วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกง่ายๆ สำหรับมือใหม่เพื่อสร้างรายได้หรือไว้กินเองในครัวเรือน

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกเป็นการประยุกต์จากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้พื้นที่น้อยมี่ขั้นตอนและวิธีการเพาะไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับทำเป็นงานอดิเรกให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้เพิ่ม ใช้วัสดุเพาะที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้วัสดุทีไม่มาก วัสดุได้แก่ ผักตบชวา ตอซัง ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว ขี้เลื่อยเก่า ที่เพาะเห็ดถุง สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เห็ดต้องการได้ง่ายและให้ผลผลิตคุ้มค่า รวมใช้เวลาในการเพาะสั้น โดยเฉลี่ยประมาณ 9 วัน
เห็ดฟางเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย ประเทศไทยผลิตเห็ดฟางได้ 60,000 ตัน/ปี แต่ไม่พอเพียง เนื่องจากมีรามไม่แพง เนื้อหนานุ่มรสชาติอร่อยกลิ่นหอม มีคุณค่าอาหารสูง ทั้งกรดอะมิโน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินหลายชนิด จึงเป็นที่นิยมรับประทาน
เห็ดฟางขั้นตอนและวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก
เห็ดฟางขั้นตอนและวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก

1. วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนเพื่อศึกษาต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขาย การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งยังสามารถเก็บผลผลิตได้ง่าย ใช้เวลาในการเพาะสั้นก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว
เพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกที่สามารถทำได้เองที่บ้าน ใช้วัสดุหาง่ายอย่างฟางข้าวและเชื้อเห็ดฟาง
วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

2.วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

• ตะกร้าพลาสติกรูห่าง ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 140 เซนติเมตร หรืออาจประยุกต์ใช้เป็นตะกร้าผลไม้ก็ได้
• วัสดุที่ใช้เพาะเห็ดได้แก่ ตอซัง ฟางข้าว ผักตบชวา ขี้เลื่อยจากก้อนเห็ดเก่า
• เชื้อเห็ดฟาง
• อาหารเสริม ได้แก่ ขี้ฝ้าย รำละเอียด ละอองข้าว ต้นกล้วยสับแห้ง หรือ ปุ๋ยคอก ผสมดินร่วนอัตรา 1:10
• ผ้าพลาสติกใส
• สุ่มไก่
1. หัวเชื้อเห็ดฟางวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง
หัวเชื้อเห็ดฟาง
2. ตะกร้าพลาสติกในการเพาะเห็ดฟาง
ตะกร้าพลาสติก
3. สุ่มไก่วัสดุในการเพาะเห็ดฟาง
สุ่มไก่
4. หรือใช้เข่งไม้สานแทนตะกร้าพลาสติกในการเพาะเห็ดฟางก็ได้
เข่งไม้สาน
5. ฟางข้าวแห้งวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง
ฟางข้าว
6. ผ้าพลาสติกใสวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง
ผ้าพลาสติกใส

3. ขั้นตอนการเพาะเห็นฟางในตะกร้า

3.1 แช่วัสดุเพาะเห็ดถ้าเป็นตอซังแช่น้ำนาน 6 ชั่วโมง ฟางข้าวแช่น้ำ 1 คืน หรือ ขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเติมน้ำให้ขึ้นหมาด ผักตบชวาสดให้สับยาว 4-6 นิ้ว
3.2 นำวัสดุเพาะเห็ดใส่ในตะกร้าพลาสติก อัดให้แน่นสูงจากพื้น 10 เซนติเมตร โรยอาหารเสริมเห็ดฟางลงไปให้ทั่วและโรยเชื้อเห็ดฟางลงบนอาหารเสริมโดยรอบก็เสร็จในขั้นตอนแรก
3.3 นำวัสดุเพาะใส่ในตะกร้าพลาสติกเป็นชั้นที่ 2 ทำเหมือนการเพาะในขั้นแรกจนครบ 4 ชั้น ให้ใช้วัสดุเพาะคลุมทับหน้าตะกร้าพลาสติกหนา 5 เซนติเมตร
3.4 วางตะกร้าพลาสติกบนพื้นดินที่มีความชื้นสูงชันแรกวางเรียงให้ได้ 3 ตะกร้า และวางชั้นบนได้อีก 1 ตะกร้า 1 ชุด วางตะกร้าเห็ดได้ 4 ตะกร้า และเพิ่มความชื้นบนตะกร้าให้มีความชื้นมากที่สุด
3.5 ใช่สุ่มไก่มาครอบบนตะกร้าเพาะเห็ดคลุมด้วยพลาสติกใสโดยรอบของสุ่ม และใช้ฟางข้าวที่แห้งมาคลุมพรางแสงเป็นรอบสุดท้ายใช้เวลาในการเพาะ 9 วัน ก็จะเก็บดอกเห็ดชุดแรกได้
ขั้นตอนที่ 1 นำฟางข้าวแช่น้ำ
นำฟางแช่น้ำ 1 คืน
ขั้นตอนที่ 2 ใส่ฟางในตะกร้าพลาสติก
ใส่ฟางในตะกร้าพลาสติก
ขั้นตอนที่ 3 ใส่หัวเชื้อและอาหารเสริม
ใส่หัวเชื้อและอาหารเสริม
ขั้นตอนที่ 4 รดน้ำให้ชุ่ม
รดน้ำให้ชุ่ม
ขั้นตอนที่ 5 การจัดวางตะกร้าเห็ด
การจัดวางตะกร้าเห็ด
ขั้นตอนที่ 6 นำสุ่มไก่ครอบตะกร้าเห็ด
นำสุ่มไก่ครอบตะกร้าเห็ด
ขั้นตอนที่ 7 คลุมด้วยพลาสติกใส
คลุมด้วยพลาสติกใส
ขั้นตอนที่ 8 พรางแสงด้วยฟางข้าวรอบตะกร้าเพาะเห็ด
พรางแสงด้วยฟางข้าวรอบตะกร้าเพาะเห็ด
ขั้นตอนที่ 9 ดอกเห็ดเกิดการงอกในตะกร้า
ดอกเห็ดเกิดการงอกในตะกร้า

4. การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

• สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
• รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
• คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
• ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วัน
• อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายอย่างก็ได้

5. การเก็บเกี่ยวผลผลิต

เมื่อเส้นของเห็ดฟางเจริญเต็มตะกร้าแล้ว ก็พัฒนารวมตัวกันเป็นดอกเห็ดเล็กโดยรอบตะกร้า และขยายดอกเห็ดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระยะตูมรูปไข่ ก็ทำการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดได้ โดยใช้มือจับดอกเห็ดโยกไปมาและหมุนจนดอกเห็ดหลุดออก และเลือกเก็บดอกที่ตูมเท่านั้นทำการเก็บผลผลิตวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ได้ผลผลิต 500-800 กรัมต่อตะกร้า
ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้จากการเพาะเห็ดในตะกร้า
ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้จากการเพาะเห็ดในตะกร้า

ต้นทุนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วัสดุ
ราคา (บาท)
ตะกร้า
45
เชื้อเห็ด
6
ขี้เลื่อย
3
อาหารเสริม/แห้งข้าวสาลี
3

ข้อแนะนำการเพาะเห็นฟาง

• การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะ ฟางที่นำมาใช้เพาะเห็ดต้องแห้งสนิทมาก่อน ไม่มีเชื้อราปน
• การแช่ฟางควรแช่ให้อิ่มน้ำมากที่สุด เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางเจริญได้ดี
• เลือกเชื้อเห็ดฟางที่ไม่มีจุลินทรีย์อื่นปลอมปน เช่น ราเขียว ราดำ ราขาว และไม่มีการรวมตัวของเส้นใย เป็นดอกเห็ดถ้ามีดอกเห็ดเล็กๆ เกิดขึ้นจะเจริญไม่ดีในแปลงเพาะให้ผลผลิตต่ำ
• พื้นที่เพาะเห็ดฟางควรอยู่กลางแจ้ง พื้นดินควรมีความชื้นหมาด ถ้าปรับปรุดินด้วยปุ๋ยดอกก็จะเพิ่มผลผลิต
• การวางแผนกองเพาะเห็ดควรวางในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เพราะจะทำให้รับแสงแดดตลอดทั้งแปลง
• น้ำที่ใช้แช่วัสดุเพาะควรเป็นน้ำสะอาดทางการเกษตร ห้ามใช้น้ำประปาที่มีสารคลอรีนเด็ดขาดเพราะจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่เจริญในกองฟาง
• เห็ดฟางเป็นเห็ดฟางที่เพาะง่ายไม่ต้องมีการนึ่งฆ่าเชื้อที่วัสดุเพาะ มีอายุในการเพาะสั้น ในช่วงฤดูร้อนใช้เวลา 8-10 วัน ช่วงฤดูหนาวใช้ 15-20 วัน
• เนื่องจากเห็ดฟางมีอายุในการเพาะที่สั้น จึงใช้วัสดุเพาะปริมาณ ผู้เพาะจึงควรสะสมวัสดุเพาะไว้ให้มาก เช่น ฟางข้าว ควรเก็บสะสมในฤดูหลังนา เพื่อการเพาะที่ต่อเนื่องถึงจะมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
• ราคาของผลผลิตสูงขึ้นในช่วงเดือนเมษายน เป็นต้นไป จนถึงเดือนพฤศจิกายน จะได้ผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากอากาศร้อนและมีปริมาณน้ำมากในฤดูฝน
• การให้น้ำเห็ดฟาง จะให้บนกองฟางที่เพาะเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้นก่อนการคลุมกองฟางจะรดน้ำบนกองฟางให้ชื้นที่สุดและคลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติกใส
• การคลุมกองฟางต้องไม่ให้ชายพลาสติกคลุมติดชิดกองฟางโดยเด็ดขาด เพราะว่าจะมีหยดน้ำตกลงบนขอบ่ข้างกองฟางมากเกินไปทำให้เส้นใยเห็ดยุบตัวไม่รวมตัวเป็นดอกเห็ด
• ถ้าต้องการให้เกิดดอกเห็ดทั่วทั้งกอง ให้ใช้ไม้โค้งปักรอบเพื่อไม่ให้พลาสติกคลุมชิดกองฟาง
• วัสดุเพาะเห็ดที่เป็นตอซังหรือฟางข้าวสามารถนำไปสับและหมักใช้เพาะเห็ดนางรมได้เป็นอย่างดี

การดูแลตะกร้าพลาสติกเพาะเห็ดภายในโรงเรือน

1. ในช่วง 1-4 วัน (ฤดูร้อนและฝน) ส่วนฤดูหนาว ช่วง 1-7 หรือ 8 วัน แรก ต้องควบคุมอุณหภูมิ ภายในโรงเรือน ให้อยู่ระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
• ติดเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือนหรือกระโจม เพื่อตรวจดูอุณหภูมิให้ได้ระดับที่กำหนดไว้เสมอ
• หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนหรือใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบกระโจมเพื่อลดอุณหภูมิ
• หากอุณหภูมิต่ำกว่ากำหนดต้องปิดช่องระบายอากาศให้มิดชิด หรือใช้หลอดไฟ 100 วัตต์วางไว้ในโรงเรือนเพาะเห็ด ห่างจากตะกร้าพลาสติก ประมาณ 1 คืบ หรือ 10 นิ้ว เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเกิดความร้อนเกินไป ในกรณี นี้ต้องยกตะกร้าเพาะเห็ด ให้สูงขึ้นโดยวางตะกร้า เพาะไว้บนชั้นโครงเหล็กจะสะดวกต่อการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น
หมายเหตุ: ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ภายในกระโจม หรือโรงเรือน ให้อยู่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปโดยใช้ ไฮโดรมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือน ระดับเดียวกันกับเทอร์โมมิเตอร์
2. เมื่อถึงวันที่ 4 ในฤดูร้อนและฝน หรือวันที่ 5 ในฤดูหนาว ให้เปิดพลาสติกคลุมหรือปิดประตูโรงเรือน อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศให้ใยเห็ดสร้างจุดกำเนิดดอกถ้าวัสดุเพาะแห้งเกินไปให้รดน้ำตามสมควร ปกติรดน้ำเพียงเล็กน้อยจะเป็นการตัดเส้นใยเชื้อเห็ดซึ่งการตัวเชื้อเห็ดนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างดอกเห็ดได้โดยอาจใช้น้ำตาลกลูโคส 1 ช้อนกาแฟ ละลายกับน้ำ 1 ลิตร รดน้ำให้วัสดุเพาะ ด้วยก็ได้ ถ้าไม่แห้งก็ไม่ต้องรด หลังจากเปิดประตูเพื่อถ่ายเทอากาศแล้วต้องปิดพลาสติกหรือประตูไว้เช่นเดิม
3. ระหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุม อุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียสโดยในช่วง 6-7 วัน จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมากมายช่วงนี้ห้ามปิดพลาสติกหรือโรงเรือนบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้
4. การเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อน หรือ 12-15 วันในฤดูหนาว
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147