วิธีและขั้นตอนการปลูกยางพารา บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวจำหน่ายผลผลิตจากยางพารา

ตอน  1  2  3  4

ประวัติความเป็นมาของยางพารา

ไม้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ในเขตร้อนชื้น มีชื่อพันศาสตร์ว่า Hevea Braziliensis มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ต่อมามีผู้นำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาปลูกที่ประเทศสิงโปร์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำยางพาราต้นแรกมาปลูกในประเทศไทย ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2444 ต่อมาเกษตรกรในภาคใต้นิยมปลูกยางพารากันมากขึ้น โดยระยะแรกใช้เมล็ดปลูกเรียกยางพารารุ่นแรกว่า "ยางพาราเดิม" ต่อมารัฐเห็นความสำคัญเกี่ยวกับยางพารา จึงได้ตั้งสถาบันวิจัยยางขึ้น ทำการปรับปรุงพันธุ์ ทำให้ยางพาราในประเทศไทยปัจจุบันเป็น "ยางพันธุ์ดี"
ยางพาราเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วนของลำต้น วัตถุสำคัญที่ทำให้ ยางพารากลายเป็นพืชเศรษฐกิจคือน้ำยาง (Latex) เป็นสาร ไฮโดรคาร์บอนมหัศจรรย์ที่มีคุณสมบัติ เฉพาะตัวหลายประการ เช่น มีความยืดหยุ่น (Elastic) กันน้ำรั่วได้ (Water prove) ด้านทานต่อแรง ดึง(Tension) ได้ดี เป็นต้น จึงมีผู้นำไปเป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม เนื้อไม้ใช้ทำเป็นไม้ก่อสร้าง เป็นเครื่องเรือนราคาแพง จนได้ชื่อว่า “ไม้สักขาว” (White Teak) ทำไม้อัด ไม้ชิ้นสับ เศษไม้ ปลายไม้นำมาเผาถ่าน หรือไม้ฟื้นที่ให้ความร้อนสูง ใบยางพารา นำมาผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน ลูก ยางพารานำไปผลิตเป็นน้ำมันพืช เป็นต้น นอกจากนี้การปลูกสวนยางพารายังมีผลดีต่อการควบคุมความ สมดุลทางธรรมชาติด้วย เพราะยางพาราจะมีเรือนยอดปกคลุมผิวดินแทบทั้งปี จะมีการผลัดใบปีละ 1-2 สัปดาห์ ก็จะงอกใบใหม่ขึ้นทดแทน
ผลผลิตจากยางพารามีความสัมพันธ์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์โลกในการดำรงชีวิต ประจำวัน ลองสำรวจตัวเองเมื่อแต่งกายเรียบร้อยจะพบกับผลผลิตยางพาราประกอบอยู่ เริ่มจากรองเท้า ตัว รองเท้าเอง หรือส่วนประกอบของรองเท้าเช่น พื้นรองเท้าหนัง ทำจากยางพารา ถุงเท้า บางชนิดที่มีความ ยืดหยุ่นสูงก็มาจากยางพารา กางเกงทั้งชั้นนอกและชั้นใน ชนิดที่เอวยืดได้ก็มาจากยางพารา เสื้อยืดก็มาจาก ยางพารา เป็นต้น เมื่อจะเดินทางมักเดินทางโดยรถยนต์ ก็มียางพาราเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะรถยนต์ใช้ ยางพาราเป็นส่วนประกอบถึง 80% กลับถึงบ้านพบกับยางรัดของก็เป็นยางพารา เบาะนอนที่ทำจาก ยางพารากำลังเป็นที่นิยมเพราะกันความร้อนได้ ยางพารานอกจากจะมีบทบาทอยู่บนพื้นโลกแล้วยังมี บทบาทถึงห้วงอวกาศ บรรดาซีลตามข้อต่อของยานอวกาศ ก็ทำจากยางพาราทั้งสิ้น จนมีผู้กล่าวว่า
"Para Cover The Wold” หรือ “ยางพาราครอบคลุมโลก”
ประวัติความเป็นมาของการปลูกยางพาราในประเทศไทย
การจะยึดอาชีพปลูกยางพาราก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะจะมีการลงทุนปลูกยางพาราต่อไร่ที่สูง ต้องใช้หลักวิชาการควบคุมตลอดช่วงอายุของต้นยางพารา ตลอดจนจำนวนต้นยางพาราต่อไร่ว่าต้องใช้กี่ต้น "คู่มือการปลูกยางพารา" เป็นการถ่ายทอดเทคนิควิธีและขั้นตอนต่างๆใน การปลูก การบำรุงรักษา ตลอดถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายผลผลิตจากยางพารา เพื่อให้ได้ต้นทุนในการปลูกยางพาราที่ถูกและมีประสิทธิภาพสูง

1. การคัดเลือกพื้นที่ปลูกยางพารา

การปลูกยางพาราจะต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สภาพดิน และสภาพภูมิอากาศ การคัดเลือกพื้นที่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะเมื่อได้ตัดสินใจทำการปลูกยางพาราในพื้นที่ไปแล้ว จะแก้ไขปรับปรุงได้ยาก

1.1 สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

พื้นที่ราบจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด พื้นที่ติดถนนไม่
เหมาะสมเพราะจะมีน้ำท่วมขัง การเตรียมพื้นที่ การปลูกการบำรุงรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะทำได้ ง่าย ที่ลาดเอียงหรือควนเขาก็สามารถปลูกยางพาราได้ แต่ไม่ควรจะมีความลาดเอียงเกิน 30 องศา ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจะสูงกว่าพื้นที่ราบ และพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 เมตร จะทำให้การเจริญเติบโต ของต้นยางลดลง

1.2 สภาพดิน

ยางพาราสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภทที่สามารถขุดหลุมได้และดิน ไม่แน่นจนเกินไปที่รากยางพาราจะชอนไชไปได้ แม้กระทั่งดินลูกรังก็ปลูกได้ แต่สภาพของดินที่เหมาะสมคือดินร่วน (Loam) ดินร่วนปนทราย (Sandy loam) ดินเหนียวปนทราย (Sandy clay) ตามลำดับ
ดินเหล่านี้ต้องมีดินชั้นบนหนาไม่ต่ำกว่า 50 ซ.ม.เพียงพอให้รากยางพาราแผ่กระจาย ไปได้และมีระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ค่าความเป็นกรด - ด่าง หรือค่า pH อยู่ ระหว่าง 4.5-5.5

1.3 สภาพภูมิอากาศ

ยางพาราชอบอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30-35 องศา เซลเซียส อากาศหนาวเย็นสุดไม่ควรต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสเกินกว่า 1 สัปดาห์ในหนึ่งปีเพราะจะทำให้ ระบบรากถูกทำลายได้ และช่วงอากาศร้อนสุดไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียสเกินกว่า 2 สัปดาห์ในหนึ่งปี เพราะจะทำให้ยางพาราทิ้งใบก่อนกำหนดได้
ปัจจัยสภาพอากาศที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการปลูกยางพาราคือ ปริมาณน้ำฝน ต้องมี ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,250. ม.ม./ปี และมีจำนวนวันที่ฝนตก 120 - 150 วันต่อปี ช่วงการ กระจายของน้ำฝน (Duration) ต้องสม่ำเสมอด้วย ปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่านี้ก็สามารถปลูกยางพาราได้แต่ จะมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำยางพาราในอนาคต น้ำยางพาราดิบต้องอาศัยปริมาณน้ำในดินชักนำให้ไหลสู่ ภาชนะรองรับ ถ้าปริมาณน้ำในดินมีน้อยน้ำยางสดจะเข้มข้นเกินไปจนไม่สามารถไหลออกจากท่อน้ำยางได้ สะดวก ผลผลิตน้ำยางจะได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

1.4 ทิศทางของลมมรสุม

ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกพื้นที่เช่นกันโดยเฉพาะในพื้นที่ ควนเขาหรือพื้นที่ลาดเท ลมมรสุมสำคัญในประเทศไทยมีสองชนิดคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากทะเล อันดามันเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ทุกปี แนวการพัดจะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้สู่ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุมนี้จะนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดินเกิดฝนตกกระจายทั่วพื้นที่ประเทศไทย
ลมมรสุมอีกหนึ่งชนิดคือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากประเทศจีนมุ่งสู่มหาสมุทรอินเดีย ระหว่าง เดือนตุลาคม-มกราคม ลมชนิดนี้นำความแห้งแล้ง หนาวเย็นสู่ประเทศไทย จะมีฝนตกได้บ้างในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก

1.5 ขนาดของพื้นที่

ต้องนำมาคำนึงเช่นกัน เพราะการลงทุนปลูกสร้างสวนยางพาราลงทุน จะสูง การลงทุนมิได้เสร็จสิ้นในวันเดียวต้องมีการดูแลจนครบครอบตัดฟัน หากพื้นที่น้อยเกินไปค่าใช้จ่าย บริหารจะสูง หากเป็นพื้นที่ของเกษตรกรที่จะปลูกและดูแลเองก็ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 ไร่ แต่หากเป็นสวน ป่าเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่มีค่าใช้จ่ายบริหารขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมต่อหนึ่งหน่วยประมาณ 300 500 ไร่ ทั้งนี้ควรจะตรวจสอบปัจจัยต่างๆว่าอยู่ในหลักเกณฑ์การปลูกยางในข้อใดดังต่อไปนี้ หากปัจจัย ต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ L3 จะมีผลให้ยางพาราเติบโตและผลผลิตไม่เป็นไปตามมาตรฐานไม่คุ้มกับการลงทุน
ปัจจัยทางภูมิอากาศ
L1
L2
L3
ปริมาณน้ำฝน
>1700
1200-1700
<1200
ระยะการเจริญเติบโต
>10
7-10
<7
อุณหภูมิเฉลี่ย
>22
18-22
<18
สูงสุดเฉลี่ย
>27
22-27
<22
ต่ำสุดเฉลี่ย
>18
14-18
<14
ปัจจัยทางดิน
Slope
>20%
20-50%
<60%
น้ำท่วมยาง 2-5ปี
1-2 วัน
2-10 วัน
10-20 วัน
น้ำท่วมยาง >5ปี
2-10 วัน
10-20 วัน
>20 วัน
การระบายน้ำ
ดี, ปานกลาง
ค่อนข้างเลว
เลว
เนื้อดิน
fs, sc, cl
ls, lcs
clay, sand
%หินกรวด
<35%
<100 ซม.
<50 ซม.
หน้าดินลึก
>100 ซม.
1200-1700
<1200
Base Saturation
<50%
>50-80%
?
OM%
>1.2%
?
?
1.5 ปัจจัยอื่นๆ ประกอบการคัดเลือกพื้นที่ที่ควรคำนึงถึง คือ เส้นทางคมนาคม แหล่งแรงงาน
และแหล่งน้ำ
พื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม จะมีความสะดวกในการบริหารจัดการ การขนส่งเครื่องมือเข้าเตรียมพื้นที่ ขนส่งวัสดุปลูก วัสดุบำรุงรักษาเข้าแปลงปลูก ตลอดจนการขนส่งผลผลิตในอนาคต
แหล่งแรงงาน ก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะการปลูกและบำรุงรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยว ผลผลิตใช้แรงงานคนเป็นหลัก
แหล่งน้ำก็มีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนเพราะนอกจากช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่แปลงปลูก แล้ว ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จำเป็นต้องใช้น้ำจำนวนมาก

2. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

เมื่อคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการได้แล้วขั้นตอนสำคัญขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมพื้นที่ ที่ต้อง ดำเนินการโดยประณีต (Intensive) การเตรียมพื้นที่คือการกำจัดวัชพืช ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ออกไป โดยการถอน ราก ถอนตอ กำจัดเศษวัชพืชตกค้างออกให้หมดสิ้น ทำการไถด้วยรถแทรกเตอร์ล้อยาง โดยไถบุกเบิกด้วยผาน 3 และไถพรวนด้วยผาน 7 ซึ่งหากเตรียมพื้นที่ได้ดีการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปก็จะสะดวกสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อย จะเตรียมพื้นที่ช่วงไหนจะต้องคำนึงถึงฤดูกาลด้วย ในช่วงที่ฝนตกซึ่งพร้อมจะปลูก จะต้อง เตรียมพื้นที่ให้เสร็จก่อนฝนจะตกประมาณ 1 สัปดาห์ หากเตรียมพื้นที่เสร็จไว้นานมากจะมีปัญหาวัชพืชงอก ใหม่ หากเตรียมพื้นที่ล่าช้าจะสร้างปัญหาปลูกไม่ทันและค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นสูญเสียโอกาสของการเก็บเกี่ยว ผลผลิตในอนาคต ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ในกรณีพื้นที่มากว่า 100 ไร่ หากพื้นที่น้อยกว่า 100 ไร่ ควรดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดู ฝนของแต่ละท้องที่ด้วย
วิธีการเตรียมพื้นที่มี 3 วิธี คือเตรียมพื้นที่ด้วยแรงงาน เครื่องจักรกล และสารเคมี การจะ เตรียมพื้นที่ด้วยวิธีไหนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆด้วย ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงที่สำคัญคือ สภาพของพื้นที่ ลักษณะของวัชพืช ขนาดของพื้นที่ ช่วงเวลาของการเตรียมพื้นที่หรือแม้แต่ทุนรอนของเจ้าของพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป การเตรียมพื้นที่ทั้ง 3 วิธีนี้ในบางครั้งก็ต้องใช้ผสมผสานกัน

2.1 การเตรียมพื้นที่ด้วยแรงงาน

คือการใช้แรงงานถางป่า เผา เก็บริบ เผาริบ เป็นการ ดำเนินการ โดยวิธีดั้งเดิมเหมาะกับเจ้าของสวนขนาดเล็กดำเนินการเอง สภาพวัชพืชในพื้นที่เป็นพืชยืนต้นอยู่ ห่างไกลเส้นทางคมนาคมไม่สะดวกที่จะขนย้ายเครื่องจักรกลเข้าดำเนินการ วิธีการดำเนินการมีการถางป่า โค่นล้มไม้ เผาป่า และเก็บริบ
1. การถางป่า ถางวัชพืชที่เป็นวัชพืชขนาดเล็กให้ทั่วพื้นที่ หากมีกอไผ่หรือหวายให้ฟันลง ให้ราบเรียบให้ตอใกล้ผิวดินมากที่สุด
2. การโค่นล้มไม้เมื่อถางป่าเสร็จให้โค่นต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ลงให้หมด ยอดของต้นไม้ต้อง ทำการฟันกิ่งลงให้ราบเรียบ ทิ้งป่าที่ถางและโค่นต้นไม้ผึ่งแดดไว้ประมาณ 1 เดือนจนต้นไม้เริ่มแห้ง
3. การเผาป่า ก่อนทำการเผาป่าให้ทำแนวกันไฟป้องกันไฟลุกลามออกนอกพื้นที่ไปไหม้ สวนใกล้เคียง ควรเตรียมอุปกรณ์ดับไฟไว้ด้วย ช่วงเวลาการจุดไฟที่ดีที่สุดคือช่วงอากาศร้อนที่สุดในเวลา ประมาณ 13.00 น. เพื่อไฟจะได้ไหม้ต้นไม้เศษไม้ปลายไม้ได้หมดสิ้น ในการจุดไฟเพื่อเผาป่าให้คำนึงถึง ทิศทางลมด้วย โดยเริ่มเผาจากทางด้านใต้ลมก่อน เมื่อไฟเริ่มลามเข้าในพื้นที่ประมาณ 25% จึงวางไฟเหนือลม สำหรับการเผาในที่ควนเขาที่ด้านบนเขายังมีป่าอยู่ให้วางไฟจากทางด้านบนก่อน เมื่อไฟลามเข้าสู่พื้นที่ ประมาณ 25% จึงจุดไฟเผาจากตีนเขาหรือตีนเนิน ไฟจะไหม้ไปชนกันกลางพื้นที่ในที่สุด
4. การเก็บริบ เผาริบ เป็นการเก็บต้นไม้เศษไม้ปลายไม้ที่หลงเหลือจากการเผาป่าเผาริบให้ หมดจากพื้นที่ หากการเผาป่าเผาไหม้ได้ดีจะเหลือเศษไม้ปลายไม้น้อยการเก็บริบจะรวดเร็วขึ้น ก่อนจะเข้าทำ การเก็บริบอาจจำเป็นต้องรอคอยให้ป่าที่เผาไว้เย็นลงพอสมควร วิธีการเก็บริบใช้แรงงานเก็บเศษไม้ขนาดเล็ก มากองรวมกันเพื่อทำเชื้อไฟ ตัดท่อนไม้ขนาดใหญ่มากองสุมด้านบน ถ้าสามารถกองเป็นกระโจมคล้ายก่อกอง ไฟของลูกเสือในการเล่นรอบกองไฟได้ จะจุดไฟเผาไหม้ได้ดีกว่าการซ้อนทับตามแนวนอน หลังจากนำไม้ ใหญ่มาทับบนกองเศษไม้แล้ว เมื่ออากาศเริ่มร้อนขึ้นเริ่มเผาไฟ ในระหว่างไฟไหม้คอยหมั่นมาตรวจสอบ ใช้ กิ่งไม้ขนาดใหญ่ ดันกองถ่านให้ไปไหม้เศษไม้ส่วนที่เหลือให้หมดสิ้น เป็นการสิ้นสุดขบวนการเตรียมพื้นที่ โดยใช้แรงงาน
การใช้แรงงานถางป่า เผา เก็บริบ เผาริบ เป็นการ ดำเนินการ
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพาราด้วยแรงงานคน
ผลเสียของการเตรียมพื้นที่ด้วยวิธีนี้คือลักษณะของงานไม่ประณีต ยังมีตอไม้สะสมอยู่ใน แปลง ซึ่งเมื่อถึงฤดูฝนจะแตกหน่อใหม่ขึ้นรบกวนความเจริญเติบโตของต้นยางพารา การจะกำจัดตอให้หมด สิ้นนิยมใช้ยาฆ่าตอ แต่จะเป็นการสะสมสารพิษในดิน หากเตรียมพื้นที่ด้วยวิธีนี้ในพื้นที่ควนเขาจะต้องใช้ แรงงานจัดทำแนวปลูกยางพาราในระบบขั้นบันได (Terrace) ด้วย

2.2 การเตรียมพื้นที่ด้วยเครื่องจักรกล

วิธีนี้เหมาะกับพื้นที่ราบ ขนาดพื้นที่มาก ชนิด วัชพืชเป็นไม้ยืนต้นหรือเป็นไม้ไผ่หนาแน่น เครื่องจักรกลที่ต้องนำมาปฏิบัติงานคือรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ (Crawler) หรือรถขุด (Back hoe) ดำเนินการถางป่า ล้มไม้ ถอนตอ กวาดรวมกอง (Withdrawal) เผา เก็บริบ เกลี่ยปรับพื้นที่ หลังจากนั้นใช้รถแทรกเตอร์ล้อยาง (Farm tractor) ติดผานไถ 3 จานหรือ4 จาน ทำการไถบุกเบิก ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ติดผานไถ 7 จานทำการไถพรวน ก็จะเสร็จขั้นตอนของ การเตรียมพื้นที่ การเตรียมพื้นที่ที่ประณีต (Intensive) ภายหลังจากเตรียมพื้นที่เสร็จในพื้นที่นั้นจะต้องไม่ มีจอมปลวก ตอไม้ หรือเศษไม้ปลายไม้หลงเหลืออยู่ ซึ่งมีวิธีการจัดการได้ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพาราด้วยเครื่องจักรกลเหมาะสำหรับพื้นราบ
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพาราด้วยเครื่องจักรกล
การถางป่าด้วยรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ หรือขุดตอด้วยรถแบคโฮให้ทิ้งต้นไม้ที่ล้มลงกระจาย ไว้ในพื้นที่ประมาณ 1 เดือน จนต้นไม้กิ่งไม้นั้นเริ่มหมาด หรือแห้งแล้ว จึงทำการกวาดรวมกอง
การรวมกองต้นไม้ที่ถางลงหรือขุดตอขึ้นมาให้รวมกองเป็นกองยาวๆ ให้แนวของกองเป็นไป ตามทิศทางลม หากพื้นที่เป็นที่ลาดชันหรือควนเขา ให้กองโดยมีทิศทาง ขึ้นเขาอัดกองด้านข้างให้แน่น
ทำการเผากองเศษไม้จากหัวกองทางด้านต้นลม หรือจากด้านได้ของควนเขาในกรณีที่ลาดชัน เนื่องจากไม้ที่กองยังไม่แห้งสนิท อาจจะใช้เชื้อไฟช่วยเผาในครั้งแรก เชื้อไฟที่ใช้อาจจะเป็นยางรถยนต์ที่ชำรุด แล้ว หรือน้ำมันดีเซลก็ได้ เริ่มเผาในตอนกลางวันขณะอากาศร้อน เมื่อไฟเริ่มลุกแล้ว ใช้รถแทรกเตอร์ ตีนตะขาบ หรือ รถแบคโฮ คอยอัดกองไฟ ให้แน่น เป็นระยะ การเผาไหม้ก็จะดีขึ้น ควรเผาพร้อมๆกันหลายๆ กองในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเครื่องจักรที่คอยอัดกองไฟจะได้ไม่เสียเวลาทำงาน และเมื่อไฟไหม้เศษไม้ปลาย ไม้ส่วนเล็กๆหมดแล้ว จะคงเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่หรือตอไม้ ให้ทำการสลายกอง แล้วอัดเผาใหม่ให้หมดก็จะ เผาได้ง่ายขึ้น เพราะมีถ่านไม้ติดไฟอยู่จำนวนมาก การเผาเศษไม้ปลายไม้โดยวิธีนี้ แม้จะมีฝนตกบ้างก็จะเผาได้ หมด
เมื่อเสร็จสิ้นการเผาจนไม่มีเศษไม้หลงเหลือแล้ว เป็นขั้นตอนของการเกลี่ยปรับพื้นที่โดยการ เกลี่ยจอมปลวกออกให้พื้นที่ราบเรียบ เพื่อความสะดวกในการไถบุกเบิกในพื้นที่ราบ หรือ การจัดทำขั้นบันได ในพื้นที่ลาดชัน
การไถบุกเบิกด้วยผานไถ 3 จาน หรือ 4 จาน ก่อนจะลงมือไถ เจ้าของสวนควรทราบว่าจะ ปักหลักหมายปลูกไปตามทิศทางได เพราะการไถบุกเบิกที่ดีทิศทางการไถควรจะตั้งฉากกับแนวปลูกต้นไม้ และการไถพรวนเป็นการไถตั้งฉากกับการไถบุกเบิกทิศทางการไถจะเป็นไปตามแนวปลูกต้นไม้ การ ดำเนินการเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการเข้าดำเนินการปักหลักหมายปลูกและการปลูก เพราะคนงานไม่ต้อง เดินข้ามขี้ไถ เจตนาของการไถบุกเบิกเพื่อการขุดตอไม้เล็กๆ ที่หลงเหลืออยู่ขึ้นมากำจัดทิ้ง
การไถพื้นที่นี้หากพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นดินทรายเพียงใช้การไถพรวนครั้งเดียวก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องทำการไถบุกเบิก
การไถในพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีน้ำท่วมถึง จะเปลี่ยนเป็นการไถยกร่อง วิธีการไถจะไถไป ตามทิศทางของแนวปลูกต้นไม้ ใช้ผาน 3 หรือ ผาน 4 ไถครั้งแรก สาดดินที่ไถขึ้นไว้บริเวณโคนยางพารา และไถพรวนด้วยผาน 7 ด้วยวิธีเดียวกัน ระหว่างแถวยางพาราจะเป็นร่องลึกประมาณ 50 ซ.ม. สำหรับให้น้ำ ในดินไหลจากโคนต้นยางพารามาเก็บขังในฤดูฝน
ไถพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นหน้าตัดหลังไถยกร่องเสร็จ
ภาพหน้าตัดหลังไถยกร่องเสร็จ
การใช้เครื่องจักรกลในการเตรียมพื้นที่ในพื้นที่ลาดชันเมื่อดำเนินการตามข้อ 4. เสร็จแล้ว จะต้องจัดทำแนวปลูกในระบบขั้นบันได โดยใช้รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ หรือรถแบคโฮซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

 วางแนวหลัก หรือ Base Line จากยอดเขาลงเชิงเขาปักหลักให้มีระยะห่างทางแนว ระนาบเท่าระยะห่างระหว่างแถวปลูกยางพารา

ระนาบเท่าระยะห่างระหว่างแถวปลูกยางพารา
ภาพระยะห่างแนวเชิงเขา

 ใช้รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ หรือรถขุด ขุดผิวดินกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร ไป ตามแนวขอบเขาโดยเริ่มจากหลักที่ปักไว้ ให้ระดับของแนวที่ขุดเป็นไปตามแนวระนาบ ซึ่งต้องใช้การสังเกต ของคนขับรถ หากพื้นที่เป็นภูเขาทั้งลูก แนวการขุดปรับจะวกกลับมายังจุดเริ่มต้น

ขุดผิวดินกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร ไป ตามแนวขอบเพื่อปลูกยางพารา
ภาพบริเวณตัดออกเพื่อทำเป็นขั้นบันได

 ในการตัดขั้นบันไดนั้นบางครั้งความลาดชันของพื้นที่ไม่สม่ำเสมอกันจะทำให้แนวปลูก ยางพาราอยู่ห่างกันไม่สม่ำเสมอ อาจจะต้องตัดแนวปลูกออกบางช่วงเรียกว่า แถวขาด หรืออาจจะต้องเพิ่มแถว ในบางช่วงเรียกว่า แถวแทรก โดยมีหลักการพิจารณาจากระยะปลูกที่กำหนดหากใช้ระยะปลูก 3 X 8 เมตร เมื่อแถวห่างกันประมาณ 4 เมตร จะตัดบริเวณนั้นออก หรือเมื่อห่างกันประมาณ 12 เมตร ให้แทรกเข้าไป 1 แถว ตามภาพตัวอย่าง

ความลาดชันพื้นที่ปลูกยางพารา
การวางแนวและขุดหลุมปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดเท
การวางแนวและขุดหลุมปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดเท
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้เสร็จแล้วเป็นการเสร็จสิ้นการเตรียมพื้นที่ด้วยเครื่องจักรกล
2.3 การใช้สารเคมี จะดำเนินการหลังจากถางป่า โค่นล้ม เก็บริบ เผาริบแล้ว ในพื้นที่ราบ
หรือควนเขาก็ได้ ปล่อยให้วัชพืชขึ้นประมาณ 30 ซ.ม. และใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัด ซึ่งจะเป็นวิธีการที่สะดวก และประหยัด วัชพืชตายสิ้นซาก หากดำเนินการไม่ทันวัชพืชขึ้นสูงมาก จะต้องใช้สารเคมีในการกำจัดมากขึ้น วัชพืชจึงจะแห้งตาย โดยคำนึงถึงชนิดของวัชพืชที่ขึ้นอยู่เป็นหลัก เหมาะกับวัชพืชที่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หญ้าต่างๆ สารเคมีที่นิยมใช้ คือไกลโฟเสท และ อิมมาสเฟอร์ ในการดำเนินการควรจะดำเนินการในต้นฤดูฝน ปล่อยให้วัชพืชยุบตายจึงจะเข้าดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

3. การคัดเลือกชนิดพันธุ์ยางพารา

พันธุ์ยางพาราที่นำมาปลูกในสวนยางพาราของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นยางพันธุ์ดีที่ เกิดจากการผสมพันธุ์ เพื่อสร้างอัตราผลผลิตให้เหมาะสมในทางเศรษฐกิจ ยางพันธุ์ดีมีมากมายหลายชนิด แหล่งผสมพันธุ์ยางที่เป็นที่ยอมรับคือประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย การจะเลือกยางพารา พันธุ์ใดมาปลูกจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้านต่างๆ ในช่วงเริ่มต้นการปลูกสร้างสวนยาง เจ้าของสวน จะเลือกชนิดพันธุ์ที่ให้น้ำยางต่อปีต่อไร่ดีที่สุด พันธุ์ยางที่เหมาะสมในกรณีนี้จะมี BPM 24 RRIM 600 หรือ RRIT 251 เป็นต้น ต่อมาวงการใช้สอยไม้โดยเฉพาะไม้เครื่องเรือน (Ferniture) จากเนื้อไม้ยางพาราเป็นที่นิยมมากขึ้นเจ้าของสวนก็มุ่งหวังจะปลูกยางพาราเพื่อหวังใช้เนื้อไม้ด้วย ชนิด พันธุ์ยางที่เหมาะสมเพื่อการนี้จะมีพันธุ์ PB 235 RRIM 620 หรือ GT 1 เป็นต้น แต่เมื่อดำเนินการปลูกไปแล้วมักจะพบกับปัญหานานาประการ เช่นการเกิดโรคต่างๆในบางชนิดพันธุ์การ เจริญเติบโตไม่ดี ช่วงเวลาการกรีดยางไม่ครบรอบหมุนเวียนเป็นต้น ดังนั้นการเลือกชนิดพันธุ์ยางพารา พันธุ์ดีมาปลูกจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆประกอบ เช่น สภาพดิน ลักษณะของพื้นที่ สภาพดินฟ้าอากาศ ความเหมาะสมต่อระบบกรีดยาง และ อัตราของน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี เป็นต้น ชนิดพันธุ์ยางพาราที่กล่าวไว้ เบื้องต้นเป็นชนิดพันธุ์ที่นิยมปลูกปัจจุบัน แต่ละชนิดพันธุ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน
• พันธุ์ BPM 24 เป็นยางพาราลูกผสมของอินโดนีเซียมีความต้านทานต่อโรคใบร่วงที่เกิด จากเชื้อรา ไฟทอปเทอร่า ที่ทำให้ใบยางพาราร่วงในฤดูฝน ยางพาราพันธุ์นี้ต้องการดินสมบูรณ์มีความร่วน ซุย อุ้มน้ำได้ดี หากนำไปปลูกในที่ที่ไม่เหมาะสมจะแตกกิ่งมาก ทำให้ลำต้นเป็นปุ่มมากเมื่อเวลากรีด ยางพารามีดกรีดยางจะบาดถึงเนื้อไม้ ทำให้กรีดซ้ำเปลือกที่ 2 ไม่ได้ ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่น แต่มี จุดอ่อนที่เปลือกที่สองขรุขระจนไม่สามารถกรีดซ้ำได้
• พันธุ์ RRIM 600 เป็นยางพาราลูกผสมของประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยนิยมปลูก ชนิดนี้มาก ให้ผลผลิตปานกลาง ปลูกได้ทุกสภาพดิน มีความต้านทานต่อโรคราใบร่วงจากเชื้อราไฟทอป เทอร่า ที่ทำให้ใบยางร่วงในฤดูฝนน้อย ในเขตที่มีโรคนี้จึงไม่สมควรปลูก ลำต้นมีขนาดเล็ก ราคาเนื้อไม้ หลังกรีดมีราคาซื้อขายต่ำกว่าชนิดพันธุ์อื่นมีความทนทานต่อการกรีดถี่ปานกลาง
• พันธุ์ RRIT 251 เป็นยางพาราลูกผสมของประเทศไทย กำลังได้รับคำแนะนำจาก สถาบันวิจัยยางปริมาณน้ำยางมีมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 ในหน้ากรีดแรก ผลผลิตต่อไร่ต่อปีอยู่ใน เกณฑ์ดี ได้ผลผลิตมากกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
• พันธุ์ PB 235 เป็นยางพาราลูกผสมของประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะเด่นมีความ เจริญเติบโตในระยะแรกปลูกเร็วมากลำต้นเปลาตรง ทำให้ราคาเนื้อไม้หลังกรีดมีราคาสูง ผลผลิตน้ำยางใน หน้ากรีดแรก หน้ากรีดที่สองมักมีปัญหาเปลือกแห้ง ผู้ปลูกจะต้องหมั่นรักษาหน้ากรีดและจัดระบบกรีด 1 วัน เว้น 1 วัน จะชะลอการเกิดเปลือกแห้งได้
• พันธุ์ GT 1 เป็นยางลูกผสมที่ปลูกมานาน ข้อดีมีลักษณะลำต้นกิ่งก้านใหญ่ ด้านทานลม ได้ดี ผลผลิตในเปลือกแรกน้อยเปลือกที่สองมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 การทิ้งใบในฤดูแล้งช้า ต้านทาน โรคใบร่วงได้ดี ข้อเสียการแตกกิ่งมาก ลำต้นไม่เปราตรง สมควรปลูกในพื้นที่ควนเขา หรือลมแรง
พันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ๆก็จะมีผู้ผลิตเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ กล้าที่นำมาปลูกจะต้องจัดหาจาก แปลงเพาะชำที่ได้รับใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อความมั่นใจว่าจะได้รับผลผลิตตามที่ต้องการ (ผู้สนใจศึกษาได้จากวารสารยางพาราของกรมวิชาการเกษตร) ในที่นี้ขอแนะนำพันธุ์ยางและลักษณะที่ สำคัญตามตารางข้างล่างนี้
การคัดเลือกชนิดพันธุ์ยางพาราเพื่อนำมาปลูก
1/ 1 = ดีมาก   2 = ดี   3 = ปลานกลาง   4 = เลว(อ่อนแอ)   5 = เลวมาก(อ่อนแอมาก)
2/ 1 = น้อยมาก   2 = น้อย   3 = ปลานกลาง   4 = ค่อนข้างมาก   5 = มาก

4. การเลือกวัสดุปลูกยางพารา

วัสดุปลูกคือกล้ายางพาราที่จะนำมาปลูกในพื้นที่ การปลูกยางพาราสามารถเลือกปลูกได้ หลายวิธีเช่นใช้เมล็ดปลูกติดตาในแปลง ปลูกเมล็ดในถุงดินติดตาในถุงนำไปปลูกลงดิน ปลูกเมล็ดในถุง ดินติดตาในถุงเลี้ยงกล้าให้มีฉัตรใบแล้วนำไปปลูก ปลูกด้วยกล้าตาเขียว หรือปลูกด้วยกล้าชำในถุง เป็นต้น ซึ่งวัสดุปลูกแต่ละอย่างมีผลดีผลเสียแตกต่างกัน จำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะเลือกวัสดุปลูกชนิดไหน เพราะ ต้องทำการเตรียมวัสดุก่อนปลูก

4.1 ปลูกยางพาราด้วยเมล็ดติดตาในแปลงปลูก

เมื่อปักหลักหมายปลูกเสร็จ นำเมล็ดไปปลูกใน
หลุมตามตำแหน่งของหลักหมายปลูก โดยปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อยางพาราโตได้ขนาดติตตาแล้วจึง นำตาเขียวไปติดตาในแปลงปลูก การติดตาจะติดตาทุกต้นที่สมบูรณ์ เมื่อตาติดดีแล้วจึงถอนออกให้เหลือต้นเดียวในหลุม ต้นที่ถอนออกนำไปปลูกที่อื่นหรือนำไปเลี้ยงเป็นกล้าชำถุงได้ ส่วนต้นที่เหลืออยู่จะตัดต้น ให้กิ่งงอกจากตาที่ติดไว้
ข้อดี ทุนผลิตต่ำ ต้นยางมีระบบเรือนรากลึกหาอาหารได้ดีและไม่โค่นล้มง่ายเมื่อลมพัดแรง
ข้อเสีย เสียโอกาสการกรีดยางพาราอย่างน้อย 1 ปี เนื่องจากกว่าเมล็ดที่ปลูกเป็นต้นกล้า ขนาดจะติดตาได้ต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หากมีการบำรุงรักษาให้ปุ๋ยและบำรุงอย่างดี แต่ถ้าปล่อยให้ เจริญเติบโตเองโดยธรรมชาติจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และกว่าจะติดตาได้ผลสำเร็จและกิ่งงอกต้องใช้ เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ตายางที่ติดในแปลงปลูกจะติดได้ยากกว่าการติดตาในแปลงเพาะเพราะระบบการ ให้น้ำแตกต่างกัน และค่าใช้จ่ายในการติดตาจะสูงกว่าติดตาในแปลงเพาะชำ
วิธีนี้เหมาะสำหรับชาวสวนที่มีทุนรอนน้อย พื้นที่ขนาดเล็กและสามารถจะติดตายางพารา ได้เอง

4.2 ปลูกยางพาราด้วยเมล็ดในถุงดินติดตาในถุงนำไปปลูกลงดิน

วิธีนี้ผู้ปลูกสามารถเตรียมกล้าปลูก ล่วงหน้าได้อย่างน้อย 1 ปี โดยนำเมล็ดปลูกในถุงดิน ขนาด 4 x 12 นิ้ว ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งเมล็ดยางพาราจะสุก เมื่อกล้างอกแล้วทำการบำรุงรักษาโดยการใส่ปุ๋ยยูเรียโดยสม่ำเสมอหลังจากนั้นประมาณ 6 เดือนคือเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม สามารถทำการติดตาได้ เมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จ ประมาณเดือนพฤษภาคม ทำการตัดยอดต้นกล้าที่ติดตาแล้วนำไปปลูกในแปลงได้
ข้อดี ยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีสามารถก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามเวลาที่กำหนด ระบบราก ของต้นยางพาราจะสมบูรณ์ และทุนผลิตกล้าปานกลาง
ข้อเสีย อัตราการรอดตายของต้นกล้าในแปลงปลูกค่อนข้างต่ำหากหลังปลูกกระทบแล้ง จำเป็นต้องซ่อมแซมมาก
วิธีนี้เหมาะกับเจ้าของสวนที่มีความสามารถในการติดตาเอง

4.3 ปลูกยางพาราด้วยเมล็ดในถุงดินติดตาในถุงเลี้ยงกล้าให้มีฉัตรใบแล้วนำไปปลูก 

การเตรียมกล้า เช่นเดียวกับวิธีที่ 2 จะแตกแต่งหลังจากติดตาแล้วประมาณ 1 เดือนจะตัดยอดกล้าให้กิ่งงอกจากตา เลี้ยง กล้าในถุงอีกประมาณ 2 เดือนจนกิ่งมีฉัตรใบ 1-2 ฉัตรจึงนำไปลูกในแปลงปลูก
ข้อดี ยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามเวลาที่กำหนด ระบบราก ของต้นยางพาราจะสมบูรณ์ อัตราการรอดตายสูง และทุนผลิตกล้าไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย ต้องใช้ทุนรอนพอสมควร
วิธีนี้เหมาะกับเจ้าของสวนที่มีความสามารถในการติดตาเอง

4.4 ปลูกยางพาราด้วยกล้าตาเขียว

โดยนำกล้าที่ติดตาแล้วลงปลูกในแปลง กล้ายางพาราคาเขียว อาจจะเตรียมเอง หรือซื้อจากเอกชนก็ได้ หากจะปลูกโดยวิธีนี้ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเมื่อฝนตกชุกจะทำ ให้อัตราการรอดตายของกล้าที่ปลูกสูง โดยขณะปลูกกำลังมีฝนตกด้วย จะทำให้การรอดตายยิ่งมากขึ้น
ข้อดี ทุนดำเนินการปานกลาง การเก็บเกี่ยวผลผลิตในอนาคตตรงตามกำหนด
ข้อเสีย กรณีเกิดฝนทิ้งช่วงหลังปลูกจะทำให้อัตราการงอกหรืออัตราการรอดตายของกล้า ต่ำ จำเป็นต้องทำการซ่อมแซม
การปลูกโดยวิธีนี้เหมาะสมกับการปลูกยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออกที่มีฝนชุก
การปลูกยางพาราด้วยกล้าตาเขียวให้อัตราการรอดตายของกล้าที่ปลูกสูง
การปลูกยางพาราด้วยกล้าตาเขียว

4.5 ปลูกยางพาราด้วยกล้าติดตาชำถุง

โดยการใช้กล้าชำถุงที่มีฉัตรใบ 1-2 ฉัตร มาปลูกลงแปลง ปลูก วิธีนี้จะทำให้การปลูกมีอัตราการรอดตายสูง กล้าชำถุงอาจจะเตรียมเองโดยการใช้กล้าตาเขียวมาเพาะ ชำในถุงดิน โดยการเพาะชำถุง ควรเตรียมถุงขนาด 4x12 นิ้ว บรรจุดิน นำไปจุ่มในภาชนะบรรจุน้ำ จน ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แล้วนำกล้ายงตาเขียวมาปักชำ นำไปเรียงพักในเรือนเพาะชำ การเรียงควรคำนึงถึงการ เข้าไปปฏิบัติงานดูแลรดน้ำ และหมั่นปลิดตาที่แตกจากต้นตอเดิม มิให้แก่งแย่งและเบียดบังตายางที่จะแตก ยอดอ่อน และควรป้องกันรักษาโรคราที่จะระบาดในเรือนเพาะชำ หรือซื้อกล้าชำถุงก็ได้
ข้อดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตในอนาคตเป็นไปตามเวลาที่กำหนด อัตราการรอดตายหลังปลูก สูง ความเติบโตสม่ำเสมอดี
ข้อเสีย ทุนค่อนข้างสูง
การปลูกโดยใช้วัสดุปลูกชนิดนี้เหมาะกับการปลูกที่มีพื้นที่มาก เจ้าของสวนมีทุนรอน
ต่อเนื่อง

5. การปักหลักหมายปลูกยางพารา

การดำเนินการปักหลักหมายปลูกพื้นที่ที่จะปลูกจะต้องเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว มีปัจจัย ต่างๆที่ต้องคำนึงอันดับแรกคือจำนวนต้นที่จะปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ สถาบันวิจัยยางแนะนำจำนวนต้นปลูกที่ เหมาะสมกับยางพาราทุกชนิดพันธุ์ คือยางพารา 1 ต้น จะครอบคลุมพื้นที่ 20 ตารางเมตร ซึ่งจะให้ ผลผลิตน้ำยางสดเมื่อคิดเป็นเนื้อยางพาราแห้งได้มากที่สุด ปัจจัยถัดมาที่ต้องคำนึงคือสภาพของพื้นที่ หาก เป็นพื้นที่ราบจะปักหลักหมายปลูกเป็นแถวตรง ในขณะที่พื้นที่ควนเขาหรือพื้นที่ลาดชันจะปักหลักหมาย ปลูกตามแนวระนาบ หรือแนวขอบเขา ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปักหลักหมายปลูกควรดำเนินงาน หลังจากเตรียมพื้นที่เสร็จประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม
หลักหมายปลูก หรือภาษาของสวนยางพาราเรียกว่า “ไม้ชะมบ” เป็นไม้หลักทำจากไม้ไผ่ กลมขนาดเล็กเส้นรอบวงประมาณ 5 - 8 ซม. หรือไม้ไผ่ขนาดใหญ่ผ่าซีก กว้างประมาณ 1 นิ้ว ความยาว ประมาณ 1.2 เมตร เสี้ยมปลายแหลม 1 ด้าน ไม้ชะมบ อาจจะทำจากวัสดุอื่นก็ได้ เช่นกิ่งไม้ขนาดเล็ก หรือเหล็กกลวง หรือเหล็กกลมก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงราคาต้นทุนด้วย การใช้ไม้เป็นไม้ชะมบ ใช้งานได้ปี เดียว แต่ใช้เหล็ก อาจจะใช้ได้หลายปี
วิธีการปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ราบ ก่อนจะทำการปักหลักหมายปลูกจะต้องคำนึงถึง รูปร่างของพื้นที่และทิศทางของลมประจำถิ่น ส่วนมากจะนิยมปักหลักหมายปลูกขนานกับแนวเขตแปลง เพื่อความเรียบร้อยสวยงามซึ่งบางครั้งแนวที่ปักหลักขวางกับทิศทางของลมประจำถิ่น จะก่อเกิดปัญหาค้น ยางพาราที่ปลูกล้มในกรณีลมแรง ลมประจำถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และ สมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมทั้ง 2 นี้มีทิศทางการพัดที่สวนทางกัน ดังนั้นทิศทางการปักหลัก หมายปลูกที่เหมาะสมควรปักหลักให้แถวที่จะปลูกเป็นไปตามทิศทางวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ แต่หากทิศทางที่จะปักหลักหมายปลูกไม่ขนานกับขอบแปลง ก็สามารถแก้ไขได้โดยใช้ทิศทางที่ทำมุม แหลมกับแนวลมประจำถิ่นให้มากที่สุด
เมื่อตัดสินใจเลือกแนวทางของแถวได้แล้วก็เริ่มขั้นตอนต่อไปคือ
การปักหลักหมายปลูกยางพาราพื้นที่ที่จะปลูกจะต้องเตรียมพื้นที่เรียบร้อย

5.1 การวางแนวหลัก (Base Line)

โดยใช้กล้องรังวัดกำหนดทิศทางของแนวแถว ปักหลักแม่ไว้ระยะห่างๆ หากใช้ระยะทางระหว่างต้น 3 เมตร หลักแม่ควรจะห่างกันหลักละประมาณ 30 เมตร หรือระยะตามความยาวของเทปวัดระยะแต่ต้องหารด้วย 3 ได้ลงตัว หากเกษตรกรรายย่อยไม่มีกล้อง รังวัดอาจกำหนดแนวแถวโดยการเล็งให้หลักทุกหลักซ้อนทับกันตามแนวทิศทางที่ต้องการ หลักแม่หลัก แรกควรห่างถนนขอบแปลงประมาณ 1.5 เมตร
การวางแนวหลักปลูกยางพารา
วิธีการปักหลักหมายปลูกโดยใช้กล้องรังวัด
การปักหลักหมายปลูก

5.2 การออกฉาก

เป็นการกำหนดทิศทางของแถวถัดไปให้ขนานกับแนวแถวหลัก หากใช้ กล้องรังวัดให้ใช้มุมต่างกับแถวหลัก 90 องศา แล้ววัดระยะทางเท่าความห่างของแถวปักหลักแม่หมายไว้ ทุกแถวจนเต็มพื้นที่ แล้วย้ายกล้องรังวัดมาวางที่หลักแม่แถวที่ต่อๆไปดำเนินการวางหลักแม่ตามข้อ 1. แต่ กรณีไม่ใช้กล้องรังวัดให้ใช้เทปวัดระยะออกจาก โดยอาศัยทฤษฎีบทที่ 29 ในวิชาเลขาคณิตที่กล่าวไว้ว่า “กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของด้านประกอบมุมฉาก” ตามภาพข้างล่าง ในภาพเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากซึ่งหากจัดทำเป็นสมการทางคณิตศาสตร์จะเป็น ค - ก + ข ซึ่งหาก แทนค่าเป็นตัวเลขของด้านประกอบของมุมฉากทั้งสามด้าน จะมีเลขที่เป็นจำนวนเต็มอยู่หนึ่งชุดที่นำมา ประยุกต์ใช้กับทฤษฎีนี้ได้คือ ด้าน ก-3 ข - 4 และ ค - 5 เมื่อนำไปแทนค่าในสมการจะเป็น
การออกฉากเป็นการกำหนดทิศทางของแถวถัดไป
52 = 32 + 42 หรือ 25 = 9+16 หรือ 25 = 25 ในทางปฏิบัติเมื่อจะออกฉากด้วยเทปวัดระยะ ให้วางหัวเทปที่มีเลข 0 ไว้ที่หลักแม่หลักแรกวัดระยะ ไปตามแนวหลัก 4 เมตรปักหลักไว้ วัดระยะจากหลักที่ ปักไว้ไปตามแถวต่อไป 5 เมตรซึ่งเลขในเทปจะเป็นเลข 9 เมตร และลากเทปต่ออีกอีก 3 เมตรไปหาหลักแม่ หลักแรก ซึ่งเลขในเทปจะเป็นเลข 12 ดึงเทปให้ตึงและ อยู่ในแนวระนาบแล้วปักหลักไว้ที่เลข 9 ก็จะได้ภาพสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งในภาพข้างล่างจะเป็นจุด ก. ข. และ ค. ต่อจากนั้นให้วัดระยะจากจุด ก.ผ่านไปทางจุด ค.ให้มีความกว้างเท่ากับแถวที่กำหนดหากต้องการ ระยะระหว่างแถว 7 เมตร ก็วัดกว้าง 7 เมตร ปักหลักไว้เป็นจุด จ.และวัดในแถวนี้ต่อไปโดยให้จุดต่อไป ห่างจากจุด จ. 7 เมตรปักหลักไว้ทำเช่นนี้จนถึงริมแปลงปลูก จุดเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของแถวต่อๆ ไป ในการเล็งเพื่อให้หลักหัวแถวอยู่ตรงกันต้องเล็งให้หลักซ้อนกันทุกหลักก็จะเป็นแนวตรง
การคำนวนการออกฉาก
การออกฉาก

5.3 การปักหลักซอย

เมื่อได้หลักแม่ตามแนวทาง ข้อ 1 และ 2 แล้ว ก็ปักหลักระหว่าง หลักแม่หรือเรียกว่าหลักซอยโดยใช้เทปวัดระยะวัดระหว่างหลักแม่ ซึ่งหลักแม่ทุกหลักมีระยะห่างกันที่ใช้ ความห่างระหว่างหลักปลูกหารได้ลงตัว โดยทั่วไประยะห่างระหว่างหลักใช้ระยะ 3 เมตร หลักซอยจะปัก ชิดสายเทปด้านใดด้านหนึ่งที่ตำแหน่ง 3 6 9 12 15 หรือ 18 เมตร เป็นต้น คนงานที่จะทำการ ปักหลักซอยควรจัดจำนวนคนให้เกินจำนวนหลักที่จะปัก หากปักหลักซอยที่ 3 6 9 12 15 และ 18 เมตร แสดงว่าหลักแม่ห่างกัน 21 เมตร จะต้องใช้คนงานในหนึ่งหมู่ 8 คน 2 คนแรกถือเทปวัดระยะ ที่เลข 0 และ 21 อีก 6 คน จะประจำอยู่ที่เลข 3 6 9 12 15 และ 18 เมตร
ก่อนเริ่มงาน คนงานที่มีหน้าที่ปักหลักจะต้องมีหลักที่จะปักไว้ทุกคนจำนวนเท่ากัน และมี ค้อนไม้คนละ 1 อัน เมื่อเริ่มงานผู้มีหน้าที่วัดระยะควรมีความสามารถในการเล็ง ผู้วัดระยะวัดเทปจากหลัก
ภาพแสดงระยะการปักหลักซอย
การปักหลักหมายปลูกถ้ากระทำได้ถูกต้องโดยเฉพาะขั้นตอนการออกจากเมื่อมองไปตามแนวตรง หรือแนวทะแยงมุมจะเห็นหลักที่ปักไว้เป็นแถวตรงตลอดพื้นที่
วิธีการปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ลาดชัน การปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ควนเขา หรือที่ ลาดชันหากจะปักหลักหมายปลูกเช่นเดียวกับพื้นที่ราบก็สามารถดำเนินการได้แต่จะเกิดความไม่สะดวกใน การปลูก บำรุงรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากยางพารา เพราะผู้ปฏิบัติงานจะต้องเดินขึ้นเขา-ลงเขา สลับกันไปตามแถวที่ปัก แต่หากพื้นที่นั้นมีความลาดเอียงไปทางด้านเดียวสม่ำเสมอก็สามารถปักหลักหมาย ปลูกให้เป็นไปตามแนวระนาบได้ แต่โดยข้อเท็จจริงพื้นที่ควนเขามีความลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ ความลาดชันก็แตกต่างกัน ตลอดจนล้านถาด (Aspect) ก็หันไปทางทิศที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถปักหลักหมาย ปลูกด้วยวิธีการปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ราบได้ จำเป็นต้องใช้วิธีการปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ลาดเท สำหรับพื้นที่ลาดเทที่เตรียมพื้นที่ด้วยเครื่องจักรกลและตัดขั้นบันไดแล้ว การปักหลักหมายปลูกแค่วัดระยะ ความห่างของต้น แต่พื้นที่ที่ยังไม่ได้ตัดขั้นบันไดต้องดำเนินการปักหลักหมายปลูกใหม่
การปักหลักหมายปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดเอียงสม่ำเสมอ
การปักหลักหมายปลูกในพื้นที่ลาดเอียงสม่ำเสมอ

อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้

1. เครื่องวัดระดับแนวราบ มี 2 ชนิด ชนิดที่ 1 ลักษณะเป็นตัว A มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร ส่วนขากว้างตามระยะห่างระหว่างต้นของไม้ยางพาราที่จะปลูก ในภาพใช้ขากว้าง 3 เมตร ใน ส่วนของไม้ขวางขาติดตั้งระดับน้ำของช่างไม้ ชนิดที่สองรูปร่างคล้ายตัวอักษร C คว่ำ ขาทั้งสองด้านยาว เท่ากันประมาณ 50 ซม.จุดกึ่งกลางไม้ด้านบนติดตั้งระดับน้ำช่างไม้เช่นกัน ความกว้างของขาเท่ากับระยะ ปลูกไม้ยางพารา เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ จัดทำขึ้นเองโดยใช้ไม้แปรรูปขนาด 1x2 นี้
อุปกรณ์ที่ใช้ในการปักหลักปลูกยางพารา
2. เทปวัดระยะ
3. หลักหมายปลูกหรือไม้ชะมบ
4. ฆ้อนไม้
แสดงการใช้เครื่องวัดระดับแนวราบในการปลูกยางพารา
เครื่องวัดระดับแนวราบ
จำนวนคนงานต่อ 1 ชุด ใช้คนงาน 4 คน คนที่ 1 และ 2 อยู่ประจำขาเครื่องมือ คนที่ 3 อ่าน ระดับน้ำปรับขาเครื่องมือให้อยู่ในแนวระนาบ คนที่ 4 ปักหลัก

วิธีดำเนินงาน

1.เลือกแนวลาดเอียงปานกลางเป็นตัวแทนของพื้นที่ทำการออกแนวหลัก (Baseline) โดยปักหลักแม่ไว้ทุกแนว ให้แต่ละหลักมีความกว้างระหว่างแถวตามแนวระนาบเท่ากับความกว้างของแถว ยางพาราที่กำหนด
การวางหลักแม่ในการปลูกยางพารา
วิธีนำเนินการปักหลักแนวปลูก
2. การปักหลักซอย เมื่อได้หลักแม่แล้ว ให้นำเครื่องมือปักหลักมาใช้ โดยวางขา เครื่องมือด้าน A ไว้ที่หลักแม่ ต่อมาหมุนขาด้าน B หาระดับแนวราบ เมื่อระดับน้ำบนคันเครื่องมืออยู่ กึ่งกลางแล้วที่ขา B จะเป็นตำแหน่งของหลักที่ 2 ปักหลักไว้ แล้วเลื่อนเครื่องมือมาเริ่มต้นที่หลักที่ 2 ต่อไป ดำเนินการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดพื้นที่ของแถวที่ 1 ซึ่งหากพื้นที่เป็นภูเขาที่มียอดเขาอยู่กลางพื้นที่ แนวของหลักจะมาตรงกับหลักแรก เมื่อดำเนินการในแถวที่ 1 เสร็จจึงมาปักหลักซอยในแถวต่อๆไปใน ทำนองเดียวกัน เมื่อปักหลักเสร็จแล้วให้ตรวจสอบระยะห่างของแถว เพื่อจัดทำแถวขาด แถวแทรกต่อไป ตามแนวทางที่อธิบายไว้แล้วในการเตรียมพื้นที่ด้วยเครื่องจักรกล
ตำแหน่งหลักหมายปลูกยางพารามองจากด้านบน
การตัดขั้นบันไดในแถวปลูก ในพื้นที่ควนเขาหรือลาดชันเมื่อปักหลักหมายปลูกแล้วจะยัง ปลูกยางพาราไม่ได้ ต้องทำการปรับแนวในแถวที่ปักหลักไว้ให้เป็นระดับราบ เพื่อความสะดวกในการเดิน ทำงานในอนาคตเรียกว่า การตัดขั้นบันไต ซึ่งกรณีใช้เครื่องจักรกลดำเนินการได้อธิบายไว้แล้วในเรื่องการ เตรียมพื้นที่ แต่ในกรณีตัดขั้นบันไดด้วยแรงคน ใช้จอบเป็นเครื่องเมือดำเนินการ โดยการปรับผิวดินที่ถาด ชันบริเวณริมหลักด้านล่างลง ให้แนวขั้นบันไดมีความกว้างประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร. ขึ้นอยู่กับ ลักษณะความลาดชันของพื้นที่ ความสูงจากผิวขั้นบันไดที่ตัดแล้วถึงบริเวณหลักหมายปลูกที่ปักไว้ไม่ จำเป็นต้องเท่ากัน ด้านในของขั้นบันไดให้ปรับเป็นมุมแหลมประมาณ 85 องศา เพื่อใช้เป็นแนวสกัด ดักขุยพืช และเศษ ซากอินทรีย์ (Humus) ที่ไหลบ่ามากับน้ำฝนเมื่อฝนตก และช่วยสกัดการเกิดการชะล้าง ผิวดิน (Erosion) ด้วย การขยายขั้นบันไดจากหลักที่ 1 ไปหลักที่ 2 และหลักถัดไปต้องปรับพื้นให้อยู่ใน แนวระนาบ
ภาพการตัดขึ้นขั้นบันไดในแถวปลูกยางพารา
ภาพด้านหน้าตัดหลังปรับขั้นบันได
ในระหว่างปรับขั้นบันไดระหว่างหลักต่อหลัก ระยะ 3 เมตรจะเป็นแนวตรงถ้าตัดดิน ออกเป็นแนวตรงจะไม่เรียบร้อยสวยงาม ให้ทำการปรับให้เป็นแนวโค้งมากน้อยตามลักษณะของแนวลาด ชันจะทำให้ขั้นบันไดที่ได้เรียบร้อยสวยงามขึ้น เมื่อดำเนินการปรับขั้นบันไดเสร็จให้ตรวจสอบหลักหมาย ปลูกหากกระทบกระเทือนเอน หรือล้มให้นำมาปักไว้ในที่เดิมด้วย
แนวเขตที่ปลูกยางพารา
แนวขั้นบันไดที่ปรับตามสภาพความโค้งผิวดิน
ตอน  1  2  3  4
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147