มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังเก็บน้ำพลาสติก

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะถังเก็บน้ําพลาสติกสำหรับใช้ตั้งบนพื้นหรือบนอาคารรูปทรงกระบอก ทรงเหลี่ยม ทรงกรวยคว่ำ ที่มีความจุไม่น้อยกว่า 200 ลูกบาศก์เดซิเมตร แต่ไม่เกิน 20,000 ลูกบาศก์เดซิเมตร เพื่อเก็บน้ำดื่มใช้ในอาคารบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย โดยไม่รวมถึงถึงเก็บน้ำพลาสติกเสริมใยแก้ว

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 ถังเก็บน้ำพลาสติก ซึ่งต่อไปในมาตรฐานนี้จะเรียกว่า "ถัง" หมายถึง ถังเก็บน้ำซึ่งประกอบด้วยตัวถังทำด้วยพลาสติก ส่วนฝาปิด ข้อต่อและท่อ อาจทำด้วยพลาสติกหรือโลหะที่ไม่เกิดสนิม
2.2 ความจุทั้งหมด (total capacity) หมายถึง ปริมาตรภายในของถังคิดจากปริมาตรของน้ำที่บรรจุเต็มถัง
2.3 ความจุระบุ (nominal capacity) หมายถึง ปริมาตรที่กำหนดให้สำหรับใช้งาน หรือปริมาตรถึงขีดแสดงระดับน้ำ

3. ประเภท

3.1 ถังแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
   3.1.1 ประเภทไม่ทึบแสง (ใช้งานภายในอาคารหรือในสถานที่ซึ่งไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง)
   3.1.2 ประเภททึบแสง

4. ขนาด

4.1 ต้องมากกว่าความจุระบุที่ผู้ทำระบุไว้ในฉลากไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยปริมาตร การทดสอบทำโดยการวัดปริมาตรน้ำเต็มถังที่อุณหภูมิห้อง
4.2 ความจุระบุ หากมิได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นให้ความจุระบุของถังเป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ความจุระบุของถัง (ข้อ 4.2)
ความจุระบุ
dm3
300
1000
2500
5000
15000
500
1500
3000
6000
20000
700
2000
4000
10000

5. วัสดุ

5.1 วัสดุที่ทำด้วยพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนหรือเอทิลีนโคพอลิเมอร์ใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งานต้องมีคุณลักษณะดังนี้
   5.1.1 คุณลักษณะด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการละลายของสารเคมี ปริมาณสารที่ละลายออกมา ต้องเป็นไปตามตารางที่ 2 การทดสอบให้ปฏิบัติตาม มอก. 656 โดยตัดตัวอย่างเป็นชิ้นทดสอบขนาด 150 มิลลิเมตร x 200 มิลลิเมตร จากถังตัวอย่าง
ตารางที่ 2 ปริมาณสารที่ละลายออกมา (ข้อ 5.1.1)
รายการ
ตัวทำละลาย
สารที่ละลายออกมา
เกณฑ์ที่กำหนด
1
น้ำ
สารที่ทำปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนตมิลลิกรัมของโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนตต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของสารระลาย ไม่เกิน
10
2
น้ำ
สิ่งที่เหลือจากการระเหย มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของสารละลาย ไม่เกิน
30
3
สารละลายกรดแอซีติก 1+24
โลหะหนัก (เทียบเป็นตะกั่ว) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของสารละลาย ไม่เกิน
1
   5.1.2 คุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเนื้อพลาสติก ต้องเป็นไปตามตารางที่ 3 การทดสอบให้ปฏิบัติตาม มอก. 656
ตารางที่ 3 คุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเนื้อพลาสติก (ข้อ 5.1.2)
รายการ
คุณลักษณะ
เกณฑ์ที่กำหนด
mg/kg
1
ตะกั่ว ไม่เกิน
100
2
แคดเมียม ไม่เกิน
100
5.2 วัสดุที่ทำด้วยโลหะต้องไม่มีส่วนประกอบทางเคมีตามตารางที่ 4 การทดสอบทำโดยวิธีวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีทั่วไป หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
ตารางที่ 4 ส่วนประกอบทางเคมีโลหะ (ข้อ 5.2)
รายการ
ส่วนประกอบทางเคมี
เกณฑ์ที่กำหนด
เหล็กกล้าไร้สนิม
คาร์บอน ร้อยละ ไม่เกิน
0.08
ซิลิคอน ร้อยละ ไม่เกิน
1.00
แมลกานิส ร้อยละ ไม่เกิน
2.00
ฟอสฟอรัส ร้อยละ ไม่เกิน
0.045
กำมะถัน ร้อยละ ไม่เกิน
0.03
นิกเกิล ร้อยละ
8.0-10.5
โครเมียมร้อยละ
18.0-20.0
บรอนซ์
ดีบุก ร้อยละ
4.0-6.0
ตะกั่ว ร้อยละ
4.0-6.0
สังกะสี ร้อยละ
4.0-7.0
ทองแดง ร้อยละ
82-87
ทองเหลือง
ทองแดง ร้อยละ
56-64
ตะกั่ว ร้อยละ
0.5-3.5
เหล็ก ร้อยละ ไม่เกิน
0.35
สังกะสี
ส่วนที่เหลือ

6. คุณลักษณะที่ต้องการ

6.1 ลักษณะทั่วไป
ต้องไม่มีข้อบกพร่องใดๆ โดยเฉพาะข้อบกพร่องที่อาจมีผลเสียต่อการใช้งาน การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
6.2 ผลที่เกิดกับน้ำ
เมื่อบรรจุน้ำเต็มถังทิ้งไว้เป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วตรวจพินิจ น้ำจะต้องไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจและสีของน้ำต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม
6.3 ความทนทานต่อการเสียรูป (resistance to deformation)
   6.3.1 ถังทรงกระบอก ถังทรงกรวย และถังทรงกรวยคว่ำ เมื่อทดสอบตามข้อ 9.1.2 แล้วเส้นรอบวงที่วัดได้จะแตกต่างจากเส้นรอบวงเดิมไม่เกินร้อยละ 2 และถังต้องไม่บวม หรือเสียรูปทรง ในบริเวณอื่นๆ ที่นอกเหนือจากจุดวัด
   6.3.2 ถังทรงเหลี่ยม เมื่อทดสอบตามข้อ 9.1.3 แล้วความยาวที่วัดได้ของแต่ละด้านจะแตกต่างจากความยาวเดิมไม่เกินร้อยละ 2 และต้องไม่บวม หรือเสียรูปทรง ในบริเวณอื่นๆ ที่นอกเหนือจากจุดวัด
6.4 ความทนความดันภายใน
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.2 แล้ว ถังต้องไม่รั่วซึม หรือแตก
6.5 การโก่งตัว
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.3 แล้ว การโก่งตัวที่ปลายท่อทองแดงต้องไม่เกิน 32 มิลลิเมตร
6.6 ความล้า
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.4 แล้ว ถังต้องไม่แตก
6.7 ความทนแรงกระแทก (impact resistance)
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.5 แล้ว ถังต้องไม่แตกหรือ ร้าว
6.8 ความต้านทานแรงดึงและความยืดเมื่อขาด
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.6 แล้ว ค่าความต้านแรงดึงสูงสุด ต้องไม้น้อยกว่า 7.6 เมกะพาสคัล และความยืดเมื่อขาดต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100
6.9 อายุการใช้งาน
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.7 แล้ว ต้องมีค่าความต้านแรงดึงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้านแรงดึงสูงสุดที่หาได้ตามข้อ 6.8
6.10 ความทึบแสง (เฉพาะประเภททึบแสง)
เมื่อทดสอบตามข้อ 9.8 แล้ว ต้องมีค่าร้อยละอัตราการส่องผ่านไม่เกิน 0.1

7. เครื่องหมายและฉลาก

7.1 ที่ถังทุกใบอย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน และไม่ลบเลือนง่าย
(1) ชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้หรือชื่ออื่นที่สื่อความหมายว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้
(2) ประเภท
(3) ความจุระบุ เป็นลูกบาศก์เดซิเมตร
(4) ปีที่ทำ หรือ รหัสรุ่นที่ทำ
(5) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้งหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

8.1 การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสินให้เป็นไปตามภาคผนวก ก.

9. การทดสอบ

หากมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ทดสอบอุณหภูมิโดยรอบ
9.1 ความทนทานต่อการเสียรูป
   9.1.1 เครื่องมือ เครื่องวัดที่สามารถวัดได้ละเดียดถึง 1 มิลลิเมตร
   9.1.2 ถังทรงกระบอก ถังทรงกรวย และถังทรงกรวยคว่ำ
      9.1.2.1 วางตัวอย่างบนพื้นราบ ทำเครื่องหมายเส้นรอบวงให้ขนานกับพื้นราบที่ตำแหน่ง 1 ใน 3 ของความสูงของถังตัวอย่างจากพื้นราบ แล้ววัดเส้นรอบวงที่ตำแหน่งดังกล่าว
      9.1.2.2 เติมน้ำให้ถึงขีดแสดงระดับน้ำ ด้วยอัตราไม่น้อยกว่า 23 ลูกบาศก์เดซิเมตรต่อนาที ใช้ฟิล์มพอลิเอทิลีนปิดปากถังเพื่อป้องกันการระเหย ปิดฝาตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน
      9.1.2.3 วัดเส้นรอบวงที่ตำแหน่งเดิมตามข้อ 9.1.2.1
      9.1.2.4 คำนวณหาค่าความแตกต่างของเส้นรอบวงที่วัดได้เป็นร้อยละโดยเทียบกับเส้นรอบวงเดิม
   9.1.3 ถังทรงเหลี่ยม
      9.1.3.1 วางถังตัวอย่างบนพื้นราบ ทำเครื่องหมายเส้นรอบรูปให้ขนานกับพื้นราบที่ตำแหน่ง 1 ใน 3 ของความสูงของถังตัวอย่างจากพื้นราบ แล้ววัดความยาวของแต่ละด้านที่ตำแหน่งดังกล่าว
      9.1.3.2 เติมน้ำให้ถึงขีดแสดงระดับน้ำ ด้วยอัตราไม่น้อยกว่า 23 ลูกบาศก์เดซิเมตรต่อนาที ใช้ฟิล์มพอลิเอทิลีนปิดปากถังเพื่อป้องกันการระเหย ปิดฝาตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน
      9.1.3.3 วัดความยาวของแต่ละด้านที่ตำแหน่งเดิมตามข้อ 9.1.3.1
      9.1.3.4 คำนวณหาค่าความแตกต่างของความยาวแต่ละด้านที่วัดได้เป็นร้อยละ โดยเทียบกับความยาวเดิมของแต่ละด้าน
9.2 ความทนความดันภายใน
   9.1.1 เครื่องมือ เครื่องทดสอบที่สามารถให้ความดันได้ไม่น้อยกว่าความดันทดสอบ
   9.1.2 วิธีทดสอบ
      9.1.2.1 เติมน้ำให้ถึงขีดแสดงระดับน้ำ ปิดปากถังตัวอย่างให้แน่นแล้วต่อเข้ากับเครื่องทดสอบความดัน
      9.1.2.2 เพิ่มความดันภายในถังตัวอย่างให้ได้ความดันทดสอบ รักษาระดับความดันนี้ไว้เป็นเวลา 2 นาที แล้วตรวจพินิจ
   9.1.3 วิธีคำนวณ คำนวณค่าความดันทดสอบจากสูตร
สูตรคำนวณความดันทดสอบถังเก็บน้ำ
จากรูป เมื่อ
P คือ ความดันทดสอบ เป็นกิโลพาสคัล
ρ คือ ความหนาแน่นของน้ำ เป็น 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก เป็น 9.78 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง
h คือ ความสูงของน้ำจากก้นถังถึงขีดแสดงระดับน้ำ เป็นเมตร              
9.3 การโก่งตัว
   9.3.1 เจาะถังตัวอย่างให้เป็นรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (38±1) มิลลิเมตร ในระดับที่ต่ำกว่าขีดแสดงระดับน้ำ (60±5) มิลลิเมตร
   9.3.2 ตั้งถังตัวอย่างบนพื้นราบต่อท่อทองแดงที่เป็นไปตาม มอก.1139 ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 12.7 มิลลิเมตร ยาว 305 มิลลิเมตร และหนา 0.6 มิลลิเมตร เข้ากับถังตัวอย่างในตําแหน่งที่เจาะไว้โดยที่ยึด โดยให้ท่อทองแดงขนานกับพื้นราบ ดังแสดงในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 หรือ รูปที่ 3 ตามรูปทรงของถัง
   9.3.3 เติมน้ำให้ถึงขีดแสดงระดับน้ำ กดปลายท่อในแนวตั้งฉากด้วยแรง 37 นิวตัน อ่านระยะที่ปลายท่อทองแดงเคลื่อนที่ไป ให้แรงกดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง อ่านระยะที่ปลายท่อทองแดงเคลื่อนที่ไปอีกครั้ง
   9.3.4 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าที่อ่านได้ทั้ง 2 ครั้ง เป็นค่าการโก่งตัว
9.4 ความล้า
   9.4.1 เตรียมถังตัวอย่างตามข้อ 9.3.1 และข้อ 9.3.2
   9.4.2 เติมน้ำให้ถึงขีดแสดงระดับน้ำ กดปลายท่อทองแดงในแนวตั้งฉากด้วยแรง 22.5 นิวตัน แล้วปล่อยให้ท่อเคลื่อนที่กลับ ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ด้วยอัตราเร็ว 10 รอบต่อนาที จำนวน 100000 รอบแล้วตรวจพินิจบริเวณที่ต่ออุปกรณ์ทดสอบ
อุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกระบอกหรือถังทรงเหลี่ยม
รูปที่ 1 แสดงการประกอบอุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกระบอกหรือถังทรงเหลี่ยม (ข้อ 9.3.2)
อุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกรวย
รูปที่ 2 แสดงการประกอบอุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกรวย (ข้อ 9.3.2)
อุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกรวยคว่ำ
รูปที่ 3 แสดงการประกอบอุปกรณ์ทดสอบเข้ากับถังตัวอย่างทรงกรวยคว่ำ ข้อ 9.3.2)
9.5 ความทนแรงกระแทก
   9.5.1 คว่ำถังตัวอย่างไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
   9.5.2 ปล่อยมวล 2.5 กิโลกรัมที่มีปลายเป็นรูปครึ่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ให้ตกกระแทกก้นถังตัวอย่างโดยอิสระ 4 ครั้ง ที่ตำแหน่งต่างๆ กัน ที่ระยะความสูง 3 เมตร จากจุดตกกระทบ ทำซ้ำเช่นนี้อีก 3 ครั้ง บริเวณขอบก้นถังตัวอย่างที่ตำแหน่งต่างๆ กัน แล้วตรวจพินิจ
9.6 ความต้านทานแรงดึงและความยืดเมื่อขาด
   9.6.1 การเตรียมชิ้นทดสอบ ตัดผนังถังตัวอย่างตามแนวตั้งและแนวขวางของถัง และก้นถัง เป็นชิ้นทดสอบ ให้มีรูปร่างดังรูปที่ 4 และ มีมิติตามตารางที่ 5 บริเวณละ 5 ชิ้น โดยชิ้นทดสอบต้องมีผิวและขอบเรียบ
   9.6.2 วิธีทดสอบ ให้ปฏิบัติตาม ISO 527-1 โดยดึงชิ้นทดสอบด้วยอัตราเร็ว (500±50) มิลลิเมตรต่อนาทีสำหรับถังตัวอย่างที่ทำด้วยพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นตั้งแต่ 0.910 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ถึง 0.925 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และใช้อัตราเร็ว (100±10) มิลลิเมตรต่อนาที สำหรับถังตัวอย่างที่ทำด้วยพอลิเอทิลีนความหนาแน่นเกิน 0.925 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
รูปร่างของชิ้นงานทดสอบที่ตัดออกจากถังเพื่อการทดสอบแรงกระแทก
รูปที่ 4 รูปร่างของชิ้นงานทดสอบ (ข้อ 9.6.1)
ตารางที่ 5 มิติของชิ้นทดสอบ (ข้อ 9.6.1)
มิติ
เกณฑ์ที่กำหนด
mm
A
150
B
106-120
C
60±0.5
D
10±0.2
E
20±0.2
F
50±0.5
G
115±1
R
60
9.7 อายุการใช้งาน
   9.7.1 เครื่องมือ ตู้อบแบบอากาศหมุนเวียนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ที่ (87±3) องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วัน พร้อมที่ยึดชิ้นทดสอบ
   9.7.2 การเตรียมชิ้นทดสอบ ให้ปฏิบัติตามข้อ 9.6.1
   9.7.3 วิธีทดสอบ
      9.7.3.1 ยึดชิ้นทดสอบด้วยที่ยึด แขวนไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิ (87±3) องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วันแล้วนำไปทดสอบความต้านแรงดึงตามข้อ 9.6.2
      9.7.3.2 เปรียบเทียบค่าความต้านทานแรงดึงของแต่ละบริเวณในข้อ 9.7.3.1 กับค่าความต้านแรงดึงเดิมของแต่ละบริเวณในข้อ 9.6.2
9.8 ความทึบแสง (เฉพาะประเภททึบแสง)
   9.8.1 เครื่องมือ เครื่องวัดความส่องสว่าง ชั้นคุณภาพ AA ตามที่กำหนดใน JIS C 1609 หรือเครื่องมืออื่นใดที่ให้ผลเทียบเท่า
   9.8.2 วิธีทดสอบ
      9.8.2.1 ให้ทดสอบระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 14.00 น. ในวันที่มีแสงแดด โดยปิดทุกรูเปิดด้วยวัสดุทึบแสงเพื่อไม่ให้แสงเข้า วางถังในที่มีแสงแดดวัดความส่องสว่างในถังตัวอย่าง โดยไม่ต้องใส่น้ำ ในแนวระดับที่จุดต่างๆ ห่าง 100 มิลลิเมตร จากรอบผนังกับก้นถัง และ อีก 4 จุด หรือมากกว่าที่บริเวณรูน้ำเข้า-ออก และฝาปิด
      9.8.2.2 นำค่าที่วัดได้ทั้งหมดมาเฉลี่ยเป็นค่าความส่องสว่างภายในถังน้ำ
   9.8.3 วิธีคำนวณ
คำนวณหาอัตราการส่งผ่าน จากสูตร
สูครหาอัตราการส่งผ่านของแสงสำหรับถัง
   9.8.4 การรายงานผล ให้รายงานผลละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 2

ภาคผนวก ก.

การชักตัวอย่างและเกณฑ์การชักตัวอย่าง (ข้อ 8.1)

ก.1 รุ่น ในที่นี้หมายถึง ถังที่มีรูปทรง ประเภท ความจุระบุเดียวกัน ทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน สีเดียวกัน โดยกรรมวิธีเดียวกัน ที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
ก.2 การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากับทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
   ก.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับสำหรับการทดสอบขนาด วัสดุ คุณลักษณะที่ต้องการ (ยกเว้นความต้านแรงดึงและความยืดเมื่อขาด) และเครื่องหมายและฉลาก
      ก.2.1.1 ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากถังรุ่นเดียวกัน จำนวน 2 ใบ
      ก.2.1.2 ตัวอย่างถังทุกใบต้องเป็นไปตาม ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6.1 ข้อ 6.2 ข้อ 6.3 ข้อ 6.4 ข้อ 6.5 ข้อ 6.6 ข้อ 6.7 ข้อ 6.8 ข้อ 6.9 ข้อ 6.10 และข้อ 7 ทุกข้อ จึงจะถือว่าถังรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
   ก.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับสำหรับการทดสอบความต้านแรงดึงและความยืดเมื่อขาด
      ก.2.2.1 ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากถังตัวอย่างจากข้อ ก.2.2.2 จำนวน 1 ใบ
      ก.2.2.2 ตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 6.8 จึงจะถือว่าถังรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
ก.3 เกณฑ์ตัดสิน ตัวอย่างถังต้องเป็นไปตามข้อ ก.2.1.2 และ ข้อ ก.2.2.2 ทุกข้อ จึงจะถือว่าถังรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147