วิธีขั้นตอน "ปลูกข้าวทำนาโยนกล้า" โดยการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะกล้าวิธีง่ายๆ ลดแรงงานต้นทุน

การปลูกข้าวในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ทั้งการปักดำ การหว่านข้าวงอก และการหว่านข้าวแห้ง แต่วิธีการต่างๆ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น การปักดำประหยัดเมล็ดพันธุ์แต่สิ้นเปลืองแรงงาน ส่วนการหว่านข้าวงอก หรือ การหว่านข้าวแห้ง ประหยัดแรงงาน แต่ใช้เมล็ดพันธุ์มาก 15-25 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งในภาวะที่เมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาสูงในเวลาปัจจุบัน
การปลูกข้าวโดยการโยนกล้าจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 3-5 กิโลกรัม/ไร่ และยังสามารถประหยัดเวลา แรงงานในการทำนาโดยมีค่าใช้จ่ายด้านวัสดุปลูก เมล็ดพันธุ์และแรงงานโดยรวมไม่มาก

6 ขั้นตอนง่ายๆ วิธีการทำนาโยน

1. เตรียมอุปกรณ์

การเตรียมอุปกรณ์การทำนาโยน
1.1 เมล็ดพันธุ์ข้าว จะแช่น้ำหรือแห้งก็ได้
1.2 ถาดเพาะกล้านาโยน 434 หลุม หรือ 561 หลุม
1.3 ดิน หรือดินผสมปุ๋ย (ไม่ควรใช้ดินแกลบ)
1.4 เครื่องโรยเมล็ด (ถ้ามี)
1.5 สแลนหรือกระสอบป่านสำหรับพรางแสง
1.6 เกรียงสำหรับปาดดิน

2. การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวในถาดเพาะกล้านาโยน

ขั้นตอนวิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวในถาดเพาะกล้านาโยน
การท่านาโยนนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากมากนัก เริ่มต้นด้วยการคัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ต้องการ และหากระบะเพาะ กล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม (ถาดเพาะกล้า 434 หลุม ซึ่งจะเป็นขนาดที่เหมาะสมและนิยมที่สุด ใช้ถาดนาโยน 60-70 ถาดต่อไร่) นำพันธุ์ข้าวไปแช่ 1 คืน หุ้ม 1 คืน เพื่อให้ข้าวแห้งหรืออาจใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่แช่ก็ได้ จากนั้นโรยเมล็ดพันธุ์ข่าวลงหลุมกระบะเพาะกล้า ประมาณหลุมละ 3-5 เมล็ด (นาโยน 1 ไร่ใช้ข้าว 3-5 กิโลกรัม) ตามด้วยการร่อนดินลงหลุมให้เต็ม แต่อย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุมเพราะจะทำให้รากข่าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว

3. การดูแลต้นกล้า

การดูแลต้นกล้าที่เพาะในถาดนาโยน
หลังจากท่ากระบะเพาะเมล็ดข้าวเสร็จแล้วให้น่ามาวางไว้บริเวณที่มีแสงแดดรำไร และหาอุปกรณ์ อาทิ กระสอบป่าน หรือสแลนพรางแสงวางคลุมไว้เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็นและป้องกันฝนตกและคลุมความชื้นของต้นข้าว หลังจากนั้นก็ทำการรดน้ำเข้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบปานหรือสแลนพลางแสง ให้เอาที่คลุมออก และรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน หรือ ต้นกล้าข้าวมีความยาว 3-5 นิ้ว

4. การเตรียมแปลงนาก่อนโยนกล้า

ขั้นตอนการเตรียมแปลงนาก่อนโยนกล้า
ในการรอต้นกล้าโตนั้น การเตรียมแปลงนาเพื่อการปลุกก็เป็นสิ่งสำคัญ ไถเตรียมดินเหมือนนาดำหรือนาหว่านน้ำตมทั่วไป แต่ปรับเทือกให้สม่ำเสมอมากที่สุด ในกรณีที่เป็นดินเหนียว รุ่งเช้าให้โยนต้นกล้าได้ ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายหลังปรับเทือกให้โยนกล้าได้ทันที โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆประมาณ 1 เซนติเมตร ไม่ควรลึกมากเพราะหากโยนต้นกล้าลงไปแล้วจะท่า ให้ต้นกล้าข่าวลอยน้ำ รากจะไม่สามารถหยั่งลงดันได้ และควรใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนโยนต้นกล้า 1 วัน

5. การโยนกล้า

ขั้นตอนการโยนกล้าในแปลงนา
ในส่วนการโยนกล้านั้น จะใช้ต้นกล้าประมาณ 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะต้องหยิบกระบะ กล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่ง ลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงพื้นดินก่อน และหลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ดันข้าวจะสามารถตั้งตัวได้ แล้ว ก็สามารถท่าการเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าวหรือประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อการควบคุม วัชพืช

6. การดูแลรักษานาหลังโยนกล้า

ขั้นตอนการดูแลรักษานาหลังโยนกล้า
ซึ่งหลังจากเสร็จภารกิจการปลูกแล้ว จากนั้นก็คงต้องเป็นหน้าที่ของชาวนาที่จะทําการดูแลใส่ปุ๋ยกันต่อไป
เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งการท่านาโยนนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาในการปลูกข่าวที่เราควรภาคภูมิ แต่เหนือ
สิ่งอื่นใดคือการมีจิตสํานึกในการบริโภคข้าว ไม่ว่าจะได้ผลผลิตที่ออกมาด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ ทุกๆ เมล็ดก็
ล้วนออกมาจากความอดทนของชาว เราทุกคนจึงควรมีจิตสำนึกในเรื่องนี้

ข้อดีและประโยชน์การทำนาโยน

1. การประหยัดต้นทุน: การทำนาโยนจะใช้เมล็ดพันธุ์​ข้าวเพียง ​3-5กิโลกรัม​ต่อ1ไร่​ เเละต้นทุนสำหรับอุปกรณ์​ก็ไม่แพง​ โดยถาดในการเพาะกล้าจะมีราคาอยู่ที่7-8 บาท​ เเละยังสามารถใช้ได้หลายรอบอีกด้วย
2. ประหยัด​พื้นที่: การประหยัดพื้นที่ไม่ได้หมายถึงประหยัดในที่นาของเรา เเต่หมายถึงการประหยัดพื้นที่ส่วนที่เพาะกล้า สาเหตุที่ประหยัดพื้นที่ก็คือ​ ในช่วงที่เราทำการเพาะกล้าเราจะใส่ข้าวผสมกับดินไว้ในถาด​ ซึ่งใช้ที่เพียงนิดเดียวเราก็จะมีที่เก็บถาด
3. ประหยัดแรงงาน: การทำนาโยนจะใช้คนจำนวนไม่มาก​ เพราะเเค่นำต้นกล้าที่เราเพาะไปโยนในนา ซึ่งเกษตรกร 1 คน สามารถโยนต้นกล้าได้ 3-5 ไร่/วัน โดยที่ไม่ต้องลงเเรงไปดำนา
4. เติบโตได้ดี: การทำนาโยนต้นข้าวเจริญเติบโตและแข็งแรงการแตกกอได้ดีมาก และเร็วกว่าวิธีอื่นๆ จำนวนต้นหรือกอมีมากกว่านาปักดำ การจัดการด้านโรคและแมลงได้ง่าย ได้ผลผลิตสูง และผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน
5. สามารถต่อยอดเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม: โดยการนำถาดเพาะที่เราเพาะกล้าของเราแล้ว​ ยังสามารถ​นำถาดที่ใช้เสร็จ​เเล้ว​มาใช้เพาะต้นกล้าต่อได้​ และนำต้นกล้าที่เราเพาะนำไปขายต่อซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเราอีกทางหนึ่ง

ข้อจำกัดและข้อเสียการทำนาโยน

1. ต้องมีถาดเพาะกล้าแบบที่เป็นหลุม
2. ต้องเป็นดินตมจะดีที่สุดเวลาโยนแล้วกล้าจะจมพอดี
3. ขั้นตอนเตรียมเพาะต้นกล้าอาจยุ่งยากเนื่องจากต้องเพาะในถาด
4. ต้องทำในเขตชลประทานที่มีการควบคุมน้ำได้ เพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป
5. นาข้าวที่มีหอยเชอรี่ระบาด ต้องจัดการหอยเชอรี่ก่อนโยนกล้า
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147