วิธีและขั้นตอนการปลูกยางพารา บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยว ผลผลิตจากยางพารา

ตอน  1  2  3  4

9. การเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา

สวนยางพาราที่ปลูกไว้หากได้ทำการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 ปีเต็ม หรือปีที่ 7 จะสามารถกรีดน้ำยางพาราได้ เป็นการเริ่มต้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนยางพารา เป็นการ สร้างรายได้หลังจากลงทุนมานาน ผลผลิตจากยางพารามีน้ำยางพารา เศษยาง เนื้อไม้ ลูกยางพารา และใบ ยางพารา
! น้ำยางพารา เป็นผลผลิตหลักที่สร้างรายได้มหาศาลขึ้นอยู่กับราคาของน้ำยางในขณะ กรีด น้ำยางพาราสามารถนำไปแปรรูปเป็นน้ำยางข้น ยางแท่ง หรือยางแผ่นดิบ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มูลค่าของน้ำยางพาราในกรณี 1 รอบตัดฟันใช้เวลา 20 ปี สามารถกรีดยางพาราได้ 13 ปี ผลผลิตเฉลี่ยปี ละ 220 ก.ก/ไร่ เป็นผลผลิตคิดเป็นเนื้อยางแห้ง = 13 x 220 = 2,860 กก. ราคาเฉลี่ย (ปี 2567) กก. ละ 69.70.- บาท เป็นรายได้รวม - 199,342.- บาท/ไร่
! เศษยางพารา เป็นผลพลอยได้จากการกรีดยาง คือน้ำยางดิบที่จับตัวแข็งก่อนนำไปแปรรูป เป็นผลผลิตอื่น ปริมาณเศษยางจะมีประมาณ 5% ของเนื้อยางในเวลา 13 ปี จะมีผลผลิต - 2,860 x 0.05 - 143 กก. ราคาประมาณครึ่งหนึ่งของยางแห้งประมาณ กก.ละ 35.50 บาท เป็น รายได้รวมประมาณ 5,076.5 บาท/ไร่ เศษยางมีหลายชนิดเช่น
• เศษยางเส้นคือเศษยางที่เกิดจากการแข็งตัวบนหน้ากรีด
• เศษยางกันจอกเป็นเศษที่แข็งตัวในจอกรับน้ำยางซึ่งจะมีมากในช่วงเปิดกรีด ยางพาราใหม่ประมาณ 1 สัปดาห์จะยังไม่เก็บน้ำยางเพราะปริมาณน้ำยางมีน้อย
• เศษยางก้อนเป็นเศษยางที่เกิดในถังรวบรวมน้ำยางมักจะเกิดในกรณีระหว่าง กรีดยางมีฝนตกทำให้มีกรดเกิดขึ้นในจอกรับน้ำยางเมื่อรวบรวมน้ำยางลงถังรวม กรดเหล่านั้นจะติดมาด้วย ทำให้เกิดแข็งตัวในถังจับกันเป็นก้อน
• เศษยางดินเป็นเศษยางที่เกิดจากการไหลบ่าของน้ำยางลงดินจากหน้ากรีด หรือลิ้นยาง สาเหตุอาจจะเกิดจากขณะกรีดมีความชื้นที่เปลือกยางพารา หรือหน้ากรีดเป็นเปลือกที่สองซึ่ง บางมากน้ำยางสามารถล้นออกจากร่องกรีดได้ ส่วนที่ไหลจากลิ้นยางอาจจะเกิดจากหลังกรีดลืมหงายจอก รับน้ำยาง หรือหลังจากเก็บน้ำยางแล้วเจ้าของสวนไม่ให้รับน้ำยางส่วนที่ไหลไม่หมด เศษยางชนิดนี้เมื่อนำไปจำหน่ายต้องแช่น้ำให้ดินละลายออกเหลือแต่เศษยาง
• เศษยางฟองอากาศ เป็นเศษยางที่เกิดจากการนำน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยาง แผ่น ในการผสมน้ำและน้ำกรดลงในตะกง จะมีการกวนให้น้ำยางดิบ น้ำ และน้ำกรดผสมกันให้ทั่วถึง จะมี ฟองอากาศเกิดที่ผิวตะกง ต้องกวาดออกเพราะหากทิ้งไว้จะทำให้ยางแผ่นดิบผิวขรุขระมีตำหนิ ฟองอากาศ ที่กวาดออกมานำไปทำเศษยางเรียกเศษยางฟองอากาศ
• เศษยางก้นถัง เป็นเศษยางที่ตกค้างอยู่ในถังบรรทุกน้ำยางสด เมื่อส่งน้ำยางสด ให้โรงงานแล้วส่วนที่ตกตะกอนจะประกอบด้วยธาตุอาหารของต้นยางเป็นแป้งและโปรตีนมีน้ำยางอยู่บ้าง เล็กน้อย เมื่อนำกลับมาเทลงถังแข็งตัวแล้วจะเป็นเศษยางก้นถัง
• เศษยางก้นถัง เป็นเศษยางที่ตกค้างอยู่ในถังบรรทุกน้ำยางสด เมื่อส่งน้ำยางสด ให้โรงงานแล้วส่วนที่ตกตะกอนจะประกอบด้วยธาตุอาหารของต้นยางเป็นแป้งและโปรตีนมีน้ำยางอยู่บ้าง เล็กน้อย เมื่อนำกลับมาเทลงถังแข็งตัวแล้วจะเป็นเศษยางก้นถัง
! เนื้อไม้ยางพารา เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการกรีดยางพารา เนื้อไม้สามารถ นำไปแปรรูปทำเป็นไม้เพื่อการก่อสร้าง เครื่องเรือน ไม้อัด และเศษไม้ปลายไม้ทำเชื้อเพลิงได้ ราคาเฉลี่ย (2567) ประมาณไร่ละ 30,000.- บาท
! ลูกยาง สามารถเก็บขายเพื่อใช้ผลิตเป็นสต็อกต้นตอยางได้ ถ้าต้นยางพารา 1 ไร่ให้ลูกที่นำไปขายได้ประมาณ 10 กก./ปี ในเวลา 13 ปีจะขายได้ 130 กก. ราคาขึ้นอยู่กับความต้องการกล้า ยางพาราในขณะนั้นๆ คิดประมาณ กก.ละ 8.- บาท จะขายลูกยางพาราได้ไร่ละ 1,040.-บาท
! ใบยางพารา สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึก เช่นดอกไม้ ผีเสื้อ เป็นต้นแต่ใบยาง สดจะไม่ซื้อขายกัน
สรุปรายได้จากผลผลิตยางพารา
ลำดับ
ชนิดผลผลิต
มูลค่า/ไร่ (บาท)
ร้อยละ
1
น้ำยางพารา
199,342
84.36
2
30,000
13.11
3
เศษยาง
5,076
2.11
4
ลูกยาง
1,040
0.42
รวม
235,458
100.00
จะเห็นได้ว่าผลผลิตที่ทำรายได้หลักคือน้ำยางพาราและเนื้อไม้ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะกล่าวใน รายละเอียดของผลผลิต 2 ชนิดนี้

9.1 การเตรียมการก่อนกรีดยางพารา

สวนยางพาราที่ปลูกไว้หากได้ทำการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 ปีเต็ม หรือปีที่ 7 จะสามารถกรีดน้ำยางพาราได้ เป็นการเริ่มต้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนยางพารา เป็นการ สร้างรายได้หลังจากลงทุนมานาน ผลผลิตจากยางพารามีน้ำยางพารา เศษยาง เนื้อไม้ ลูกยางพารา และใบ ยางพารา
1. เมื่อยางพาราที่ปลูกไว้มีอายุ 6 – 6.5 ปีเต็ม จะต้องทำการตรวจสอบดูว่ายางพาราที่ ปลูกไว้มีขนาดโตที่จะทำการกรีดยางได้ประมาณ ร้อยละเท่าใด โดยการวัดความโตทางเส้นรอบวงที่ระดับ อก ว่ามียางพาราที่โตเกิน 50 ซม.จำนวนเท่าไต ทำเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนโดยอาจจะใช้สีแดงทาไว้เป็น รูปเครื่องหมายไดๆก็ได้ การเปิดกรีดในปีแรกควรมีจำนวนต้นที่ได้ขนาดมากกว่า 50% ของจำนวนปลูก ทั้งหมด ปัจจุบันนิยมกรีดยางพาราหน้าแรกที่ความสูง 75 ซ.ม. ขนาดของลำต้นอาจจะเล็กกว่าเดิมได้บ้าง แต่ไม่ควรต่ำกว่า 45 ซ.ม.หากมีจำนวนต้นที่กรีดได้น้อยกว่า 50% ให้เปิดกรีดในปีที่ 7 ซึ่งสามารถกรีดได้ ทุกต้นแล้ว ยกเว้นต้นที่ปลูกซ่อมในปีที่ 2 และยังมีขนาดเล็ก
2. เจ้าของสวนต้องตัดสินใจว่าน้ำยางพาราที่กรีดได้จะขายน้ำยางสดหรือจะแปรรูปเป็น ยางพาราแผ่นดิบเพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ได้ถูกต้อง แต่อุปกรณ์ที่ต้องจัดซื้อไม่ว่าจะขายน้ำยางสดหรือทำ ยางแผ่นมี จอกยาง ลวดรับจอกยาง และลิ้นยาง ซึ่งจะต้องใช้กับต้นยางพาราที่จะกรีดทุกต้น จอกยางสำหรับ ยางพันธุ์ดีควรใช้จอกขนาดความจุ 22 ออนซ์ เพราะเมื่อยางพาราอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไปน้ำยางจะให้น้ำ ยางมากขึ้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนจอกยางใหม่ จอกยางมีการผลิตจำหน่ายอยู่ 2 ชนิดคือชนิดที่ ทำจากดินเผาเคลือบ และชนิดที่ทำจากพลาสติก ราคาแตกต่างกัน ชนิดแรกมีราคาสูงกว่าแต่ใช้งานได้นาน ชนิดที่สองราคาถูกกว่าบำรุงรักษาให้ดีสามารถใช้ได้ตลอดรอบดัดฟัน เมื่อซื้อจอกยางมาควรทำเครื่องหมาย เฉพาะเพราะจอกยางนักจะถูกขโมย หรือถ้าซื้อจำนวนมากอาจจะตกลงกับโรงงานผู้ผลิตให้ใส่เครื่องหมาย ของเจ้าของไว้ด้วยก็จะป้องกันการสูญหายได้ จอกยางที่ทำจากพลาสติกมีน้ำหนักเบา หากใช้ในพื้นที่ควน เขา หรือพื้นที่ที่มีลมแรงควรใช้เชือกหรือเอ็นผูกติดไว้กับลวดรับจอกยางด้วย สำหรับอุปกรณ์อื่นๆที่ต้อง เตรียมไว้ตามลักษณะของการขายจะแตกต่างกัน
กรณีขายน้ำยางสด
1 โรงเรือน หรือสิ่งก่อสร้าง

1.1 จะต้องมีสถานที่ชั่งน้ำยางสดเพื่อส่งน้ำยางสดขึ้นรถบรรทุก สวนยางขนาด เล็กไม่ต้องทำอาคาร แต่ถ้าเป็นสวนยางขนาดใหญ่ที่มีผลผลิตมากจะต้องจัดทำหลุมหรือเนินรับน้ำยาง โดยมี ถังรับน้ำยางจากผู้กรีดเพื่อรอถ่ายลงรถบรรทุกสถานที่นี้ผู้กรีดยางพาราจะเรียกว่าลานเท สถานที่ก่อสร้าง ควรเป็นเนินเขาหรือที่สูง
2 วัสดุอุปกรณ์
2.1 ตาชั่ง ใช้ตาชั่ง 2 ชนิด ชนิดที่ 1 เป็นตาชั่งชั่งน้ำหนักยางสดจากผู้กรีด นิยมใช้ตาชั่งขนาด 100 กก. แบบแขวน ตาชั่งชนิดที่ 2 เป็นตาชั่งขนาดเล็กสำหรับชั่งตัวอย่างน้ำยางเพื่อหาค่าเนื้อยางแห้ง นิยมใช้ตาชั่ง ดิจิตอล ขนาด 500 กรัม
2.2 ถังชั่งน้ำยาง เป็นถังทรงกลมจัดทำจากสแตนเลส เพื่อความทนทานและ ไม่เป็นสนิม ขนาดบรรจุประมาณ 60 ลิตร มีหูสำหรับเกี่ยวกับตะขอของตาชั่ง
การขายน้ำยางสดต้องมีตราช่างและถังสำหรับน้ำยางพารา
2.3 ถ้วยเก็บตัวอย่างน้ำยางสด เพื่อนำไปหาค่าเนื้อยางแห้งหรือ DRC (Dry Rubber Content) เป็นถ้วยพลาสติกหรือแก้วพลาสติกขนาดเล็กมีความจุประมาณ 100 cc. มีฝาปิด
2.4 เครื่องรีดยางแผ่นขนาดเล็ก ใช้สำหรับรีดแผ่นตัวอย่างเพื่อนำไปอบให้
แห้ง
2.5 ตู้อบ ใช้สำหรับอบตัวอย่างยางพาราแผ่นดิบ ขนาดพอเหมาะสมกับ จำนวนตัวอย่าง ตู้อบนี้อาจจะจัดซื้อสำเร็จรูป หรือดัดแปลงทำขึ้นเองก็ได้ โดยให้ความร้อนจากหลอดไฟฟ้า 100 แรงเทียนหลายๆ ดวง ด้านในมีราวสำหรับแขวนตัวอย่างยางแผ่นดิบ
กรณีแปรรูปเป็นยางพาราแผ่นดิบ
1 โรงเรือน หรือสิ่งก่อสร้าง
1.1 อาคารแปรรูปน้ำยางพารา เป็นอาคารที่นำน้ำยางสดมาดำเนินการแปรรูปภายในจะ ประกอบด้วย ลานพักน้ำยางสด บ่อเก็บน้ำ ส่วนที่วางตะกงผสมน้ำยางกับกรดฆ่ายาง ลานนวดยางพาราที่ แข็งตัวแล้ว ส่วนของจักรรีดยาง ขนาดของโรงงานจะแปรตามผลผลิตรายวันสูงสุด ดังตัวอย่าง
ก. คำนวณขนาดลานพักน้ำยางสด เจ้าของโรงงานมีสวนยางพาราที่จะนำมาแปร รูป 100 ไร่ จัดระบบกรีด 1/2 ลำต้น กรีด 1 วันเว้น 1 วัน ในแต่ละวันจะกรีดยางพาราได้ 50 ไร่ จะได้ ผลผลิตสูงสุดวันละ 12 ลิตรต่อไร่ คนงาน 1 คนกรีดยาง 10 ไร่ พื้นที่ 50 ไร่ ใช้คนงาน 5 คน จะเป็น ผลผลิตน้ำยางสดทั้งหมด - 120 x 5 - 600 ลิตร ภาชนะใส่น้ำยางสดใช้ถังมีฝาปิด ขนาด 60 ลิตร จะต้องมีถังมาวางอยู่ในลานพักน้ำยางสด 10 ถัง ถัง 1 ใบมีพื้นที่ก้นถังประมาณ 800 ซ.ม. 10 ถังใช้ พื้นที่ 8,000 ซ.ม. หรือ 0.8 ม. จัดพื้นที่ให้ว่างไว้เพื่อคนกรีดยางเดินทำงานประมาณ 100% รวม พื้นที่ส่วนลานพักน้ำยางสดจะใช้พื้นที่ประมาณ 1.6 ม.
ข. คำนวณลานวางตะกง หากใช้ตะกงถาดแปรรูปจะใช้น้ำยางสด 3 ลิตรต่อ 1 ตะกง น้ำยางพาราจำนวน 600 ลิตร ต้องใช้ตะกง 200 ใบ ตะกง 1 ใบใช้พื้นที่ประมาณ 1,350 ซ.ม. จำนวน 200 ใบใช้พื้นที่ 270,000 ซ.ม. หรือ 27 ม. รวมพื้นที่ว่างสำหรับคนเดินทำงานประมาณ 3 ม.” เป็นพื้นที่ในส่วนนี้ 30 ม. หากใช้ตะกงรางหมูขนาด 50 แผ่น จะใช้พื้นที่ตะกงละ 600 ซ.ม. ใช้ตะ กงจำนวน 4 ชุดใช้พื้นที่วางตะกง 2,400 ซ.ม. หรือ 0.24 ม.
ค. คำนวณลานนวดยางพารา ใช้เป็นที่นวดยางพาราที่แข็งตัวจากตะกงให้บาง และแผ่กว้างออกเพื่อนำเข้าเครื่องรีดยาง คนกรีดยาง 1 คนจะใช้พื้นที่ประมาณ 1 ม. จำนวน 5 คนใช้ พื้นที่ 5 ม.
ง. คำนวณพื้นที่จักรรีดยาง ยางพาราจำนวน 200 แผ่นใช้จักรรีดยางชนิดหมุน ด้วยมือจำนวน 1 ชุดประกอยด้วยจักรรีดลื่น 3 ตัวและจักรตอก 1 ตัว ใช้พื้นที่สำหรับวางจักรและแผ่นยาง ก่อนรีด หลังรีดประมาณ 8 ม.
โรงเรืองแปรรุ)ยางพาราเป็นยางแผ่นดิบ
จ. คำนวณพื้นที่บ่อเก็บน้ำ บ่อเก็บน้ำควรกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพราะต้องใช้แทบ ทุกขั้นตอนของการแปรรูปมีพื้นที่ประมาณ 10% ของพื้นที่อื่นๆ รวมกันในกรณีนี้ประมาณ 4.46 ม.
รวมพื้นที่โรงงานทั้งหมด 49.06 ม. หรือเทียบเป็นร้อยละจะได้สานพักน้ำยาง สด 3.23% ลานวางตะกง 61.15% ลานนวดยางพารา 10.19% พื้นที่จักรรีดยาง 16.30% และ พื้นที่บ่อเก็บน้ำ 9.13%
1.2 ลานผึ่งยางแผ่นดิบที่ทำการแปรรูปแล้ว เป็นบริเวณที่นำยางพาราแผ่นดิบที่แปรรูป แล้วมาผึ่งแดดเพื่อให้น้ำที่ติดมากับยางพาราแผ่นดิบแห้งเพื่อจะได้เก็บไว้รอจำหน่ายต่อไป ปกติใช้ลาน กลางแจ้ง แต่พื้นที่ต้องคำนวณตามจำนวนยางพาราแผ่นดิบที่ผลิตได้ จะทำราวด้วยไม้ไผ่ที่หาได้ในท้องถิ่น แต่ละราวห่างกันพอที่คนงานจะเดินเข้าไปได้ ไม้ไผ่ที่หาได้ จะมีความยาวโดยเฉลี่ย 6 เมตร ใน 1 ราวจะฝั่ง ยางพาราแผ่นละ 1 กก.ได้ประมาณ 12 แผ่น ในแต่ละวันผลิตยางพาราได้จำนวน 200 แผ่นต้องมีราวฝั่ง ยางประมาณ 17 ราว
รานผึ่งยางแผ่นดิบที่ทำการแปรรูปแล้ว
เจ้าของสวนยางพาราบางคน ต้องการจะเพิ่มคุณภาพยางพาราแผ่นดิบจะไม่พึ่งยางพารา แผ่นดิบในที่โล่งแต่จะใช้วิธีผึ่งลมแทนก็จำเป็นต้องสร้างอาคารฝั่งยางขึ้นอาคารอาจจะเป็นหลังเดียวกับโรง เก็บยางพาราแผ่นดิบก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นหลังเดียวกับโรงานแปรรูปน้ำยางพารา เพราะในอาคารนั้นมิ
1.3 โรงอบยาง เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพของยางแผ่นดิบ การพึ่งยาง แผ่นดิบเพื่อขับไล่ความชื้นด้วยแสงแดด มักมีปัญหามีน้ำหลงเหลืออยู่ในแผ่นยางแผ่นดิบเพราะขณะฝั่งยาง แสงแดดจะเผาผิวยางให้เหนียวน้ำที่คงเหลือในแผ่นจึงออกมาไม่หมด หรือแม้แต่การฝั่งด้วยลมในบางครั้ง อากาศชิ้นเกินไปน้ำที่ตกค้างในแผ่นยางพาราก็ออกมาไม่หมดเช่นกัน การที่น้ำคงเหลือในแผ่นยางพารามาก จะทำให้มีเชื้อราในแผ่นยางพาราเมื่อนำไปจำหน่ายชั้นคุณภาพจะต่ำลง จึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างโรงอบ ยางพาราขึ้น ลักษณะโรงอบยางพาราแบบง่ายๆ คือโรงอบยางพลังแสงอาทิตย์ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมมุง หลังคาด้วยสังกะสี กั้นทึบด้วยแผ่นสังกะสี มีประตูเข้าออกด้านหัวอาคาร แผ่นสังกะสีที่ใช้กั้นและมุงหลังคา ทาสีดำทั้งด้านนอกและด้านใน พื้นด้านล่าง และฝาด้านบนปล่อยให้ลมพัดผ่านได้โดยเว้นช่องประมาณ 10 ซ.ม. ราวที่ใช้แขวนแผ่นยางทำเป็นราว 3 ชั้นสูงประมาณ 1.6 เมตร แต่ราวห่างกันประมาณ 50 ซ.ม. เพื่อให้คนงานสามารถข้าทำงานได้สะดวก
โรงอบยางพาราเพื่อปรับปรุงคุณภาพยางพารา
ภาพวิธีการผึ่งยางในโรงอบ
ภาพการจัดราวผึ้งยางในโรงอบ
ขนาดของโรงอบขึ้นอยู่กับจำนวนผลผลิตยางแผ่นดิบแต่ละวัน และจำนวนวันที่จะอบ ปกติจะอบประมาณ 7 วัน ในกรณีมีผลผลิตสูงสุดวันละ 200 แผ่น จำเป็นต้องสร้างโรงอบให้มีความจุ 1,400 แผ่น ยางพาราแผ่นดิบแขวนบนราว 3 ชั้น 3 แผ่นใช้พื้นที่ความกว้างของแผ่น 50 ซ.ม. ช่องว่าง ระหว่างราว 50 ซ.ม. ใช้พื้นที่ - 50 x 50 ซ.ม. - 2.500 ซ.ม. ยางพาราจำนวน 1,400 แผ่นต้องใช้อย่างไรก็ตามเจ้าของสวนยางขนาดเล็กอาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างโรงอบยางนี้
1.4 โรงเก็บยางแผ่นดิบ เป็นอาคารสำหรับเก็บยางแผ่นดิบที่ฝั่งแห้งแล้ว หรืออบแห้ง แล้วไว้เพื่อรอการจำหน่าย ยางพาราแผ่นดิบที่พึ่งแห้งแล้วควรเก็บไว้อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนนำออกไป จำหน่าย การนำยางพาราแผ่นดิบโดยทั่วไปเจ้าของสวนจะต้องทำการขนส่งเอง การจะไปจำหน่ายแต่ละ ครั้ง จึงต้องคำนึงถึงยานพาหนะที่ใช้บรรทุกด้วย หรือในกรณีราคายางพาราแผ่นดิบผันผวน อาจจะเก็บไว้ เพื่อตรวจสอบราคาก่อนก็ได้ ยางแผ่นดิบที่แห้งแล้วไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 สัปดาห์ เพราะความชื้นในอากาศ จะเกาะตามผิวของแผ่นยางพาราทำให้คุณภาพต่ำลง
ลักษณะของโรงเก็บยางแผ่นดิบเป็นอาคารมุงหลังคาด้วยสังกะสี หรือกระเบื้อง ฝาผนังเปิด โล่งให้อากาศถ่ายเทได้ดี อาจจะกั้นด้วยตาข่ายลวดขัด เพื่อป้องกันการขโมยยางแผ่นดิบ ฝาผนังส่วนล่างควร ก่ออิฐหรือปูน ด้านในทำราวคานรับราวแขวนยางพาราด้วยเหล็กท่อกลม เพื่อสะดวกในการเลื่อนราวให้ชิด ห่างกันได้ ปกติราวในโรงเก็บจะวางห่างกัน 10 ซ.ม. แบ่งชั้นการวางคานเป็น 5 – 6 ชั้น ขนาดของตัว อาคารขึ้นอยู่กับจำนวนยางพาราที่จะนำเข้าไปเก็บไว้ หากตัดสินใจว่าจะนำยางพาราที่แห้งแล้ว ไปจำหน่าย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ยางพาราที่ต้องเก็บไว้ในโรงจะเป็นผลผลิตที่ยังไม่แห้งพร้อมขายด้วยประมาณ 1 สัปดาห์ โรงเก็บยางพาราจะต้องเก็บผลผลิตได้สูงสุดประมาณ 3 สัปดาห์ ตามกรณีตัวอย่างจะเป็นจำนวนยางแผ่น ดิบที่เก็บไว้ = 200 x 21 = 4,200 แผ่น หากทำราวเก็บ 5 ชั้น ยางพารา 5 แผ่นใช้พื้นที่ = 50 x 10 - 500 ซ.ม.2 ยางพาราจำนวน 4,200 แผ่น ต้องใช้พื้นที่ = 4,200/5 x 500 = 42 ม.2 สำรองเผื่อทางเดิน ลานชั่งน้ำหนักยางแผ่นดิบ วางก้อนยางที่มัดแล้วประมาณ 18 ม. รวมพื้นที่ 60 ม.2
1.5 แหล่งน้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตยางพาราแผ่นดิบ ในการผสมกับ น้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางพาราแผ่นดิบ ใช้น้ำอย่างน้อย 2 ลิตร และใช้ล้างโรงงาน ล้างภาชนะ ตลอดจน เครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย การแปรรูปยางพารา 1 แผ่นต้องใช้น้ำอย่างน้อย 5 ลิตร หากแปรรูปยางพารา วันละ 200 แผ่น จะต้องมีแหล่งผลิตน้ำอย่างน้อย 1,000 ลิตร แหล่งน้ำอาจจะได้จาก น้ำประปา น้ำบ่อบ่อบาดาล หรือสระน้ำ เจ้าของต้องเตรียมไว้ให้พร้อม
1.6 ระบบส่งน้ำสู่โรงงาน ควรจะมีหอถังน้ำ เครื่องสูบน้ำ วางระบบประปาสู่โรงงาน
1.7 บ่อบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียที่ได้จากการแปรรูปยางพาราแผ่นดิบต้องไม่ปล่อยสู่ลำ ห้วย คลองสาธารณะควรทำบ่อบำบัดโดยค่อยให้ไหลซึมลงดิน
2. เครื่องจักรและอุปกรณ์
2.1 ตะกง สำหรับจัดทำยางแผ่นดิบ มีทั้งตะกงแบบถาดมีความจุประมาณ 5 ลิตร และ ตะกงแบบรางหมูในกรณีมีจำนวนน้ำยางมากๆ ตะกงแบบถาดจัดทำจากอะลูมิเนียม เป็นรูปถาด สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 30 ซ.ม. ยาว 45 ซ.ม. ลึกประมาณ 4-5 ซ.ม. ปากตะกงจะทำให้กว้างกว่า
ตะกงสำหรับทำยางแผ่นดิบถาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ตะกงรางหนู สำหรับใช้กรณียางพาราแผ่นดิบที่จะจัดทำมีจำนวนมาก จัดทำจากการหล่อด้วยคอนกรีตลักษณะเป็นถังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนยางแผ่นที่ต้องการแปรรูปโดยทั่วไปจะใช้ ขนาด 50 แผ่น ซึ่งจะมีขนาดความจุโดยประมาณ 250 ลิตร กว้างประมาณ 50 ซม.ยาว 120 ซม.และลึก ประมาณ 45 ซม.ภายในตะกงทำร่องไว้จำนวน 49 ร่องสำหรับเสียบแผ่นกั้นให้เป็นช่อง ซึ่งจะมีจำนวน ช่องทั้งหมด 50 ช่องแต่ละช่องจะกว้างประมาณ 2.4 ซ.ม. แผ่นเสียบกั้นระหว่างช่องนิยมใช้แผ่นสแตนเลส เพื่อความทนทานต่อการกัดเซาะของน้ำกรดฆ่ายาง
ตะกงรางหนูใช้กรณียางพาราแผ่นดิบมีจำนวนมาก
2.2 จักรรีดยาง สำหรับรีดยางพาราที่แข็งตัวในตะกงแล้วให้เป็นยางพาราแผ่นดิบ มีทั้ง จักรที่หมุนด้วยมือและจักรชุด ประกอบด้วย จักรรีดลื่นและจักรดอก จักรที่หมุนด้วยมือ 1 ชุดประกอบด้วย จักรรีดลื่น 1 ตัวและจักรดอก 1 ตัว จะสามารถใช้แปรรูปยางพาราแผ่นดิบได้ประมาณ 50 แผ่น ต่อ 1 ชั่วโมง จักรกริดยางชนิดเป็นชุดจะประกอบด้วยจักรรีดลื่น 4 ตัว และจักรรีดดอก 1 ตัว ประกอบไว้ด้วยกัน ใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องฉุด 10 แรงม้า
2.3 ถังกรองน้ำยาง เป็นถังทรงกลมสูงประมาณ 50 ซ.ม. มีความจุประมาณ 60 ลิตร เป็นถังที่ใช้รองน้ำยางที่กรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำยางสด
2.4 เครื่องกรอง แผ่นกรองเป็นตาข่ายเหล็กขนาด 40 และ 60 ช่องต่อหนึ่งตารางนิ้ว เรียกขนาดว่าเบอร์ 40 และเบอร์ 60 กรวยกรอง ทำจากสังกะสีแผ่นเรียบ
2.5 ใบพายกวนน้ำยาง ทำจากแผ่นพลาสติก ขนาดประมาณ กว้าง 6 x 6 นิ้ว กลาง แผ่นเจาะเป็นรูให้น้ำยางไหลผ่านได้
2.6 น้ำกรด ใช้แปรรูปน้ำยางพาราเป็นยางพาราแผ่นดิบ มีจำหน่าย 2 ประเภท คือกรดจากสารเคมี และกรดอินทรีย์ กรดชนิดแรกทำให้เนื้อยางพาราแผ่นดิบเปื่อยยุ่ยได้ง่าย และน้ำเสียจากการ แปรรูปทำลายสภาพแวดล้อม กรดชนิดที่สองไม่ทำลายยางแผ่นดิบและสิ่งแวดล้อมแต่อาจจะก่อให้เกิดรา ตามผิวยางพาราหากผึ้งแผ่นยางไม่แห้งสนิท และราคาของกรดชนิดหลังสูงกว่าชนิดแรก
ถังกรองน้ำยางเป็นรูปทรงกลมสูงประมาณ 50 ซม.
จากรายละเอียดของการเตรียมสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่ได้กล่าวมาแล้วพอจะเป็นข้อมูล สำหรับเจ้าของสวนยางพาราว่าจะตัดสินใจจำหน่ายน้ำยางพาราในลักษณะใด การขายน้ำยางสดไม่ยุ่งยาก ละเอียดอ่อนเหมือนการแปรรูปยางพาราแผ่นดิบ การใช้ทุนรอนในเบื้องต้นต่ำกว่า แต่ราคาขายน้ำยางสดก็ ต่ำกว่ายางแผ่นดิบ กก.ละประมาณ 2-4 บาท หากราคายางแผ่นดิบ กก.ละ 40.-บาท ราคาน้ำยางสดจะ ประมาณ 38-36.-บาท เท่านั้น หรือน้อยกว่าประมาณ 5-10% ถ้าเจ้าของสวนเป็นสวนขนาดเล็ก มีเวลา กรีดยางและแปรรูปเองทุกขั้นตอน ในระยะยาวการแปรรูปเป็นยางพาราแผ่นดิบจะมีผลกำไรสุทธิมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ราคาของน้ำยางสด และยางพาราแผ่นดิบก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดเช่นกัน บ่อยครั้งที่ปรากฏว่าราคาน้ำยางสดสูงกว่ายางพาราแผ่นดิบ ดังนั้นทางที่ชาญฉลาด เจ้าของสวนยางพาราที่มี พื้นที่มาก ควรสร้างโรงงานแปรรูป และขายน้ำยางสดไปพร้อมกัน สินค้าใด ราคาดีก็ผลิตเป็นสินค้านั้นๆ ตามความต้องการของตลาด

9.2 การกรีดยาง

1. ระบบการกรีดยาง มีหลายระบบ
• เปิดหน้ากรีด 1/4 ของลำต้น กรีด 4 วัน หยุด 1 วัน
• เปิดหน้ากรีด 1/3 ของลำต้น กรีด 2 วัน หยุด 1 วัน
• เปิดหน้ากรีด 12 ของลำต้น กรีด 1 วัน เว้น 1 วัน
เจ้าของสวนยางขนาดเล็ก โดยทั่วไปนิยมกรีดในระบบที่ 2 คือเปิดหน้ากรีด 1/3 ของลำต้น กรีด 2 วัน หยุด 1 วัน แต่จากการวิจัยของสถาบันวิจัยยางพบว่าระบบการกรีดยางที่ให้ผลผลิต เป็นน้ำหนักแห้งต่อพื้นที่ต่อปีมากที่สุดคือระบบที่ 3 เปิดหน้ากรีด 2 ของลำต้น กรีด 1 วัน เว้น 1 วัน โดย มีผลผลิตเฉลี่ยในยางพาราทุกชนิดพันธุ์ ดังนี้
ตารางการกรีดยางพารา
มักมีเจ้าของสวนยางพาราบางคนเปลี่ยนแปลงระบบกรีดที่แนะนำ โดยการกรีด ครึ่งลำต้น กรีด 2 วัน เว้น 1 วัน เป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะอาจจะทำให้จำนวนวันกรีดมากขึ้นและ ยางพาราจะหมดหน้ากรีดตั้งแต่อายุประมาณ 16 ปี และผลผลิตเป็นน้ำหนักแห้งจะน้อยกว่างานวิจัยเมื่อครบรอบตัดฟัน อย่างไรก็ดีหากจะใช้จำนวนวันกรีด 2 วันดังกล่าวสำหรับหน้ากรีดที่ 2 เมื่อต้นยางโตขึ้น ก็ควรจะปรับหน้ากรีดเพียง 1/3 ของลำต้น เพื่อลดการสิ้นเปลืองหน้ากรีดลง ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ลดลงมากนัก เมื่อครบรอบตัดฟัน
2. การแบ่งเบอร์กรีดและการจัดคนกรีด เบอร์กรีด 1 เบอร์ ใช้พื้นที่ 10 ไร่ ซึ่ง จะมียางพารารอดตายอยู่ประมาณ 600 ต้น คนงานหนึ่งคน กรีดยางพารา 2 เบอร์ โดยวันแรกกรีตเบอร์ที่
การแบ่งคนกรีดยางพาราในสวน
ภาพการแบ่งพื้นทึกรีดเป็น 2 ส่วน
จากภาพตัวอย่าง ผู้กรีดยางคนที่ 1 จะกรีด เบอร์ที่ 1 ในตอนที่ 1 และกรีดเบอร์ 9-16 ในตอนที่ 2 เบอร์ใดเบอร์หนึ่งก็ได้ แต่เพื่อความเหมาะสมควรจัดให้กรีดเบอร์ 9 เพื่อจะได้ช่วยดูแลเบอร์ที่ 1 ด้วยว่าใน วันที่หยุดกรีดจะมีผู้ใดนาขโมยกรีดหรือไม่ ซึ่งหากใช้หลักการนี้ก็จะแบ่งเบอร์กรีดให้คนกรีดยาง ดังนี้
ผู้กรีดยาง
เบอร์แรก
เบอร์ที่สอง
ผู้กรีดยาง
เบอร์แรก
เบอร์ที่สอง
นายสมชาย
1
9
นางอ้อย
5
13
นายสมนึก
2
10
นายดาว
6
14
นายคง
3
11
นางพลอย
7
15
นายสุข
4
12
นายดำ
8
16
3. ข้อปฏิบัติของผู้กรีดยางพาราในแปลงกรีด ผู้กรีดยางจะต้องปฏิบัติในเรื่อง
ต่างๆ ดังนี้
ก. ตำแหน่งที่จะทำการเปิดกรีดยางพารา โดยทั่วไปจะเปิดกรีดที่ระดับความสูง 1.50 เมตรเหนือรอยเท้าช้าง แต่จากการวิจัยของสถาบันวิจัยยาง แนะนำว่าเฉพาะหน้ากรีดแรกให้เปิดกรีด ที่ความสูง 75 ซ.ม. เหนือรอยเท้าช้างจะเหมาะสมที่สุด
ข. กรีดยางจากซ้ายบนมาขวาล่าง ให้มีความลาดเอียงของหน้ากรีด ประมาณ 35 องศา ก่อนเปิดกรีดจะต้องทำรอยขีด หน้าหลัง เพื่อไม่ให้หน้ากรีดล้ำไปด้านหนึ่งด้านใด และนำลวดรับ จอกยางมาผูกไว้ต่ำจากหน้ากรีดประมาณ 6 - 8 นิ้ว ในร่องรอยขีดด้านหน้าต่ำกว่าหน้ากรีดประมาณ 4 นิ้วให้ปีกลิ่นยางเพื่อรับน้ำยางลงจอกรับน้ำยาง
ค. การกรีดยางแต่ละครั้ง ต้องสูญเสียเปลือกน้อยที่สุด ไม่เกินครั้งละ 2-3 มิลลิเมตร ในหนึ่งเดือนสูญเสียเปลือกไม่เกิน 3 ซ.ม.
ง. กรีดยางทุกวันที่ฝนไม่ตกระหว่างเวลา 04.00 - 06.00 น. เริ่มเก็บน้ำ
ยาง 06.00 - 08.00 น. วันไหนกรีดยางไม่ได้ให้แจ้งให้เจ้าของสวนยางพาราทราบ การเปิดกรีดยาง สัปดาห์แรก ให้หงายจอกรับน้ำยางไว้เพื่อทำเศษยาง เมื่อน้ำยางเริ่มไหลดีแล้วจึงเก็บน้ำยางสดส่งจุดชั่งใน กรณีขายน้ำยางสดหรือนำไปแปรรูปที่โรงงานกรณีทำยางแผ่นดิบ หลังการเก็บน้ำยางแต่ละครั้ง ให้คว่ำ จอกไว้ที่ลวดรับน้ำยาง แม้จะมีน้ำยางไหลอยู่ก็ตาม เพื่อป้องกันกรดในอากาศ หรือที่มาพร้อมน้ำฝนไป ตกค้างอยู่ในจอกยาง ซึ่งจะทำให้จอกยางสกปรกทำให้น้ำยางที่กรีดวันต่อไปแข็งตัวในจอกได้
จ. ไม่กรีดยางในวันที่ฝนตกจนหน้ากรีดเปียกชิ้น
ฉ. เศษยางทุกประเภทเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นให้รวบรวมส่งเจ้าของสวนยาง
ยางพาราเพื่อนำไปจำหน่ายแบ่งผลประโยชน์ตามข้อตกลง
ลักษณะตำแหน่งกรีดยางพารา
ช. ผู้กรีดยางต้องทายาป้องกันเชื้อราผสมดินในหน้ากรีดที่ผ่านมาแล้วทุกเดือน
ซ. อุปกรณ์ที่ใช้ในการกรีดยางอันได้แก่ มีดกรีดยาง หินลับมีดกรีดยาง เครื่องให้ แสงสว่างในเวลากลางคืน ถังเก็บรวบรวมน้ำยางสด เป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่ผู้กรีดยางต้องหามาด้วยตนเอง

9.3 การเก็บรวบรวมน้ำยางสด

ต้นยางพาราที่ได้ทำการกรีดยางทุกต้นจะมีน้ำยางสดไหลลงจอกยางพารา หรือ ถ้วยรองน้ำยางพารา ที่หงายรับไว้ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะหยุดไหล ช่วงเวลาการไหลขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในแปลงกรีดด้วย หากเป็นช่วงอากาศหนาวเย็นจะไหลนานกว่าช่วงอากาศร้อน ผู้กรีดยางจะต้องใช้การสังเกตเอง เมื่อน้ำยางพาราส่วน ใหญ่หยุดไหลแล้วผู้กรีดยางพาราจะเก็บน้ำยางพาราลงถังเก็บ ซึ่งเป็นถังปากกว้างเท่ากันถัง เมื่อเก็บน้ำยาง หมดทุกต้นแล้ว จึงเทใส่ถังที่มีฝาปิดเพื่อการขนส่งต่อไป
ลักษณะถ้วยรองน้ำยางพาราทำจากพลาสติก
ถ้วยรองน้ำยางพารา
ลักาณะการใช้งานถ้วยยางพาราในการรับน้ำยางจากต้น
ลักษณะการรองน้ำยางพารา
การรองรองน้ำยางพาราในสวนโดยใช้ถ้วยหรือจอกยางพารา
รองน้ำยางพาราในสวน
ถังและแกลลอนใส่น้ำยางพาราหลังจากรองน้ำยางในถ้วยยางแล้ว
ถังและแกลลอนใส่น้ำยางพารา

9.4 การแปรรูปยางพารา

การแปรรูป จะกล่าวเฉพาะการทำยางแผ่นดิบเท่านั้น เพราะการจำหน่ายน้ำยางสด เมื่อรวบรวมน้ำยางได้แล้วก็จะเข้าสู่ขบวนการจำหน่ายต่อไป การทำยางแผ่นดิบจะต้องมีขั้นตอนหลังเก็บน้ำ ยางพาราแล้ว
1. การขนส่งน้ำยางพาราจากแปลงกรีดมายังโรงงานแปรรูป หากเจ้าของสวนยางพารา ขนาดเล็กดำเนินการเองเมื่อเก็บน้ำยางพาราแล้วก็จะขนน้ำยางพาราสดมายังโรงงาน โดยการหาบ หาม หรือบรรทุกด้วยยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ในกรณีสวนยางพาราพื้นที่มาก และจ้างคนกรีดยางพารา เจ้าของสวนยางพาราจะต้องตกลงกับผู้กรีดว่าใครมีหน้าที่ขนส่ง หากเจ้าของสวนยางพาราจะขนส่งเอง จะต้องจัดยานพาหนะให้เหมาะสมกับน้ำยางสดที่กรีดได้ในแต่ละวัน ตัวอย่างเจ้าของสวนมิสวนยางพารา 100 ไร่ ผลผลิตสูงสุดวันละ 600 ลิตร บรรจุในภาชนะขนาด 60 ลิตร จำนวน 10 ถัง ใช้พื้นที่วางถัง 0.8 ม. ผู้กรีดยางพาราอาจจะเดินทางมาด้วย กรณีเช่นนี้ใช้รถบรรทุกเล็ก หรือรถปิกอัพขนส่งก็เพียงพอต้องนัดหมายเวลาไปรับเพื่อผู้กรีตจะได้เดินทางมาพร้อมกัน แต่ถ้าพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราอยู่ใกล้เคียง กับโรงงานแปรรูปโดยห่างกันไม่เกิน 2 กม. ผู้กรีดจะนิยมขนยางพารามาโรงงานเอง
2. การดำเนินงานแปรรูป เริ่มต้นจากกรองน้ำยางพาราด้วยกรองเบอร์ 40 เพื่อกรองเอา ตะกอนหยาบออกจากน้ำยาง โดยเครื่องกรองจะติดตั้งไว้ที่ถังกรอง เทน้ำยางสดจากถังรวมน้ำยางที่มีฝาปิด ผ่านกรองลงถังรับน้ำยาง เมื่อกรองด้วยกรองเบอร์ 40 แล้วต่อไปให้ทำการกรองอีกครั้งด้วยกรองเบอร์ 60 เพื่อดักเศษตะกอนละเอียดที่แฝงมากับน้ำยางสด ต้องใช้ถังกรองอีก 1 ใบ ในระหว่างทำการกรองบางครั้ง น้ำยางสดขั้นเกินทำให้ไหลผ่านกรองไม่สะดวก อย่าใช้มือกวนน้ำยางสดบนกรองเพราะจะทำให้ตะกอนที่ ดักไว้แล้วหลุดพ้นกรองไปได้ ให้ใช้น้ำสะอาดผสมลงไปน้ำยางสดจะไหลดีขึ้น ในกรณีแปรรูปด้วยคะกง รางหมู การกรองครั้งที่สองกรองลงตะกงได้เลย
วิธีการกรองน้ำยางพารา
3. ทำความสะอาดตะกงที่จะแปรรูป หงายวางเป็นแถวให้พอดีกับจำนวนน้ำยางสด โดย หนึ่งตะกงถาดจะใส่น้ำยางพาราประมาณ 3 ลิตร เมื่อตะกงสะอาดเรียบร้อยแล้วนำน้ำยางสดที่ผ่านการ กรองแล้วมาตวงด้วยถังตวงน้ำยางขนาด 1 ลิตร ใส่ทุกตะกงตะกงละ 3 ลิตร เมื่อน้ำยางหมดแล้วหากตะกง สุดท้ายน้ำยางสดมีไม่ถึง 3 ลิตร อาจจะแบ่งจากตะกงอื่นมาใส่เฉลี่ยให้เท่าๆ กันหรืออาจจะใช้น้ำยางที่เหลือเพิ่มให้ทุกตะกงก็ได้
ถ้าเป็นตะกงรางหมูขนาด 50 แผ่นให้เทน้ำยางลงตะกองจำนวน 150 ลิตร ถ้ามีเศษเหลืออาจจะใช้ตะกงถาดแปรรูปแทน
4. นำน้ำสะอาดผสมลงในตะกงทุกตะกงตะกงละ 2 ลิตร หรือถ้าเป็นตะกงรางหมูขนาด 50 แผ่นผสมน้ำ 100 ลิตร น้ำที่นำมาผสมนี้บางส่วนได้จากการล้างถังเก็บน้ำยางต้องกรองด้วยกรอง เบอร์ 60 เสียก่อน
5. ผสมน้ำกรดที่มีความเข้มข้น 0.2% ลงในตะกงถาดตะกงละ 15-20 ซี.ซี. หรือประมาณ 1 ช้อนแกง เทราดให้กระจายทั่ว ใช้ใบพายกวนส่วนผสมต่างๆให้เข้ากันทันทีหลังใส่น้ำกรดแล้ว ประมาณ 2-3 ครั้งให้ทั่วตะกง จะเกิดฟองอากาศขึ้น ใช้ใบพายปาดออกมารวมไว้ในตะกงเปล่า 1 ใน ฟองอากาศที่ปาดออกนี้จะแข็งตัวเป็นเศษยางฟองอากาศ
ถ้าแปรรูปด้วยตะกงรางหนูขนาด 50 แผ่น ผสมน้ำกรด 750 ซี.ซี.
น้ำกรดที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีความเข้มข้นประมาณ 95% ก่อนนำมาใช้งานต้อง ทำการเจือจางโดยผสมกับน้ำให้มีความเข้มข้นเหลือ 0.2% การผสมกรดให้ได้ 0.2% จะต้องทราบ ปริมาณของน้ำยางสดว่ากรีดได้วันละเท่าใด สมมติว่าคนงานหนึ่งคนกรีดยางได้ 150 ลิตร ทำยางแผ่นได้ 50 แผ่น ส่วนผสมของน้ำกรดที่ใช้คือวันละ 20 x 50 = 1,000 ซี.ซี. หรือ 1 ลิตร ควรผสมน้ำกรดครั้ง ละ 10 ลิตร โดยใช้น้ำ 10 ลิตร ควงหัวเชื้อน้ำกรด 20 ซี.ซี. หรือ 1 ช้อนแกงเทผสมลงไป เสร็จใช้ไม้ กวนให้ทั่ว ส่วนผสมนี้จะใช้ได้ประมาณ 10 วัน ในกรณีแปรรูปด้วยตะกงหรือแปรรูปด้วยโรงงานครั้งละ มากๆ ควรผสมน้ำกรดให้พอดีกับปริมาณใช้งาน หรือเจ้าของสวนอาจจะผสมน้ำกรดไว้ให้เพื่อให้ความ เข้มข้นของกรดเท่ากันก็ได้ ข้อควรระวังในการผสมน้ำกรดคือ ห้ามเทน้ำลงใส่น้ำกรด เพราะจะเกิดฟองฟู ขึ้นหากกระเซ็นถูกร่างกายจะเป็นอันตราย
เมื่อผสมน้ำกรดลงในตะกงและกวนให้ทั่วกันแล้ว หลังจากนั้นประมาณ 0.5-1 ชั่วโมง ยางพาราจะแข็งตัว เป็นก้อนหนาหนืด เรียกว่าแท่งยาง (COAGULUM )
6. นำแท่งยาง (COAGULUM) ซึ่งมีความหนาใกล้เคียงกับความลึกของตะกง มา นวดให้บางประมาณ 2 ซ.ม. เพื่อจะรีดให้เป็นยางแผ่นดิบต่อไป วิธีนวดมีหลายวิธี คือนวดด้วยมือ นวดด้วย ไม้ และเหยียบด้วยเท้า ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน จะต้องล้างมือ ไม้ หรือเท้าให้สะอาด
ในกรณีที่แปรรูปด้วยตะกงรางหนูไม่ต้องนวดแท่งยาง เพราะความหนาของแต่ละแผ่นจะได้ขนาดรีดด้วย จักรแล้ว
วิธีการนวดแท่นยางก่อนจะนำไปรีดเป็นแผ่น
7. นำแท่งยางที่นวดแล้วไปรีดด้วยจักรรีดยาง ในกรณีใช้จักรรีดยางด้วยมือหมุน จะต้องรีดลื่นจำนวน 3 ครั้ง จึงจะรีดดอก โดยครั้งแรกตั้งขอนรีดเลื่อนให้ห่างกันประมาณ 1 ซ.ม. ครั้งที่
นำแท่งยางที่นวดแล้วไปรีดด้วยจักรรีดยาง
8. การผึ้งยางพาราแผ่นดิบ เพื่อต้องการขับน้ำออกจากยางแผ่นดิบให้มากที่สุด เมื่อล้าง ผิวยางพาราสะอาดดีแล้วจึงพาไปพึ่งยังลานผึ้งยางกลางแดด ก่อนพึ่งยางพาราลงบนราวให้ใช้ผ้าชุบน้ำทำ ความสะอาดราวเสียก่อน การฝั่งให้วางแผ่นยางพาราพาดราวตามแนวขวางโดยกะครึ่งหนึ่งของแนวยาวอยู่ กลางราว ในแต่ละวันจะเริ่มผึ้งยางพาราได้เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ถึง 17.00 น. เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ให้พลิกแผ่นยางเอาด้านในออกรับแสงแดดจะทำให้ยางแผ่นดิบแห้งเร็วขึ้นและเมื่อหมดแสง แดดแล้วควรเก็บยางแผ่นดิบไปเก็บยังโรงเก็บหรือนำเข้าอบในโรงอบยางพาราต่อไป หากวันใดมีฝนตก อาจจะต้องพึ่งยางแผ่นดิบ 2-3 วัน หรือผึ่งลมในที่ร่มก็ได้
วิธีการการผึ่งยางพาราเพื่อขับน้ำออก
9. การอบยางแผ่นดิบ จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชั้นคุณภาพของยางพาราแผ่นดิบทำให้ ความชื้นในแผ่นยางเหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนควรใช้โรงอบพลังแสงอาทิตย์ นำยางพาราที่ผ่านการฝั่ง แดตหรือผึ่งลมแล้วไปอบโดยแขวนบนราว 3 ชั้น ผู้พึ่งยางจะต้องทำเครื่องหมายไว้เองว่ายางแผ่นดิบแต่ละ ชุดนำเข้าอบวันไหนและถึงกำหนดเก็บวันไหน โดยทั่วไปจะใช้เวลา 7 วัน แต่ถ้าฝนตกต่อเนื่องอาจจะใช้ เวลามากกว่านั้นผู้กรีดยางต้องใช้การสังเกตการแห้งของแผ่นยางเป็นหลัก
10. การเก็บยางพาราแผ่นดิบรอจำหน่าย ยางพาราที่ฝั่งแห้งแล้ว หรือที่อบแห้งแล้ว ต้องเก็บไว้ในโรงเก็บยางแผ่นดิบเพื่อให้มีปริมาณมากพอ หรือเพื่อตรวจสอบราคาการซื้อขายยางพาราแต่ละ ช่วง ในกรณีมีคนกรีดยางหลายคนเจ้าของสวนจะต้องจัดระบบการควบคุมจำนวนยางแผ่นที่นำมาเก็บ จัดแบ่งบริเวณให้ผู้กรีดยางพาราแต่ละคน จะต้องรู้ว่าในแต่ละช่วงเวลามียางแผ่นดิบของผู้กรีดคนใดเท่าใด โดยต้องจัดทำทะเบียนไว้
11. การชั่งน้ำหนักยางแผ่นดิบ เมื่อเจ้าของสวนยางพาราตัดสินใจจะขายยางพาราแผ่น ดิบแต่ละครั้งจะแจ้งให้ผู้กรีดยางพาราทราบ ผู้กรีดยางจะต้องนำยางพาราที่แขวนไว้ในโรงเก็บที่เก็บไว้อย่าง น้อย 7 วันมาทำนัดเพื่อชั่งน้ำหนักและขนขึ้นรถบรรทุกนำไปจำหน่ายต่อไป การมัดยางแผ่นดิบจะใช้วิธีวาง ยางแผ่น 1 แผ่นไว้ที่พื้นและซ้อนแผ่นอื่นๆ ไว้ตามแนวตั้งฉากกับแผ่นแรกจะทำมัดละที่แผ่นเจ้าของสวน ยางจะต้องกำหนดโดยคำนึงถึงการยกใส่รถบรรทุกด้วยปกติจะทำมัดละ 20 แผ่น เมื่อมัดเสร็จจึงทำการชั่ง น้ำหนักและขนใส่รถยนต์บรรทุกเพื่อจำหน่ายต่อไป
วิธีการเก็บยางพาราดิบรอจำหน่าย

10. การจำหน่ายยางพารา

การจำหน่ายผลผลิตจากยางพาราแยกวิธีการจำหน่ายตามลักษณะของสินค้า คือน้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และต้นยางพารา ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกัน

10.1 น้ำยางสด

เจ้าของสวนยางพาราสามารถขายน้ำยางสดได้กับพ่อค้าคนกลาง
โรงงานน้ำยางสด หรือตลาดกลางยางพารา พ่อค้าคนกลางจะซื้อน้ำยางสดไปขายต่อโรงงานหรือขายใน ตลาดกลางยางพารา โดยพ่อค้าจะจัดยานพาหนะมารับน้ำยางสดถึงแปลงกรีดทุกวัน ส่วนโรงงานน้ำยางสด จะรับซื้อน้ำยางสดหน้าโรงงานของตนเอง เจ้าของสวนยางจะต้องทำการขนส่งน้ำยางสดไปส่งยังโรงงาน ของผู้ซื้อโดยถังใส่น้ำยางสดเจ้าของโรงงานอาจจะจัดหาให้รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งให้ด้วย สำหรับ การนำน้ำยางสดไปขายที่ตลาดกลางยางพารา เจ้าของสวนยางพาราจะต้องทำการขนส่งไปขายที่ตลาดกลาง เอง การขายน้ำยางสดทั้ง 3 แหล่งนี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน กล่าวคือ การขายกับพ่อค้าคนกลาง เป็น ธรรมดาที่พ่อค้าต้องมีผลกำไรบ้าง ราคาที่ตกลงซื้อ-ขายอาจจะต่ำกว่าการขายทั้งอีกสองแหล่ง แต่เจ้าของ สวนก็ได้รับความสะดวก ไม่ต้องจัดซื้อยานพาหนะสำหรับขนส่งน้ำยางสด และไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง การขายโรงงานและขายที่ตลาดกลาง เจ้าของสวนต้องมียานพาหนะของตัวเอง แต่ถ้าอยู่ใกล้ตลาดกลาง ควร ขายที่ตลาดกลางจะได้ผลตอบแทนสูงสุด เพราะมีผู้ซื้อให้เลือกหลายคน การจะตัดสินใจขายน้ำยางสดให้แก่ แหล่งใดควรพิจารณาถึงความพร้อมของเจ้าของสวน ผลผลิตรวม และที่ตั้งของสวนยางพาราด้วย ถ้าเป็น สวนยางพาราขนาดเล็ก ควรขายให้พ่อค้าคนกลาง ถ้ามีสวนยางพาราขนาดปานกลางผลผลิตประมาณ 2,000 ลิตร/วัน ขึ้นไปควรขายโรงงาน หรือตลาดกลาง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะจำหน่ายอย่างไร สิ่งที่ เจ้าของสวนจะต้องจัดทำขึ้นในแปลงยาง คือ
1. จุดรับน้ำยาง เป็นสถานที่ที่คนกรีดยางพารานำน้ำยางสดมาส่งมอบให้เจ้าของสวน และเจ้าของสวนนำน้ำยางสดใส่รถบรรทุก สถานที่นี้ควรตั้งอยู่กลางแปลงที่มีถนนหรือทางลำลองที่รถยนต์ สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาลอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรเป็นเนินสูงซึ่งหากไม่มีอาจจะต้องทำการพูนดินขึ้น หรือขุด เป็นหลุมให้ต่ำกว่าผิวดินปกติให้รถยนต์เข้าไปรับน้ำยางได้ องค์ประกอบของจุดรับน้ำยางคือจุดชั่งน้ำยาง จุดจอดรถยนต์บรรทุกน้ำยางที่ต้องอยู่ต่ำกว่าจุดชั่ง หากเป็นสวนยางขนาดเล็กใช้พื้นที่ราบก็ได้ ผู้กรีดจะต้อง ปืนขึ้นบนรถบรรทุกขึ้นไปเทน้ำยางลงถัง กิจกรรม ณ จุดรับน้ำยางมี
การนำยางพาราไปจำหน่าย ณจุดรับซื้อยาง
ก).ชั่งน้ำยางสดที่ผู้กรีดแต่ละคนกรีดได้ โดยผู้กรีดยางเทน้ำยางสดของตนจากถัง เก็บลงถังชั่งยกขึ้นชั่งด้วยตาชั่งแขวนขนาด 100 กก. เสร็จเทน้ำยางลงถังรับน้ำยาง เจ้าของสวนหรือผู้มี หน้าที่รับน้ำยางจะบันทึกน้ำหนักสดไว้ น้ำยางที่เทลงถังซึ่งอาจจะกรองด้วยเบอร์ 40 ก็ได้เพื่อดักเศษยาง และสิ่งเจือปนไม่ให้ลงในถังชั่ง
ข) เก็บตัวอย่างน้ำยางสด เพื่อนำไปหาค่าเนื้อยางแห้งโดยการตักจากถังชั่งถังละ ประมาณ 50 กรัม หากผู้กรีดมีน้ำยางสดหลายถังเมื่อตักออกจากทุกถังให้รวมกันและตักตัวอย่างใหม่ใน ภาชนะรวมตัวอย่างไว้จำนวน 50 กรัม หรือ 10 กรัม ส่วนที่เหลือเทกลับลงถังรับน้ำยาง
ค).ถ่ายน้ำยางสดจากถังรับน้ำยางลงบนถังของรถบรรทุก เมื่อน้ำยางหมด หรือเต็ม รถแล้วรถบรรทุกจะเดินทางไปส่งน้ำยางยังแหล่งที่จำหน่ายต่อไป
2. สถานที่หาตัวอย่างเนื้อยางแห้ง เป็นห้องทำงานขนาดเล็กที่นำตัวอย่างน้ำยางสดที่ควง จากผู้กรีดแต่ละรายมาแปรรูป เป็นยางพาราแผ่นดิบแล้วนำเข้าอบให้แห้งแล้วชั่งน้ำหนักแห้งมาคำนวณหา ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง หรือ DRC (Dry Rubber Content) วิธีการดำเนินการ ชั่งตัวอย่างน้ำยาง สดด้วยตาชั่งขนาดเล็กให้ได้น้ำยางสดแต่ละตัวอย่าง 50 กรัม หรือ 10 กรัม ตามสภาพของเครื่องอบแห้ง
ก) นำตัวอย่างที่ซึ่งได้จาก ข้อ ก) ใส่ตะกงขนาดเล็ก ผสมน้ำสะอาด ประมาณ 30 ซี.ซี. ผสมน้ำกรดที่มีความเข้มข้น 0.1% ประมาณ 1 ซี.ซี. ผสม แล้วกวนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 0.5 ชั่วโมงยางตัวอย่างจะแข็งตัว ตะกงที่ใช้นิยมใช้กล่องพลาสติกขนาดเล็กกว้าง ยาว ประมาณ 2 นิ้ว สูง ประมาณ 1 นิ้ว มีฝาปิด เครื่องตวงน้ำและน้ำกรดใช้หลอดยาหยอดตาที่มีขีดวัดเป็น ซี.ซี. น้ำกรดอาจใช้วิธี หยดลงในตะกงยาง ประมาณ 2-3 หยด
ข) เมื่อยางแข็งตัวแล้วนำมานวด และรีดให้ยางบางที่สุดด้วยเครื่องจักรขนาดเล็ก อาจจะใช้เครื่องรีดปลาหมึกแห้งที่พ่อค้าปลาหมึกแห้งใช้ก็ได้
ค) นำแผ่นยางตัวอย่างที่รีดแล้วเข้าอบในตู้อบ ประมาณ 8 ชั่วโมง จนน้ำในแผ่น
ยางแห้งสนิท
• กำหนดการจ่ายเงิน โดยปกติการซื้อขายน้ำยางสดโดยวิธีหาค่าเนื้อยางแห้งโดย การอบแห้งจะต้องเสียเวลาการหาค่าเนื้อยางแห้งประมาณ 2 วัน ดังนั้นยางพาราที่ทำการซื้อขายวันจันทร์ จะทราบรายได้ในเช้าวันพุธ แต่การหาค่าเนื้อยางแห้งโดยใช้เครื่องมือ Metrolax ตรวจวัดจะทราบผล ทันที ผู้ซื้อ จะตกลงกับผู้ขายถึงกำหนดการจ่ายเงินและวิธีการจ่ายเงิน ในส่วนของพ่อค้ารายย่อยที่ใช้ Metrolax ตรวจวัดอาจจะจ่ายทันทีในวันที่ซื้อ โรงงานมักนิยมจ่ายเงินในวันพุธ โดยเป็นรายได้ระหว่าง วันจันทร์-วันอาทิตย์ของสัปดาห์ก่อน ในส่วนการขายที่ตลาดกลางโรงงานผู้ประมูลได้ก็จะจ่ายสัปดาห์ละ ครั้งเช่นกัน วิธีการจ่ายเงิน อาจจะเป็นเงินสด เช็คเงินสด หรือโอนเข้าบัญชี แล้วแต่จะทำการตกลงกัน
จากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วเจ้าของสวนยางพาราพอจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะขายน้ำ ยางสด ณ แหล่งไต ถ้าเป็นสวนขนาดเล็กควรขายพ่อค้าคนกลาง สวนขนาดกลางที่มีผลผลิตประมาณ 2,000 ลิตรต่อวันขึ้นไปซึ่งสามารถบรรทุกน้ำยางสดด้วยรถบรรทุกเล็ก หรือรถบรรทุกใหญ่ควรขาย โรงงาน แต่หากสวนตั้งอยู่ใกล้ตลาดกลางควรขายที่ตลาดกลางจะได้ผลกำไรเพิ่มขึ้น เจ้าของสวนขนาด กลางขึ้นไป เมื่อนำน้ำยางสดไปส่งยังโรงงานของผู้ซื้อแล้ว ควรตกลงกับโรงงานนำตัวอย่างน้ำยางสดมาหา ค่า DRC. เพื่อไว้ใช้เปรียบเทียบกับทางผู้ซื้อ

10.2 ยางแผ่นดิบ

มีแหล่งจำหน่ายหลายแหล่ง เช่นพ่อค้ารายย่อยที่มาซื้อถึงบ้าน ร้านรับ ซื้อยางพารา โรงงานยางแผ่นรมควัน และตลาดกลางยางพารา ซึ่งแต่ละแหล่งมีความเหมาะสมแตกต่างกัน พ่อค้ารายย่อย ซื้อยางพาราแผ่นดิบไปขายต่อ จึงต้องคิดราคาต่ำกว่าราคาร้านรับซื้อ ส่วนดีคือเจ้าของสวนลด ภาระในการขนส่ง ร้านรับซื้อยางแผ่นดิบ ซื้อยางพาราไปขายต่อโรงงานรมควัน หรือบางส่วนตัดไปขาย ตลาดกลาง ราคาซื้อขายก็ต้องต่ำกว่าโรงงานแต่สูงกว่าพ่อค้ารายย่อย เจ้าของสวนยางพาราจะต้องขนส่ง ยางพาราแผ่นดิบไปจำหน่ายเอง ปัจจัยในการตัดสินใจเพื่อการจำหน่ายยางพาราแผ่นดิบมี ราคาซื้อขาย และระยะทางการขนส่ง
• ราคาซื้อขาย ขึ้นกับราคาตลาดในขณะนั้นและคุณสมบัติของยางพาราแผ่น ดิบเป็นเกณฑ์ ราคาตลาดเจ้าของสวนสามารถตรวจสอบได้จากการประกาศของสถาบันวิจัยยาง ซึ่งกำหนด ราคากลางทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คุณสมบัติของยางแผ่นดิบที่ผู้ซื้อพิจารณาคือความชื้นในแผ่นยาง ขนาดของแผ่นยางและความสะอาดของแผ่นยาง เจ้าหน้าที่ของผู้ซื้อจะใช้ประสบการณ์ ในการตีราคา เช่นความชื้นไม่เกิน 2% ขนาดประมาณ 1 กก. รูปแผ่นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความหนาไม่เกิน 2-3 ม.ม. ในแผ่นยางไม่ปรากฏขยะ หรือฟองอากาศส่องดูโปร่งใส ดึงดูไม่ขาด จะเป็นยางชั้นคุณภาพ 1 ราคาจะดีที่สุด หากมีตำหนิอื่นๆ ราคาจะลดชั้นลง สถาบันวิจัยยางเคยกำหนดวิธีแยกชั้นคุณภาพยางแผ่นดิบ ไว้ แต่ผู้ซื้อรายย่อยและโรงรับซื้อยางพาราจะไม่สนใจ แต่ถ้านำไปจำหน่ายยังตลาดกลางของทางราชการ เจ้าหน้าที่ตลาดจะทำการแยกชั้นคุณภาพยางพาราแผ่นดิบให้
• ระยะทางการขนส่ง ในการขนส่งยางพาราไปจำหน่ายจะต้องคำนวณ
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วยถ้าเจ้าของสวนมีรถยนต์บรรทุกเองจะต้องคำนวณจากคิดค่าจ้างคนขับค่า เชื้อเพลิง-หล่อลื่น และค่าสึกหรอรถ สมมติจะขนยางพาราแผ่นดิบไปจำหน่ายยังสถานที่ขายที่ไกลจากสวน 100 ก.ม. ใช้รถยนต์ 6 ล้อ บรรทุก ยางแผ่นดิบจำนวน 5,000 ก.ก ค่าจ้างคนขับ 500 บาท ใช้แรงงาน ขนขึ้น-ลง 2 คน คนละ 400.- บาท จะคำนวณค่าขนส่งได้ดังนี้
1
ระยะทางไปกลับ
200 กม.
2
รถบรรทุกใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 4 ก.ม./ลิตร จำนวนน้ำมันดีเซล
50 ลิตร
3
ราคาน้ำมันดีเซล ลิตรละ 30 บาท
1,500 บาท
4
ค่าสึกหรอ 50% ของค่าเชื้อเพลิงเป็นเงิน
750 บาท
5
ค่าจ่างคนขับ
500 บาท
6
ค่าจ้างคนงานขึ้น-ลงยางดิบ 2 คน
800 บาท
7
รวมค่าใช้จ่าย
3,550 บาท
8
บรรทุกยางพาราได้
5,000 ก.ก
9
ค่าขนส่งยางพารา/ก.ก/ก.ม.
0.00355 บาท
10
หรือค่าใช้จ่ายต่อยางพารา 1 ตัน/ก.ม.
3.55 บาท
จากที่ได้กล่าวมาแล้วพอจะเป็นเครื่องตัดสินใจได้ว่าจะขายที่ไหน ในกรณีราคา ยางแผ่นดิบขึ้นลงมากเจ้าของสวนจะต้องคอยติดตามข่าวอยู่ทุกระยะ หากตกลงขายในเวลาที่เหมาะสมจะ ได้ผลกำไรเพิ่มขึ้น การเก็บสต็อกยางไว้นาน มิได้เน่าเสีย แต่ต้องควบคุมความชื้นในแผ่นยางให้เหมาะสม เท่านั้น

10.3 เศษยาง

เป็นผลผลิตชนิดหนึ่งที่ผู้กรีดยางและเจ้าของสวนจะต้องจำหน่ายแบ่งปัน รายได้กัน ผู้เก็บรักษาเศษยางก่อนจะนำไปจำหน่าย เจ้าของสวนยางและผู้กรีดยางจะต้องทำความตกลงกัน เศษยางที่ได้มาจะต้องทำการผึ่งแดดไล่น้ำในเศษยางออกให้มากที่สุดก่อนจำหน่าย เมื่อเห็นว่าปริมาณนี พอสมควรเจ้าของจะจำหน่าย ปกติมักจะจำหน่ายพร้อมกับยางพาราแผ่นดิบ ผู้รับซื้อเศษยางมีพ่อค้ารายย่อย โรงซื้อยางแผ่นดิบ และโรงานผลิตยางแท่ง ราคาซื้อขายเศษยางประมาณ 40 - 50% ของยางแผ่นดิบ และแปรผันตามชนิดของเศษยางด้วย เศษยางฟองอากาศ เศษยางกั้นจอก เศษยางก้นถัง และเศษยางประเภท อื่นๆ ราคาสูงลงไปต่ำตามลำดับ หากมีเศษยางจำนวนมากควรนำไปขายยังโรงงานผลิตยางแท่งซึ่งกำหนด ราคารับซื้อเศษยางใกล้เคียงกับยางแผ่นดิบชั้นต่ำสุด แต่การคิดเนื้อเศษยางแห้งใช้วิธีหาค่า DRC เช่นเดียวกับการซื้อขายน้ำยางสด ผู้ขายจะมีผลกำไรมากกว่าการขายที่อื่น

10.4 ไม้ยางพารา

เป็นผลผลิตสุดท้ายที่เจ้าของสวนยางพาราจะได้รับเมื่อครบรอบตัด ฟัน หรือเมื่อหยุดกรีดยางพาราแล้ว เนื้อไม้ยางพารามีประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมมาก ราคาจะขึ้นลง ตามปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ภาวะความต้องการของตลาดโลก ขนาดของไม้จำนวนของต้นยางพารา ที่คงเหลือ ความใกล้ไกลจากตลาดหรือท่าเรือ สภาพพื้นที่ปลูก เส้นทางคมนาคม ฤดูกาล และราคายางพารา แผ่นดิบและราคาน้ำยางสดเป็นต้น
• ภาวะความต้องการของตลาดโลก เนื้อไม้ยางพาราส่วนใหญ่จะส่งออกไปขาย ยังต่างประเทศ มีผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปในประเทศบ้าง แต่ไม่มากนัก เมื่อตลาดโลกนิความต้องการเนื้อไม้ ยางพารามากราคาไม้ยางพาราในประเทศก็จะปรับตัวสูงขึ้นด้วย
• ขนาดของไม้และลักษณะต้นยางพารา ต้นยางพาราขนาดใหญ่ เปราตรง สามารถนำไปปอกเป็นไม้วีเนียร์ทำผิวไม้อัดได้ หรือแปรรูปเป็นไม้หน้ากว้างตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป ราคาซื้อขายในสวนจะสูงกว่าไม้ขนาดเล็กซึ่งใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่า ขนาดของไม้ยางพารา และลักษณะของต้น ยางพาราขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ยาง ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 มีขนาดเล็กกว่ายางพาราพันธุ์ GT 1 และ PB 235 แต่พันธุ์ PB 235 มีลำต้นเปลาตรงกว่าพันธุ์ GT1 สภาพดินที่ปลูกยางพารา ยางพาราชนิด เดียวกันปลูกในดินร่วนปริมาณน้ำฝนมากย่อมมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่ปลูกในพื้นที่ดินทรายและปริมาณ น้ำฝนน้อย และอายุของต้นยางพาราต้นยางพาราที่อายุมากย่อมมีเนื้อไม้มากกว่าต้นยางพาราที่อายุน้อยกว่า
• จำนวนของต้นยางพาราที่คงเหลือในการคำนวณราคาเพื่อซื้อขายไม้ ยางพารายืนต้นจะต้องคำนึงถึงขนาดและจำนวนต้นยางพาราด้วย การซื้อขายมักจะตกลงราคาเป็นไร่ โดยคิด 1 ไร่มีจำนวนต้นยางพารา 70 ต้น หากมีต้นยางเหลืออยู่น้อยจำนวนไร่ที่ใช้ในการจ่ายเงินจะน้อยกว่าพื้นที่ จริงด้วย เช่นมีพื้นที่ปลูกยางพารา 10 ไร่ แต่มีต้นยางพาราคงเหลือ 560 ต้น ผู้ซื้อจะคิดราคาให้ 560/70 - 8 ไร่ เท่านั้น
• ความใกล้ไกลจากตลาดหรือท่าเรือ ผู้ซื้อต้นยางพาราจากสวนยางมักนำไป แปรรูปที่โรงเลื่อยไม้ยางพาราตามท้องที่ต่างๆ หากสวนยางพาราอยู่ไกลจากโรงเลื่อยมากราคาก็ต้องต่ำกว่า สวนยางพาราที่อยู่ใกล้ โรงงานแปรรูปไม้ยางพาราก็ต้องส่งเนื้อไม้ที่แปรรูปแล้วไปยังโรงงานอื่นๆ หรือท่าเรือ ตลาดของไม้แปรรูปยางพาราส่วนมากจะอยู่ที่ กรุงเทพฯ หรือชานเมือง ดังนั้นราคาเนื้อไม้ยางพารา ในภาคตะวันออกจึงสูงกว่าราคาเนื้อไม้ยางพาราในภาคใต้
• สภาพพื้นที่ปลูก ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ลาดชัน การทำไม้ออกยากกว่า ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ราบ ราคาซื้อขายย่อมต่ำกว่ายางพาราในพื้นที่ราบ
• เส้นทางคมนาคม เป็นปัจจัยสำคัญในการขนส่งไม้ยางพาราไปโรงงาน แปลง ยางพาราที่ปลูกไว้ริมถนนที่สามารถใช้ขนส่งได้ทุกฤดูกาล ราคาจะดีกว่า ยางพาราที่ปลูกไกลเส้นทาง คมนาคมที่ผู้ซื้อจะต้องทำทางเข้าไปขนไม้ยางพารา บางครั้งเป็นที่ตาบอดจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ผ่านสวนยางพาราเจ้าอื่น ราคาซื้อขายจะต่ำกว่ากรณีแรก
• ฤดูกาล เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาซื้อขายไม้ยางพาราเช่นกัน พ่อค้า ชอบซื้อเนื้อไม้ในฤดูร้อนเพราะการขนส่งสะดวก แต่คนขายหรือเจ้าของสวนขอบขายในฤดูฝน เพราะ ในช่วงฤดูร้อนยังกรีดยางพาราได้ ดังนั้นราคาซื้อขายไม้ยางพาราในฤดูฝนจึงถูกกว่าในฤดูร้อน
• ราคายางพาราแผ่นดิบและราคาน้ำยางสด ในขณะที่ราคาน้ำยางลดหรือยางพาราแผ่นดิบมีราคาดี เจ้าของสวนจะชะลอการขายต้นยางพารา ราคาไม้ยางพาราในขณะนั้นจึงสูง
การเตรียมการก่อนตัดฟัน ก่อนจะมีการโค่นล้มตัดฟันจะต้องมิขั้นตอนใน การดำเนินงานตามลำดับ ดังนี้
1) แจ้งขอรับเงินสงเคราะห์จากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) การขายยางพาราแผ่นดิบและน้ำยางสดปัจจุบัน เมื่อมีการแปรรูปน้ำยาง และส่งออกไปจำหน่ายยัง ต่างประเทศ รัฐบาลจะหักค่า พรีเมี่ยม (Premium) ไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อมอบให้สำนักงานสงเคราะห์การทำ สวนยางนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางพาราเมื่อมีการโค่นยางพาราแปลงเก่าและปลูก ใหม่ ในปี พ.ศ. 2549 จะจ่ายให้เกษตรกรไร่ละ 7,300.- บาทในเวลา 6 ปี ดังนั้นก่อนจะตัดโค่นต้น ยางพาราประมาณ 2 ปี เจ้าของสวนต้องติดต่อสำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยางในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง ทาง สกย. จะมาตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ และกำหนดช่วงเวลาการรับทุนให้
2) การขายไม้ยางพารา เมื่อ สกย.อนุมัติกองทุนให้แล้ว เจ้าของสวนจะต้องทำ
ไม้ออกเพื่อรับทุนปลูกสร้างใหม่ต่อไป วิธีการต้องติดต่อผู้ซื้อไม้ยางพารา เพื่อกำหนดเงื่อนไข ราคาต่างๆ
ปกติแล้วราคาไม้ยางพาราที่จะทำการซื้อขายจะขายเป็นไร่ และผู้ซื้อจะเตรียมพื้นที่ และปลูกสร้างสวน ยางพาราแปลงใหม่ให้ ผู้ซื้อก็จะหักค่าไม้ไว้เป็นค่าเตรียมพื้นที่และปลูกใหม่ แต่ถ้าผู้ขายประสงค์จะปลูก แปลงใหม่เอง ก็จะได้ค่าซื้อ ไม้สูงกว่าผู้ซื้อเตรียมพื้นที่และปลูกใหม่
3) การเบิกจ่ายค่างวดจาก สกย. สกย.จะไม่จ่ายเงินให้ในครั้งเดียว แต่จะจ่ายให้ เป็นงวดๆบางงวดเป็นการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือปุ๋ย สกย.จะจ่ายเป็นสารเคมีและปุ๋ยให้แทนเงินสด
เจ้าของสวนยางพาราจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ สกย.กำหนดโดยเคร่งครัด เมื่อดำเนินงาน
เสร็จแต่ละงวด ให้รายงาน สกย. สกย.จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบถูกต้องแล้วจึงจะจ่ายค่างวดต่อไป
ตอน  1  2  3  4
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147