คู่มือการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ความรู้สำหรับเกษตรกร
ตอนการเพาะเมล็ดพันธุ์ระบบปิด ไม่ต้องใช้ดิน ทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง
สารบัญ
ตอน  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10

การเพาะเมล็ดพันธุ์ระบบปิด ไม่ต้องใช้ดิน ทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง

ในการเพาะเมล็ดพันธุ์นั้น ทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีเพาะโดยไม่ใช้ดินนี้มีขั้นตอนที่ง่าย ไม่ซับซ้อนนำไปดัดแปลงได้หลากหลายทั้งยังใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในบ้านเรือนอีกด้วย

อุปกรณ์การเพาะระบบปิด

1. กระดาษทิชชู เลือกแบบไม่มีสารเจือปนใดๆ เช่น น้ำหอม สารฟอก อื่นๆ
2. กล่อง-ลังพลาสติกใสมีฝาปิด เนื่องจากต้องเก็บกักความชื้นไว้ด้วยฝาปิดมิดชิด
3. คีม ถ้าไม่มี ใช้มือที่สะอาดของตัวเอง (เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์เกิดเชื้อรา)
กระดาษทิชชูอุปกรณ์การเพาะระบบปิด
กระดาษทิชชู
กล่องพลาสติกอุปกรณ์การเพาะระบบปิด
กล่องพลาสติก
คีมอุปกรณ์การเพาะระบบปิด
คีม
การเพาะเมล็ดในระบบปิดวิธีนี้ จะเน้นที่น้ำและกระดาษทิชชูเท่านั้น ไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการเพาะวิธีนี้หากไม่ศึกษาให้เข้าใจ จะทำให้เมล็ดพันธุ์เกิดเชื้อราหรือเน่าในภายหลังจากการปนเปื้อนไม่ว่าจากภายนอกหรือจากเนื้อที่ย่อยสลายของพืชผักผลไม้ที่ทำการเพาะนั้นๆ อาจมาจากการกำจัดทิ้งได้ไม่หมด แต่ปัญหาเชื้อราทางออกง่ายมาก นั่นคือ การเพาะเมล็ดโดยการแช่น้ำ
วิธีการเพาะกล้าระบบปิดทำเองง่ายๆ
ขั้นตอนวการเพาะกล้าระบบปิดทำเองง่ายๆ

วิธีการเพาะกล้าระบบปิด

1. ให้นำกล่องมาทำความสะอาดแล้วใช้กระดาษทิชชูหรือวัสดุเพาะอื่นๆ ก็ได้ เช่น สำลี กระดาษ หนังสือพิมพ์ กาบใยมะพร้าวหรือจะเป็น “วัสดุที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดี” และไม่มีเชื้อโรคหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ ใส่ลงในกล่องให้มีความสูงประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรือหากไม่มีเลย ก็อาจใส่พอให้มีการรักษาความชื้นภายในกล่องได้นานๆ
2. ใส่น้ำให้ท่วม กรณีมีสเปรย์ฉีดน้ำหรือหัวฉีดฟอกกี้ ฉีดให้ชุ่ม หากกะไม่ได้ว่าต้องฉีดประมาณไหน แนะนำฉีดให้ชุ่มโชกไปเลย แล้วค่อยเทน้ำส่วนเกินทิ้ง
3. นำเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ลงเรียงสำหรับเพาะ กันเลย เสร็จแล้วตรวจดูสิ่งแปลกปลอม หาก ไม่มีอะไรก็ปิดฝาให้สนิท กันการระเหยของน้ำ ในกล่อง หากกล่องปิดสนิท ยิ่งเป็นขวดหรือกล่องใสๆ จะสามารถดูการเปลี่ยนแปลงได้ จากภายนอก ทิ้งไว้ไม่ต้องเปิดฝา เนื่องจาก การเปิดฝาอาจทำให้เกิดเชื้อรา หรือทำให้ กระทบกับระยะเวลาการงอกได้ ควรปิดฝา วางไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด รอเมล็ดงอก
นํากล่องหรือถาดมาทําความสะอาด แล้วใส่กระดาษทิชชูลงไป
นํากล่องมาทําความสะอาด แล้วใส่กระดาษทิชชูลงไป
ใส่นํ้าหรือฉีดน้ำให้ชุ่มลงในกล่องเพาะกล้า
ใส่นํ้าหรือฉีดน้ำให้ชุ่ม
นำเมล็ดพันธุ์ที่จะเพาะเรียงลงถาดหรือกล่องเพาะกล้า
นำเมล็ดพันธุ์ลงเรียงสำหรับเพาะ
สำหรับผู้ที่ทดลองแล้วประสบปัญหาขึ้นราหรือเน่า คำถามที่ว่ากินผลไม้เสร็จแล้ว เอาเมล็ดมาเพาะเลยได้หรือไม่?...ตอบว่าได้ แต่ควรแกะเนื้อที่หุ้มเมล็ดออกให้หมดก่อน เช่น อินทผลัม กระท้อน ทุเรียน พวกนี้ต้องเอาเนื้อหุ้มเมล็ดออกให้หมดก่อน ไม่อย่างนั้นหาก ทำการเพาะเมล็ดโดยไม่ใช้ดินแบบนี้ ก็อาจจะเจอเชื้อราชนิดต่างๆ ภายในกล่องได้
การทำวัสดุเพาะกล้านั้น อินทรียวัตถุต่างๆ อาจมีเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน ซึ่งมักเกิดกับพืชที่กำลังงอกในช่วง 7 วันแรก อาการของพืชจะสังเกตเห็นต้นมีอาการหักงอ บริเวณโคนจะมีสีดำของเชื้อราชนิดนี้ วิธีการป้องกันจะต้องทำการพาสเจอไรซ์ดินเพาะกล้า ดังนี้
1. นำดินเพาะกล้าบรรจุใส่ถุงพลาสติกใส ถุงละ 10 กิโลกรัม
2. นำถุงบรรจุดินเพาะกล้ามาตากแดดเป็นเวลา 7 วัน
3. ในช่วงระหว่าง 7 วัน ให้พลิกกลับถุงให้โดนแดดด้านละเท่าๆ กันให้แสงแดดฆ่าเชื้อราหรือแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินได้
4. เมื่อครบ 7 วันนำดินเพาะกล้าไปใช้หรือเก็บในที่ไม่โดนแสงแดด
กล้าผักที่เริ่มมีใบจริงงอกมาเมื่อใบจริงเริ่มเติบโตแข็งแรงและแทนใบจริงคู่ใหม่ จึงนำไปย้ายลงแปลงปลูกได้ กล้าผักที่ย้ายออกมาจากถาดหลุมจะเห็นรากต้นกล้าเต็มแน่นในวัสดุปลูก ย้ายกล้าผักที่มีใบเลี้ยง 1 คู่ จากตะกร้ามาลงถาดหลุม หลุมละ 1 ต้น ให้มีพื้นที่เติบโตเป็นต้นกล้าที่พร้อมจะลงแปลงปลูกต่อไป

ปัจจัยในการงอกของเมล็ด

การมีชีวิตของเมล็ดนับเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเมล็ด การที่เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้น้อยอาจเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมล็ดไม่เหมาะสมขณะที่ยังอยู่บนต้นแม่ หรือเนื่องจากได้รับอันตรายขณะทำการเก็บเกี่ยว หรือกระบวนการในการผลิตเมล็ดไม่ดีพอสภาพแวดล้อมในขณะเพาะเมล็ดต้องอยู่ในที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น น้ำ แสง อุณหภูมิ ออกซิเจน แต่การเพาะเมล็ดแบบไม่ใช้ดิน สามารถควบคุมน้ำ แสง และออกซิเจนได้ ซึ่งขั้นตอนการเพาะงอกนี้ พืชไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนและแสงในการเติบโตมากนัก
น้ำปัจจัยในการงอกของเมล็ด
น้ำ
อุณหภูมิปัจจัยในการงอกของเมล็ด
อุณหภูมิ
แสงปัจจัยในการงอกของเมล็ด
แสง
ออซิเจนปัจจัยในการงอกของเมล็ด
ออซิเจน
การนำเมล็ดไปแช่น้ำจะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะน้ำจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จึงช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้นน้ำที่ใช้แช่อาจจะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานานถึง 1-2 วัน บางชนิดใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมง ทั้งนี้ สังเกตจากขนาดของเมล็ดที่ขยายใหญ่ เต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่มก็นำไปเพาะได้ พืชที่นิยมใช้วิธีนี้ ได้แก่ น้อยหน่า มะขาม มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าว ผักชี ฯลฯ
สำหรับเมล็ดที่มีรากงอกแล้วขนาดไหนถึงจะนำออกมาเพาะลงถุงเพาะชำได้ ซึ่งอยู่ที่ความชอบ แต่หากให้ต้นอ่อนโตในกล่อง จำเป็นต้องมีสารอาหารและแสงแดด ซึ่งการเติบโตในภาชนะปิดสนิทนั้นไม่เหมาะต่อการเติบโตของต้นอ่อนจึงจำเป็นต้องมีการย้ายต้นอ่อน ในกรณีที่มีรากยาวเกินขนาดความสูงของกล่อง หรือคิดว่ารากคงไม่แทงทะลุวัสดุปลูกแล้ว หรือต้นอ่อนบิดเบี้ยวและพยายามที่จะชูยอดขึ้นสูงแล้ว จึงนำออกมาปลูกในถุงปลูกได้

พืชที่ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนนำไปเพาะ

พืชที่ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนนำไปเพาะจะเป็นพืชที่มีเมล็ดแข็ง
นำเมล็ดไปแช่นํ้าจะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ
น้อยหน่าควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
น้อยหน่า
ข้าวควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
ข้าว
หน่อไม้ฝรั่งควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่งควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
มะขาม
มะละกอควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
มะละกอ
ผักชีควรแช่น้ำก่อนเพาะกล้า
ผักชี
ตอน  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147