อุปกรณ์ก่อสร้างพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับงานก่อสร้างทุกประเภท

แนะนำอุปกรณ์ก่อสร้างหรือเครื่องมือช่างที่ควรรู้ ว่ามีอะไรบ้างแต่ละอุปกรณ์หน้าตาเป็นอย่างไร ใช้งานอย่างไร ซึ่งถ้าใช้งานอุปกรณ์ก่อสร้างอย่างเหมะสมถูกต้องตามประเภทของงาน จะทำให้เกิดประสิทธิผล และไม่ประสบอันตรายจาการใช้อุปกรณ์ก่อสร้างนั้นๆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญกับงานก่อสร้าง ที่จะทำให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วง ช่างที่ดีจะต้องรู้จักและใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่างต้องรู้จักใช้เครื่องมือเป็นไปตามขั้นตอนการทำงาน การเก็บรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

1. อุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ในงานดิน

เครื่องมือช่างที่ใช้ในงานดินที่ควรทราบมีดังนี้
1.1 จอบ ทำจากแผ่นเหล็กเหนียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนบนเป็นปลอกให้ยึดปลายด้ามไม้ให้ติดกันแน่น หน้าจอบมีลักษณะเรียบตรง มีความคมเล็กน้อย สามารถขุดดินและตักปูนก่อได้ ใช้ขุดดิน ผสมปูนซีเมนต์ก่อ ใช้ตักปูนในอ่างผสมปูนก่อนเทลงในถังปูน เป็นต้น
ลักษณะจอบ
จอบ
วิธีการใช้งานจอบ
การใช้งานจอบ
1.2 พลั่ว ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กปั๊มอัดขึ้นรูปตรงกลางให้นูนเป็นเส้น แล้วม้วนเป็นท่อกลมติดกับด้ามเหล็กหรือด้ามไม้ ตรงขอบด้านข้างปั๊มอัดขึ้นมาเล็กน้อย พลั่วตักทรายมี 2 ลักษณะคือ พลั่วตักทรายหน้าเหลี่ยม และ พลั่วตักทรายหน้ามน นำไปใช้ตักและผสมวัสดุ เช่น ดิน หิน ทราย เป็นต้น
ลักาณะพลัว
พลั่ว
วิธีการใช้งานพลั่ว
การใช้งานพลั่ว
1.3 ถังหิ้วปูน เป็นภาชนะรูปทรงกระบอกตอนบนปากมีลักษณะผายออกเล็กน้อยทำด้วยพลาสติกเหนียวหล่อเป็นเนื้อเดียวกัน ข้างบนถังจะมีหูหิ้วซึ่งอาจทำจากพลาสติกหรือทำจากเหล็กก็ได้และอาจมีตาไก่ตรงที่ใส่หูหิ้วเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของถัง  ถังปูนใช้เพื่อในการใส่ปูนก่อ ปูนฉาบ เป็นต้น
ลักษณะถังหิ้วปูน
ถังหิ้วปูน
วิธีการใช้งานถังหิ้วปูน
การใช้งานถังหิ้วปูน
1.4 อ่างผสมปูน เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับผสมปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำให้เข้ากันก่อนนำไปใช้งานในงานก่อสร้าง มี 2ลักษณะ อ่างผสมปูนทรงรี (นิยมมาก) ช่วยให้ผสมปูนได้สะดวกและกระจายตัวได้ดี อ่างผสมปูนทรงสี่เหลี่ยมเหมาะสำหรับงานที่ต้องการควบคุมปริมาณปูนอย่างแม่นยำ
ลักษณะอ่างผสมปูน
อ่างผสมปูน
วิธีการใช้งานอ่างผสมปูน
การใช้งานอ่างผสมปูน
1.5 รถเข็นพร้อมกระบะ รถเข็นมีทั้งล้อเดี่ยว ล้อคู่ ตัวกระบะอาจใช้เป็นเหล็กหรือพลาสติกก็ได้ ใช้สำหรับขนวัสดุ เช่น หิน ดิน ปูนซีเมนต์ผสม ปูนขาว ทรายหยาบ ทรายกลาง อิฐ หิน รวมไปถึงวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
ลักษณะรถเข็นปูน
รถเข็นปูน
วิธีการใช้งานรถเข็นปูน
การใช้งานรถเข็นปูน
1.6 บุ้งกี๋ มีลักษณะเป็นกระบะทำจากพลาสติก หวาย โลหะ และอื่นๆ แต่ปัจจุบันนิยมใช้เป็นบุ้งกี๋ที่ผลิตจากพลาสติกเพาะมีน้ำหนักเบาทนทานซึ่งมีสองชนิดได้แก่ บุ้งกี๋หวายและบุ้งกี๋ทึบ ใช้สำหรับใส่ดิน ทราย หรือหิน หรือใช้ตวงวัสดุผสมคอนกรีต เป็นต้น
ลักษณะบุ้งกี๋
บุ้งกี๋
วิธีการใช้งานบุ้งกี้
การใช้งานบุ้งกี้
1.7 เครื่องตบดิน เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ดินแน่น ดินต้องมีความชื้นพอเหมาะต้องทำการบดอัดอย่างสม่ำเสมอตลอดผิวหน้า เพื่อให้มีความหนาแน่นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดและป้องกันการทรุดตัวเมื่อเทคอนกรีตแล้ว ใช้ตกแต่งผิวขั้นสุดท้ายของถนนขนาดเล็ก พื้นผิวเรียบและผิวลาดเอียง
ลักษณะเครื่องกลบดิน
เครื่องกลบดิน
วิธีการใช้งานเครื่องกลบดิน
การใช้งานเครื่องกลบดิน

2. อุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ในงานโครงสร้าง

เครื่องมือช่างที่ใช้ในงานโครงสร้างนั้นแบ่งได้ดังนี้
2.1 ปั้นจั่น เป็นเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับเครื่องย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากใช้เคลื่อนย้ายวัสดุขึ้นลงในแนวดิ่ง แล้วเคลื่อนที่ไปมาโดยรอบหรือตามทิศทางที่กำหนดไว้ การทำงานของปั้นจั่นจะผ่านทางสลิง ซึ่งทำด้วยเหล็กเส้นบางๆ ถักสามเป็นโครง ตัวปั้นจั่นจะมีโครงสร้างเป็นเหล็กถัก เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้ มีน้ำหนักเบา ปั้นจั่นแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ และปั้นจั่นเคลื่อนที่
ลักษณะและวิธีใช้ปั่นจั่นแบบอยู่กับที่
ปั่นจั่นแบบอยู่กับที่
ลักษณะและวิธีใช้ปั่นจั่นแบบเครื่องที่
ปั่นจั่นแบบเครื่องที่
2.2 กรรไกรตัดเหล็กเส้น เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับตัดโลหะที่มีความแข็งแรงสูง เช่น เหล็กเส้น ลวดสลิง โซ่ หรือกุญแจล็อคบางประเภท ลักษณะเด่นของกรรไกรตัดเหล็กเส้นมีดังนี้ ใบมีดแข็งแรงทำจากเหล็กกล้าหรือเหล็กคาร์บอนสูงที่ผ่านการชุบแข็ง ด้ามจับยาว มีความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไป เพื่อเพิ่มแรงกด ระบบคานงัด (Leverage Mechanism) ช่วยเพิ่มแรงตัดโดยใช้แรงจากผู้ใช้ให้น้อยลง รูปแบบใบมีด มีหลายแบบ เช่น ใบมีดตรง ใบมีดโค้ง หรือใบมีดเฉียง ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ลักษณะและวิธีการใช้กรรไกรตัดเหล็กเส้น
ลักษณะและวิธีการใช้กรรไกรตัดเหล็กเส้น
2.3 เครื่องตัดเหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัดเหล็กในงานก่อสร้าง งานช่าง และอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยสามารถตัดเหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กกล่อง หรือแผ่นเหล็กได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องตัดเหล็ก
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องตัดเหล็ก
2.4 เครื่องยืดเหล็ก ใช้สำหรับตัดและยืดเหล็กเส้นในงานก่อสร้าง ใช้งานได้ทุกสถานที่ทั้งบนโต๊ะทำงานและบนพื้นดิน
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องยึดเหล็ก
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องยึดเหล็ก
2.5 คีมผูกลวด (Rebar Tying Pliers หรือ Wire Twisting Pliers) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผูกลวดเหล็กในการก่อสร้าง เช่น การยึดเหล็กเส้นให้แน่นก่อนเทคอนกรีต เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรง ปลายคีมแหลมและโค้งเล็กน้อย เพื่อให้สามารถจับและม้วนลวดได้ง่าย มีระบบหมุนอัตโนมัติ (บางรุ่น) ช่วยให้สามารถบิดลวดได้รวดเร็วขึ้น
ด้ามจับหุ้มยางหรือพลาสติกกันลื่น เพื่อให้จับถนัดมือและลดอาการล้าขณะใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ทำจากเหล็กกล้าหรือโลหะคุณภาพสูง เพื่อรองรับแรงดึงและการใช้งานหนัก
ลักษณะและวิธีการใช้คีมผูกลวด
ลักษณะและวิธีการใช้คีมผูกลวด
2.6 เครื่องโม่ผสมปูน (Concrete Mixer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผสมปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อใช้ในงานก่อสร้าง โดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้ ถังโม่หมุนได้ (Drum): ทำจากเหล็กแข็งแรง มีใบกวนอยู่ภายในเพื่อช่วยผสมปูนให้เข้ากัน มอเตอร์ขับเคลื่อน: ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ดีเซลในการหมุนถังผสม คานรองรับและล้อเลื่อน: เพื่อให้เคลื่อนย้ายเครื่องได้สะดวก กลไกควบคุมการหมุน: มีคันโยกหรือสวิตช์สำหรับเปิด-ปิดการหมุนของถังโม่
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องโม่ผสมปูน
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องโม่ผสมปูน
2.7 เครื่องเขย่าคอนกรีต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับไล่ฟองอากาศและทำให้คอนกรีตแน่นขึ้นหลังจากเทลงในแบบหล่อ ช่วยให้โครงสร้างมีความแข็งแรงและลดการแตกร้าวในอนาคต ข้อควรระวังห้ามเขย่าคอนกรีตนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการแยกชั้นระหว่างซีเมนต์ ทราย และหิน การใช้เครื่องเขย่าคอนกรีต จะต้องจุ่มหัวเขย่าไปในแนวดิ่ง ในเนื้อคอนกรีตช้าๆและดึงขึ้นช้าๆ เพื่อให้เนื้อคอนกรีตไล่ฟองอากาศลอยขึ้นตามหัวเขย่าให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการดึงหัวเขย่าอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้คอนกรีตเป็นโพรง ระยะการจี้เขย่าทุก 30-60 เซนติเมตร
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องเขย่าคอนกรีต
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องเขย่าคอนกรีต
2.8 เครื่องเชื่อมเหล็ก (Welding Machine) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนเหล็กเข้าด้วยกันโดยใช้ความร้อนสูงจนโลหะหลอมละลายและรวมตัวกัน เครื่องเชื่อมมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับวิธีการเชื่อมและแหล่งพลังงานที่ใช้
เครื่องเชื่อมเหล็ก
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องเชื่อมเหล็ก

3. อุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ในงานตกแต่งอาคาร

เครื่องมือช่างที่ใช้ในงานตกแต่งมีดังนี้
3.1 เกรียง เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ นำไปใช้ในงานก่ออิฐ ถือปูน และ ใช้ในงานแต่งผิวหน้าคอนกรีต เกรียงแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้งานได้ดังนี้
3.1.1 เกรียงก่ออิฐ (Brick Trowel) เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับงานก่ออิฐและฉาบปูน มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กสามเหลี่ยมปลายแหลม หรือบางรุ่นอาจมีรูปทรงสี่เหลี่ยมปลายมน ด้ามจับทำจากไม้หรือพลาสติกเพื่อให้จับถนัดมือ ใช้สำหรับ ตักปูนใช้เกรียงตักปูนก่อจากถังปูนแล้วนำไปวางบนแนวอิฐ
ปาดปูนใช้เกรียงเกลี่ยปูนให้เรียบและสม่ำเสมอบนก้อนอิฐหรือพื้นผิว แต่งแนวปูนใช้ขอบเกรียงปรับแต่งแนวปูนให้เสมอกัน ขูดปูนส่วนเกินหากมีปูนเกินออกมาจากร่องอิฐ สามารถใช้เกรียงขูดออกเพื่อให้แนวอิฐเรียบร้อย
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงก่ออิฐ
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงก่ออิฐ
3.1.2 เกรียงเหล็กขัดมัน (Steel Trowel) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานฉาบปูนและงานขัดมันพื้นผิวคอนกรีต วัสดุทำจากเหล็กกล้าหรือสแตนเลสและมีทำจากพลาสติก มีความแข็งแรงและทนทาน รูปทรง แผ่นเหล็กเรียบแบน มีขอบโค้งเล็กน้อยเพื่อให้ขัดพื้นผิวได้เรียบเนียน ด้ามจับทำจากไม้หรือพลาสติก ออกแบบให้จับถนัดมือ
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงเหล็กขัดมัน
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงเหล็กขัดมัน
3.1.3 เกรียงถือปูน (Plastering Trowel) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานฉาบปูนและงานปูกระเบื้อง โดยมีลักษณะดังนี้ วัสดุทำจากเหล็กกล้าหรือสแตนเลสและพลาสติก  เพื่อความแข็งแรงและทนต่อการกัดกร่อน รูปร่างแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขอบเรียบ ด้ามจับทำจากไม้หรือพลาสติก ออกแบบให้จับได้ถนัดมือ ใช้สำหรับตักและถือปูน ฉาบปูน
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงถือปูน
ลักษณะและวิธีการใช้เกรียงถือปูน
3.2 กระบะถือปูน (Hawk) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานฉาบปูน เพื่อช่วยให้ช่างสามารถตักและถือปูนได้สะดวกขึ้น มีลักษณะดังนี้ วัสดุทำจากอะลูมิเนียม สแตนเลส หรือพลาสติกที่มีความแข็งแรง รูปร่างแผ่นกระบะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 12–16 นิ้ว ด้ามจับอยู่ตรงกลางด้านล่างของกระบะ ออกแบบให้จับสะดวกและมั่นคง
ลักษณะและวิธีการใช้กระบะถือปูน
ลักษณะและวิธีการใช้กระบะถือปูน
3.3 สามเหลี่ยมปาดปูน ทำจากไม้หรือโลหะที่มีความแข็งแรง ขนาดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปยาว 4 ฟุต ขอบสูง 1 นิ้ว ฐานหนา 0.5 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ผิวหน้าเรียบและตรง
ลักษณะและวิธีการใช้สามเหลี่ยมปาดปูน
ลักษณะและวิธีการใช้สามเหลี่ยมปาดปูน
3.4 เครื่องสกัดคอนกรีต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทุบ สกัด หรือเจาะคอนกรีต เพื่องานรื้อถอนหรือปรับปรุงพื้นผิว มีความแข็งแรงและสามารถทำลายโครงสร้างที่เป็นปูนหรือคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นงานรื้อพื้นผิวถนน งานรื้อถอนรางระบายน้ำเก่า งานสกัดผิวคอนกรีตเดิมเป็นต้น
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องสกัดคอนกรีต
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องสกัดคอนกรีต
3.5 ลูกดิ่ง มีลักษณะเป็นโลหะทรงกลมปลายแหลม ตอนบนมีจุกเกลียวทำจากทองเหลือง เจาะรูตรงกลางในแนวดิ่ง เพื่อใช้ร้อยสายเอ็น มีน้ำหนัก 300-400 กรัม ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับหาแนวดิ่งหรือเส้นตั้งฉากของงาน เช่น การทำฝาผนัง ติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง เป็นต้น การมใช้งานก็เพียงแต่เอาเชือกไปแขวนตรงจุดที่ต้องการหาแนวดิ่ง ปล่อยเชือกให้ตุ้มน้ำหนักถ่วงลงมา รอสักพักให้ตุ้มน้ำหนักหยุดแกว่ง ก็จะได้แนวดิ่งที่ต้องการตามแนวเชือก
ลักษณะและวิธีการใช้ลูกดิ่ง
ลักษณะและวิธีการใช้ลูกดิ่ง
3.6 ฉากเหล็ก ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กรูปตัวแอล ที่ผ่านกระบวนการปั๊มจากเครื่องปั๊มโลหะ จนกลายเป็นเหล็กฉากที่มีมุม 90 องศาอยู่ตรงกลาง นำไปใช้วัดมุม สร้างมุม หรือ ตรวจสอบมุนของวัสดุ ชิ้นงาน ฉากใช้ในงานไม้และงานก่อสร้าง คือ ฉากตายไม่สามารถปรับขนาดของมุมได้
ลักษณะและวิธีการใช้ฉากเหล็ก
ลักษณะและวิธีการใช้ฉากเหล็ก
3.7 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบระดับ เช่น งานก่ออิฐ งานติดตั้งวงกบ มีความยาวหลายขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาดความยาว 40-60 เซนติเมตร ส่วนระดับน้ำอะลูมิเนียมมีความยาว 2 เมตร ขนาดความยาวที่สะดวกแก่การใช้งานก็คือ ขนาดความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร
ลักษณะและวิธีการใช้ตัววัดระดับน้ำ
ลักษณะและวิธีการใช้ตัววัดระดับน้ำ
3.8 เชือกตีแนวหรือปักเต้า ใช้ตีแนวเส้นตรง รวมไปถึงแนวระดับในงานก่อสร้างที่ต้องการแนวก่อนที่จะก่อกำแพงให้เป็นเส้นตรง แล้วจึงตีเส้นระดับเพื่อการวางท่อ ผนัง ประตู หน้าต่าง มุมกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น
ลักษณะและวิธีการใช้เชือกตีแนวหรือปักเต้า
ลักษณะและวิธีการใช้เชือกตีแนวหรือปักเต้า
3.9 เครื่องขัดมันพื้นปูน เครื่องขัดมันจะมีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้า และ แบบที่ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน มีใบพัด 3-4 ใบ นำไปใช้ขัดมันผิวของคอนกรีตให้แน่นและเรียบเป็นมัน
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องขัดมันพื้นปูน
ลักษณะและวิธีการใช้เครื่องขัดมันพื้นปูน

4. การดูแลรักษาอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ในงานประเภทต่างๆ

การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่างให้มีประสิทธิภาพจะต้องรู้จักการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีและมีอายุการใช้งานได้ยืนนาน โดยการดูแลรักษาอุปกรณ์ก่อสร้างควรปฏิบัติดังนี้

4.1 ก่อนลงมือปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์ก่อสร้าง

4.1.1 เลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับประเภทงาน
4.1.2 ดูแลทำความสะอาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ก่อนใช้และเลิกใช้
4.1.3 หยอดน้ำมันหล่อลื่นหรืออัดจาระบีตามตำแหน่งต่างๆ ของอุปกรณ์ตามที่กำหนดทุกครั้ง
4.1.4 ตรวจเช็คน้ำมันหล่อลื่นในที่ต่างๆ ตามอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้
4.1.5 ถ้าอุปกรณ์ต้องใช้ไฟฟ้าต้องตรวจเช็คระบบไฟฟ้าและจุดควบคุมไฟฟ้าก่อนใช้งานทุกครั้ง
4.1.6 ตรวจเช็คการทำงานของอุปกรณ์ด้วยตาเปล่าก่อนใช้เครื่องทำงานจริง
4.1.7 จับชิ้นงานให้มั่นคง และจัดวางเครื่องมือประกอบเครื่องให้เรียบร้อย

4.2 หลังเลิกปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์ก่อสร้าง

4.2.1 ยกสะพานไฟตัดระบบไฟฟ้าเข้าเครื่องออกก่อนเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ เช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย
4.2.2 ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้เรียบร้อยแล้วหยอดน้ำมันหล่อลื่นและอัดจารบีตามจุดต่างๆ
4.2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในงานปูน ต้องล้างน้ำใช้แปรงปัดให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้งในสถานที่เก็บอุปกรณ์ ควรกรองแยกแต่ละอุปกรณ์ให้เป็นสัดส่วน
4.2.4 ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้งานและบริเวณข้างเคียงให้เรียบร้อย
4.2.5 นำอุปกรณ์ไปเก็บในที่มีหลังคาคลุมและใช้ผ้าคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองไปเกาะติดกับอุปกรณ์หลังเลิกใช้
สรุป
อุปกรณ์ก่อสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ จะช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ใช้ต้องรู้จักชื่อ หน้าที่ วิธีการใช้ และ การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr code ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147