วิธีทำปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร้าไม่พริกกลับกอง แบบง่ายๆ ใครๆก็ทำได้

หลายคนเข้าใจว่าการทำปุ๋ยหมักต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ยุ่งยากและใช้พื้นที่มากจนไม่เหมาะกับวิถีชีวิตของคนเมือง แต่ความเป็นจริงแล้วเราสามารถนำเศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก กิ่งไม้ ใบไม้ และเศษซากวัชพืชมาทำปุ๋ยได้ง่ายๆ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยคอกและภาชนะอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายๆ เช่น ตะกร้าพลาสติก หรือ เข่งพลาสติก แค่มีการจัดการที่ดี ทั้งเรื่องสัดส่วนของวัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมัก รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ เพียงเท่านี้ก็ได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้ในเวลาไม่นาน แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อ
ปุ๋ยหมักมีความจำเป็นอย่างมากแม้ว่าดินจะอุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่ถ้าไม่มีการบำรุงเพิ่มเติมเลย คงเป็นไปไม่ได้ที่พืชผักจะเจริญเติบโตสวยงามและผลิตดอกออกผล โดยเฉพาะพืชผักที่มีอายุหลายปี เพราะเมื่อเราปลูกไปนานๆ รากพืชดูดธาตุอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโต ธาตุอาหารในดินย่อมจะลดลงตามการเวลา นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ปุ๋ยกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกพืชผักทุกชนิด

อุปกรณ์ทำปุ๋ยหมัก

1. ตะกร้าพลาสติกที่มีรู (ตะกร้าโปร่ง) หรือ เข่งพลาสติก (ขนาดตามพื้นที่ที่มี)
2. เศษอาหารและขยะอินทรีย์ เช่น เปลือกผัก ผลไม้ เศษอาหาร กากกาแฟ
3. ใบไม้แห้ง ฟางข้าว
4. มูลสัตว์ (เช่น มูลไก่ มูลวัว) หรือปุ๋ยคอก อาจใช้กากน้ำตาลเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลาย
5. น้ำเปล่า
เข่งหรือตะกร้าสำหรับทำปุ๋ยคอก
เศษอาหารขยะอินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยคอกในเข่งหรือตะกร้า
ใบไม้แห้งสำหรับทำปุ๋ยคอกในเข่งหรือตะกร้า
มูลสัตว์สำหรับทำปุ๋ยคอกในเข่งหรือตะกร้า
ใช้รดน้ำปุ๋ยคอกในเข่งหรือตะกร้า

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก

1. วางเศษพืช เศษอาหาร ผัก ผลไม้ หนา 5 ซม. โรยทับด้วยมูลสัตว์ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 (โดยการตวง) รดน้ำ สลับเป็นชั้นๆ เติมได้ทุกวัน (รดน้ำทุกวัน)
2. ทุก 10 วันเอาสายยางน้ำเสียบลงไปในแนวดิ่งแทงลึกสัก 2 ใน 3 เพื่อเติมน้ำข้างใน ระยะห่าง 10 ซม. เติมน้ำใช้เวลา 10 นาที
3. ปุ๋ยครบ 60 วัน คว่ำเทออกจากตะกร้าหรือเข่ง หยิบเอาใบไม้ที่ไม่เปื่อยที่ผิวหน้า ที่ด้านข้างออก (ใบไม้ที่ไม่เปื่อยเอาทำปุ๋ยหมักรุ่นต่อไป)
4. หลังจากนั้น ทิ้งให้แห้ง (ความชื้นน้อยกว่า 30%) ก่อนใช้หรือเก็บในถุง เพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัว
5. ปกติการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับจะมีใบไม้ที่ไม่เปื่อยประมาณ 3%
นำเศษใบไม้วัชพืชใส่ลงในเข่งหรือตะกร้า
นำมู่ลสัตว์หรือปุ๋ยคอกใส่ลงเข่งหรือตะกร้า
ทำซ้ำจนเต็มเข่งหรือตะกร้า
นำ em ผสมลงในน้ำเพื่อรดปุ๋ยคอกในเข่งหรือตะกร้า
รดน้ำที่ผสมem ลงในเข่งหรือตะกร้าปุ๋ยที่ทำเสร็จ

เคล็ดลับเพิ่มเติม

• หลีกเลี่ยงใส่ของมันๆ เช่นเนื้อสัตว์ เพราะอาจทำให้เกิดกลิ่นและดึงดูดสัตว์รบกวน
• ถ้าปุ๋ยหมักแห้งเกินไป ให้พรมน้ำเพิ่ม ถ้าชื้นเกินไปให้เติมเศษใบไม้แห้งลงไป
• ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงหรือ EM ผสมเพื่อเร่งการหมักให้ดียิ่งขึ้น

ข้อห้ามของการทำปุ๋ยวิธีนี้ คือ

• ห้ามขึ้นเหยียบเพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้
• ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้
• ห้ามทำชั้นเศษพืชหนาเกินไป เพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
• ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้
• ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น
ปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร้าเหมาะกับใคร
• ที่ต้องการใช้ปุ๋ยไม่มากนักไม่เกิน 100-150 กิโลกรัม
• มีพื้นที่ไม่มากนัก หรือ ต้องการกระจายกองปุ๋ยเป็นจุด ให้ทั่วพื้นที่สะดวกในการใช้ การขนปุ๋ย
• สะดวกในการดูแล ป้องกันสัตว์เลี้ยงคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ย
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร้า
• ลดปริมาณขยะอินทรีย์
• ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน
• เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
• ประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร้าเป็นวิธีการทำง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้ที่บ้าน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้พืชผักเติบโตงดงามแบบไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147