8. การบำรุงรักษายางพารา
ความเจริญเติบโตสมบูรณ์ สามารถกรีดเอาน้ำยางพารามาใช้ประโยชน์ได้ในเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปยางพาราจะเป็นพืชชนิดโตเร็ว (Fast growing Spp.) มีความเติบโตเฉลี่ยทางเส้นรอบวงวัตที่ ระดับอก หรือ GBH (Girth at breast height) ปีละ 8-10 ซ.ม. จะทำการกรีดยางพาราเมื่ออายุหลัง ปลูก 6-7 ปี หรือมีขนาด GBH 50 ซ.ม. ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบำรุงรักษาต้นยางพาราให้ได้ขนาดที่ ต้องการภายในเวลา 6-7 ปี ถ้าการบำรุงรักษาไม่ดี โอกาส จะเปิดกรีตเพื่อสร้างรายได้จากยางพาราก็จะ ช้าไปด้วย การบำรุงรักษาที่สำคัญมี ปลูกซ่อม กำจัดความคุมวัชพืช ใส่ปุ๋ย แต่งกิ่ง ป้องกันภัย ป้องกันไฟ และสำรวจอัตรารอดตายและความเติบโต ซึ่งจะได้แยกกล่าวในรายละเอียดต่อไป
8.1 ปลูกซ่อม
หลังจากทำการปลูกไปแล้ว ต้นยางพาราส่วนหนึ่งจะตาย จากสาเหตุต่างๆ เช่นการปลูกไม่ประณีต ต้นยางพารากระทบแล้งหลังปลูก ถูกโรครา แมลง จำพวกปลวกทำลาย หรือเกิด จากภัยธรรมชาติเช่นฝนตกหนักน้ำท่วมโดนนาน หรือลมแรงกิ่งที่งอกจากตาพันธุ์ดีหัก เป็นต้น จำนวนการ ตายของยางพาราที่ปลูกยังแปรผันตรงกับวิธีการปลูกโดยวัสดุปลูกชนิดต่างๆด้วย การปลูกด้วยเมล็ดติดตา ในแปลง โอกาสการติดของตาจะน้อยหากหลังการติดตาเกิดความแห้งแล้ง ปกติจะรอดตายหรือติดตาได้ สำเร็จไม่เกิน 60% อีก 40% จำเป็นต้องปลูกซ่อม การปลูกด้วยกล้าตาเขียวหากกระทบแล้งหลังปลูก จะมี อัตราการรอดตายต่ำ ปกติไม่เกิน 70% การปลูกด้วยกล้าชำถุง จะมีอัตราการรอดตายสูงประมาณ 80% ขึ้นไป เมื่อปรากฏว่าต้นยางพาราที่ปลูกตายก็จำเป็นต้องทำการนำกล้ายางพารามาปลูกซ่อมให้เต็มพื้นที่
ช่วงเวลาที่ทำการปลูกซ่อมควรเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก ในปีแรกหลังปลูกเสร็จประมาณ 1 เดือน ระหว่างเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ในปีที่สองปลูกซ่อมตั้งแต่ต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนช่วงที่ 1 และประมาณเดือน สิงหาคม เป็นช่วงที่ 2 จะทำการปลูกซ่อมเพียง 2 ปี ปีที่ 3 เป็นต้น ไปไม่จำเป็นต้องปลูกซ่อมเพราะกล้าที่ปลูกซ่อมในปีที่ 3 จะโตไม่ทันกับกล้าต้นแรก จะกลายเป็นกล้าที่ถูก ข่ม (Suppress) ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ยกเว้นพื้นที่ที่ต้นยางพาราตาย ต่อเนื่องกันมากกว่า 3 ต้นเป็นต้นไปโดยพื้นที่นั้นไม่มีปัญหากับโครงสร้างดิน หรือมีระดับน้ำใต้ดินตื้น
กล้ายางพาราที่นำมาปลูกซ่อม ใช้กล้ายางพาราชำถุง ในปีแรกให้มีฉัตรใบ 1-2 ฉัตร และ ปลูกซ่อมในปีที่ 2 ใช้กล้ายางพาราที่เลี้ยงไว้ค้างปีมิฉัตรใบประมาณ 3-4 ฉัตร ทั้งนี้เพื่อจะได้มีความ เจริญเติบโตได้ทันกล้าที่ปลูกก่อน
ก่อนจะทำการปลูกซ่อมจะต้องทำการสำรวจ ตรวจนับว่าในพื้นที่ปลูกมีต้นตายกี่ต้น เพื่อจะได้นำกล้ายางพาราไปซ่อมได้ครบจำนวน และจะต้องทราบว่าต้นที่ตายอยู่ส่วนไหนของแปลงปลูก แสดง ตำแหน่งตายได้ง่ายๆ โดยใช้เศษกระดาษเขียนจำนวนต้นตายไว้ที่หลักหัวแถวแต่ละแถว ผู้ที่จะเข้าทำการปลูกซ่อมใช้คนงาน 2 คน จะหามกล้ายางพาราเข้าไปในแถวที่จะทำการปลูกซ่อมเท่ากับจำนวนต้นตายใน 2 แถวที่ติดกัน เมื่อปลูก ซ่อมในแถวที่ 1 เสร็จ เดินวกกลับมาแถวที่ 2 ปลูกซ่อมมาเรื่อยๆ จนหมดแถว กล้า ยางพาราก็จะหมดพอดีเมื่อหมด 2 แถว รับกล้ายางพาราชุดใหม่ เพื่อจะเข้าปลูกซ่อม ในแถวที่ 3-4 ต่อไป หากมีคนงานหลายชุด ผู้คุมงานจะเป็นผู้จัดแถวให้เข้าทำงาน
ภาพแสดงแนวทางเดินการปลูกซ่อม
8.2 กำจัดควบคุมวัชพืช
วัชพืชมีส่วนสำคัญในการยับยั้งชะลอความเจริญเติบโตของ ยางพารา จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการกำจัดและควบคุมวัชพืช ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอด ชั่วอายุของยางพารา วิธีการกำจัดวัชพืชมี 3 วิธี
8.2.1 ใช้แรงงานคน
โดยการใช้จอบถากรอบโคน ถากในแถว หรือถางระหว่าง แถว นิยมใช้ในขณะยางพารามีอายุน้อยๆ เศษวัชพืชจากการถากให้นำมาสุมโคน (Munching) เพื่อช่วย ลดการคายน้ำบริเวณโคนและเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินเป็นการช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินด้วย เศษวัชพืชที่ได้ จากการถาง
8.2.2 ใช้เครื่องจักรกล
ได้แก่การไถพรวนด้วยรถแทรกเตอร์ล้อยาง เป็นการ ปรับปรุงโครงสร้างของดิน หรือการใช้เครื่องตัดหญ้าตัดทั่วพื้นที่ เครื่องจักรกลสามารถดำเนินการได้เร็วทัน กับเวลา
8.2.3 ใช้สารเคมี
สารเคมีที่นำมาใช้มีกลุ่มหลักๆ 3 ชนิดคือ Paraquote กำจัดวัชพืชโดยการเผาไหม้ส่วนที่เป็นใบสามารถควบคุมวัชพืชได้ประมาณ 1 เดือน ชื่อทางการค้าที่รู้จัก กัน เช่น กรัมม็อกโซน น็อกโซน เป็นต้น ชนิดที่สองคือ Glyphosate กำจัดวัชพืชโดยการซึมเข้า ทำลายทุกส่วนของวัชพืช สามารถควบคุมวัชพืชได้ครั้งละ 3 เดือน ชื่อทางการค้าที่รู้จักกัน เช่น ทัชดาวน์ Roundup และ Glyphosate 48% เป็นต้น สารเคมีชนิดที่ 3 คือ Immazaphurr กำจัดวัชพืช โดยการเข้าทำลายเมตะโบลิซึม ของพืชกับยั้งการสังเคราะห์แสง วัชพืชจะยืนต้นตายในที่สุด สามารถควบคุมวัชพืชได้ครั้งละ 6 เดือน เกษตรกรมักไม่นิยมใช้เพราะราคาค่อนข้างสูง ชื่อทางการค้าคือ อัสซอลท์ การใช้สารเคมีต้อง คำนึงถึงอายุของต้นยางพาราปกติจะใช้สารเคมีเมื่อยางพารามีอายุ 3 ปีขึ้นไป ในการใช้แต่ละครั้งต้องระวัง ไม่ให้ยาเคมีฉีดพ่นถูกส่วนสีเขียวของลำต้น
เจ้าของสวนยางพาราควรจัดทำตารางการควบคุมไว้เพื่อกันการหลงลืม และตระเตรียม เงินทุนไว้ดำเนินการ ตารางการควบคุมเป็นตามตารางข้างล่าง
ใช้จอบถากรอบโคนรัศมี 0.5 เมตร
ใช้จอบถากในแถวกว้าง 2 ม. นำเศษวัชพืชสุมโคน
ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนแยกดินจากแถว ใช้ จอบถากในแถวกว้าง 2 ม.นำเศษวัชพืชสุมโคน
ใช้จอบถากในแถวกว้าง 2 เมตร เศษวัชพืชสุมโคน ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ หรือฉีดพ่นสารเคมี หรือไถพรวน
ใช้จอบถากรอบโคนรัศมี 0.5 เมตร กวาดเศษหญ้า ชุมโคน ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ หรือฉีดพ่น สารเคมี หรือไถพรวน
ถากในแถวกว้าง 2 เมตรกวาดเศษหญ้าสุมโคน ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ หรือฉีดพ่นสารเคมี หรือไถพรวน
ใช้จอบถากในแถวกว้าง 2 ม.นำเศษวัชพืชสุมโดนระหว่างแถวใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนสาดดินเข้าหาแถวปลูก
ใช้จอบถากในแถวกว้าง 2 เมตร เศษวัชพืชสุมโคน ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ หรือฉีดพ่นสารเคมี หรือ ไถพรวน
ใช้สารเคมีฉีดพ่นทั่วพื้นที่
ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนระหว่างแถวสาด ดินเข้าหาแถวปลูก
ฉีดพ่นสารเคมีในแถว ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ฉีด พ่นสารเคมี
ใช้สารเคมีฉีดพ่นทั่วพื้นที่
ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนระหว่างแถวสาด ดินเข้าหาแถวปลูก
ฉีดพ่นยาเคมีในแถว ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่หรือฉีดพ่นสารเคมี
ใช้สารเคมีฉีดพ่นทั่วพื้นที่
ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนระหว่างแถวสาดดินเข้าหาแถวปลูก
ใช้จอบถากรอบโคนรัศมี 0.5 เมตร ถางระหว่าง แถวกวาดรวมกอง หรือฉีดพ่นสารเคมี
ใช้ยาเคมีฉีดพ่นทั่วพื้นที่
ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนระหว่างแถวสาด ดินเข้าหาแถวปลูก
ฉีดพ่นยาเคมีในแถว ระหว่างแถวถางทั่วพื้นที่ฉีด หรือฉีดพ่นสารเคมี
ถางทั่วพื้นที่ ฉีดพ่นสารเคมี
การกำจัดวัชพืชควรจะดำเนินการก่อนการใส่ปุ๋ย
8.3 ใส่ปุ๋ย
ยางพาราที่นำมาปลูกปัจจุบัน เป็นยางพันธุ์ดีจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งความ เจริญเติบโตให้ได้ขนาดกรีดเมื่อถึงกำหนดเวลา 6-7 ปี เนื่องจากต้นตอพันธุ์ของยางพาราพันธุ์ดี ได้เมล็ด มาจากยางพาราพันธุ์ดีรุ่นก่อนๆ ถ้าได้ต้นตอพันธุ์ที่เป็นยางพารารุ่นแรกที่เรียกว่า พาราเดิม หรือพันธุ์ พื้นเมือง และสภาพดินที่ปลูกเป็นดินใหม่ การใส่ปุ๋ยก็ไม่จำเป็นมากนัก แต่ปัจจุบันยางพาราเดิมหรือพันธุ์ พื้นเมืองแทบไม่มีปลูกให้เก็บเมล็ดมาทำต้นตอยางพาราได้และพื้นที่ที่ปลูกส่วนมากก็เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม หรือผ่านการปลูกพืชชนิดอื่นๆ มาแล้ว ดังนั้นการปลูกยางพาราเพื่อหวังผลในทางเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องใส่ ปุ๋ย
ปุ๋ยที่ใช้กับยางพารามี 2 ชนิดคือปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการ ควบคุมมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ มีแต่การควบคุมมาตรฐานของปุ๋ยเคมี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จึงได้แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีกับสวนยางพาราโดยการใช้ปุ๋ยสำเร็จ หรือผสมเองก็ได้ โดยคำแนะนำนี้ จะเปลี่ยนแปลงสูตรปุ๋ยเป็นระยะ เป็นการปรับปรุงให้ทันสมัยตามผลงานที่ทำการวิจัยได้ โดยหลังสุดเมื่อปี 2542 สถาบันวิจัยยางได้แนะนำปุ๋ยเคมีไว้ดังนี้
8.3.1 ชนิดของปุ๋ย
ดินทุกชนิดแหล่งปลูกยางพาราเดิม
ดินทุกชนิดแหล่งปลูกยางพาราใหม่
8.3.2 ช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่ใช้สำหรับยางพาราก่อนเปิดกรีด
เวลาการใส่ปุ๋ยอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน อาจจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสม ด้วยก็ได้และพยายามใส่ปุ๋ยหลังการกำจัดวัชพืช
8.3.3 การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
ให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500 กรัมต่อต้น ครั้ง แรกลั้นฤดูฝนหลังจากยางผลัดใบเมื่อใบอ่อนเริ่มเพสลาด ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ครั้งที่สอง ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน สำหรับพื้นที่ดินใหม่หรือดินปลูกพืชคลุมดิน ใน 2 ปีแรกอาจจะไม่ต้อง ให้ปุ๋ย เพราะจะคงมีธาตุอาหารที่จำเป็นหลงเหลืออยู่
8.3.3 วิธีการใส่ปุ๋ยยางพารา มีหลายวิธี เลือกใช้ได้ตามปัจจัยต่างๆ
• การใส่แบบหว่าน เป็นการหว่านปุ๋ยทั่วบริเวณที่จะทำการใส่ปุ๋ยเหมาะกับพื้นที่สวน ยางพาราที่เป็นที่ราบและกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี ควรงดใช้กรณีมีฝนตกชุกเพราะจะทำให้น้ำฝนชะล้าง ปุ๋ยไปได้
สำหรับการกำจัดวัชพืชโดยการถาก หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วให้ สาดดินกลบ สำหรับยางพาราที่มีอายุ 1-2 ปี ให้ทำการพรวนดิน รอบโคนเป็นวงกลมตามรัศมีใบ หว่านปุ๋ยตามรัศมีใบ ซึ่งจะมีรากฝอยที่มีประสิทธิภาพจำนวนได้ผลดีที่สุด
• การใส่เป็นแถบ เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยปุ๋ยเป็นแถบตามแนวแถวยางพารา วิธีนี้ใช้กัน พื้นที่ลาดชันเล็กน้อย โดยเจาะเป็นร่อง ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ ควรใช้กับต้นยางพาราที่มีอายุ 2 ปี ขึ้นไป โดยแถบ ควรห่างจากโคนต้นประมาณ 1-1.50 เมตร ตามชั้นอายุของต้นยางพารา โดยสังเกตจากรัศมีใบเช่นกัน
ความกว้างของแถบประมาณ 1 ตาจอบ หรือใช้รถไถนาติดผานเดียวเจาะร่อง ความลึกประมาณ 5 ซ.ม. หากลึกกว่านั้นจะตัดรากยางพาราให้เสียหายได้ สำหรับยางพาราที่กรีดแล้วทำร่องให้ห่างโคนต้น 1.50 เมตร ซึ่งจะมีรากที่มีประสิทธิภาพดูดซับปุ๋ยอยู่มาก
• การใส่แบบหลุม เป็นการขุดหลุมใส่ปุ๋ยแล้วกลบ เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดชัน และพื้นที่ ที่มีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขุดหลุมข้างลำต้น 2 หลุม ในครั้งต่อไปให้เปลี่ยนหลุมให้ตั้งฉาก กับ 2 หลุมแรก ระยะห่างของหลุมจากโคนต้น เป็นไปตามชั้นอายุของต้นยางพารา ในกรณีที่กำจัดวัชพืชไม่ ทัน หรือใส่ปุ๋ยที่ไม่ตรงกับการกำจัดวัชพืชควรใช้วิธีนี้เป็นหลัก การใส่ปุ๋ยโดยวิธีนี้ลดการสูญเสียปุ๋ยได้มาก
ค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยจะสูงจากการซื้อปุ๋ย การควบคุมงานการใส่ปุ๋ยจึงเป็นสิ่งจำเป็น ใน สวนยางพาราที่มีพื้นที่มากๆ มักปรากฏการขโมยปุ๋ย ไปใช้ส่วนตัว หรือนำไปขายให้เอกชนรายอื่น ทำให้ เจ้าของสวนต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เจ้าของสวนจึงจำเป็นต้องจัดระบบการควบคุมการใส่ปุ๋ยให้ รัดกุม ขอแนะนำวิธีการดำเนินการใส่ปุ๋ย ดังนี้
ก. จำนวนคนงานต่อคนคุมงานใน 1 หมู่ ใช้คนคุมงาน 1 คนต่อคนงาน 10 คน
ข. จัดทำภาชนะตวงปุ๋ยให้คนงานตามจำนวนปุ๋ยที่ใช้แต่ละครั้ง ภาชนะนี้สามารถทำจาก ขวดน้ำพลาสติก ตัดกั้นขวดให้มีความจุเท่าจำนวนปุ๋ยที่จะใส่แต่ละต้น
ค. จ้างเหมาค่าแรงงานใส่ปุ๋ยเป็นกระสอบปุ๋ย โดยค่าจ้างแปรตามจำนวนของปุ๋ยแต่ละต้น และวิธีการใส่ การใส่แบบหว่านในพื้นที่ที่พ่นสารเคมีไว้ค่าใช้จ่ายต่อกระสอบปุ๋ยจะต่ำสุด การใส่ปุ๋ยโดยวิธี พรวนโคน หว่านปุ๋ยและกลบจะมีค่าใช้จ่ายสูงสุด การคำนวณค่าจ้างเหมาต้องคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายเตรียม ดินและค่าใส่ปุ๋ยของวิธีใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง
ตัวอย่าง การคำนวณค่าแรงงานเพื่อจ้างเหมาตามตารางข้างล่าง
ตัวอย่าง การคำนวณค่าแรงงานเพื่อจ้างเหมาตามตารางข้างล่าง
- ดินร่วนเหนียว พรวนโคน ใส่ปุ๋ยและกลบหลุม
- ดินร่วนทราย พรวนโคน ใส่ปุ๋ยและกลบหลุม
- ดินทุกชนิด พรวนโคน ใส่ปุ๋ยและกลบหลุม
- ดินทุกชนิด หว่าน ใส่เป็นแถบ และขุดหลุม
- ยางพารากรีดแล้ว
ค่าใช้จ่ายผันแปรที่จะทำให้ค่าจ้างเหมาคนงานใส่ปุ๋ยเปลี่ยนแปลงไปคือค่าเตรียมดิน และค่าใส่ปุ๋ย ดินร่วน เหนียวจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าดินชนิดอื่น ดินร่วนทรายมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด การพรวนรอบโคนค่าใช้จ่ายสูง กว่าการขุดร่อง ค่าขุดหลุม จะมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด จำนวนปุ๋ยน้อยค่าใช้จ่ายน้อย
ง. การมอบปุ๋ยให้คนงานนำไปใส่แต่ละวัน โดยปกติปุ๋ยจะเก็บไว้ในโรงเก็บ เมื่อจะมีการ ใส่ปุ๋ยแต่ละวัน ผู้ควบคุมงานจะต้องนำคนงานมาเบิกปุ๋ยจากเจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุจะจ่ายปุ๋ยให้เท่าที่ จะสามารถดำเนินการได้ในวันนั้นๆ และเมื่อเลิกงานให้ผู้คุมงานนำกระสอบปุ๋ยที่เบิกไปมาคืนให้ครบถ้วน
จ. ผู้คุมงานการใส่ปุ๋ย เมื่อนำคนงานไปใส่ปุ๋ยในแปลงแล้ว ต้องติดตามสอดส่องการทำงาน ของคนงานอย่างใกล้ชิด หลังจากทำการกลบหลุมหรือสาตดินทับปุ๋ยแล้ว อาจจะสุ่มตรวจโดยการเขี่ยดินดู ปุ๋ยที่คนงานใส่ไว้ก็ได้
ค่าใช้จ่ายผันแปรที่จะทำให้ค่าจ้างเหมาคนงานใส่ปุ๋ยเปลี่ยนแปลงไปคือค่าเตรียมดิน และค่าใส่ปุ๋ย ดินร่วน เหนียวจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าดินชนิดอื่น ดินร่วนทรายมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด การพรวนรอบโคนค่าใช้จ่ายสูง กว่าการขุดร่อง ค่าขุดหลุม จะมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด จำนวนปุ๋ยน้อยค่าใช้จ่ายน้อย
การใส่ปุ๋ยหากดำเนินการได้ถูกต้องครบถ้วนตามวิธีการที่กำหนดภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนจะพบการเปลี่ยนแปลงของยอดยางพาราโดยจะมีใบอ่อนงอกออกมามากมาย ช่วยเพิ่ม ความเจริญเติบโตให้แก่ต้นยางพาราต่อไป
8.4 การตัดแต่งกิ่ง
ต้นยางพาราพันธุ์ดี ก่อนจะทำการเปิดกรีดเอาน้ำยางพาราควรมีลำต้นเปลาตรง (Clear Bole) ประมาณ 3 เมตรจากพื้นดิน เพื่อสะดวกในการเปิดหน้ากรีด ช่วยทำให้ลมพัดโกรกได้ดี ลด ความชื้นในแปลงป้องกันการเกิดโรคราในแปลงได้ระดับหนึ่ง และที่สำคัญเมื่อต้นยางพาราใกล้ครบรอบตัด ฟันสามารถกรีดยางพาราหน้าสูงได้ และจำหน่ายต้นไม้ได้ราคาดี เพราะราคาไม้ยางพาราจะมีราคาดีในส่วน ที่สามารถนำไปปอกเป็นวีเนียร์ทำผิวไม้อัดได้
ต้นยางพาราพันธุ์ดีจะแตกกิ่งมากน้อยในขณะกำลังเจริญเติบโตตามลักษณะจำเพาะของแต่ ละชนิดพันธุ์ยางพาราจะแตกกิ่งมากเมื่อมีการชะงักความเจริญเติบโต ในช่วงกระทบกับความแห้งแล้ง หรือขาดปุ๋ย เพื่อปรับรูปทรงให้ได้ตามกำหนด จึงจำเป็นต้องมีการแต่งกิ่งยางพาราทุกระยะเมื่อตรวจพบมีกิ่งงอก ออกมา จะทำการแต่งทิ้งประมาณ 3 ปีโดยมีหลักการดังนี้
ตัดทุกกิ่งที่สูงจากพื้น 30 ซม.ลงมา
ตัดทุกกิ่งที่สูงจากพื้น 130 ซม.ลงมา
ตัดทุกกิ่งที่สูงจากพื้น 300 ซม.ลงมา
การแต่งกิ่งจะต้องคำนึงถึงยอดของต้นยางพาราที่เหลือด้วย เพราะหากตัดแต่งกิ่งออกไป มาก ใบยางพาราที่มีหน้าที่สังเคราะห์แสงจะลดน้อยลงไปด้วยทำให้ความเจริญเติบโตลดน้อยลง ปกติจะตัด กิ่งออกแต่ละครั้งประมาณ 1 ใน 3 ของเรือนยอด ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตัดแต่งกิ่ง ในปีแรกตัด แต่งได้ตลอดเวลา ปีที่ 2 และ 3 ควรดำเนินการเมื่อยางพาราเริ่มชะงักการเจริญเติบโต ประมาณเดือน ธันวาคม-มกราคม
อุปกรณ์ในการตัดกิ่ง ในปีแรกที่ค้นยางพารายังไม่สูง ใช้คีมตัดกิ่ง เมื่อยางพาราเริ่มสูงขึ้น อาจจะใช้ทีมตัดช่อผลไม้ต่อด้าม หรือเลื่อยแต่งกิ่งไม้ก็ได้ ห้ามโน้มลำต้นยางหาราลงมาตัดกิ่ง เพราะจะทำ ให้ท่อน้ำยางได้รับความเสียหายส่งผลกระทบต่อผลผลิตในอนาคต ตำแหน่งที่ตัดกิ่งควรห่างจากลำต้น ประมาณ 1-2 ซม. เพื่อไม่ให้มีตาที่โคนกิ่งหลงเหลือ และแห้งยุบตัวได้ไวเปลือกสามารถคลุมพื้นที่ได้เร็ว ขึ้น กรณีใช้เลื่อยแต่งกิ่งควรหงายใบเลื่อยทำการบากหน้าเสียก่อนจึงจะเลื่อยคัดจากด้านบน เพื่อป้องกัน เปลือกฉีกขาด
8.5 ป้องกันภัย
• ภัยจากคน เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากเจตนาที่ไม่หวังดีต่อเจ้าของสวน ยางพารา ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักได้แก่การไม่เข้าใจในขั้นตอนของการบำรุงรักษา การถากวัชพืชรอบ โคน หรือในแถว หรือพรวนโคนดำเนินการใกล้โคนต้นยางพาราขนาดเล็กทำให้กระทบกระเทือนถึงเรือน ราก การถางในแถวโดยมีดหรือเครื่องตัดหญ้าตัดลำต้นของต้นยางพารา หรือ มีดบาดลำต้น เป็นแผล การ พ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชถูกยอดยางพาราทำให้ยอดของต้นยางพาราเหี่ยวเฉา หรือการใส่ปุ๋ยใกล้บริเวณโคน ทำให้ต้นยางพาราเที่ยวตาย เป็นต้น ภัยที่เกิดจากเจตนา เช่นโกรธแค้นเจ้าของสวนยางพารา มาแอบฟันต้น ยางพาราทิ้ง หรือใช้ยาฆ่าตอรดบริเวณโคนต้นทำให้ต้นยางพาราตายเป็นต้น
การป้องกันและแก้ไข ภัยที่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์สามารถแก้ไขได้โดยการให้ความรู้ และควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิต สำหรับภัยจากการเจตนาจำเป็นต้องแก้ไขโดยกระบวนการมวลชน สัมพันธ์และทางนิติศาสตร์
• ภัยจากสัตว์ เกิดได้ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ภัยจากสัตว์เลี้ยง พบมากคือวัว ควายเข้ามา กินหญ้าในแปลงปลูกยางพาราเหยียบย่ำถูกต้นยางขนาดเล็กเสียหาย หรือใช้ลำตัวเสียดสีกับเปลือกต้นยาง
การป้องกันและแก้ไข การล้อมรั้ว หรือการกำจัดวัชพืชที่เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง จะ ป้องกันได้ส่วนหนึ่งในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยามระวังสัตว์เลี้ยง ติดป้ายตักเตือนเจ้าของสัตว์ หรือพบปะ พูดคุยกับเจ้าของสัตว์ หากดำเนินการแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ในส่วนของสัตว์ ป่าการทำแปลงให้เตียนโล่งอยู่โดยสม่ำเสมอป้องกันเม่นและหมีได้ สำหรับช้างป่าป้องกันได้โดยงดปลูกพืช อาหารช้างในพื้นที่ปลูกยางพาราจะทำให้ปัญหาเบาบางลง
• ภัยจากโรค รา แมลง ที่มักจะพบในแปลงยางพาราคือโรคใบยางพาราร่วงในช่วงฤดูฝน ที่เกิดจากรา ไฟทอปธอร่า ซึ่งเกิดกับยางพาราบางชนิดโดยเฉพาะพันธุ์ RRIM 600 โรคราดำทำลายท่อน้ำ ยางทำให้ยางพาราหน้าแห้งไม่มีน้ำยางพาราไหล โรคราสีชมพูที่กึ่งของยางพาราขนาดใหญ่ ในส่วนของเม ลงที่พบมากคือปลวกกัดกินเปลือกรากที่แห้ง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างดินกับรากต้นยางพาราทำให้ต้น ยางพาราเหี่ยวตาย ตัวด้วง หนอนทราย เพลี้ย หอย สามารถกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง
การป้องกันและแก้ไข ต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขจากสาเหตุของโรครานั้น โรคใบ ร่วงจาก รา ไฟทอปธอร่า ก่อนปลูกจะต้องศึกษาจากแผนที่ขอบเขตโรคระบาดยางพาราก่อนว่าเขตพื้นที่ที่ จะปลูกนั้นมีการระบาดของโรคนี้หรือไม่ หากมีต้องงดปลูกยางพาราพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ แต่หากปลูก ไปแล้ว วิธีป้องกันเบื้องต้นคือ หยุดการแพร่กระจายของเชื้อราชนิดนี้ เชื้อราชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อไปทาง อากาศได้ พาหะของราชนิดนี้คือคน รถยนต์ ที่เคยผ่านแปลงที่มีราชนิดนี้ระบาด หรือเครื่องมือกรีดยางพารา ที่เคยใช้กับแปลงที่มีราชนิดนี้มาก่อนโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามการป้องกันก็ทำได้ยากยิ่ง ผลกระทบของโรค นี้ จะทำให้น้ำยางพาราลดปริมาณลงเพราะใบสีเขียวที่มีคลอโรฟิลล์ถูกทำลายการสร้างอาหารโดยการ สังเคราะห์แสงลดลง ดังนั้นหลังจากการเกิดไปร่วงผ่านไปแล้ว เจ้าของสวนจะต้องปรับปรุงแปลงปลูกโดย การใส่ปุ๋ย ยูเรีย เร่งการงอกของใบเพื่อให้การสังเคราะห์แสงเป็นไปตามปกติ
ราดำที่ทำให้หน้ากรีดยางพารา “หน้าแห้ง” มักเกิดในช่วงอากาศชื้น สาเหตุจากการกรีด ยางพาราบาดเนื้อไม้เชื้อราเข้าทำลายท่อน้ำยางพาราทางแผลนั้น จะต้องระมัดระวังในการกรีดและทายากัน เชื้อราดำหลังกรีดโดยสม่ำเสมอ และไม่กรีดยางพาราเกินระบบกรีดที่วางไว้ เช่นหากกำหนดการกรีดเป็น ครึ่งลำต้น กรีด 1 วัน เว้น 1 วัน ในช่วงอากาศชิ้นต้องไม่เพิ่มวันกรีดกว่าที่กำหนด
ราสีชมพู ทำลายกิ่งยางพารา หากตรวจพบให้ทำการตัดกิ่งนั้นไปเผาไฟป้องกันการระบาด
สู่ต้นอื่นๆ
ภัยจากโรครานี้ในโรคบางตัวระบาดได้เร็วมาก ประเทศศรีลังกา เคยประสพปัญหานี้ รัฐบาลต้องทำการแก้ไขโดยเปลี่ยนชนิดพันธุ์ที่เป็นโรคทั้งประเทศซึ่งเป็นความสูญเสียไม่น้อย ดังนั้นก่อน การปลูกจึงจำเป็นต้องศึกษาแผนที่พันธุ์ยางของกรมวิชาการเกษตรอย่างละเอียด
• อาการเปลือกแห้งของต้นยางและการป้องกัน อาการเปลือกแห้งของต้นยาง คือ การที่ต้นยางแสดงอาการผิดปกติ โดยหลังจากกรีดอาจมี น้ำยางไหลออกมาเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไหลเลยและอาการแบบนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิด กรีด การเกิดอาการเปลือกแห้งนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคสาเหตุ จึงไม่ถ่ายทอดจากต้นสู่ต้นแต่เป็นการผิดปกติ ทางสรีรวิทยา โดยมีสาเหตุหลักมาจาก พันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยไดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน
ในปัจจุบันได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในทุกเขตปลูกยางมีอัตราการแสดงอาการ เปลือกแห้งเฉลี่ยร้อยละ 2-27 และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
การเกิดอาการเปลือกแห้ง
1. อาการเปลือกแห้งแบบชั่วคราว เป็นอาการที่ค้นยางให้ผลผลิตน้ำยางลดลงมาก และ เกิดขึ้นกับต้นยางจำนวนมากในแปลงเดียวกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการกรีดถี่ การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางไม่ เหมาะสม หรือสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งเกินไป เมื่อพักกรีตระยะหนึ่ง มีการบำรุงรักษาต้นยางและมีฝน ตามฤดูกาลอาการผิดปกตินี้ก็จะหายไป
2. อาการเปลือกแห้งแบบถาวร เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางน้อยมากหรือไม่ให้ ผลผลิตเลย พบในบางต้นเท่านั้น อาจเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นติดต่อกัน ซึ่งพบได้ใน 2 ลักษณะ คือ
- เกิดขึ้นบริเวณได้รอยกรีด ลุกลามลงไปถึงบริเวณเท้าช้าง ลักษณะนี้พบมากในเขตปลูก
ยางเดิม
- เกิดจากบริเวณเท้าช้าง ลุกลามขึ้นไปด้านบน ลักษณะนี้พบมากในเขตแห้งแล้ง
สาเหตุการเกิดอาการเปลือกแห้ง อาจเกิดจากปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน
1. สภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพที่ตั้งของสวนยาง สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน รวมถึง โครงสร้างของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูก มีรายงานว่าในสภาพแห้งแล้งต้นยางมีโอกาสแสดง อาการเปลือกแห้งค่อนข้างสูงกว่าในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
2. พันธุ์ยาง อาการเปลือกแห้งเป็นลักษณะประจำพันธุ์อย่างหนึ่ง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง มีโอกาสที่จะแสดงอาการเปลือกแห้งสูงและมีพันธุ์ยางบางชุดมีแนวโน้มที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง เช่น ยางพันธุ์ตระกูล PB เป็นต้น
3. ระบบกรีด ระบบกรีดถี่จะมีโอกาสทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งสูงกว่าระบบ กรีดที่แนะนำ เพราะน้ำยางที่ไหลออกเนื่องจากการกรีดมีปริมาณมากกว่าน้ำยางที่สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่
4. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง เป็นการยึดระยะเวลาหยุดไหลของน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหล นานขึ้น ความถี่ของการทาและความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยางจะมีผลทำให้การเกิดอาการเปลือกแห้งเร็ว และรุนแรงขึ้น
5. สาเหตุที่ไม่แน่ชัด อาจจะพบในต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด หรือต้นยางที่สมบูรณ์และปลูก ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือต้นยางที่กรีดด้วยระบบปิด ก็อาจพบว่ามีอาการเปลือกแห้ง แต่ไม่ สามารถวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด
ลักษณะการเกิดอาการเปลือกแห้ง
ลักษณะภายนอกของลำต้นที่แสดงอาการเปลือกแห้ง มีดังนี้
1. ต้นยางที่เริ่มแสดงอาการเปลือกแห้ง ลำต้นไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่สังเกตได้จาก ผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ระยะแรกผลผลิตต่อต้นเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด น้ำยางหยุด ไหลช้า ความเข้มข้นลดลง หลังจากนั้นผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว น้ำยางบนรอยกรีดแห้งเป็นช่วง ๆ และ หยุดไหลในที่สุด
2. ถ้าต้นใหญ่กว่าปกติ เป็นที่สังเกตว่าต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งจะมีขนาดของลำ ต้นใหญ่กว่าต้นปกติมาก เมื่อต้นยางไม่มีการสร้างน้ำยาง สารอาหารที่ต้นยางสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว ลำต้นจึงใหญ่กว่าต้นปกติ
5. ลำต้นบิดเบี้ยว โดยจะเห็นได้จากส่วนของเปลือกที่ลำต้นบิดเบี้ยวไปจากปกติมาก หลังจากพักกรีดระยะเวลาหนึ่งแล้ว
6. รอยแผลสีน้ำตาล เห็นจุดสีน้ำตาลบนรอยกรีด เมื่อขูดเปลือกชั้นนอกออกก็จะเห็นรอย แผลสีน้ำตาลกระจายลงไปถึงรอยเท้าช้าง ขนาดและจำนวนของแผลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
ลักษณะภายในของเปลือกยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง
ลักษณะภายนอกของลำต้นที่แสดงอาการเปลือกแห้ง มีดังนี้
อาการผิดปกติระดับเซลล์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องตรวจสอบด้วยกล้อง จุลทรรศน์ จึงพบลักษณะเซลล์ที่ผิดปกติ โดยเกิดเซลล์อุดตันขึ้นภายในท่อน้ำยาง
การรักษาต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง
มีการพยายามศึกษาวิธีรักษาต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งแบบถาวรในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย วิธีการดำเนินการค่อนข้างยุ่งยากค่าใช้จ่ายสูงแต่ให้ผลระยะหนึ่งเท่านั้น อาการเปลือก แห้งก็เกิดขึ้นอีกจึงควรเน้นที่การป้องกันจะได้ผลมากกว่า
การป้องกันและการเกิดอาการเปลือกแห้ง
1. เมื่อสังเกตพบความผิดปกติในการให้น้ำยางของต้นยาง เช่น น้ำยางหยุดไหลเป็นระยะ บนหน้ากรีด ควรหยุดกรีดสักระยะหนึ่ง หรือปรับระบบกรีดใหม่ เพื่อให้ต้นยางมีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการสร้างน้ำยางขึ้นมาทดแทน
2. ดินปลูกยางพาราที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูก พืชคลุมดินตระกูลถั่วและ/หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยในการ ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
3. ไม่ควรเปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดเล็กหรือใช้ระบบกรีดลี่กับสวนยางที่อยู่ในเขตที่มี ปริมาณน้ำฝนจำกัดและควรหยุดกรีดยางในระยะที่ต้นยางมีการผลิใบใหม่
4. สานยางที่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยางควรมีต้นยางที่เจริญเติบโตดี ต้นโต เปลือกหนาและใช้ ระบบกรีดที่มีวันหยุด ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับพันธุ์ยางที่มีการตอบสนองต่อสารเคมีเร่งน้ำยางน้อย ได้แก่ พันธุ์ BPM 24, พันธุ์ PB 235, พันธุ์ PB 255, พันธุ์ PB 250, พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 250 และพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในช่วงแล้ง ช่วงที่ต้นยาง ผลัดใบและผลิใบใหม่ ช่วงอากาศหนาวซึ่งน้ำยางจะไหลนานกว่าปกติอยู่แล้วโดยเฉพาะในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• ภัยจากธรรมชาติ เกิดจากความปรวนแปรของธรรมชาติรอบตัว เช่น ฝนตกหนักเกิด น้ำท่ามแปลงยางพาราขนาดเล็กแช่ขังอยู่หลายวัน ฝนทิ้งช่วงเกิดความแห้งแล้ง บางครั้งเกิดไฟป่าลุกเผาไหม้ แปลงปลูก ลมแรง ทำให้ต้นยางพาราโค่นล้ม ลมพายุหมุน ทำให้กึ่งยางพาราหัก หรือพายุไต้ฝุ่นทำลายพื้นที่ สวนยางพาราเป็นบริเวณกว้างเช่นกรณีได้ฝุ่นเกย์ในปลายปี พ.ศ. 2532 ทำลายสวนยางพาราในจังหวัด ชุมพร แผ่นดินไหวทำให้เกิดแผ่นดินแยกหรือยุบตัว บางครั้งแผ่นดินไหวในทะเลก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ ชูนามิ ซัดใส่สวนยางพาราที่ปลูกริมทะเลได้รับความเสียหาย เฉกเช่นปลายปี พ.ศ. 2547 ที่ 6 จังหวัดภาคใต้เป็น ต้น
การป้องกันและแก้ไข
ภัยจากธรรมชาตินับเป็นภัยที่ป้องกันแก้ไขได้ยาก เพราะเจ้าของ สวนจะไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดภัยใดขึ้นในเวลาใด แต่ภัยธรรมชาติที่ไม่รุนแรงก็แก้ไขได้บ้าง เช่น
1 การป้องกันลมที่เกิดจากลมมรสุมซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราที่มีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไปล้มจากลมมรสุมที่พัดแรง ได้แนะนำไว้แล้วในขั้นตอนของการปักหลักหมายปลูกแต่บางครั้ง กำหนดทิศทางของหลักไม่ได้หากเกิดลมมรสุมพัดแรงจะปรากฏในกรณีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงยางพาราลิ้มก่อนหน้าที่จะตัดแต่งกิ่ง หรือล้มไปก่อนแล้ว แก้ไขได้โดยการตัดยอดของต้นที่ล้ม แล้วใช้รถ แบคโฮ ขุดหลุมฝังใหม่ หรือขุดหลุมด้วยแรงคนปลูกใหม่ก็ได้
2 การป้องกันไฟไหม้สวนยางพารา ที่เกิดจากความแห้งแล้ง ในประเทศไทยจะ เกิดความแห้งแล้งในช่วงปลายปีถึงต้นปีระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน การปลูกสร้างสวนยางพาราเป็น การลงทุนสูง หากถูกไฟไหม้เสียหายค่าตอบแทนต่างๆ ที่จะได้รับเป็นศูนย์ จึงจำเป็นต้องป้องกันไฟไหม้ อย่างได้ผล หลักการสำคัญของการป้องกันไฟคือการลดวัชพืชออกจากแปลงให้มากที่สุด เมื่อมีวัชพืชอยู่ น้อยไฟก็ไม่เกิดขึ้นในแปลง การป้องกันไฟมีหลายวิธี แต่ที่ได้ผลที่สุดสำหรับการป้องกันไฟในแปลง ยางพาราคือ
2.1) ใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวนระหว่างแถวของยางพารา โดยใช้รถ แทรกเตอร์ล้อยางติดผานไถ 7 จาน ไถระหว่างแถวดำเนินการระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม จะทำให้ วัชพืชถูกไถพลิกทับอยู่ได้ผิวดิน สำหรับขี้ไถในแปลงยางพาราอายุ 1 ปีไถแยกจากโคน ยางพาราอายุ 2-6
2.2) การทำแนวป้องกันไฟ วิธีนี้ใช้กับสวนยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ลาดชันทุกชั้นอายุ และยางพาราที่เปิดกรีดแล้วทุกสภาพพื้นที่ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเครื่องจักรเข้าไปทำงานไม่ได้ วิธีการ ทำแนวกันไฟ โดยการใช้จอบถากวัชพืช กวาดรวมกองกลาง และทำการชิงเผา แนวกันไฟที่จะทำ ทำรอบ เขตแปลง ริมทางตรวจการ และทำแนวย่อยในแถวยางพาราเพื่อให้มีวัชพืชหลงเหลืออยู่น้อยที่สุด และถ้า สามารถถากวัชพืชออกจากแปลงปลูกมาเผาได้มากที่สุดก็จะปลอดภัยที่สุด อย่างไรก็ตามกรณีมีพื้นที่มากๆ การจะทำให้วัชพืชหมดสิ้นไปในครั้งเดียวจะไม่ทันกับความแห้งแล้ง จึงควรทำกิจกรรมต่างๆ เป็นขั้นเป็น ตอน ดังนี้
ก. ทำแนวกันไฟรอบแปลง และทางตรวจการก่อนโดยถากหญ้าด้วยจอบกว้าง ประมาณ 20 เมตร กวาดวัชพืชรวมกลางแถวยางพาราและทำการชิงเผาในเวลากลางคืน การชิงเผาควร ระวังมิให้มีความรุนแรงโดยจำกัดกองเชื้อไฟให้มีขนาดเล็ก และห่างต้นยางให้มากที่สุด
ข. ต่อมาทำแนวซอยเข้ากลางล็อคที่เหลือไปเรื่อยๆ จนหมดพื้นที่
ค. การดำเนินการในพื้นที่ลาดชั้น ในขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการเช่นเดียวกับพื้นที่ราบ โดยทำแนวกันไฟรอบเขตแปลง ในบางพื้นที่ไม่มีทางตรวจการจึงให้ซอยทำแนวกันไฟในพื้นที่ตามแนว แบ่งตอน แต่ในขั้นตอนที่ 2-3 ใช้ถากกองกลางแถวโดยไม่ถางขึ้นลงเขาตามขั้นตอนที่ 1
ข้อควรระวังในการทำแนวกันไฟและชิงเผา
1. ระหว่างทำแนวป้องกันไฟและชิงเผาไม่เสร็จ จะใช้ยามระวังไฟในเวลากลางคืน
2. แปลงที่จะทำการถากเตียนในแนวกันไฟได้จะต้องกำจัดวัชพืชมาอย่างต่อเนื่อง
3. ในกรณีพื้นที่ลาดเทการทำแนวกันไฟในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ควรกองเศษวัชพืชไว้ใกล้ แถวที่อยู่ข้างล่างมากกว่าข้างบน เพราะเวลาเผาไฟยอดไฟจะเอียงขึ้นเขา กองวัชพืชควรมีความกว้างไม่เกิน 50 ซม.
4. วัชพืชที่ถางหรือถากไว้ให้ทำการเผาโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้เกิน 7 วัน ควรจะชิงเผาขณะที่ เศษวัชพืชมีความชื้นหลงเหลืออยู่บ้าง จะทำให้การชิงเผาสะดวกขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเนื้อที่ด้วย หาก พื้นที่เป็นผืนใหญ่ควรวางแผนการถางวัชพืชเป็นตอนช่วย และชิงเผาไปตามลำดับ ไม่ควรถางวัชพืชหมด คราวเดียวทั้งแปลงแล้วค่อยจุดเพราะจะทำให้หญ้าแห้งกรอบ ไฟไหม้รุนแรง
5. ช่วงเวลาการชิงเผาที่ดีที่สุดระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงอากาศเย็น ใช้ เวลาระหว่าง 18.00 น. - 24.00 น.
6. การเริ่มเผาให้เริ่มจากทางใต้ลมก่อนเสมอ โดยเลือกแถวที่อยู่ได้สมที่สุด และในแถวก็ให้ เผาจากใต้ลมเช่นกันเมื่อแถวแรกไฟไหม้ไปประมาณ 10 เมตร จึงเผาแถวที่ 2 โดยใน 1 แถวมีคนงาน ประจำ 2 คน สำหรับในพื้นที่ลาดเท ให้เริ่มเผาจากยอดเขาลงหาตีนเขา
7. อุปกรณ์ประจำตัวคนงานที่มีหน้าที่ ชิงเผาคนที่ 1 มีถังฉีดน้ำ คนที่ 2 มีไม้ตีไฟ เมื่อไฟลุก แรงคนงานทั้ง 2 จะชะลอการลุกไหม้ด้วยการใช้อุปกรณ์ดับไฟที่มี และเมื่อเผาแต่ละแถวเสร็จแล้วจะทำ การดับไฟที่องไม้เศษไม้ปลายไม้เป็นถ่านไฟให้หมด
8) ในเช้าของวันรุ่งขึ้นจะต้องจัดคนงาน 1 หมู่ออกตรวจสอบบริเวณที่เผาผ่านไปแล้วเมื่อคืน หากปรากฏมีไฟยังคุกรุ่นอยู่ในแปลงปลูกให้คับให้หมด เวลาที่ตรวจสอบที่ดีที่สุดคือประมาณ 11.00 น. ซึ่งแตดเริ่มร้อนขึ้น
อย่างไรก็ดี การจำกัดวัชพืชอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะช่วยให้การชิงเผากระทำได้ง่ายและ ไม่มีผลกระทบต่อต้นยาง กล่าวคือ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวให้หมดจากแปลงตั้งแต่ ยังมีขนาดเล็ก และเมื่อวัชพืชเปลี่ยนสภาพเป็นใบเลี้ยงคู่ ให้ทำการกำจัดบ่อยครั้งให้ย่อยสลายในฤดูฝนให้ มากจะช่วยให้มีเศษวัชพืชเหลือตกค้างในฤดูแล้งน้อยลงมาก
8.6 สำรวจอัตรารอดตายและความเจริญเติบโต
สำรวจอัตรารอดตายและความเติบโต เป็นการประเมินผลการทำงานที่ผ่านมาในทุกๆปี ว่า มีความสำเร็จ หรือผิดพลาดประการใด เพื่อจะได้แก้ไขได้ในปีต่อไป ข้อมูลที่ต้องสำรวจ คือ
• เปอร์เซ็นต์รอดตาย คือจำนวนต้นยางพาราที่รอดตายในแต่ละปี การปลูกยางพารา โดยทั่วไปควรมีจำนวนต้นรอดตายในปีแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ปีที่สองไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 และปีที่ สามไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 จึงจะประสพผลสำเร็จ
• ความโตทางเส้นรอบวงระดับอก (Girth at Breast high) หรือเรียกย่อๆว่า GBH คือความโตทางเส้นรอบวงในระดับ 1.50 ม. ใช้หน่วยวัดเป็น เซนติเมตร ยางพาราเป็นพืชโตเร็ว
• ความสูง ต้นยางพาราจะมีความสูงเฉลี่ยเมื่อโตพร้อมกรีดที่อายุ 6-7 ปีประมาณ 12-15 เมตรตามลักษณะของแต่ละชนิดพันธุ์และการจัดระยะปลูกดังนั้นความสูงเฉลี่ยทุกปีน่าจะเพิ่มขึ้นปีละ 2 เมตรเป็นอย่างน้อยถ้าเริ่มปลูกทันในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี การวัดความสูงวัดจากพื้นดินถึงเรือนยอด นิยมใช้หน่วยวัดเป็นเมตร
ช่วงเวลาของการดำเนินการควรดำเนินการเมื่อต้นยางพาราชะงักการเจริญเติบโตจากความ แห้งแล้งประมาณเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ข้อมูลทั้งสามอย่างสามารถตรวจวัดพร้อมกันได้ จำนวนต้นที่เป็นตัวอย่างที่ใช้ตรวจวัดขึ้นอยู่กับปริมาณพื้นที่ที่ปลูก โดยข้อเท็จจริงแล้วหากสำรวจตรวจวัด ได้ถึง 100% ข้อมูลจะถูกต้องมาก แต่ถ้าปริมาณพื้นที่มากๆก็จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงขอแนะนำ ให้ดำเนินการแปรผันกับพื้นที่ โดยพื้นที่ 1-10 ไร่ สำรวจ 100% พื้นที่ระหว่าง 10-50 ไร่สำรวจ 50% และพื้นที่มากกว่า 50 ไร่สำรวจ 20%
วิธีการสำรวจในกรณีน้อยกว่า 100% เช่นกรณี 50% สำรวจ 1 ต้น เว้น 1 ต้น หรือสำรวจ 1 แถว เว้น 1 แถวก็ได้ แต่การสำรวจวิธีเว้นต้นจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายกว่าวิธีเว้นแกว จึงขอแนะนำวิธีเว้นแถว
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ
1. เทปวัดระยะสำหรับวัดตัวของช่างตัดผ้ายาว 1 เมตร
2. ไม้บรรทัดสำหรับวัดความสูง จัดทำเอง โดยมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร มีหน่วย วัดระยะเป็นเซนติเมตรและเมตร ดินสอหรือปากกาสำหรับบันทึกข้อมูลในสมุดสนาม (Field Book)
3. สีน้ำมันและพู่กันสำหรับใช้ทำเครื่องหมายหมายแถวที่ตรวจวัด
4. สมุดสนาม (Field Book) สำหรับใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะตามตัวอย่างข้างล่าง โดยต้นที่ตายให้ทำเครื่องหมาย กากะบาด หรือเครื่องหมาย ลบ ต้นที่เป็นให้บันทึกความเจริญเติบโต
ในการจัดทำสมุดสนามนิยมใช้กระดาษพิมพ์สั้น หรือกระดาษสมุด โดยกำหนดช่องให้สามารถณก็บข้อมูล ให้มากที่สุด เพราะในแต่ละแถวของต้นยางพารามีจำนวนมากน้อยขึ้นกับขนาดของพื้นที่ปลูก
วิธีการสำรวจ
1. คนงานใน 1 หมู่มี 3 คน คนแรกเป็นหัวหน้าหมู่มีหน้าที่เลือกแถวและใช้สีน้ำมันทำ เครื่องหมายไว้ โดยถ้าสำรวจ 50% จะเลือกแถวแรกโดยการสุ่มว่าจะใช้แถว 1 หรือ 2 สมมติว่าเลือกได้ แถวที่ 1 จะเขียนเลขที่หัวแถวว่า 1 3 5.....ไปเรื่อยๆ และถ้าสำรวจ 20% จะเลือกแถวแรกโดยการสุ่ม 1 ใน 5 แถวแรก แถวที่สุ่มได้ จะเขียนเลขหัวแถวตามชื่อแถว สมมติว่าสุ่มได้แถวที่ 3 จะเขียนที่หัวแถว ว่า 1 แถวที่จะสำรวจต่อไปจะนับไป 5 แถวซึ่งจะได้แก่แถวที่ 8 จะเขียนที่หัวแถวว่า 5 เช่นนี้ไปเรื่อยๆ และคนงานผู้นี้จะมีหน้าที่บันทึกข้อมูลในสมุดสนามด้วย
คนงานคนที่ 2 มีหน้าที่วัดความโต ที่ความสูงระดับอกและนับจำนวนต้นที่ตาย ในกรณี ยางพาราปลูกปีแรกและปลูกล่าช้ากว่าเดือนพฤษภาคม จะทำให้ความสูงไม่ถึง 1.5 เมตรทั้งหมดให้วัด ความโตที่ผิวดินทั้งหมดแทน ทั้งนี้ให้หมายเหตุไว้ในแบบสมุดสนามด้วย
คนงานคนที่ 3 มีหน้าที่วัดความสูงโดยใช้ไม้บรรทัดที่จัดทำ หากความสูงของต้นไม้เกิน จากไม้บรรทัดให้ใช้การคาดคะเน โดยสังเกตว่าสูงกว่าไม้บรรทัดประมาณกี่เมตร หัวหน้าหมู่จะต้อง ตรวจสอบด้วย
2. การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากในแปลงจะจัดส่งมายังที่พักหรือสำนักงาน หัวหน้า หมู่จะมีหน้าที่รวบรวมเอง หรือบุคคลอื่นก็ได้
การคำนวณอัตราการรอดตาย - จำนวนต้นเป็นจำนวนต้นทั้งหมด x100
จะ มีหน่วยเป็น %
ความโดเฉลี่ย - ความโตรวม/จำนวนค้นรอดตาย
ความสูงเฉลี่ย = ความสูงรวม/จำนวนดิ้นรอดตาย
ข้อมูลเหล่านี้ให้บันทึกไว้ท้ายสมุดสนามแต่ละหน้า ถ้าเป็นแปลงปลูกที่มีพื้นที่มากๆ สมุด สนามจะมีหลายหน้าการหาค่าเฉลี่ย ให้ยกจำนวนต้นตรวจนับ จำนวนดิ้นรอดตาย ความโตเฉลี่ย และความ สูงเฉลี่ยมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยทั้งแปลงตามแบบฟอร์มข้างล่าง
ข้อมูลที่สำรวจนี้จะมีประโยชน์ในการบริหารจัดการสวนป่ายางพาราในอนาคต โดยนำมา เปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตของต้นยางเฉลี่ยของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรว่ามีค่า ความแตกต่างกันเท่าใด
มาตรฐานการเจริญเติบโตของต้นยาง
มาตรฐานขนาดลำต้นยางพาราที่ความสูง 150 ซม. จากพื้นดิน
ตามตัวอย่าง ยางพาราแปลงนี้อายุ 2 ปีแต่มีอัตราการรอดตาย 83.54% จำเป็นต้องทำการ ปลูกซ่อมเพิ่มเติมด่วนเพื่อให้อัตราการรอดตายมากกว่า 95% ความโต 5.4 ซม.จำเป็นต้องเร่งการ เจริญเติบโต โดยการเพิ่มจำนวนปุ๋ยบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงชนิดปุ๋ย เป็นต้น และในอนาคตหากเก็บข้อมูลนี้ ไว้และสำรวจทุกปีสามารถนำมาวิเคราะห์ความเจริญเติบโตในลักษณะของกราฟแท่งหรือกราฟเส้นตรงได้ สำหรับอัตราความเติบโตของต้นยางพาราจะมีอัตราลดลงขณะทำการเปิดกรีดน้ำยางแล้วโดยความโตจะ เพิ่มขึ้นปีละ 2-3 ซ.ม.เท่านั้น หรือลดลงประมาณ 75% เนื่องจากในการกรีดยางจะต้องกรีดที่เปลือกของ ต้นยางพาราจะตัดท่อน้ำและท่ออาหารของต้นยางพาราไปด้วย