8. การทดสอบ
8.1 ข้อกำหนดทั่วไป
8.1.1 ให้ทดสอบตามวิธีที่กำหนดในมาตรฐานนี้ หรือวิธีอื่นใดที่ให้ผลเทียบเท่า ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งให้ใช้วิธีที่กำหนดในมาตรฐานนี้
8.1.2 ภาวะทดสอบ เก็บลังพลาสติกตัวอย่างไว้ที่อุณหภูมิ (27±2) องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ (65±5) ตั้งทิ้งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
8.2 การทดสอบความทนทานต่อแรงกด
การทดสอบทำโดยช้อนลังพลาสติกเปล่า 3 ชั้น บนเครื่องทดสอบแรงกดแบบอัด (Compression) แล้วใช้แรงกดทดสอบตามที่กำหนดในตารางที่ 3 หรือ ตารางที่ 4 แล้วแต่กรณี ด้วยอัตรา (10±2) มิลลิเมตรต่อนาที แล้วตรวจพินิจ
รูปที่ 1 การทดสอบความทนทานต่อแรงกดของลังพลาสติก (ข้อ 8.2.1)
ตารางที่ 3 แรงกดทดสอบสำหรับลังพลาสติกประเภทใช้งานขนส่งทั่วไป
น้ำหนักลังพลาสติกผลิตภัณฑ์ต่อลัง
ตั้งแต่ 10 kg ถึงต่ำกว่า 15 kg
ตั้งแต่ 15 kg ถึงต่ำกว่า 20 kg
ตั้งแต่ 20 kg ถึงต่ำกว่า 25 kg
ตั้งแต่ 25 kg ถึงต่ำกว่า 30 kg
ตั้งแต่ 10 ถึงน้อยกว่า 12
ตั้งแต่ 12 ถึงน้อยกว่า 14
ตั้งแต่ 14 ถึงน้อยกว่า 16
ตั้งแต่ 16 ถึงน้อยกว่า 18
ตั้งแต่ 18 ถึงน้อยกว่า 20
ตั้งแต่ 20 ถึงน้อยกว่า 22
ตั้งแต่ 22 ถึงน้อยกว่า 24
ตั้งแต่ 24 ถึงน้อยกว่า 26
ตั้งแต่ 26 ถึงน้อยกว่า 28
ตั้งแต่ 28 ถึงน้อยกว่า 30
ตารางที่ 4 แรงกดทดสอบสำหรับลังพลาสติกประเภทใช้ในการขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ (ข้อ 8.2)
น้ำหนักลังพลาสติกผลิตภัณฑ์ต่อลัง
ตั้งแต่ 10 kg ถึงต่ำกว่า 15 kg
ตั้งแต่ 15 kg ถึงต่ำกว่า 20 kg
ตั้งแต่ 20 kg ถึงต่ำกว่า 25 kg
ตั้งแต่ 25 kg ถึงต่ำกว่า 30 kg
ตั้งแต่ 10 ถึงน้อยกว่า 12
ตั้งแต่ 12 ถึงน้อยกว่า 14
ตั้งแต่ 14 ถึงน้อยกว่า 16
ตั้งแต่ 16 ถึงน้อยกว่า 18
ตั้งแต่ 18 ถึงน้อยกว่า 20
ตั้งแต่ 20 ถึงน้อยกว่า 22
ตั้งแต่ 22 ถึงน้อยกว่า 24
ตั้งแต่ 24 ถึงน้อยกว่า 26
ตั้งแต่ 26 ถึงน้อยกว่า 28
ตั้งแต่ 28 ถึงน้อยกว่า 30
ตั้งแต่ 30 ถึงน้อยกว่า 32
ตั้งแต่ 32 ถึงน้อยกว่า 34
8.3 การทดสอบความทนทานต่อแรงกระแทก
การทดสอบทำโดยการคว่ำลังพลาสติกบนพื้นระนาบที่เป็นคอนกรีต หิน หรือแผ่นเหล็ก โดยยึกลังพลาสติกไม่ให้เคลื่อนที่ แล้วทิ้งลูกตุ้มโลหะทรงกลมมวลไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 63 มิลลิเมตร ปล่อยโดยอิสระที่กิ่งกลางของก้นลังพลาสติก จากความสูง 3 เมตร จำนวน 3 ครั้ง แล้วตรวจพินิจ
8.4 การทดสอบความทนต่อการตกกระแทก
8.4.1 เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับทดสอบการตกกระแทกต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) แขวนลังพลาสติกไว้ที่ความสูงในการทดสอบได้โดยไม่เกิดการเสียหาย
(2) ควบคุมการปล่อยได้อย่างอิสระโดยไม่เกิดแรงกระทำต่อลังพลาสติก
(3) ปรับตำแหน่งของลังพลาสติกให้สามารถตกกระแทกกับพื้นระนาบได้ตามลักษณะต้องการ
(4) พื้นที่รองรับการตกกระแทกต้องมีผิวเรียบ อยู่ในแนวระนาบและมีความแข็งแรงและมั่นคงมีการตกกระแทกต้องไม่มีการขยับหรือเคลื่อนไหวและไม่แตกหรือเสียรูป
8.4.2 การตกกระแทกที่มุม
8.4.2.1 แขวนลังพลาสติกที่บรรจุมวลตามที่กำหนดในตารางที่ 5 เข้ากับอุปกรณ์ทดสอบการตกกระแทก ดังรูปที่ 2 และ ให้มีความสูงตามที่กำหนดในตารางที่ 5 โดยความสูงวัดจากระยะระหว่างพื้นถึงตำแหน่งของลังพลาสติกที่จะตกกระแทก จากนั้นปล่อยลังพลาสติกให้ตกอย่างอิสระโดยให้มุมของลังพลาสติกกระแทกกับพื้น
8.4.2.2 นำลังพลาสติกไปทดสอบการตกกระแทกที่ขอบต่อไป
8.4.3 การตกกระแทกขอบ
8.4.3.1 แขวนลังพลาสติกจากข้อ 8.4.3.2 เข้ากับอุปกรณ์สำหรับทดสอบการตกกระแทกดังรูปที่ 4 ที่ความสูงเข่นเดียวกับข้อ 8.4.2.1 จากนั้นปล่อยลังพลาสติกให้ตกอย่างอิสระโดยให้ก้นของลังพลาสติกกระแทกกับพื้น
8.4.3.2 หลังการทดสอบให้ตรวจพิจารณา
ตารางที่ 5 ความสูงสำหรับทดสอบความทนต่อการตกกระแทก (ข้อ 8.4.2)
น้ำหนักลังพลาสติกรวมผลิตภัณฑ์ต่อลัง
kg
ตั้งแต่ 10 ถึง ต่ำกว่า 15
ตั้งแต่ 15 ถึง ต่ำกว่า 20
ตั้งแต่ 20 ถึง ต่ำกว่า 25
ตั้งแต่ 25 ถึง ต่ำกว่า 30
รูปที่ 2 การทดสอบความทนทานต่อการตกกระแทกที่มุม (ข้อ 8.4.2.1)
รูปที่ 3 การทดสอบความทนทานต่อการตกกระแทกที่ขอบ (ข้อ 8.4.3.1)
รูปที่ 4 การทดสอบความทนทานต่อการตกกระแทกที่ก้น (ข้อ 8.4.4.1)
8.5 การทดสอบความทนทานต่อน้ำหนักบรรจุ
การทดสอบทำโดยนำลังพลาสติกกรุด้วยแผ่นพลาสติกมาบรรจุวัสดุที่มีอนุภาคขนาดเล็กที่มีการกระจายน้ำหนักที่ดี เช่น ทราย หรือ ลูกเหล็ก ตามน้ำหนักที่กำหนดใน ตารางที่ 6 แล้วแขวนลังพลาสติกตามแนวดิ่ง ณ จุดกึ่งกลางของหู หรือมือจับ ด้วยอุปกรณ์แขวนซึ่งได้แก่ตะขอโลหะที่มีความกว้าง 7 เซนติเมตร และหุ้มด้วยยางนำมาติดกับปลายเชือกแต่ละด้าน โดยค่อยๆ แขวนช้าๆ แล้วทิ้งไว้นานกว่า 5 นาที แล้วพินิจบริเวณหู หรือมือจับ และตัวลังพลาสติก
รูปที่ 5 การทดสอบความทนทานต่อน้ำหนักบรรจุ (ข้อ 8.5)
ตารางที่ 6 น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบความทนทานต่อน้ำหนักบรรจุ
น้ำหนักลังพลาสติกรวมผลิตภัณฑ์ต่อลัง
kg
ตั้งแต่ 10 ถึง ต่ำกว่า 15
ตั้งแต่ 15 ถึง ต่ำกว่า 20
ตั้งแต่ 20 ถึง ต่ำกว่า 25
ตั้งแต่ 25 ถึง ต่ำกว่า 30
8.6 การทดสอบสีที่ละลายออกจากลังพลาสติก
8.6.1 เครื่องมือ
8.6.1.1 อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิคงที่ (60ฑ2) องศาเซลเซียส
8.6.1.2 หลอดเนสเลอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
8.6.1.3 บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
8.6.2 สารละลาย
8.6.2.1 สารละลายกรดแอซีติก ร้อยละ 4 โดยปริมาตร
8.6.2.2 เฮปเทน
8.6.3 การสกัดสารละลายตัวอย่าง
ให้ใช้สารเคมี (ข้อ 8.6.2) ทั้งสองรายการ แยกสกัดตัวอย่างต่างชิ้นกัน จุ่มตัวอย่างแห้ง สะอาดปราศจากฝุ่นละอองลงในสารละลายกรดแอซีติกที่อุณหภูมิ (60±2) องศาเซลเซียส หรือ เฮปเทนที่อุณหภูมิห้อง โดยพื้นที่ผิวสัมผัสของชิ้นตัวอย่างสารละลายที่ใช้สกัดเป็น 1 ตารางเซนติเมตรต่อ 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปตั้งบนอ่างน้ำที่อุณหภูมิ (60±2) องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที และกรณีที่ใช้เฮปเทน ให้นำไปตั้งที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5 นาที เทสารละลายที่ได้แต่ละอย่างลงในแต่ละบีกเกอร์
8.6.4 วิธีทดสอบ
ใช้ปิเปตต์ดูดสารละลายจากข้อ 8.6.3 ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในหลอดเนสเลอร์ ตั้งหลอดเนสเลอร์ไว้บนพื้นสีขาว แล้วเทียบสีกับสารละลายกรดแอซีติก หรือเฮปเทน แล้วแต่กรณีโดยมองจากด้านบนของหลอด