7. การปลูกยางพารา
การปลูก เป็นการนำกล้าที่เตรียมไว้ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีการปลูกขึ้นอยู่กับวัสดุ ปลูกแบ่งได้เป็น 3 วิธีคือปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยกล้าตาเขียว และปลูกด้วยกล้าที่ชำไว้ในถุงดิน ช่วงเวลา การปลูกยางพาราที่เหมาะสมควรเป็นต้นฤดูฝน การปลูกที่ถูกวิธีจะทำให้อัตราการรอดตายในแปลงปลูก ยางพาราดีขึ้นซึ่งจะได้แยกกล่าววิธีปลูกแต่ละวิธี
7.1 ปลูกด้วยเมล็ด
นำเมล็ดยางพาราปลูกลงกลางหลุมที่เตรียมไว้ หรือจะขุดหลุมไปพร้อม ปลูกก็ได้ วางเมล็ดยางพาราปลูกหลุมละ 3 เมล็ด กลางหลุมวางให้ห่างกันประมาณ 5 ซ.ม. มองจาก ด้านบนจะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เมล็ดที่นำมาปลูกควรเป็นเมล็ดใหม่ ซึ่งจะสุกตกลูกประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม ฝังเมล็ดลงในดินลึกประมาณ 2-3 ซ.ม. เมื่อต้นกล้างอกแล้วประมาณ 1 ปี จะทำการ ติดตาเมื่อตาติดแล้วจึงเลือกถอนออกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงต้นเดียว ในการติดตาในแปลงปลูก โอกาสที่ตาจะติดน้อยมาก
7.2 ปลูกด้วยกล้าตาเขียว
ปลูกด้วยกล้าตาเขียว เพื่อให้โอกาสการแตกกิ่งจากตามีอัตราสูง ควรเตรียมหลุมโดยมี การรองก้นหลุมด้วย การปลูกตาเขียว ใช้เหง้าปักลงในกลางหลุมโดยให้ตำแหน่งของตาอยู่สูงจากพื้น ประมาณ 2 ซ.ม. หันตาเขียวหลบแสงแดดที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน
ในช่วงการปลูกจะเป็นฤดูฝน ขณะปลูกฝนกำลังตกจะช่วยให้การรอดตายของกล้าตาเขียว สูงขึ้น สำหรับในประเทศไทยพระอาทิตย์จะอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทิศที่ร้อนที่สุดในเวลากลางวันคือทิศ ตะวันตก ความร้อนรองลงมาคือทิศตะวันออก ตาเขียวจึงต้องหลบแสงแดดใน 2 ทิศนี้
เมื่อตาเขียวงอกแล้วกิ่งอาจจะหักได้หากกิ่งที่งอกขวางทิศทางของลมประจำถิ่น ในขณะ ปลูกลมประจำถิ่นคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และเมื่อปลายปี ลมมรสุมจะเปลี่ยนเป็นลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศทางที่ตั้งฉากกับลมมรสุมที่ควรจะหลบเลี่ยงคือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และลม ตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพิจารณาถึงจุดนี้ทิศทางที่ควรหันตาเขียวได้คงเหลืออยู่เพียง 2 ทิศคือทิศเหนือ และได้
ในประเทศไทยเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาวจะเกิดปรากฏการ พระอาทิตย์อ้อมข้าว คือขั้วโลกจะ เอียงไปทิศเหนือส่งผลให้พระอาทิตย์อยู่ทางทิศได้ของเส้นศูนย์สูตร ทางด้านทิศได้จะร้อนมากกว่าทิศเหนือดังนั้นทิศทางที่ควรหันตาเขียวคือทิศเหนือ เมื่อหันตาเขียวได้ถูกทิศทางแล้ว วางกล้าให้อยู่ในแนวดิ่ง เหยียบดินรอบๆกล้าให้แน่น เป็นการเสร็จสิ้นการปลูกด้วยกล้าตาเขียว
7.3 ปลูกด้วยกล้าที่ชำไว้ในถุงดิน
การปลูกสร้างสวนยางพาราที่ประสพความสำเร็จสูงมัก นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ ก่อนการจะปลูกจะต้องเตรียมหลุม และเตรียมกล้าให้พร้อม การลำเลียงกล้าเข้าปลูกก็ ต้องประณีต ระมัดระวัง เพราะกล้ายางพาราที่ชำถุงไว้ จะมีมูลค่าสูงกว่ากล้าตาเขียว จะได้แยกกล่าวใน รายละเอียด
7.3.1 การเตรียมกล้าให้แข็งแรงก่อนนำไปปลูกในแปลง
ปกติกล้ายางพาราชำถุงจะถูก อนุบาลไว้ในแปลงเพาะ หากไม่ทำให้กล้าแข็งแรงก่อนนำไปปลูก กล้ายางพาราจะเหี่ยวเฉาจากการถูก แสงแดดโดยกะทันหัน การทำให้กล้าแข็งแรงโดยการทำให้แกร่ง (Hardening) ด้วยการเปิดตาข่าย พรางแสงในแปลงเพาะออกทั้งหมดในส่วนที่จะทำให้แกร่ง และควบคุมการให้น้ำประมาณ 3 อาทิตย์ โดย จัดทำเป็นขั้นตอนดังนี้
กล้าที่ผ่านการทำให้แกร่ง (Hardened) แล้วให้เลือกไปปลูกเฉพาะส่วนที่มีใบเขียวเข้ม ลักษณะเนื้อใบ ค่อนข้างแข็ง ไม่มียอดอ่อนสีม่วงหรือสีเขียวอ่อนปรากฏให้เห็น (เพสลาด) ที่ยอดอาจจะมียอดอ่อนปรากฏ เป็นปมสีม่วงก็ใช้ได้ กล้าลักษณะนี้เมื่อปลูกลงแปลงจะออกยอด(เรียกว่าต่อยอด) เจริญเติบโตได้เร็ว กล้าที่ เหมาะกับการปลูกอาจจะมีฉัตรใบ 1-2 ฉัตรใบ
7.3.2 การขนส่งกล้าเข้าปลูก
เพื่อป้องกันกล้ายางพาราได้รับความกระทบกระเทือน หรือดิน ที่บรรจุไว้ในถุงอาจจะแตกให้งดการให้น้ำก่อนการขนย้าย และจัดหาภาชนะขนย้าย โดยอาจะใช้ลัง พลาสติกที่ใช้ใส่น้ำอัดลม หรือจัดทำให้คล้ายกันก็ได้ ที่ด้านข้างของภาชนะมีหูสำหรับผูกเชือกเพื่อใช้หาม หรือ ยก 2 คน
ลักษณะของลังพลาสติกขนส่งกล้ายางพาราชำถุง
เมื่อมีภาชนะ หรือเรียกว่าลังใส่กล้าไม้ การขนย้ายกล้ายางพาราจากแปลงเพาะโดยการจัดเรียงกล้าที่ผ่านการ คัดเลือกแล้วลงในลังจนเต็ม แล้วหามไปวางเรียงไว้ในรถบรรทุก หรือ เทรลเลอร์ต่อท้ายรถแทรกเตอร์ล้อยาง โดยไม่ต้องยกถุงกล้ายางพาราออก เพื่อบรรเทาความบอบช้ำของกล้ายางพารา วางลังบรรจุกล้า ยางพาราจนเต็มกระบะ จึงให้รถบรรทุกเดินทางไปส่งยังแปลงปลูก ในบางครั้งเพื่อประหยัดค่าเชื้อเพลิงของ รถบรรทุกอาจจะดัดแปลงกระบะบรรทุกเป็น 2 ชั้นก็ได้ แต่ความสูงของชั้นที่ 2 ต้องสูงกว่ากล้ายางพารา
ในแปลงปลูกกำหนดจุดลงกล้ายางพาราไว้ หากทราบจำนวนหลักหมายปลูกของแต่ละ แถว ก็วางจำนวนกล้ายางพาราไว้ให้พอดี หรือใกล้เคียงที่สุดก็จะประหยัดค่าแรงงานในการขนส่งกล้า ยางพาราสู่หลุมปลูก การวางกล้ายางพาราในแปลงก็ไม่จำเป็นต้องยกกล้ายางพาราออกจากลังก่อน เพราะ นอกจากจะบรรเทาความบอบช้ำของกล้ายางพาราแล้วยังประหยัดแรงงานยกกล้ายางพาราออกและจัดเรียง ใหม่ ดังนั้นการจัดทำลังขนกล้ายางพาราจึงต้องคำนวณจำนวนตามความจำเป็นใช้งานแต่ละวันด้วย
7.3.3 การส่งกล้ายางพาราสู่หลุมปลูก
จัดหมู่แรงงานกระจายกล้ายางพาราสู่หลุมปลูก หรือเรียกว่า รายกล้ายางพารา คนงาน 2 คนหามลังกล้ายางพาราจากจุดที่รถบรรทุกวางไว้สู่หลุมปลูกโดย คนงานคนข้างหลังจะเป็นคนยกกล้ายางพาราจากลังวางไว้ริมหลุมที่รองก้นหลุมไว้แล้ว คนงานแต่ละคู่ควร กำหนดบริเวณให้ทำเพื่อป้องกันการหลงลืม เมื่อกล้ายางพาราแต่ละลังหมดให้กลับมาที่จุดรวมลังกล้ายาง อีก วางลังกล้ายางพาราเปล่าไว้ที่จุดรวมแล้วหามลังใหม่ไปรายตามหลุมอีกจนกว่าจะหมดหลุม สำหรับลัง เปล่า เมื่อรถบรรทุกกล้ายางพาราผ่านมาก็จะเก็บกลับไปยังแปลงเพาะอีกครั้ง จะจัดคนงานต่อหมู่กี่คู่ต้อง คำนึงถึงความสามารถของผู้ควบคุมงานด้วย โดยปกติไม่ควรเกิน 10 คู่ต่อ ผู้คุมงาน 1 คน การรายกล้า ยางพารานี้ควรทำไว้ก่อนวันปลูกอย่างน้อย หนึ่งวัน
การส่งกล้ายางพาราสู่หลุมปลูก
7.3.4 การจัดแรงงานปลูก
จัดแรงงานปลูกเป็นคู่เช่นกัน โดยคนที่ 1 ใช้จอบเป็นเครื่องมือมีหน้าที่ขุดหลุมที่ รองก้นแล้วให้ให้มีความลึกเท่าถุงเพาะชำกล้ายางพารา คนที่ 2 ทำหน้าที่ปลูกมีใบมีดโกน หรือ คัดเตอร์ เป็นเครื่องมือ คนที่ 2 จะใช้ใบมีดกรีดก้นถุงให้ขาดจากถุง ดึงออก แล้ววางกล้ายางลงในหลุมในลักษณะ เอียง ใช้ใบมีดกรีดถุงตั้งแต่ก้นถุงจนถึงปากถุง อย่าเพิ่งดึงถุงที่กรีดแล้วออก จัดกล้ายางพาราให้อยู่กลางหลุม และจัดความสูงของกล้าโดยให้ตำแหน่งของกิ่งยางพาราอยู่สูงจากดินเดิมประมาณ 2 ซม. หันกิ่งยางพารา
ภาพแสดงหลังปลูกเสร็จ
ไปทางทิศเหนือ วางกล้ายางพาราให้อยู่ในแนวดิ่ง เสร็จคนที่ 1 จะทำการกลบหลุมจนเต็มหลุมแล้ว คนที่ 2 จึงดึงถุงเพาะชำออกจากดิน นำถุงที่ดึงออกแขวนไว้ที่หลักหมายปลูก เพื่อแสดงให้เห็นว่าหลุมนี้ปลูกเสร็จ แล้ว การดึงถุงเพาะชำออกนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถุงเพาะชำที่ใช้เป็นถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้
การนำกล้ายางพาราลงหลุมปลูก