คู่มือการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ความรู้สำหรับเกษตรกร
ตอนเปิดเคล็ดลับผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
สารบัญ
ตอน  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10

เปิดเคล็ดลับผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์

การผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์ นั้นความต้องการพันธุ์พืชจะมีลักษณะไม่แตกต่างจากปกติมากนัก แต่ลักษณะของพันธุ์พืชเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องเป็นพันธุ์พืชที่หาอาหารเก่งปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และต้านทานโรค-แมลงได้มากกว่าพันธุ์พืชปกติทั่วไป การได้มาซึ่งพันธุ์พืชที่มีลักษณะดังกล่าวจะมีขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน ใช้งบประมาณสูง อีกทั้งต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้หลายด้านมาประกอบกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการนำพันธุ์พืชพื้นถิ่นที่เกษตรกรใช้อยู่เดิม มาพัฒนาต่อยอดให้มีลักษณะที่ต้องการ
เคล็ดลับการผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์

การผลิตเมล็ดพันธุ์

การผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบเกษตรอินทรีย์ มีหลักการไม่แตกต่างจากการผลิตเมล็ดพันธุ์โดยทั่วไป เพียงแต่พื้นที่ในการผลิตเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะมีปัจจัยบางอย่างโดยเฉพาะธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในช่วงของการผลิตเมล็ดพันธุ์ การควบคุมโรคที่อาจจะติดไปกับเมล็ด การควบคุมแมลงที่จะทำอันตรายกับต้นพืช และต้องเตรียมดินให้อุดมสมบูรณ์ที่สุด
การผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์โดยคงพันธุกรรมที่ต้องการ และผลิตเมล็ดให้มีคุณภาพที่ดี คือ เป็นเมล็ดที่มีความแข็งแรง มีความงอกสูง เก็บรักษาไว้ได้นาน การที่จะทำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชใด จะต้อง รู้จักพืชชนิดนั้นให้ดีพอสมควร อาทิ
• ลักษณะการผสมเกสร ต้องรู้ว่าเป็นพืชผสมตัวเองหรือผสมข้าม เช่น พืชตระกูลพริก-มะเขือ พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชผสมตัวเอง พืชตระกูลแตง เป็นพืชผสมข้าม เป็นต้น
• การออกดอก จะต้องรู้ว่าพืชชนิดนั้นออกดอกเมื่อไหร่ มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้พืชนั้นออกดอกหรือไม่ออกดอก
• การป้องกันมิให้สายพันธุ์อื่นๆ มาผสมกับสายพันธุ์ที่ทำการผลิตเมล็ด ซึ่งสามารถทำได้โดยการปลูกให้ห่างจากพันธุ์อื่นๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรืออาจจะใช้วิธีการปลูกเหลื่อมเวลา เพื่อไม่ให้ออกดอกพร้อมกัน หรือการกาง มุ่ง การใช้ถุงครอบ เพื่อป้องกันลมและแมลง
• การถอนพันธุ์ปนหรือพันธุ์ที่มีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากพันธุ์เดิมออก ซึ่งต้องทำทุกๆ ระยะของการเจริญเติบโต ต้องนำออกจากแปลงโดยวิธีการถอน ซึ่งถ้าใช้วิธีการตัด อาจจะมีการแตกยอดออกมาใหม่ได้อีก
ต้องรู้ว่าเป็นพืชผสมตัวเองหรือผสมข้าม
การผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องรู้ว่าเป็นพืชผสมหรือผสมข้ามพันธุ์
การผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องรู้ว่าพืชชนิดไหนออกดอกเมื่อไหร่
การป้องกันมิให้สายพันธุ์อื่นๆ มาผสมโดยการปลูกให้ห่างจากพันธุ์อื่นๆ
การถอนพันธุ์ปนต้องนำออกจากแปลงโดยวิธีการถอน

การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์

ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในขบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ จะต้องเก็บเกี่ยวให้ถูกเวลาและมีวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของเมล็ด มีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
• ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมพืชหลายชนิดปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ช่วงการเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงฤดูฝน เพราะนอกจากฝนจะเป็นอุปสรรคในการเก็บเกี่ยวแล้ว ความชื้นยังมีผลต่อคุณภาพเมล็ด และก่อให้เกิดโรคกับเมล็ดได้ง่าย
• ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดที่เหมาะสมคือ ช่วงที่มีปริมาณและคุณภาพเมล็ดดีที่สุด โดยการเก็บที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปหรือช้าเกิน จนเมล็ดร่วงหมด
ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมพืชหลายชนิดปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี
ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ช่วงเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงฤดูฝน
ช่วงเวลาที่ดีในการเก็บเกี่ยวคือช่วงที่มีปริมาณและคุณภาพเมล็ดดีที่สุด
เลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดที่เหมาะสม

โรคของเมล็ดพันธุ์ผัก

เป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอ ในกรณีการผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์จะพบปัญหาจากการที่โรคเข้าทำลายต้นพืช ทำให้ไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้ ดังนั้นจะต้องมีการควบคุมโรคต่างๆ ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์โดยมีหลักการป้องกันการเกิดโรคในเมล็ดพันธุ์ คือ
1. เลือกสถานที่ผลิตเมล็ดให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและพัฒนาการของเมล็ด ไม่เป็นแหล่งระบาดของโรค
2. หมั่นตรวจดูแปลง ถ้าพบอาการของโรคให้กำจัดออกทันที
3. ฉีดพ่นหรือราดสารชีวภาพควบคุมการแพร่ระบาด เช่น เชื้อราบิวเวอเรียป้องกัน แมลง หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันโรคพืช เป็นต้น
เลือกสถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสม
เลือกสถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสม
ตรวจดูแปลงเพาะถ้าพบอาการของโรคให้กำจัดออกทันที
หมั่นตรวจดูแปลงเพาะ
ฉีดพ่นหรือราดสารชีวภาพควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ฉีดพ่นสารชีวภาพควบคุมการแพร่ระบาดโรค
เคล็ดลับ: เมื่อเก็บเมล็ดพันธุ์มาแล้ว ก่อนการเก็บรักษาต้องมีการลดความชื้นให้เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด โดยทั่วไปควรลดความชื้นภายในเมล็ดให้เหลือไม่เกิน 10% นำไปเก็บรักษาไว้ในภาชนะที่สะอาดและป้องกันความชื้น ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 45-50% อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม การหาสถานที่ซึ่งมีความชื้นและอุณหภูมิต่ำเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเกษตรกรสามารถเก็บรักษาเมล็ดไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่ต้องผนึกภาชนะบรรจุให้มิดชิด อย่าให้อากาศผ่านเข้าได้ จะทำให้สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นาน

การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์

เมื่อทำการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์แล้ว จะต้องทำการนำเมล็ดออกจากผลหรือฝัก เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว คะน้า เป็นต้น ในพืชบางชนิด เมล็ดสามารถหลุดร่วงได้ทันทีเมื่อแก่ เช่น ผักกาดหอม ตั้งโอ๋ เป็นต้น สิ่งที่ต้องการคือ การคัดแยกเมล็ดออกจากสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เปลือก กิ่ง ก้านต่างๆ และจะต้องแยกเมล็ดอ่อนออกด้วย เมล็ดพันธุ์พืชผักบางชนิด ฝักจะแห้งเมื่อแก่พร้อมเก็บเกี่ยว เช่น ถั่วต่างๆ ผักกาดหอม คะน้า กวางตุ้ง และบางชนิดเมื่อแก่เมล็ดจะเปียก เช่น แตงกวา มะเขือ มะระ เป็นต้น จึงทำให้การจัดการมีความแตกต่างกัน
การปรับปรุงเมล็ดพันธุ์โดยคัดแยกเมล็ดพันธุ์
การคัดแยกเมล็ดออกจากสิ่งเจือปน
กรณีที่เมล็ดแห้งอย่างถั่วฝักยาว จะทำการเก็บเกี่ยวผักที่แก่เต็มที่ มีลักษณะพองเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอ่อน แต่ฝักยังไม่แห้งกรอบ นำมาตากแดด 2-3 วัน จากนั้นนำมานวดแยกเมล็ด โดยใส่กระสอบแล้วทุบเบาๆ ทำความสะอาด แล้วนำไปตากอีกประมาณ 1-2 วัน จนเมล็ดแห้ง ความชื้นประมาณ 10% นำไปเก็บไว้ในภาชนะอับลม
กรณีเมล็ดเปียกอย่างแตงกวา ผลที่เก็บเกี่ยวได้จะมีสีเหลือง ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนำมาบ่มไว้ในร่ม 3-7 วัน ทำการแคะเมล็ดออกจากผล นำมาหมักไว้ 1 วัน ล้างเมล็ดให้สะอาด โดยเมล็ดที่สมบูรณ์จะจมน้ำ ส่วนเมล็ดที่ลอยจะเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ให้ทิ้งไป จากนั้นนำเมล็ดออกฝั่งในที่ร่มหรือที่มีแสงแดดอ่อนๆ จนหมาด จึงนำออกตากแดด 3-4 วัน และ หมั่นพลิกกลับเมล็ด 2-3 ครั้งต่อวัน สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าตากเมล็ดบนภาชนะที่เป็นสังกะสี ในขณะเมล็ดเปียกแล้วนำไปตากแดดจัดทันที จะทำให้เมล็ดตายหรือเมล็ดไม่แข็งแรง ซึ่งจะทำให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน
เก็บเกี่ยวแล้วนำมาบ่มไว้ 3-7 วัน
ตรวจสอบโดยล้างเมล็ดแช่น้ำเมล็ดที่สมบูรณ์จะจมน้ำ
ฉีดพ่นหรือราดสารชีวภาพควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ตอน  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147