ลงได้เป็นจำนวนมาก
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ และเด่นกว่าวัสดุชนิดอื่นๆทั้งในด้านความแข็งแรง เหนียวทนต่อกรดและด่างได้ดี มีน้ำหนักเบา สามารถเป็นฉนวนไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังสามารถใช้แทนแก้ว ไม้หรือกระดาษได้อีกด้วย ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากพลาสติกเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปจนสามารถสร้างตลาดได้ดีและมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นจำนวนมากดังรายละเอียดแสดงในตาราง
ตารางลายละเอียดการนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ตารางลายละเอียดการนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ตารางลายละเอียดการส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ตารางลายละเอียดการส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก

ประโยชน์และโทษของพลาสติก

ประโยชน์พลาสติก

พลาสติกได้เข้ามามีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก ดังนั้น พลาสติกจึงมีประโยชน์มากมายดังนี้
1. เป็นเครื่องใช้ภายในบ้านและสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ได้แก่ ช่วย จาน ชาม แปรงสีฟัน หลอดยาสีฟัน ขวดบรรจุแชมพู ถุงใส่อาหารทั้งถุงร้อนถุงเย็น อ่างซักผ้า ขอบกระจก ลาวตากผ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นที่อยู่ในบ้าน
2. เป็นวัสดุตกแต่งบ้านรวมทั้งสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ท่อประปา วัสดุหุ้มสายไฟฟ้า วัสดุปูพื้น (กระเบื้องยาง) ผนัง ฝาบ้านพลาสติก เฟอร์นิเจอร์พลาสติกตกแต่งบ้าน และอื่นๆ
3. เป็นฉนวนกันความร้อน กันสะเทือนและกันของแตก ได้แก่ โฟมบุผนังด้านในของตู้เย็น โฟมป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าแตกหักในระหว่างขนส่ง หมวกกันน็อก
4. เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน ได้แก่ ปากกา ไม้บรรทัด ดินสอกด ไวท์บอร์ด ชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ
5. เป็นเครื่องประดับ ของชำร่วย และของเล่นเด็ก ได้แก่ ต่างหู ตุ๊กตา ดอกไม้พลาสติก ของขวัญ และอื่นๆ
6. เป็นอุปกรณ์เครื่องนุ่งห่มและสวนใส่ ได้แก่ เสื้อกันฝน เสื้อไนล่อน รองเท้าฟองน้ำ รองเท้าหนังเทียม และอื่นๆ
7. เป็นอุปกรณ์การประมง ได้แก่ เชือก แห อวน และอื่นๆ
8. เป็นอุปกรณ์ภายในรถยนต์ ได้แก่ กันชนรถยนต์ ท่อน้ำร้อน เครื่องยนต์ หม้อแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอื่นๆ
9. เป็นอุปกรณ์ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า ขวดน้ำยาเคมี และอื่นๆ
10. ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้แก่ เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า ขวดใส่น้ำยาเคมี และอื่นๆอีกมากมาย

โทษของพลาสติก

พลาสติกนอกจากมีประโยชน์แล้วหากใช้ไม่ถูกต้องและถูกวิธียังมีโทษมากมายเช่นกัน ได้แก่
1. โทษด้านสุขภาพอนามัย พลาสติกโดยทั่วไปสามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ออกได้เป็น 2 ประเภทคือ พลาสติกสำหรับเป็นภาชนะใส่อาหารหรือสัมผัสอาหาร เข่น ถุงพลาสติกร้อน กล่องพลาสติกใส่อาหาร เป็นต้น โดยหากนำพลาสติกสำหรับเป็นของใช้มาสัมผัสกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารร้อนๆ จะทำให้สีและสารเคมีในพลาสติกละลายออกมาปะปนกับอาหารได้ หากเราทานอาหารนั้นเข้าไปจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ท้องร่วง และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังและมะเร็งได้ หรือหากนำพลาสติกบางประเภทมาเผาไฟจะทำให้เกิดก๊าซพิษได้ เข่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซฟลูออรีน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ เป็นต้น ก๊าซพิษดังกล่าวมีพิษต่อร่างกายทั้งสิ้น หรือสารพิษ เช่น กรดไฮโดรคลอริก สามารถทำลายเยื้อหุ้มระบบทางเดินหายใจได้
2. ด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน พลาสติกที่ใช้แล้วบางส่วนจะถูกทิ้งลงในท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันเกิดน้ำท่วมในชุมชนได้ และทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู ไม่สะอาดตา
3. ด้านเกษตรกรรม พลาสติกที่ถูกฝังทับถมในดินจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเพาะปลูกเนื่องจาก รากของพืชจะไม่สามารถชอนไชไปในดินได้สะดวก อาจทำให้ต้นไม้ตาย ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายได้
4. ด้านปัญหาต่อระบบกำจัดมูลฝอย โดยในการกำจัดมูลฝอยนั้น มีวิธีกำจัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอยู่ 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การหมักทำปุ๋ย การเผาในเตาเผา และการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยพลาสติกเป็นสารที่ย่อยสลายได้ยากจึงไม่สามารถกำจัดโดยวิธีการหมักทำปุ๋ยได้ ส่วนการเผาในเตาเผานั้นสามารถใช้กำจัดมูลฝอยที่มีพลาสติกปนอยู่ได้แต่ต้องมีการออกแบบเตาเผาแบบพิเศษ มีการควบคุมก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาพลาสติกเป็นอย่างดี มิฉะนั้นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาพลาสติกจะเป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และต้นไม้ได้ และอาจเกิดมลภาวะทั้งทางอากาศและทางน้ำอีกด้วย ส่วนการกำจัดโดยการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลนั้น สามารถจะกำจัดพลาสติกได้ แต่อาจมีปัญหาในเรื่องต้องใช้ที่ดินเป็นจำนวนมากในการฝังกลบ เพราะพลาสติกเป็นสารที่ย่อยสลายได้ยาก เมื่อฝังกลบลงใต้ดินแล้วจะทำให้สถานที่กำจัดหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น ต้องจัดหาที่ดินเพื่อใช้ในการกำจัดใหม่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดินมาก นอกจากนี้ในระหว่างการฝังกลบมูลฝอยจะต้องใช้รถแทรกเตอร์ในการบด อัด และเกลี่ยมูลฝอยลงไปในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ซึ่งพลาสติกบางประเภทอาจเข้าไปอุดตันตีนตะขาบของรถแทรกเตอร์ได้

การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก

1. การเก็บและกำจัดพลาสติก พลาสติกเป็นสารที่ย่อยสลายได้ยาก ดังนั้น จึงไม่ควรทิ้งพลาสติกรวมกับขยะมูลฝอยจำพวก พืช ผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ควรแยกพลาสติกไว้ต่างหาก โดยพลาสติกบางส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ แต่หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ควรนำไปฝังดินโดยที่ดินที่ใช้ในการฝังพลาสติกควรเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเศรษฐกิจและไม่ควรกำจัดพลาสติกโดยการเผากลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดก๊าซพิษซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าพลาสติกมีจำนวนมากและไม่มีที่ดินเพียงพอสำหรับการฝังพลาสติกควรนำพลาสติกมารวมกับมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ และเผาในเตาที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องซึ่งมีอุณหภูมิในเตาเผามากกว่า 800 องศาเซลเซียส จึงจะกำจัดพลาสติกได้ และจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปัญหาพลาสติก
2. การใช้ประโยชน์จากพลาสติกเก่า โดยพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกจะสามารถนำกลับมาหลอมแล้วใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นควรมีการคัดแยกเศษพลาสติกจากบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆ แล้วนำมาขายให้แก่พ่อค้าที่รับซื้อของเก่า เพื่อส่งให้โรงงานบดย่อยพลาสติก นำมาผ่านกระบวนการย่อยพลาสติก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปส่งให้โรงงานหลอมเม็ดพลาสติก และโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูป
3. การพัฒนาพลาสติกที่สามารถสลายตัวได้ ทั้งการสลายตัวด้วยจุลชีวะและด้วยแสง โดยต้องมีการสั่งซื้อสารที่ทำให้เกิดการสลายตัวมาเติมในเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงมาก จึงยังไม่เหมาะสมกับการผลิตในประเทศไทย
4. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของพลาสติก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความรู้เกี่ยวกับพลาสติก ควรดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เพื่อให้ใช้พลาสติกได้อย่างถูกต้องและหลีกเลี่ยงโทษจากพลาสติกและควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการนำพลาสติกมาใช้ใหม่หลายๆ ครั้ง รวมทั้งไม่ทิ้งพลาสติกเรี่ยราด ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยควรดำเนินการกำจัดพลาสติกอย่างถูกต้อง มีการประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีสำหรับการกำจัดพลาสติกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147